Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ทำซ้ำ ดัดแปลง แรงบันดาลใจ ทำไมเราไม่นิยามความหมายตามกฎหมายล่ะ?

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
เห็นถกกันมาเยอะแล้วกับการแยกแยะความหมายของคำเหล่านี้ มีเป็นระยะๆ ในบอร์ดแห่งนี้ ก็ไม่รู้ว่ายังไง แต่รู้สึกว่าในภาพรวมมันยังไม่กระจ่างอยู่ดี เห็นหลายคนตอบทำนองว่า อืม...พูดยาก เอ่อ...ยังไงแน่ อา...เข้าข่ายไหม

แล้วทำไมเราไม่ยึดคำนิยามความหมายตามกฎหมายไปเลยล่ะ เพราะนั่นคือความเห็นส่วนใหญ่ที่กรั่นกันมาแล้วในหลายประเทศ (กฎหมายเราก็ลอกๆเขามาเยอะ) คือเสียงส่วนใหญ่จากประชาชนที่ผ่านมาทางสภา คือหลักให้เราได้ยึดกัน จริงอยู่บางคนก็ว่ากฎหมายมันเป็นระดับกลาง คุณธรรมทางจิตใจ ศีลธรรมต่างๆมันอยู่เหนือกว่านั้น แต่ถ้ามีปัญหาข้อพิพาทกันขึ้นมาศาลก็ยึดการตีความตามกฎหมายไม่ใช่หรือ 

เดินสายกลางตามนั้นจิตใจก็จะได้เปิดกว้างอีกด้วย เช่น หากเรื่องของเรามีส่วนคล้ายใครบ้าง หยิบบางส่วนมาใช้บ้าง หากไม่ผิดกฏหมายก็จะได้ไม่รู้สึกผิดในแง่ศีลธรรมมากจนเป็นปัญหาการทำงาน หรือ หากเราไปหยิบยืมอะไรใครมาใช้จริงก็จะได้รู้ว่าใช้ได้มากน้อยแค่ไหนถึงจะไม่มีปัญหา 

มาดูความหมายตามกฎหมายกันเถอะ หลายคนคงรู้แล้ว แต่ขออนุญาตโพสอีกที พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 

ลอก กฎหมายใช้คำว่า "ทำซ้ำ" 
"ทำซ้ำ" หมายความรวมถึง คัดลอกไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ เลียนแบบ
ทำสำเนา ทำแม่พิมพ์ บันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกเสียงและภาพ จาก
ต้นฉบับ จากสำเนา หรือจากการโฆษณาในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ ทั้งนี้ ไม่ว่า
ทั้งหมดหรือบางส่วน สำหรับในส่วนที่เกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้หมายความ
ถึง คัดลอกหรือทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากสื่อบันทึกใด ไม่ว่าด้วยวิธี
ใด ๆ ในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำงานขึ้นใหม่ ทั้งนี้
ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

 ส่วนดัดแปลง ก็เป็นการลอกอย่างหนึ่งที่ไม่ใช่ทั้งดุ้น แต่พลิกแพลงไป ตามนี้ 

"ดัดแปลง" หมายความว่า ทำซ้ำโดยเปลี่ยนรูปใหม่ ปรับปรุง แก้ไข
เพิ่มเติม หรือจำลองงานต้นฉบับ
ในส่วนอันเป็นสาระสำคัญโดยไม่มีลักษณะเป็น
การจัดทำงานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
(1) ในส่วนที่เกี่ยวกับวรรณกรรม ให้หมายความรวมถึง แปล
วรรณกรรม เปลี่ยนรูปวรรณกรรมหรือรวบรวมวรรณกรรมโดยคัดเลือกและ
จัดลำดับใหม่

 
ลอกไม่มีปัญหา คือเอามาทั้งดุ้น ดัดแปลงนี่แหละที่ก้ำกึ่งเป็นปัญหาเสมอ โปรดสังเกตตัวสีแดง นี่คือคำสำคัญที่จะใช้เป็นเส้นแบ่งว่าผิดหรือไม่ผิด ต้องเป็นการเข้าไปยุ่งเกี่ยง (ปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม จำลอง จากต้นฉบับ) ในส่วนสาระสำคัญโดยไม่มีลักษณะจัดทำขึ้นใหม่ 

สาระสำคัญของงานในทางวรรณกรรมคืออะไร? 

ก็คือ แก่นเรื่อง ปมปัญหา วิธีการคลายปม การเดินเรื่องจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่ง ตัวละคร ฯลฯ เช่น 

สมุดเขียนชื่อคนลงไปแล้วฆ่าคนนั้นได้...นี่คือแก่น ปมหลักของเรื่อง ใครเขียนเรื่องเดินตามนั้นก็เข้าข่ายแม้จะเปลี่ยนฉากหรือตัวละคร 

ตัวละครชื่อแฮร์รี่ พ็อตเตอร์ พ่อมดน้อยผู้มีแผลเป็นเหนือหน้าผากจากจอมมาร เป็นกำพร้า เข้าโรงเรียนประจำ ใครเอาตัวละครนี้ไปใช้ก็เข้าข่ายแม้จะเปลี่ยนฉาก เปลี่ยนชื่อ 

ทั้งนี้การพิจารณาว่าผิดหรือไม่ผิด ต้องดูองค์ประกอบของงานเรื่องนั้นทั้งเรื่อง เพราะลิขสิทธิ์คุ้มครองต่อเมื่อจบเป็นเรื่องแล้ว ถือว่าเป็นงานชิ้นหนึ่ง ต้องพิจารณาทั้งสองเรื่องดูเปรียบเทียบกัน กล่าวคือ ดูสาระสำคัญของทั้งสองเรื่องนั่นเอง 

เอาล่ะ เดี๋ยวจะยาวเกินไป หวังว่าจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยครับ 

ขอบคุณ
PS.  ความพยายามอยู่ที่ไหน...โผล่หัวออกมาสิวะ ความสำเร็จรอนานแล้ว

แสดงความคิดเห็น

>

14 ความคิดเห็น

ชัยยา 13 ก.ย. 51 เวลา 16:26 น. 1

เพิ่มเติม ดันลืมคำว่า "แรงบันดาลใจ" 

คำนี้ไม่มีนิยามในกฎหมายครับ นั่นก็หมายความว่า ทางสายกลางของกฎหมายได้เปิดช่องไว้เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้นได้ในสังคมนั่นเอง เพื่อให้มีการคิดต่อยอด ให้เป็นแรงผลักดันให้มีผลงาน เช่น แฮร์รี่ พ็อตเตอร์ เรื่องนี้เราพูดกันว่าเป็นบิดาของนิยายแนวโรงเรียนเวทย์ หลังจากเรื่องนี้ออกมาก็มีเรื่องอื่นแนวโรงเรียนเวทย์ตามมากมาย พูดง่าย การเข้าโรงเรียนเพื่อเรียนเวทมนตร์คาถา ถือว่าเป็นแรงบันดาลใจของใครหลายคนเพื่อให้สร้างเรื่องราวของตัวเองขึ้นมา ถ้ากฎหมายไม่เปิดช่องตรงนี้ ก็จะปิดการปิดกั้นสนิทเลย จะไม่มีเรื่องไหนที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนเวทย์ได้เลย 

โรงเรียนเวทย์ถือว่าเป็นสาระสำคัญของแฮร์รี่ไหม ในจุดนี้ก็ต้องพิจารณาลงลึกลงไปอีกชั้นว่า โรงเรียนที่ว่าชื่ออะไร มีลักษณะอย่างไร แผนที่ทางภูมิศาสตร์เป็นยังไง ระบบการจัดการเรียนการสอนเป็นยังไง ฯลฯ ต้องพิจารณารายละเอียดเหล่านี้แล้วดูเปรียบเทียบกันว่าเหมือนหรือไม่เหมือนกันมากน้อยแค่ไหนก่อนจะฟันธงลงไปว่าเป็นการดัดแปลงหรือเปล่า 

ฉะนั้น หากเราสร้างโรงเรียนเวทย์ในแบบของเราเอง รายละเอียดภายในไม่เหมือนของเขา ฟันธงลงไปเลยว่า ไม่ผิด!  

นี่คือ แรงบันดาลใจ  

สำหรับผม แรงบันดาลใจ คือส่วนสำคัญในกระบวนการเรียนรู้เพื่อการสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะสร้างอะไรในโลกนี้ล้วนแล้วแต่เกิดจากแรงบันดาลใจทั้งสิ้น ผมเชื่ออย่างนั้น พี่น้องตระกูลไรท์มีแรงบันดาลจากการที่เห็นนกบิน คนสร้างเครื่องบินโออิ้งก็มีแรงบันดาลใจจากเครื่องร่อนของพี่น้องตระกูลไรท์ ด้วยเหตุนี้มนุษยชาติเราจึงมีการพัฒนา 

ขอบคุณอีกครั้ง


PS.  ความพยายามอยู่ที่ไหน...โผล่หัวออกมาสิวะ ความสำเร็จรอนานแล้ว
0
พศวัต 13 ก.ย. 51 เวลา 17:44 น. 2

เห็นด้วยอย่างยิ่ง

แรงบันดาลใจไม่ใช่หรือที่ทำให้คนเราหันมาแต่งนิยาย เราชอบเรื่องนี้ก็อยากได้เรื่องนี้เป็นแรงบันดาลใจคือจุดเริ่มต้นของเนื้อเรื่อง เรามีความคิด วิธีการดำเนิน ภาษา สำนวนของเราที่จะสื่ออกมาผ่านหน้าหนังสือ

ส่วนเรื่องลอกหรือดัดแปลงก็ว่าไปตามเนื้อผ้า ใครจะมองยังไงก็แล้วแต่คน


PS.  ไม่จับปากกา ไม่มีทางเขียน ...
0
GINSEI 13 ก.ย. 51 เวลา 20:32 น. 3

ยึดตามหลักกฎหมายแล้วสบายใจ ค่อยมีแรงจะสร้างสรรค์ผลงานหน่อย


PS.  มียาอะไรที่กินแล้วฉลาดบ้างมั้ย~ จะไปเหมามาสักโหล
0
Draconiz 13 ก.ย. 51 เวลา 20:41 น. 4

เอวังประการฉะนี้แล ไปเถียงในศาลอีกทีว่าอันไหนคือประเด็นหลัก

เฮ้อ กระทู้แบบนี้เดี๋ยวนี้หายากบนเด็กดีนะ

0
~ally~ 13 ก.ย. 51 เวลา 21:13 น. 5

แวะมาออกเสียงสนับสนุน 


PS.  สถานะ: เครียดง่ายกว่าเดิมล้านเท่า ให้ตายเหอะ ทำไมมีเรื่องให้คิดมากมายจนไม่อยากจะคิดมัน
0
เดี๋ยวนะ... ขอนึกก่อน 13 ก.ย. 51 เวลา 22:51 น. 8

ชัดเจน... แป้ง และ เฮียหมู...
(แป้กได้ที่จริงๆวันนี้)


PS.  สิ่งที่ทำให้เราหลงทาง กิเลสและตัณหาภายในใจ... (กิเลสตัณหา - Rhythm & Boyd 11th)
0
[Pe]dela 14 ก.ย. 51 เวลา 01:46 น. 10

ออกมาเห็นด้วยอย่างยิ่งกับที่คุณแจกันสีฟ้าว่าค่ะ

ถ้าหันมามองให้แง่ของนิยามตามที่กฎหมายให้ไว้ก็จะเกิดความชัดเจนในระดับที่ว่า ผลงานนั้นนี้ลอกหรือดัดแปลงหรือไม่ หากไม่เข้าข่ายตามนี้ก็ไม่มีความผิดในทางกฎหมาย  ก็แก้ปัญหาไปได้เปราะหนี่ง

แต่เราก็คิดว่าหลายๆคนก็คงมีความเห็นที่ต่างออกไป โดยเฉพาะในแง่ที่ว่า ทำไมเรื่องของคนอื่นถึงได้ให้ความรู้สึกเหมือนของเราเลยแฮะ เราเจอมากับตัวเลยค่ะ คือทั้งกลั่นทั้งกรองที่คิดว่าสุดๆแล้วก็ยังไปเจอนิยายของคนอื่น...

พอมานึกๆดูก็เลยปลอบตัวเองว่าเราอาจจะไปได้แรงบันดาลใจเดียวกันกับเขามาก็ได้ แล้วสิ่งที่เรียกว่าแรงบันดาลใจนี้มันก็ซึมซับเข้าไปในความคิดเราโดยไม่รู้ตัว พอคิดอย่างนี้ใจก็เลยเปิดกว้างกับอะไรหลายๆอย่างมากขึ้น โดยเฉพาะนิยายที่พล็อตซ้ำกันไปมา

ยกตัวอย่างที่มากมายสุดก็คงหนีไม่พ้นแนวโรงเรียน แต่ส่วนตัวเราเองกลับไม่เบื่อที่จะซื้อหนังสือแนวนี้มาอ่าน (ในตู้นี่มีหลายสิบโรงเรียนเลยค่ะ) แล้วทำไมถึงไม่เบื่อ ทั้งๆที่มันเกร่อ...

เพราะมันตลาดแค่คำว่าแนวโรงเรียนยังไงคะ พออ่านเข้าไปจริงก็มีหลายๆเรื่องที่วางไม่ลง เค้าโครงคล้ายๆกัน แต่มันไม่ใช่ทั้งหมดที่นิยายแนวโรงเรียนทุกเรื่องมันจะให้อารมณ์ซ้ำๆกันได้

คนเราทุกคนเป็นปัจเจกต่างมีความคิดเป็นของตัวเอง แนวของตัวเอง ประสบการณ์ที่เติบโตมาก็ไม่มีทางที่จะเท่าหรือเหมือนกัน ดังนั้นผลงานที่ออกมาก็ไม่ควรจะไปตีค่าว่ามันก็เหมือนๆกันนั่นแหละ...แต่เรื่องภาษาหายนะนี่ขอไว้เรืองหนึ่งก็แล้วกันนะคะ ถ้าเจอล่ะเขวี้ยงทิ้งไม่เสียดายเลย (แต่เจอแบบนี้ก็ซื้อไม่ลงแล้วล่ะค่ะ)

พอคิดแบบนี้ก็ทำให้ตัวเองไม่คิดมาก แล้วก็ไม่พลาดนิยายแนวตลาดที่สนุกสนาน หุหุ

แต่ผลด้านลบที่ตามมาก็คือ วงการวรรณกรรมในบ้านเราไม่พัฒนาไปไหน และจากแนวโน้มที่มองมานานก็คงคิดว่าต้องรอให้วรรณกรรมต่างประเทศซักเรื่องหนึ่งบูมขึ้นมาอย่างแฮรี่ และประเดี๋ยวแนวนั้นก็จะมาเป็นแนวใหม่ในตลาดบ้านเราอย่างไม่ต้องสงสัย...


PS.  สายลม แสงแดด และ ช็อกโกแลตแสนอร่อย ขอเสกตัวข้าเองให้..........ขยันเรียนหน่อยสิโว๊ยย!!!
0
หยงเล่อ Starlessnight 14 ก.ย. 51 เวลา 03:45 น. 11

มันยากตรงตัความตามกฎหมายอีกนั่นล่ะ อย่างถูกชีคลักพาตัวไปทะเลทราย โดนขังไปตบจูบ ก็ทำกันเป็นแสน

สุดท้ายถ้าศาลรัฐธรรมนูญอยากตีความตามพจนานุกรมเราก็ทำอะไรไม่ได้เหมือนเดิม

ปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาดเถอะ

0
sasadao 14 ก.ย. 51 เวลา 08:24 น. 12

หยงว่ามันเป็นพลอตที่กว้างมากๆ ใครจะเอามาใช้มันก็ไม่ได้อยู่ในข้อหา ดัดแปลง ลอก อะไรอยู่แล้ว

แต่ก็นั่นแหละ การที่ดัดแปลงอะไรของใครมา จะมาใช้ข้อนี้เป็นข้ออ้างให้กับตัวเองไม่ได้

ทำไมเพชรพระอุมาไม่ว่าแฟนนิยายจะแก้ต่างให้กับนิยายเรื่องนี้อย่างไร ก็ยังไม่พ้นครหาไม่ได้

เพราะบริบทโดยรวมของเรื่องมันเหมือนกันมากจนเกินไป แม้ว่าจะสิ่งที่นำมาจะเป็นอะไรที่กว้างๆ ไม่ว่าใครก็สามารถนำมาใช้ได้ก็ตาม

แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 14 กันยายน 2551 / 08:26

PS.  บีบตับคนอ่านคืองานอดิเรก
0
bob overlord 14 ก.ย. 51 เวลา 12:03 น. 13

แล้วโลกจะตัดสินเอง...ว่าแนวตลาดหรือไม่ สนุกหรือไม่ ก๊อปเขามาหรือไม่


นอกเสียจาก คุณต้องการผลักดันสิ่งที่ไม่อยู่ในแนวตลาดให้มีคุณค่าเทียบเท่า ก็เท่านั้น...

เมื่อไม่ใช่แนวตลาดแล้วขายไม่ออก เราจะสมควรโทษใครล่ะ?

แรงบันดาลใจเอง ก็ทำพิษแก่แนวอื่นๆที่ไม่เข้าข่ายเช่นกัน

อย่างสตาร์วอร์ส ก็เปลี่ยนให้ทั้งวงการบันเทิง มีแต่แนวไซไฟติดต่อกันร่วมสิบๆปีมาแล้ว และการเปลี่ยนยุค ก็จำเป็นต้องมีสื่อบันเทิงที่บูมมากว่ามาเปลี่ยนแปลง ซึ่งก็คือแฮร์รี่นั่นแหละ

ขอถามว่า ถ้าเราไม่มีแรงบันดาลจากสื่อต่างประเทศเลย แล้วเราจะสร้างกระแสใหม่ ให้เราเป็นฝ่ายบูมเสียเองไม่ได้หรือ?

ปล.ช่วงนี้คือช่วงจุดเปลี่ยนของการ์ตูนไทย ซึ่งเดิืมแบ่งเป็น 2 สายคือ สายการ์ตูนไทยเดิม คือขายหัวเราะกับมหาสนุก กับสายมังงะ หรือลายเส้นการ์ตูนญี่ปุ่น แต่ตอนนี้ กำลังจะเป็นยุคประสาน นักเขียนไทยกำลังสร้างลายเส้นใหม่เพื่อที่จะรองรับได้ทั้งสองแนว เช่นงานของเดอะดวงกับทรงศีลนั่นเอง

ถ้าคนในประเทศหมู่มากพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง แรงบันดาลจากต่างประเทศก็ไม่เกี่ยวแล้วล่ะครับ ขึ้นอยู่กับว่า คุณจะยังยึดติดกับแนวเก่าๆแค่ไหน


PS.  -: วิทยาศาสตร์ คือมนตร์ดำที่ชั่วร้า่ยและน่ากลัวที่สุด :-
0
spock 14 ก.ย. 51 เวลา 12:31 น. 14

ในเชิงกฏหมายก็คงจะตัดสินแบบนั้นได้ละเนอะ ถูกต้องตามที่คุณแจกันสีฟ้าว่า

แต่ถ้า ในฐานะความรู้สึกคนธรรมดาบางที เราคงอดไม่ได้จะคิดว่า เอ๊ะ นี่ลอกมานี่ อะไรทำนองนั้น

ก็จะโดนครหาอยู่ดี


PS.   อ่านนิยายเนอร์วาน่าและอื่นๆได้ที่ไอดี อย่าลืมติดตาม คอลัมน์ good old day ในนิตยสาร a day ด้วยหนอ คอลัมน์ผมเอง..
0