Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

Meltdown Monday : เมื่อนักเล่นแร่แปรธาตุต้องจ่ายค่าตอบแทน

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
มาช่วยขยายความกระทู้นี้ http://www.dek-d.com/board/view.php?id=1156599 ครับ

ขณะที่บ้านเมืองไทยยังสับสนไม่รู้จะปกครองด้วยระบบใด ม๊อบก็ยังปักหลักอยู่ทำเนียบไม่ยอมเลิกรา
พรรคร่วมรัฐบาลก็ยังต่อรองผลประโยชน์ไม่เสร็จ ฝ่ายค้านก็มัวแต่รอใช้เกมการเมืองหาทางเป็นรัฐบาล

วันจันทร์ที่ผ่านมา (15 ก.ย.) เกิดวิกฤตขึ้นในวงการเงินสหรัฐอเมริกา สื่อสายการเงินต่างประเทศขนานนามวิกฤตครั้งนี้ว่า Meltdown Monday หรือจันทร์หลอมวินาศ
เริ่ม จากเมื่อบ่าย 3 โมงของวันอาทิตย์ (ตี 3 ตามเวลาไทย) บริษัทวาณิชธนกิจใหญ่อันดับ 4 ของสหรัฐฯ เลห์แมน บราเธอร์ส(Lehman Brothers) ประกาศว่าดีลเทคโอเวอร์ที่บริษัทธนาคารบาร์เคลย์ส(ใช่ครับ ที่เป็นสปอนเซอร์ให้พรีเมียร์ลีกนั่นแหละ) นั่นไม่สามารถตกลงกันได้ และทางธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ก็ไม่อาจหาผู้เข้ามาซื้อกิจการต่อได้ จึงต้องยื่นเรื่องเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย

ตามด้วยการประกาศเท คโอเวอร์บริษัทวาณิชธนกิจอันดับ 6 อย่าง เมอริล ลินช์(Merril Lynch) โดย แบงก์ ออฟ อเมริกา(ฺBank of America) ทำให้สาธารณชน โดยเฉพาะนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ตื่นตระหนกกันมาก

สาเหตุของการล้ม ละลาย และการขายกิจการดังกล่าว เกิดขึ้นจากปัญหาหุ้นกู้ด้อยคุณภาพ หรือ Sub-prime Mortgage Lending ซึ่งส่งผลต่อเนื่องมาตั้งแต่กลางปี 2550 ที่เหล่านักการเงินการลงทุนในสหรัฐ ประสบภาวะหนี้สูญจากการเก็งกำไรฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์

หากจะอธิบาย ง่ายๆ หนี้ซับไพรม์ก็เหมือนการพักหนี้เกษตรกร 3 ปี ที่แตกต่างออกไปคือ ผู้มีรายได้ต่ำต้องกู้เพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์และเมื่อพ้น 3 ปีแรกแล้ว ดอกเบี้ยจะทวีทบคูณอย่างมหาศาล
ซึ่งถ้าผู้กู้นำไปซื้ออสังหาริมทรัพย์ เป็นตัวเงินที่ก่อให้เกิดทรัพย์สินจริง และหารายได้มาจ่ายหนี้ได้ คงไม่เกิดปัญหา หนำซ้ำยังได้ผลดีกันทุกฝ่าย
แต่กลับกลายเป็นว่าผู้กู้กู้ เงินมาซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อเก็งกำไร ด้วยหวังว่า 3 ปี ผ่านไปราคาบ้านหรือที่ดินนั้นจะสูงขึ้น ทำให้ตัวเองได้กำไรโดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ยสักเซนต์เดียว
และเมื่อคนส่วน ใหญ่โลภมาก หวังอยากได้เงินง่ายๆ สบายๆ รวยทางลัดพร้อมๆกัน ตลาดการเงินการปล่อยกู้ก็พองฟูมากขึ้น มีการปล่อยกู้โดยไม่ตรวจสอบ แม้แต่ธนาคารเองก็หวังว่า หากที่ดินราคาสูงขึ้น แล้วผู้กู้มิอาจชำระหนี้ได้ ก็จะได้กำไรจากการยึดที่ดินนั้น
มิหนำซ้ำ ด้วยเล่ห์เหลี่ยมของเหล่านักเล่นแร่แปรธาตุของวงการเงิน จากเงินกู้ด้อยคุณภาพ ก็ถูกแปรสภาพเป็นตราสารหุ้นกู้ใช้แทนหลักทรัพย์ค้ำประกัน ให้ดอกเบี้ยสูง ซื้อขายกันบนตลาดอีกต่อหนึ่ง ตีฟองสบู่ปั่นเงินจนฟูฟ่องบนความโลภและอากาศ

ลองตั้งโจทย์สมมติเป็นตุ๊กตาได้ดังต่อไปนี้


นายจอห์น ซึ่งอาจจะมีรายได้ต่ำหรือไม่ก็ตาม ไม่กู้ธนาคารตามระเบียบปกติ ไปกู้สินเชื่อซับไพรม์จากธนาคารเจค็อบ 30000 เหรียญ มาซื้อบ้านเพื่อเก็งกำไร

ธนาคารเจค็อบ ป้องกันความเสี่ยง โดยการออกตราสารหนี้ ให้เหล่าวาณิชธนกิจมาซื้อไป เป็น 3 กอง กองละ 10000 เหรียญ (ตอน นี้ธนาคารเพิ่มเงินในระบบเป็น 60000 เหรียญแล้ว จากหนี้ค้างจ่ายของนายจอห์น 30000 และรายรับจากการขายตราสารหนี้ 30000 เหรียญ ซึ่งความจริงถือว่าหักกันเป็น 0 แต่บัญชีรายปีตีเป็นรายรับ)

วาณิช ธนกิจแห่งหนึ่ง ซื้อตราสารหนี้จากธนาคารเจค็อบมาทั้ง 3 กอง แล้วแบ่งขายเป็นตราสารหุ้นกู้เพื่อรอรับดอกเบี้ยผลกำไรจากเงินกู้ของนาย จอห์น 10000 หุ้น หุ้นละ 3 เหรียญ และเมื่อซื้อขายกันไปถึงระยะหนึ่ง ราคาหุ้นกู้ขึ้นไปถึง 10 เหรียญ(ตรงนี้ เริ่มจุดวินาศแล้วครับ อย่างที่รู้กันว่าราคาหุ้นนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด และการเก็งกำไร ดังนั้นหากปั่นให้คนเชื่อว่าหุ้นกู้นี้จะได้รับผลกำไรดี หรือปั่นราคาหุ้นให้สูง ทั้งๆที่เมื่อเทียบกับเงินต้นทุนจริงแล้วแพงกว่าด้วยซ้ำ ก็เกิดปัญหาตามมานี่แล ตรงนี้เงินในระบบ กลายเป็น 160000 เหรียญแล้วนะครับ)

3 ปี ผ่านไป นายจอห์น ผู้คาดว่าจะได้กำไรจากการซื้อบ้าน แต่บ้านดันขายไม่ออก เพราะความต้องการบ้านที่แท้จริงในตลาดไม่มีเสียแล้ว ทุกคนมีบ้าน และอยากขายบ้านเพื่อเอาเงินไปจ่ายหนี้ซับไพรม์เหมือนกัน เมื่อธนาคารเจค็อบยึดบ้านของนายจอห์นมาก็ขายทอดตลาดไม่ได้ กลายเป็นหนี้สูญ รายรับที่หวังจากดอกเบี้ยก็ไม่ได้ แถมรายจ่ายจากตราสารหนี้ก็ยังต้องจ่าย

เหล่านักลงทุนในตราสารหุ้น เมื่อรู้ว่าหนี้สูญ ต่างก็เทขายหุ้นกู้ที่ตัวเองถือออกมา แต่ก็ไม่มีคนซื้อเสียแล้ว จากหุ้นละ 10 เหรียญ กลายเป็น 0 ทันตาเห็น
วาณิช ธนกิจที่ออกตราสารหุ้นกู้ ที่ต้องแบกภาระดอกเบี้ยไว้โดยหวังกำไรจากเงินต้น ก็ต้องจ่ายทั้งดอกเบี้ยจากหุ้นกู้ตลอด 3 ปี และต้องตัดหนี้สูญไปอีก
กลายเป็นว่า เงินในระบบติดลบ เพราะราคาอสังหาริมทรัพย์ตกต่ำกว่าราคาตั้งต้นตอนนายจอห์นซื้อมากมาย

เหตุการณ์แบบนี้เกิดกับแทบทุกธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อด้อยคุณภาพ และซับซ้อนกว่าหลายเท่าเพราะเหล่านักเล่นแร่แปรธาตุเงินไม่ได้เอาเฉพาะหนี้ ด้อยคุณภาพมาแปลงเป็นตราสารหุ้น แต่ผสมรวมหนี้ดี สินเชื่อบุคคล และสินทรัพย์ต่างๆมาแพ็คขายรวมกัน ทำให้เมื่อส่วนหนึ่งกลายเป็นหนี้สูญ ก็พาลพาให้เงินลงทุนในส่วนหนี้ดีเสียหายตามไปเป็นทอดๆ

เมื่อกลางปีที่แล้ว FED ต้องสั่งพิมพ์เงินเพื่ออัดฉีดลงไปในระบบเศรษฐกิจถึง 2 แสนล้านเหรียญ โดยวิธีที่พิสดารที่สุดเท่าที่จะคิดกันได้
คือ "การประมูลเงินกู้" เพื่อรักษาสภาพคล่องของระบบไว้ไม่ให้ล้มตามกัน และเป็นตัวกลางจัดหาสถาบันการเงินที่ได้รับผลกระทบน้อย มาซื้อกิจการของสถาบันการเงินที่เสียหายหนัก เช่นในกรณีของเลห์แมนกับบาร์เคลย์ส หรือเมอริล ลินช์ กับแบงก์ ออฟ อเมริกา ดังที่เห็น

แต่เมื่อดีลซื้อกิจการไม่สำเร็จ เลห์แมนต้องยื่นเรื่องเพื่อขอล้มละลาย ผลกระทบก็เกิดตามมาเป็นลูกโซ่ ดังจะกล่าวต่อไป

1. ราคาหุ้นของเลห์แมน บราเธอร์ส ตกลง 99% จากต้นปีราคาหุ้นละ 60 เหรียญ ปิดตลาดดาวโจนส์เมื่อวาน เหลือเพียง 0.21 เหรียญ

แล้วกระทบใครอย่างไร?
แน่ นอนว่า วาณิชธนกิจรายใหญ่ขนาดนี้ ต้องมีบริษัทลูกที่ถือหุ้นไขว้กัน รวมถึงบริษัทพันธมิตรที่แลกหุ้นกันถือ และนักลงทุน กองทุนภาครัฐและเอกชนที่นำเงินเข้ามาลงทุนเพื่อหวังเงินปันผลจำนวนมาก เมื่อราคาหุ้นตกระเนนระนาด สินทรัพย์รวมของบริษัทเหล่านั้นก็ต้องถูกประเมินเป็นศูนย์ เท่่ากับเงินหายออกไปจากระบบมหาศาล

2. เมื่อเหล่านักลงทุนขาดทุนจากหุ้นของเลห์แมนฯ ก็ต้องเทขายหุ้นอื่นเพื่อพยุงผลประกอบการของตัวเอง ฉุดให้ราคาหุ้นบริษัทอื่นในตลาดหลักทรัพย์ร่วงลงตามไปด้วย
นักลงทุนในตลาดหุ้นก็พากันขาดทุนกันทั้งหมด ต้องหาทางโปะตัวแดงให้ได้

3. เลห์แมนฯ เองก็เป็นนักลงทุนขาใหญ่เช่นเดียวกัน เมื่อตัวเองล้มละลาย สินทรัพย์ทั้งหมดก็ต้องถูกขายทอดตลาดเพื่อชดใช้หนี้ เงินทุนทั้งหมดที่นำไปลง
ทุนไว้ในบริษัทรายย่อยต่างๆก็ต้องถูกดึงคืนทั้งหมด ลองจินตนาการภาพต่อไปนี้ครับ

บริษัทไทรแองเกิล ผลิตเกมโดยอาศัยเงินทุนจากเลห์แมนโดยออกตราสารทุน 1,000,000 เหรียญ ได้กำไรต่อปี 50000 เหรียญ
เงิน หมุนเวียนของบริษัทไทรแองเกิล ต้องนำไปจ้างโปรแกรมเมอร์ ซื้อซอฟต์แวร์เอ็นจิ้น จ่ายค่าโฆษณา พิมพ์ปก จ้างผู้จัดจำหน่าย หรือแม้แต่จ้างแม่บ้านชงกาแฟฯลฯ
เมื่อเลห์แมนฯ ล้มละลาย ก็ต้องดึงเงินทุน 1,000,000 เหรียญคืนทั้งหมดในทันทีเพื่อนำไปจ่ายหนี้
แล้วบริษัทไทรแองเกิล จะเอาเงินที่ไหนจ่ายพนักงาน? จะผลิตเกมต่อได้อย่างไร?
เมื่อพนักงานถูกเลิกจ้าง จะเอาเงินไหนซื้อเบอร์เกอร์กิน เอาเงินไหนซื้อเฟอร์นิเจอร์ มือถือ คอมพิวเตอร์
ยอดขายของบริษัทเครื่องุปโภคบริโภคก็จะลดลง ส่งผลต่อไปเป็นทอดๆ


4. เรื่องจะซับซ้อนยิ่งขึ้น เพราะตลาดเงินและตลาดทุนเป็นตลาดเสรีในยุคโลกาภิวัตน์ เหล่านักลงทุนเองไม่ได้จำกัดเงินอยู่เฉพาะภายในประเทศตัวเอง
เลห์แมนฯ เอง ก็เข้ามาซื้อหนี้ดีหลังยุควิกฤตต้มยำกุ้ง 40 ในราคาถูกไปบริหารเกือบทั้งหมด (โดยคำแนะนำและความรู้เห็นเป็นใจของปรส. และรัฐบาลขณะนั้น)
เมอริล ลินช์ ก็เข้ามาเทคโอเวอร์บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ในไทยหลายแห่ง (เรียกหรูๆว่า ร่วมทุน)

แล้วมันกระทบกับไทยได้อย่างไร?
ลอง คิดดูว่า เหล่านักลงทุนต่างชาติต้องดึงเงินของตนกลับประเทศไปพยุงบริษัทของตนไม่ให้ ล้มละลายตามเลห์แมนฯ ตลาดหุ้นไทยซึ่งเป็นแหล่งระดมทุนของบริษัทภาคผลิตจริงก็ไม่อาจหาทุนเข้า มาสนับสนุนการผลิตได้อีก ต้องเลิกจ้างลูกจ้าง ฯลฯ ตัวอย่างก็เหมือนบริษัทไทรแองเกิลข้างต้น แต่เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทไทยห้องเย็น บริษัทเดินสมุทรนาวี บริษัทแสงสุรีย์เมทัล ฯลฯ แทน ไม่รวมถึงเงินในระบบของนักลงทุนไทยที่ต้องตัดเป็นหนี้สูญ นอนกอดใบหุ้นที่ไม่มีราคาเพ้อไปวันๆ แบบที่เคยเห็นกันปี 40

จะเลวร้ายขนาดนั้นจริงเหรอ
ผู้สื่อข่าวอาวุโสของ BBC ให้ทัศนะว่า เป็นการล้มของตลาดทุนที่อาจเทียบได้กับปี 1929 The Great Depression และ Black Monday
อลัน กรีนสแปน อดีตผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ กล่าวว่า ถ้าระบบปรับตัวเข้าหาสมดุลไม่ได้ อาจเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกยาวนาน
การร่วงลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ดาวโจนส์วานนี้ -503.99 จุด ทำ New Low ในรอบ 10 เดือน และลงรุนแรงที่สุดหลัง 911

มีปัญหานอกเหนือจากนี้อีกไหม
รายต่อไปที่เป็นปัญหาอยู่ กำลังถูกจับตาคือ AIG (American Insurance Group)
ที่กำลังยื่นขอกู้เงินเพื่อหนุนสภาพคล่องจาก FED 20,000 ล้านดอลลาร์
ซึ่ง น่าเป็นห่วงกว่าเลห์แมน หรือเมอร์ริล ลินช์ เพราะ AIG ถือครองและบริหารหลักทรัพย์ที่เกี่ยวพันกับชีวิตและธุรกิจสำคัญ คือกรมธรรม์ประกันภัย
หุ้นของ AIG ในตลาดเมื่อวานตกลงไปถึง 61%

คิดดูง่ายๆ หากประกันชีวิตที่แทบทุกครอบครัวคนชั้นกลางทำไว้ กลายเป็นกระดาษเปล่า หากบาดเจ็บป่วยไข้ ก็เบิกค่าทดแทนไม่ได้;
ประกันวินาศภัยของบริษัทห้างร้าน กลายเป็นสัญญาลม
หลักทรัพย์ประกันหนี้สูญของบริษัทข้ามชาติ หรือสัญญาประกันค่าเงินใช้ไม่ได้
เป็นการพังทลายของความเชื่อถือทางการเงินในระดับมหภาคแน่นอน

เดี๋ยวจะไม่เข้าใจกันว่ากระทบกับไทยขนาดไหน กรณี AIG
AIG เป็นบริษัทแม่ของประกันชีวิต AIA ครับ
และเป็นสปอนเซอร์หน้าอกเสื้อของ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดด้วย

ทาง ธนาคารกลางสหรัฐ ได้สนับสนุนให้ JP Morgan และ Chase Manhutton (ใช่ครับ ที่มีบริษัทนอมินีลูกถือหุ้นรายใหญ่ ปตท. และหุ้นบลูชิพของไทยแทบทุกตัวนั่นแหละ)
เข้าซื้อกิจการของ AIG แต่ดีลนี้ก็ยังไม่ลุล่วง ต้องติดตามต่อไป

แย่ขนาดนั้นเลยเหรอ ทำไมข่าวเงียบจัง
มันก็พอมีข่าวบ้างครับในไทย แต่เมื่อเทียบกับสื่อกระแสหลักของโลกที่ติดตามถี่ยิบ อัพเดตแทบทุกสิบห้านาทีแล้ว........
ไม่รู้ว่าการนำเสนอว่าใครพูดอะไร ใครจะนั่งเก้าอี้อะไร ใครจะต่อรองอะไร
ม๊อบจะเรียกร้องอะไร ด่าใครว่าอะไรรายวัน ฝ่ายไหนจะปั้นเรื่องโกหกมาหลอกประชาชนครั้งแล้วครั้งเล่า คงสำคัญกว่ามังครับ

อ้าว มีแต่เสียกับเสียแบบนี้ มีอะไรดีบ้างไหมล่ะ?
หนึ่งคือ ระเบียบการด้านการเงินคงเข้มงวดขึ้น มีความระแวดระวังและสร้างมาตรฐานที่ดีขึ้นครับ เป็นบทเรียนใหญ่อีกครั้งของโลกทุนนิยมตะวันตกเลยล่ะ
สองคือ ราคาอาหาร และน้ำมันปรับลดลง ตลาดน้ำมันดิบ Nymex วันนี้ ลดลงเหลือ 95 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล(จากสูงสุด 138 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลช่วงต้นปี)
ปตท.ก็มีแนวโน้มจะปรับลดราคาน้ำมันในเวลาอันใกล้ ราคาอาหารในตลาดโลกที่แพงจนวิตกกังวลว่าจะเป็นปัญหาต่อประเทศกำลังพัฒนาก็ลด ลงอย่างเห็นได้ชัดเพราะค่าขนส่งลดลงครับ
สามคือ ได้รู้ว่าเวรกรรมมีจริง ในระบบทุนนิยมเสรี ใครโลภมากไม่มีการบริหารความเสี่ยง เล่นแร่แปรธาตุเงินทุนหลักทรัพย์หวังรวยง่ายๆ ก็ต้องล้มลงไปเองอย่างที่เห็น
พวก CEO ที่รับทรัพย์ค่าบริหารเล่นกลกับบัญชี รวมถึงผู้บริหารนโยบายการเงินที่เอื้อประโยชน์ต่อการเก็งกำไรก็ต้องถูกฟ้อง ยึดทรัพย์ตามระเบียบ นักลงทุนหลายคนในไทยที่เจ๊งไปตอน 40 กระซิบบอกว่า สมน้ำหน้าที่มาตักตวงเอาหนี้ดีของไทยไปหากิน (แต่ตรงนี้ คดีปรส. กำลังจะหมดอายุความแล้วนะ ระบบตุลาการไทยอยู่ไหนเอ่ย)

แล้วเราจะปรับตัวอยู่อย่างไร แก้ไขอย่างไรดีล่ะ?
ตอน นี้ก็ต้องจับตาระวัง ใช้เงินระมัดระวัง แต่ไม่ได้บอกให้ไม่ใช้จ่ายเลยนะครับ ขืนไม่ใช้จ่ายเอาซะเลย ภาคธุรกิจก็ยิ่งขาดเงินหมุนเวียนกันใหญ่
ส่วนเรื่องนโยบายมหภาค มองไปก็ว้าเหว่ครับ คนโกงก็แยะ คนทำงานก็ไม่ได้ทำงาน สุดท้ายคนทำงานด้วยปากก็ครองเมือง
กินจริยธรรม นิติรัฐ ประชาภิวัฒน์ ไปวันๆก็แล้วกัน (หัวเราะไม่ออก)

เขียนมาตั้งยาว ใครอ่านจนจบก็ขอขอบพระคุณมากครับ
หวังว่าจะเป็นประโยชน์ ประดับสมองบ้าง

แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 16 กันยายน 2551 / 10:22

แสดงความคิดเห็น

>

8 ความคิดเห็น

spock 16 ก.ย. 51 เวลา 13:40 น. 1

ความรู้ แสนยาวจริงๆ


PS.   อ่านนิยายเนอร์วาน่าและอื่นๆได้ที่ไอดี อย่าลืมติดตาม คอลัมน์ good old day ในนิตยสาร a day ด้วยหนอ คอลัมน์ผมเอง..
0
ชัยยา 16 ก.ย. 51 เวลา 14:11 น. 2

ได้ประโยชน์มากมาย

เด็กดีไม่มีกระทู้แบบนี้นานแค่ไหนแล้วหนอ

ขอบคุณค้าบ


PS.  ความพยายามอยู่ที่ไหน...โผล่หัวออกมาสิวะ ความสำเร็จรอนานแล้ว
0
GINSEI 16 ก.ย. 51 เวลา 16:31 น. 4

อ่านแล้วรู้สึกว่ามันจะเครียดกว่าเรื่องการเมืองนะเนี่ย


PS.  มียาอะไรที่กินแล้วฉลาดบ้างมั้ย~ จะไปเหมามาสักโหล
0