Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

สำนักวิชา กับ คณะ ต่างกันอย่างไร

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
เมื่อกล่าวถึงมหาวิทยาลัย หลายคนจะคุ้นเคยกับกลุ่มองค์กรทางการศึกษาภายในมหาวิทยาลัยที่เรียกกันติดปากว่า "คณะ" ซึ่งเป็นกลุ่มของหลักสูตรการศึกษาที่มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ในประเทศไทยใช้เป็นหน่วยในการจัดกลุ่มหลักสูตรแต่ในปัจจุบันนั้น ในบางมหาวิทยาลัยได้ใช้ "สำนักวิชา" แทนคำว่าคณะในการจัดกลุ่มของหลักสูตร ซึ่งสำหรับบางคนที่ได้ยินหรือได้พบเห็น อาจคิดไปร้อยแปดพันเก้าว่า "แล้วมันต่างจากคณะอย่างไร" ในขณะที่บางคนก็คิดไปไกลถึงขนาดที่ว่า "มหาวิทยาลัยเค้าบ้าหนังจีนประเภทกำลังภายในหรือเปล่า" หรือบางคนก็เลยเถิดถึงขนาดที่ว่า "สำนักวิชาก็คือภาควิชาที่ยังไม่ได้รับการรับรองหลักสูตรให้เป็นคณะ" ว่ากันไปโน่นเลย วันนี้เราจะมาดูความหมายและความแตกต่าง ขององค์กรทางการศึกษาภายในมหาวิทยาลัยทั้ง 2 องค์กรนี้กันครับ

Wikipedia ได้ให้ความหมายของคำว่า คณะ และ สำนักวิชาไว้ดังนี้ครับ

"คณะวิชา" หรือเรียกโดยย่อว่า "คณะ" เป็นองค์กรในสถาบันอุดมศึกษาที่มีหน้าที่จัดการเรียนการสอนและให้บริการความรู้เกี่ยวกับวิชาการสาขาที่อยู่ในประเภทเดียวกัน เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มีหัวหน้าองค์กรเรียก "คณบดี" บางแห่งเรียก "สำนักวิชา" "สาขาวิชา" หรือ "วิทยาลัย" แทน เช่น วิทยาลัยธุรกิจ

     จากบทความข้างต้น จะเห็นได้ว่าระหว่างคำว่า "สำนักวิชา"และคำว่า"คณะ"มีศักดิ์และสิทธิเท่าเทียมและเสมอภาคกัน ต่อไปเราจะมาอธิบายถึงความแตกต่างภายในของคำ 2 คำนี้กันนะครับ

สำนักวิชา (Academic School) จะเป็นการจัดลำดับสาขาวิชาที่มีการเรียนการสอนที่คล้ายคลึงกันโดยไม่คำนึงถึงชื่อของปริญญา ซึ่งผมขอยกตัวอย่าง "สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง" นะครับ

สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ จะมีสาขาวิชาและชื่อของปริญญาดังนี้

1. การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ                (วทบ.การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ)
2. วิศวกรรมซอฟแวร์                                   (วทบ.วิศวกรรมซอฟแวร์)
3. วิศวกรรมการสื่อสารและสารสนเทศ             (วศบ.วิศวกรรมการสื่อสารและสารสนเทศ)
4. วิศวกรรมคอมพิวเตอร์        (วศบ.วิศวกรรมคอมพิวเตอร์)
5. เทคโนโลยีมัลติมีเดียและการสร้างภาพเคลื่อนไหว (วทบ.เทคโนโลยีมัลติมีเดียและการสร้างภาพเคลื่อนไหว)
6. วิทยาการคอมพิวเตอร์        (วทบ.วิทยาการคอมพิวเตอร์)


จะสังเกตได้ว่าจากการจัดกลุ่มดังกล่าว ในแต่ละสาขาวิชาจะมีระบบการเรียนการสอนที่คล้ายคลึงกัน แต่ชื่อของปริญญาที่จะได้รับนั้นต่างกัน


คราวนี้เราจะมาดูองค์กรการศึกษาในมหาวิทยาลัยที่เรียกกันว่า "คณะ" กันบ้างครับ

คณะ คือ การรวมเอาสาขาวิชาที่มีความเหมือนกัน ในแง่ของปริญญามารวมกันไว้ โดยที่การเรียนการสอนภายในสาขาวิชาแต่ละสาขานั้น ไม่จำเป็นที่จะต้องมีความคล้ายคลึงกัน ซึ่งผมจะขอยกตัวอย่างให้ดู 2 มหาวิทยาลัยนะครับ

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีสาขาวิชาดังนี้

1. วิศวกรรมโยธา     (วศบ.วิศวกรรมโยธา)
2. วิศวกรรมไฟฟ้า    (วศบฺ.วิศวกรรมไฟฟ้า)
3. วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (วศบ.วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม)
4. วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (วศบ.วิศวกรรมคอมพิวเตอร์)
5. วิศวกรรมเหมืองแร่ (วศบ.วิศวกรรมเหมืองแร่)
6. วิศวกรรมเครื่องกล (วศบ.วิศวกรรมเครื่องกล)
7. วิศวกรรมอุตสาหการ (วศบ.วิศวกรรมอุตสาหการ)
8. หลักสูตรโครงการจัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมเกษตร (ยังไม่มีการกำหนดชื่อปริญญา)***
*** อ้างอิงจากเว็ปไซค์ของภาควิชา

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

1. วิศวกรรมไฟฟ้า   (วศบ.วิศวกรรมไฟฟ้า)
2. วิศวกรรมคอมพิวเตอร์  (วศบ.วิศวกรรมคอมพิวเตอร์)
3. วิศวกรรมอุตสาหการ   (วศบ.วิศวกรรมอุตสาหการ)
4. วิศวกรรมโยธา   (วศบ.วิศวกรรมโยธา)
5. วิศวกรรมเครื่องกล  (วศบ.วิศวกรรมเครื่องกล)
6. วิศวกรรมเคมี   (วศบ.วิศวกรรมเคมี)

จากตัวอย่างของมหาวิทยาลยที่ได้หยิบยกขึ้นมาทั้ง 2 แห่งนั้นจะสังเกตเห็นได้ว่า ในองค์กรทางการศึกษาที่เรียกว่า "คณะ" นั้น จะมีการจัดกลุ่มโดยอาศัยประเภทของปริญญาเป็นเกณฑ์ แต่การเรียนการสอนในแต่ละสาขาวิชานั้นอาจไม่คล้ายคลึงกันทั้งหมด

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
เปรียบเทียบ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

คราวนี้เราจะมาเปรียบเทียบถึงความแตกต่างภายในระหว่าง "สำนักวิชา" กับ "คณะ" กันนะครับ

     จากตัวอย่างทั้งหมดที่ผมได้หยิบยกขึ้นมานั้น จะเห็นได้ว่ามีการจัดกลุ่มภายในองค์กรทางการศึกษาทั้ง 2 องค์กรแตกต่างกัน โดยที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงได้จัดให้สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ไปขึ้นตรงกับสำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งมีการเรียนการสอนแต่ละหลักสูตรภายในสำนักวิชาที่คล้ายคลึงกัน แต่ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้น ได้จัดให้วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ไปขึ้นตรงกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งการเรียนการสอนของหลักสูตรภายในคณะที่แตกต่างกัน เพียงแต่ใช้ประเภทของปริญญาในแต่ละหลักสูตรที่เหมือนกันเท่านั้น (คือ วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต) นี่คือข้อแตกต่างระหว่างคำว่า "สำนักวิชา" กับคำว่า "คณะ" ครับผม

มหาวิทยาลัยภายในประเทศไทยที่ใช้ "สำนักวิชา"

1. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
2. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
3. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
4. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (มีทั้งคณะกับอีก 1 สำนักวิชา คือ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา)

สุดท้ายนี้ไม่ว่ามหาวิทยาลัยจะเรียกองค์กรทางการศึกษาว่าอย่างไรหรือมีหลักสูตรรูปแบบใดนั้นไม่สำคัญ  สำคัญอยู่ที่ว่าคุณได้อะไรบ้างจากการที่คุณได้เข้าไปศึกษา ณ.มหาวิทยาลัย/หลักสูตรนั้นๆ และคุณได้จริงจังและเต็มที่กับการศึกษาเล่าเรียนหรือไม่ เพราะไม่ว่าคุณจะจบมาจากสถาบันใดหรือหลักสูตรใดก็ตาม หากคุณไม่นำความรู้ที่ได้จากการศึกษาเล่าเรียนไปใช้ให้เกิดประโยชน์หรือคุณนำความรู้ที่ได้นั้นมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน/การทำงานไม่ได้ แล้วใบปริญญาบัตรที่คุณได้รับมาจะมีความสำคัญอย่างไรกันเล่า

แสดงความคิดเห็น

>

24 ความคิดเห็น

MFU 10 พ.ย. 51 เวลา 01:09 น. 1

ขออภัยครับ! ลืมให้ เครดิต กับแหล่งข้อมูลครับ

1. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ >> http://www.engr.tu.ac.th/?edserv
2. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่&nbsp &nbsp  >> http://eng.cmu.ac.th/pro_student/tee.php
3. สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง >> http://itschool.mfu.ac.th/main/index.php?option=com_content&task=category&sectionid=4&id=13&Itemid=30
4. หลักสูตรโครงการจัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมเกษตร >> http://eng.cmu.ac.th/pro_student/tee8.php
5. วิกิพีเดีย >> http://th.wikipedia.org/wiki/คณะวิชา
6. กระทู้ "สำนักวิชา่กับคณะต่างกันยังไง" eduzone.com >> learning.eduzones.com/mfufriends/11231

0
ลองหาต่อไป 10 พ.ย. 51 เวลา 17:14 น. 2

ผมว่าไม่น่าเกี่ยวครับ
เพราะการเรียนการสอนของเมืองไทยนั้นอยากปฏิรูปแต่ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง
ก็เลยก้ำๆกึ่งๆกันมากกว่า

ถ้าอย่างสำนักวิชาที่เค้าบอกว่าเป็นมาตรฐานหรือ"เลียนแบบ"เมืองนอกก็อย่างเจ้าของกระทู้บอกคือแยกตามประเภทวิชา ได้แก่
วิทยาศาสตร์บริสุทธ์
วิทยาศาสตร์ประยุกต์
สังคมศาสตร์
มนุษยศาสตร์

แต่คราวนี้มหาวิทยาลัยในเมืองไทยออกจะมั่วๆหน่อย
ด้วยการที่ของใช้คำโปรยหรูๆในการมาตั้งชื่อคณะหรือชื่อมหาวิทยาลัยเพื่อฟังดูแล้วมีความศักดิ์สิทธิ์
เช่นสาขาวิชารัฐศาสตร์ เมืองไทยเรามี รัฐศาสตรบัณฑิต และ ศิลปศาสตร์บัณฑิต
ก็ยังเอามาถกเถียงกันว่าความศักดิ์สิทธ์มันต่างกัน ทั้งๆที่เมืองไทยก็ลอกเลียนมาจากต่างชาติเหมือนกัน
และชื่อปริญญาที่เป็นภาษาอังกฤษก็เหมือนกัน

คราวนี้มาดูมุมมองด้านคณะกันบ้าง ในหลายๆคณะก็มีชื่อปริญญาต่างกัน
อย่างเช่นคณะสังคมศาสตร์บางมหาวิทยาลัยที่มีภาควิชาแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงเช่น จิตวิทยา และ ประวัติศาสตร์
จิตวิทยาได้ปริญญา วิทยาศาสตร์บัณฑิต ส่วน ประวัติศาสตร์ก็เป็นที่แน่นอนว่าได้ ศิลปศาสตร์บัณฑิต

เมืองไทยไม่มีอะไรแน่นอนหรอกครับ
ทำอะไรตามใจคือไทยแท้ ถ้าจะให้แน่แปลความหมายจากภาษาอังกฤษจะดีกว่าเพราะพี่ไทยก็ลอกๆเค้ามา

0
-*- 10 พ.ย. 51 เวลา 22:38 น. 3

รู้สึก คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จะมีอยู่สาขานึงได้ วทบ. แต่ที่เหลือได้ วศบ.

แต่ก็ยังเป็นคณะ...&nbsp อ่าว... งง&nbsp &nbsp &nbsp คณะเมพ..... จบ

0
CT51 11 พ.ย. 51 เวลา 16:05 น. 4

งืม ขอบคุณครับ สำหรับความรู้

บอกไรเพิ่มให้ครับ

คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาเคมีเทคนิค (ตอนAdเข้าจะชื่อว่า ภาควิชาเคมีวิศวกรรม)
ปริญญาที่ได้คือ วท.บ.เคมีวิศวกรรม (B.Sc.Chemical Engineering)

ในขณะที่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี
ปริญญาที่ได้คือ วศ.บ.วิศวกรรมเคมี (B.Eng.Chemical Engineering)

แปลกดีว่าไหม

ปล.ผมอยู่เคมีเทคนิคคับ มีไรจะถามทิ้งไว้หรือ แอดเอ็มมาละกันคับ

0
Phar_NU 15 พ.ย. 51 เวลา 09:47 น. 5

มีอีกมหาลัยหนึ่งที่ใช้สำนักวิชาครับ

ใกล้ๆ กับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

คือ มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยาครับ
ใช้สำนักวิชาเหมือนกัน

0
พี่ลาเต้ Columnist 16 พ.ย. 51 เวลา 09:14 น. 6

ข้อมูลอ้างอิงแน่นมากๆครับ..ขอบคุณเจ้าของกระทู้นะครับ หานำเรื่องน่ารู้แบบนี้มาแบ่งปันกัน..

0
PlA 16 พ.ย. 51 เวลา 17:02 น. 8

ขายหนังสือเอนท์ คณิตศาสตร์15พ.ศ.
พร้อม A-net ปี 49-50
มีขอบข่ายของทุกวิชาที่สอบ
และคะแนนสูง-ต่ำของปีล่าสุด
จากราคาเดิม199 ลด10%

สนใจคิดต่อ 086-0023063 ค่ะ

0
data 17 พ.ย. 51 เวลา 09:55 น. 11

มหาวิทยาลัยภายในประเทศไทยที่ใช้ "สำนักวิชา"

5. มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา

0
เพิ่มเติม 17 พ.ย. 51 เวลา 11:06 น. 12

ถ้าเป็นเมืองนอก "สำนักวิชา" จะใช้ในมหาวิทยาลัยที่สร้างองค์ความรู้เป็นของตัวเอง เช่นในสาขาสังคมวิทยา ก็จะมีหลายสำนักวิชา อย่าง แฟรงเฟิร์ทสคูล ลอนดอนสคูล ในอเมริกา ก็จะมี ชิคาโก้สคูล ซึ่งแต่ละที่ก็จะสร้างความวชาญเฉพาะในสำนักวิชาของตัวเอง เช่น ชิคาโก้สคูล เป็น "สาขาวิชา" ที่อยู่ใน "คณะ" ที่มีความเชียวชาญด้านการศึกษาเรื่องสังคมเมือง&nbsp การกลายเป็นเมือง เพราะมีลักษณะที่เป็นเมืองที่เชื่อมระหว่างอเมริกาตะวันตกและตะวันออก ทำให้มีความหลากหลายของผู้คนที่ผ่านเข้ามาในพื้นที่นี้ในระดับที่สูง มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว&nbsp นักคิดนักสังคมวิทยาที่เชียวชาญด้านนี้จะมารวมตัวกันที่นี่&nbsp เวลาที่คนจะไปต่อป.โทหรือเอกที่ต่างประเทศ เค้าต้องดูว่ามหาวิทยาลัยนั้นเป็น สำนักวิชา หรือ สำนักคิด ด้านไหน เช่น ด้านสังคมเมือง&nbsp ด้านมาร์กซิส&nbsp ด้านวิพากษ์ เป็นต้น&nbsp แต่ถ้าย่อลงมาหน่อยสังคมวิทยาในประเทศไทยที่เห็นชัดๆ คือ จุฬา จะเน้นศึกษาด้านอิทธิพลของปัจจัย&nbsp ธรรมศาสตร์จะเน้นศึกษาด้านระบบสัญลักษณ์วิทยาและมายาคติ&nbsp เชียงใหม่จะเน้นศึกษาด้านสังคมชนบทและคนรากหญ้า เป็นต้น

0
m@xZ 18 พ.ย. 51 เวลา 02:27 น. 14

คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ม.ศิลปากร&nbsp เป็น คณะ แต่ก้อมี 2 วุฒิ นะ
มี 10 สาขา&nbsp วท.บ 2&nbsp วศ.บ. 8
วท.บ. 1.เทคโนโลยีอาหาร
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  2.เทคโนดลยีชีวภาพ
วศ.บ. 1.ปิโตรเคมีและวัสดุพอลิเมอร์
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  2.วิศวกรรมอุตสาหการ
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  3.วิศวกรรมเครื่องกล
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  4.วิศวกรรมเคมี
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  5.วิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  6.วัสดุขั้นสูงและนาโนเทคโนโลยี
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  7.วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบคอมพิวเตอร์
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  8.วิศวกรรมกระบวนการชีวภาพ
อ่าาา

0
MFLU 4 ธ.ค. 51 เวลา 22:36 น. 17

ขอขอบคุณทุกความเห็นนะครับ ถ้ามีข้อผิดพลาดประการใดก็ต้องขออภัยมา ณ. ที่นี้ด้วย และท่านใดมาความรู้ที่จะเพิ่มเติมก็นำเสนอมาได้เลยนะครับ

0
Neomate 4 ธ.ค. 51 เวลา 22:37 น. 18

คือตอนนี้ผมสมัคร เป็นสมาชิกของ Dek-d แล้วนะครับ ต่อไปนี้จาก MFU จะเปลี่ยนเป็น Neomate นะครับ

PS... MFLU ข้างบนก็คือผมครับ 

0
Neomate 5 ธ.ค. 51 เวลา 20:43 น. 19

ขอขอบพระคุณความคิดเห็นที่ 6,12 และ 17 นะครับ พอดีผมสะเพร่าเลยตกสำรวจไปน่ะครับ ต้องขออภัยทุกๆท่านด้วยครับผม

------------------------------------------------------------

ตอบคำถามความคิดเห็นที่ 15 นะครับ : จากชื่อคณะดังกล่าวซึ่งก็คือ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม จะเห็นได้ว่ามีการรวบรวมหลักสูตร 2 วุฒิปริญญามาไว้เป็นหนึ่งเดียวกันนะครับ ซึ่งถ้าสมมุตว่าทางสภามหาวิทยาลัยศิลปากรได้มีมติ ให้แยกเป็นคณะดังกล่าวออกเป็น 2 คณะซึ่งก็คือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม วุฒิปริญญาดังกล่าวก็จะแยกออกจากกันครับ คือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ก็จะได้วุฒิเป็น วศบ. และคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ก็จะได้รับวุฒิเป็น วทบ. ครับผม ก็ขอขอบพระคุณที่ได้ช่วยติงมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ

0
Neomate 5 ธ.ค. 51 เวลา 20:52 น. 20
ตอบคำถามความคิดเห็นที่ 3 นะครับ : สาขาวิชาที่คุณถามมาน่าจะเป็น วิศวกรรมซอฟแวร์ ครับผม 
ซึ่งวิศวกรรมซอฟแวร์ จะเรียนในเชิงการสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขึ้นมา ซึ่งในทางวิศวกรรมนั้นก็ยังไม่ได้มีการยอมรับว่าเป็นวิชาในเชิงวิศวกรรมเลยเสียทีเดียวครับผม จึงได้วุฒิปริญญาเป็น วทบ. ครับผม แต่ถ้าถามว่าแล้วทำไม "วิศวกรรมคอมพิวเตอร์" ถึงได้วุฒิเป็น วศบ. ล่ะ?  เนื่องมาจากวิศวกรรมคอมพิวเตอร์นั้น ไม่ได้เรียนเฉพาะการสร้างซอฟแวร์เพียงอย่างเดียวครับ แต่เราจะต้องเรียนเรื่ององค์ประกอบฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งพูดง่ายๆก็คือว่า เรียนรู้ทุกอย่างที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (เอาคอมพิวเตอร์มาชำแหละเลยก็ว่าได้) ถูกผิดประการใดก็ต้องขออภัยด้วยครับ เนื่องจากผมได้ไปสอบถามจากรุ่นพี่ที่เรียนสาขานี้ในมหาวิทยาลัยมาน่ะครับ

PS...ความจริงแล้วผมเรียน นิติศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงครับ
0