Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

เรื่องของต้นไม้ที่คุณอาจไม่เคยรู้!!!

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

          สำหรับไม้ต้นที่มีน้ำหนักเป็นสถิติสูงเท่าที่มีการคิดคำนวณกันมาน่าจะได้แก่ ต้นโคสต์เรดวูด (ซีควอยา) ซึ่งถูกวาตภัยพัดกระหน่ำเข้าใส่จนโค่นเสียตั้งแต่พ.ศ. 2448 แต่มีผู้บันทึกไว้ว่ามันมีปริมาตรลำต้น 2,549 ลูกบาศก์เมตร (9 หมื่นลูกบาศก์ฟุต) และมวลรวมของมันเท่ากับ 3,248 ตัน

มีการทำสถิติกันว่าไม้ต้นชนิดใดจะมีทรงพุ่มกว้างมากที่สุดในโลก จากการแข่งขันกันปรากฏว่าไม้ต้นที่ครองสถิติสูงที่สุด เป็นของไม้ต้นในวงศ์ไทร และมะเดื่อ (Moraceae) ชื่อว่าต้นนิโครธ (Ficus Benghalensis) ปลูกอยู่ในสวนพฤกษศาสตร์ที่กรุงกัลกัตตา ประเทศอินเดีย โดยมันแผ่ร่มเงาปกคลุมเนื้อที่ 1.2 เฮกตาร์ (3 เอเคอร์) หรือ 7 ไร่ครึ่ง เจ้าหน้าที่สวนพฤกษศาสตร์กล่าวว่ามันมีราก (ซึ่งเกิดจากรากอากาศห้อยย้อยลงมา) และพัฒนาไปเป็นรากค้ำจุน จำนวน 1,775 ราก ไม้ต้นยักษ์ดังกล่าววัดรอบวงได้ 412 เมตร (1,350 ฟุต) ต้นนิโครธที่มีชื่อเสียงเป็นหนึ่งของโลกต้นนี้ปลูกตั้งแต่พ.ศ. 2330 หรือกว่า 200 ปีล่วงมาแล้ว

สถิติที่น่าสนใจของไม้ต้นซึ่งเราไม่เคยทราบมาก่อนเลยได้แก่ ไม้ต้นที่เป็นไม้โบราณเก่าแก่ที่สุด และเหลือรอดชีวิตอยู่มาจนถึงปัจจุบันนั่นคือ ต้นแปะก๊วย หรือกิงโกะ (Ginkgo Biloba) ซึ่งเรียกกันว่าต้นผมแหม่ม (Maidenhair Tree) ในเมืองเจ้อเจียง สาธารณรัฐประชาชนจีน แปะก๊วยหรือกิงโกะนั้นเริ่มชีวิตของมันเมื่อ 160 ล้านปีก่อนในยุคจูราสิก และแพร่พันธุ์ออกไปในหลายทวีปจวบจนปัจจุบัน

ไม้ต้นที่รับประทานผลได้เอร็ดอร่อยกลับมีอายุสั้นกว่าไม้ต้นชนิดเดียวกันที่ให้แต่ดอกสวยงาม ต้นเชอร์รีดอกในจีน และญี่ปุ่นอาจมีอายุระหว่าง 50-100 ปี ในขณะที่ต้นโอ๊ก หรือต้นก่อ (Quercus) อาจมีอายุอยู่ระหว่าง 100-700 ปี หรือกว่านั้น

ในบรรดาประเทศในยุโรปมีต้นไม้ยักษ์อายุยืนอยู่มากที่สุด น่าจะเป็นประเทศอังกฤษ แต่ข้อมูลนี้ยังไม่เป็นที่รับรองกันในปัจจุบัน นอกจากเป็นข้อสันนิษฐานเท่านั้น

ไม้ต้นบางชนิดสามารถผลิตสารเคมีที่ช่วยรักษาโรคในมนุษย์ได้ เช่น ต้นยิว (Taxus Baccata) ซึ่งพบในอินเดียและอีกหลายประเทศ สามารถสกัดเอาสารเทซอล (Taxol) ใช้รักษามะเร็งทรวงอกและรังไข่ของสตรีได้จนมีอุตสาหกรรมผลิตกันในหลายประเทศ ต้นหลิวในส่วนเปลือก มีสารเคมี ซาลิซิน (Salicin และสารประกอบ Salicylates อื่นๆ) ช่วยรักษาโรคเลือดได้ เช่นเดียวกับแอสไพริน

ไม้ต้นมีความสามารถในการพัฒนาตัวให้แพร่พันธุ์ไปได้ไกลมาก จนเรานึกไม่ถึง ไม้ต้นพัฒนาวิธีการในการถ่ายละอองเกสรเพศผู้ หรือเรณู หลายต่อหลายวิธี เพื่อจะได้แน่ใจว่าเกสรเพศเมียของพืชพันธุ์ไม้ต้นชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดพันธุ์ จะได้รับการผสม ทั้งการผสมตัวเอง หรือผสมข้าม เพื่อให้เกิดความแน่ใจได้ว่าเผ่าพันธุ์ของมันจะติดผลออกเมล็ดและสืบพันธุ์ต่อไปอีก ไม้ต้นอาจพัฒนาวิธีการถ่ายละอองเกสรเพศผู้โดยการอาศัยลมมาช่วย อาศัยแมลง หรือแม้แต่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น ค้างคาว

ไม้ต้นประเภทใบกว้างหลายชนิดในเขตอากาศหนาวเย็น เปลี่ยนสีใบได้อย่างงดงามในฤดูใบไม้ร่วง เนื่องจากคลอโรฟิลล์สีเขียวในใบมีการสลายตัวไปแต่ไม่ช้าไม่นานนักมันอาจจะถูกดูดกลับไปใช้ใหม่โดยไม้ต้นเหล่านั้น ภายในช่วงเวลาก่อนหน้าจะสลัดใบร่วงหล่นลงไม่นานนัก ตัวอย่างไม้ต้นที่ใบเปลี่ยนสีได้ชัดเจน ก็คือ เอเซอร์ (Acer Palmatum) ก่อหรือโอ๊ก (Quercus) Swamp Cypress (Taxodium spp.) Carpinus, Carya, Castonea, Cercidiphyllum, Cladrastis, Cornus, Certinus, Crataegus, Fagus, Fraxinus, Ginkgo, Lagerstroemea, Liquidambar, Liriodendron, Malus, Metasequoia, Nyssa, Parrotia, Prunus, Pseudolarix, Pyrus, Quercus, Sassafras, Steioartia, Taxodium, Ulmus และ Zelkova เป็นตัวอย่างสกุลไม้ต้นที่ใบเปลี่ยนสีในฤดูใบไม้ร่วงได้อย่างงดงามยิ่ง


ที่มา หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์

แสดงความคิดเห็น

>

2 ความคิดเห็น

mutty 21 ก.ย. 52 เวลา 22:57 น. 2

ช๊อคกับเนื้อหา...วิชาการดี แต่มึนเล็กน้อย 

ปล.ขอภาพประกอบเยอะๆได้มั้ย?


PS.  สิ่งที่ขัดขวางการศึกษาของข้าพเจ้าคือระบบการศึกษา...และนักการเมืองโกงชาติ .........รวมไปถึงความขี้เกียจของข้าพเจ้าเองซึ่งเป็นอุปสรรคอันใหญ่หลวงของชีวิต
0