Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

[สารคดี]พลิกทะเลทรายให้กลายเป็นทะเลสาบ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

การเปิดเขื่อนยักษ์ซานเสียต้าป้า (เขื่อนสามโตรกผา Three-gorges dam) ของจีนเมื่อปี 2006 อาจจะทำให้หลายคนคิดว่า นั่นคือโครงการก่อสร้างด้านชลประทานที่ใหญ่ที่สุดของมนุษยชาติ นับจากเขื่อนฮูเวอร์ในยุคทศวรรษที่ 70 แต่หลังผืนทรายในอุ้งมือเหล็กของโมอัมมาร์ กัดดาฟี แห่งลิเบีย กำลังก่อสร้างระบบชลประทานที่จะพลิกผืนทรายให้กลายเป็นแหล่งน้ำ เปลี่ยนดินแดนแห้งแล้งให้ชุ่มฉ่ำ เป็นผืนนาอุดมสมบูรณ์

ขอต้อนรับสู่สารคดี The Great Man-made River

โครงการต่อท่อส่งน้ำและก่อสร้างอ่างเก็บน้ำที่ยิ่งใหญ่และทะเยอทะยานที่สุดในโลก



"น้ำจืด" ทรัพยากรที่กำลังทวีคุณค่ามากขึ้นทุกวันในโลกยุคศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดินแดนในเขตทะเลทรายที่ร้อนระอุและแห้งแล้งมาตลอด การแย่งชิงทรัพยากรน้ำกลายเป็นประเด็นในการพิพาทระหว่างประเทศมาแล้วนับหลาย ต่อหลายครั้ง เช่น กรณีพิพาทการสร้างเขื่อนอัสวานระหว่างอียิปต์และซูดาน สงครามอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนเส้นทางเดินของแม่น้ำจอร์แดนระหว่างชาติ อาหรับกับอิสราเอล

ประเทศลิเบีย ซึ่งอยู่ในเขต upper sahara มีพื้นที่ทะเลทรายในเขตประเทศถึง 65% แม้ว่าเมืองต่างๆในเขตลิเบีย ริมชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อย่่างตรีโปลี เบงกาซี จะเป็นเมืองโบราณเก่าแก่ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นแหล่งพักเรือของชนเผ่าการค้าอย่างชาวฟีนิเชียน คาร์เธจ หรือแม้แต่จักรวรรดิโรมันก็ตามแต่ปัญหาการขาดแคลนน้ำจืดก็เป็นปัญหาสำคัญ อันดับต้นๆในการพัฒนาเขตเมืองให้เจริญรุดหน้าเท่าเทียมประเทศตะวันตก



ในปี 1953 การขุดหาแหล่งน้ำมันใหม่ในเขตตอนใต้ของลิเบีย ไม่ได้พบเพียงแค่แหล่งสำรองน้ำมันขนาดใหญ่เท่านั้น แต่ยังพบแหล่งน้ำจืดใต้ดินขนาดมหึมาซ่อนตัวอยู่ใต้ชั้นหิน ประเมินกันว่าแหล่งน้ำดังกล่าวถูกเก็บกักไว้ตั้งแต่ราว 38,000 ถึง 17,000 ปีก่อน เมื่อครั้งที่ทะเลทรายสะฮารายังเป็นดินแดนแห่งพงไพรและพืชพันธุ์ไม้ที่อุดม สมบูรณ์ น้ำฝนที่โปรยปรายลงบนผืนป่าสะฮารา ได้ซึมซับเก็บกักไว้ใต้ชั้นดินและแผ่นหินมายาวนาน จนกระทั่งผืนป่าหมดสิ้น หน้าดินผุกร่อนกลายเป็นผืนทราย แต่น้ำฝนเหล่านั้นยังคงถูกเก็บกักไว้ในชั้นหิน

จากการสำรวจพบว่าในแหล่งน้ำจืดในชั้นหินสำรองอยู่ถึงสี่แอ่ง ได้แก่
แอ่งคูฟรา ทางตะวันออกเฉียงใต้ใกล้ชายแดนอียิปต์ ครอบคลุมพื้นที่กว่า 350,000 ตร.กม. ลึกลงไปกว่า 2,000 ม. มีปริมาณน้ำสำรองกว่า 20,000 ลบ.กม.
แอ่งเซิร์ต ในเขตใจกลางประเทศ มีชั้นน้ำลึกลงไปจากพื้นทราย 600 ม. เก็บกักน้ำไว้ 10,000 ลบ.กม.
แอ่งมุรซุก อยู่ใกล้เขตเมืองจาบาล ฮัสซัน มีน้ำเก็บกักไว้ราว 4,800 ลบ.กม.
และพื้นที่ระหว่างแอ่งอามาดาฮฺและแอ่งจัฟฟราฮฺ ใกล้ชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

ภาพ : โอเอซิสกลางทะเลทราย เงาสะท้อนของผืนป่าในบรรพกาล



เมื่อผู้ปกครองประเทศอย่างโมอัมมาร์ กัดดาฟี ทราบถึงศักยภาพของแหล่งทรัพยากรน้ำจืดนั้น จึงเล็งเห็นผลประโยชน์ของการนำน้ำจากอดีตกาลออกมาใช้ประโยชน์ให้เกิดกับชาว ลิเบียในปัจจุบัน เขาสั่งการให้ทำวิจัยศึกษาผลกระทบและความเสี่ยงจากโครงการในในปี 1974 และเริ่มก่อสร้างในอีกสิบปีต่อมา โดยอาศัยเงินงบประมาณจากรัฐบาลลิเบียเป็นแกนหลัก ซึ่งงบประมาณนั้นก็มาจากรายได้จากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมของลิเบียนั่นเอง

การก่อสร้างเริ่มต้นขึ้นโดยมีบริษัท บราวน์&รูท และ ไพรซ์ บราเธอร์ส เป็นที่ปรึกษาการออกแบบ โดยมีผู้รับเหมาเป็นบริษัทก่อสร้างสัญชาติเกาหลีใต้ชื่อ ดอง อาห์ คอนซอร์เตียม กัดดาฟีได้วางศิลาฤกษ์การก่อสร้างอย่างเป็นทางการ และตั้งชื่อโครงการนี้ว่า Great Man Made River Project (النهر الصناعي العظيم ) ในปี 1984

ภาพ : กัดดาฟีในยุคเริ่มต้นการก่อสร้าง

การก่อสร้างถูกวางแผนไว้เป็น 5 เฟส โดยจะแบ่งช่วงการก่อสร้างเป็นระยะๆ ระหว่างการต่อท่อส่งน้ำกลางทะเลทราย กับการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำในแต่ละเขต
เฟส I - ส่งน้ำให้ได้วันละ 2 ล้าน ลบ.ม. ผ่านท่อส่งน้ำยาว 1,200 กม. จากแอ่งอัซ-ซาเรียร์ และทาเซอร์โบ ไปสู่อ่างเก็บน้ำอัจดาบิยา บริการน้ำให้เมืองเบงกาซีและเซิร์ต
เฟส II - สูบน้ำจากแอ่งเฟซซัน สู่เขตที่ราบทริโปลีและจัฟฟารา
เฟส III - ขยายปริมาณส่งน้ำของเฟส I และเฟส II สู่เขตโทบรุก และต่อปั๊มสูบน้ำสู่อ่างเก็บน้ำอัล-จาฮฺบอบ
เฟส IV - ต่อท่อส่งน้ำถาวรสู่เขตโทบรุก
เฟส V - เชื่อมโครงข่ายท่อน้ำตะวันตกและตะวันออกเข้าหากันที่เมืองเซิร์ต

ซึ่งปัจจุบันในปี 2009 การก่อสร้างได้ดำเนินมาถึงเฟส III แล้ว และกำหนดให้การก่อสร้างทั้งหมดแล้วเสร็จภายในเวลา 25 ปี คือเสร็จสมบูรณ์ทั้งระบบในปีนี้นั่นเอง แต่การก่อสร้างก็อาจไม่เสร็จตรงตามเวลา หลังจากปี 2001 UNESCO ได้เข้ามามีบทบาทช่วยเหลือการก่อสร้างโครงการนี้โดยสนับสนุนบุคลากร วิศวกร และส่งเสริมแผนงานทางวิศวกรรม ทำให้การก่อสร้างคืบหน้าไปได้รวดเร็วขึ้น

สัญลักษณ์โครงการ GMR


การก่อสร้างทั้งหมดคิดเป็นมูลค่ากว่า 25,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยปราศจากเงินช่วยเหลือจากประเทศมหาอำนาจ หรือเงินกู้จากธนาคารโลก เนื่องจากลิเบียเคยถูกสหประชาชาติคว่ำบาตรในกรณีสนับสนุนผู้ก่อการร้ายให้ วางระเบิดสถานทูตอเมริกัน และสนับสนุนโจรปล้นเครื่องบินในปี 1994 จึงขาดแคลนทั้งแรงงานและเครื่องมือไปหลายระยะ





บริษัทก่อสร้างของเกาหลีและญี่ปุ่นที่เข้าไปรับเหมางานก่อสร้าง ได้จ้างแรงงานไทยไปจำนวนมาก ซึ่งจากเหตุการณ์คว่ำบาตรของสหรัฐประกอบกับคดีความของบริษัทเกาหลีที่มีกับ รัฐบาลลิเบีย ทำให้แรงงานไทยส่วนหนึ่งตกค้างและหาทางกลับบ้านไม่ได้ เป็นปัญหาแรงงานของโครงการนี้ที่ส่งผลเกี่ยวข้องกับไทยอีกด้านหนึ่ง

ผลของโครงการ

ประเทศลิเบียได้ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำที่รองรับน้ำจากแหล่งน้ำใต้ดินไว้ใน เมืองต่างๆเป็นระยะๆ ตลอดทางของท่อส่งน้ำ และริมเขตอ่างเก็บน้ำเหล่านั้นก็แปรสภาพมาเป็นพื้นที่เกษตรกรรม โดยอาศัยระบบให้น้ำแบบ pivot system ซึ่งเมื่อมองจากภาพถ่ายทางอากาศแล้วจะเห็นเป็นพื้นที่วงกลมสีเขียวต่อเนื่อง กันไปกลางทะเลทรายสีแดงคล้ายภาพกราฟฟิก ซึ่งพื้นที่ที่มีการชลประทานดังกล่าวจะเพิ่มความชุมชื่นให้เขตทะเลทราย อีกทั้งยังเก็บกักน้ำฝนซึ่งจะตกลงมาราวปีละ 1-2 ครั้งได้โดยไม่ซึมหายไปในพื้นทราย รัฐบาลลิเบียวาดหวังว่า ด้วยการขยายระบบชลประทานและพื้นที่สีเขียวในเขตทะเลทรายดังกล่าวนี่เอง จะดึงดูดให้บรรยากาศมีความชื้นเพียงพอทีไอน้ำจะกลั่นตัวเป็นฝน เพิ่มปริมาณฝนต่อปีให้มากขึ้น ทำให้พื้นที่ทะเลทรายที่พอเพาะปลูกได้ทำการเกษตรได้จากน้ำฝนต่อไป

ภาพ : เขตเกษตรกรรมริมอ่างเก็บน้ำ แกรนด์ โอมาร์ มุกตาร์


ภาพ : เขตเกษตรกรรมทรงกลม กลางทะเลทรายสะฮารา


แม้ว่านักนิเวศวิทยา นักธรณีวิทยา และ NGO ชาวตะวันตกจะวิพากษ์วิจารณ์ว่า การก่อสร้างดังกล่าวเปรียบเสมือนการใช้ทรัพย์สินเก่าแก่ที่โลกสะสมไว้ให้หมด ไปอย่างรวดเร็ว ประมาณการกันว่าแหล่งน้ำทั้ง 4 แอ่ง จะหมดสิ้นภายใน 100 ปี ก็ตาม แต่รัฐบาลลิเบียยังเดินหน้าก่อสร้างโครงการ GMR ต่อโดยไม่สนใจเสียงครหาแต่อย่างใด เพื่อพลิกฟื้นผืนทรายให้กลายเป็นผืนนา กลับทะเลทรายให้กลายเป็นทะเลสาบเพื่อให้ประชาชนในประเทศมีน้ำจืดกินใช้ และเพิ่มความอุดมแก่ผืนดินอย่างสมบูรณ์

ภาพ : อ่างเก็บน้ำกลางทะเลทรายซึ่งกลายเป็นโอเอซิสใหม่


เอกสารอ้างอิง

http://www.water-technology.net/projects/gmr/
http://www.galenfrysinger.com/man_made_river_libya.htm
http://bldgblog.blogspot.com/2006/01/great-man-made-river.html
http://www-naweb.iaea.org/napc/ih/Nubian/IHS_nubian_sitemap.html
http://www.geocities.com/Athens/8744/gmmr1991.htm
http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=409659

 

 

  คิดถึงเรื่อง ชี้ค ของประภัสสร เสวิกุล แฮะ

....แล้วประเทศไทยล่ะ?กู้มาทำอะไร



แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 10 ตุลาคม 2552 / 13:17

PS.  In omnibus requiem quaesivi, et nusquam inveni nisi in angulo cum libro.

แสดงความคิดเห็น

>

4 ความคิดเห็น

เหมันต์ใบไม้ผลิ 10 ต.ค. 52 เวลา 13:18 น. 1

ทำไม เขาไม่กลั่นน้ำทะเลเป็นน้ำจืดแล้วกักเก็บไว้ มันจะได้ผลดีกว่ารึเปล่าขอรับ
แบบนี้ ผลกระทบมันกว้างไป


PS.  The rule For me, It's nothings
0
Deta 10 ต.ค. 52 เวลา 14:25 น. 2

เอ่อ...สี่แหล่ง...หมดในร้อยปี

=[]=""""


PS.  [สถานะ:: กรุเปล่าเกรียนนะ แสรดดดด]// ข้าน้อยไม่ชอบสบู่ก้อน เพราะงั้นข้าน้อยไม่ก้มเก็บสบู่หรอกนะ =w=~ เมี้ยว~ // โฮะ! อะไรกัน? ท่านที่ทำสบู่ตกแบบนั้น หมายความว่ายังไงกันนะ? ลัลลา~~
0
ri_ringo 10 ต.ค. 52 เวลา 14:48 น. 3

โห!!! ไม่รู้จะพูดอะไรเลย

ชอบบรรทัดสุดท้าย...แล้วประเทศไทยกู้มาทำอะไร?


PS.  ด้วยรักและอยากฆ่า หึๆ โชคดีและโชกเลือด เป็นห่วงนะหวังว่านรกจะดูแลคุณ
0