Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ว้าวว! รายชื่อพายุไต้ฝุ่น โซนร้อน ดีเปรสชั่น (ช่วงนี้พายุเข้าเลยเอามาฝาก) ที่ก่อตัวทางมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกตอนบนและทะเลจีนใต้

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
รายชื่อพายุ ที่ก่อตัวทางมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกตอนบนและทะเลจีนใต้



หมายเหตุ  
1: จากคณะกรรมการพายุไต้ฝุ่น (1999)
2:
เริ่มใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2543

* ไมโครนีเซีย เป็นรัฐอิสระ อยู่บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก เหนือหมู่เกาะอินโดนีเซียที่ตั้งอยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตร หรือ 0 องศาไปทางเหนือ + 10 องศา หรือบริเวณเส้นละติจูด(เส้นรุ้ง) ที่ 10 องศาเหนือ

          พายุหมุนในเขตร้อน (Tropical Cyclone) เกิดขึ้นในบริเวณเส้นศูนย์สูตรระหว่าง 23 1/2 องศาเหนือ และ 23 1/2 องศาใต้ บริเวณก่อตัวของพายุ มักจะมีอุณหภูมิของน้ำสูงกว่า 26 องศาเซลเซียส (80 องศาฟาเรนต์ไฮต์) และลมสงบเงียบเป็นเวลานาน ลักษณะของพายุมีความกดอากาศต่ำ มีเมฆที่ก่อตัวทางตั้ง ตรงศูนย์กลางของพายุจะมีลักษณะกลมหรือว่ากลมรี เรียกว่าตาพายุ ขนาดเส้นผ่าศุนย์กลางประมาน 50-200 กม.ลมจะสงบเงียบ ท้องฟ้าโปร่งไม่มีฝน แต่บริเวณรอบๆจะมีลมรุนแรง มีพายุฝนฟ้าคะนอง

กรมอุตุนิยมวิทยา แบ่งความรุนแรงของพายุเขตร้อนเป็น 3 ระดับคือ
1. พายุดีเปรสชั่น (Depression) เป็นพายุกำลังอ่อน มีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางไม่เกิน 33 น๊อต (62 กม./ชม.)
2. พายุโซนร้อน (Tropical Storm) พายุปานกลาง มีความเร้วลมใกล้ศูนย์กลาง ตั้งแต่ 34-63 น๊อต (63-117 กม./ชม.)
3. พายุไต้ฝุ่น (Typhoon) เป็นพายุที่รุนแรงที่สุด มีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง ตั้งแต่ 64 น๊อต (118 กม./ชม.)  

          พายุที่เกิดซีกโลกเหนือ จะมีลมพัดเข้าหาศูนย์กลางในทิศทวนเข็มนาฬิกา ส่วนพายุในซีกโลกใต้ลมจะพัดเข้าหาศูนย์กลางตามเข็มนาฬิกา ในหลายท้องที่จะเรียกพายุไม่เหมือนกัน ถ้าเกิดบริเวณทางตะวันตกชองมหาสมุทรแปซิฟิกและบริเวณทั้งหมด ของมหาสมุทรแปซิฟิคใต้ จะเรียกว่าใต้ฝุ่น ถ้าเกดในมหาสมุทรแอตแลนติค ทะเลคาร์รีเบียน อ่าวเม็กซิโก และทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิคเหนือ จะเรียกว่า เฮอริเคน หากเกิดในมหาสมุทรอินเดีย จะเรียกว่า ไซโคลน แต่บางประเทศจะเรียกชื่อพิเศษออกไปอีก เช่น ออสเตรเลียเรียกว่า วิลลี่-วิลลี่ ที่ฟิลิปปินส์เรียกว่า บาเกียว การตั้งชื่อพายุเริ่มแรกจะใช้หมายเลข 1,2,3,4,.... แต่ค่อนข้างสับสน องค์กรอุตุนิยมวิทยาโลกและสมาชิกเลยตั้งชื่อเป็นอักษณโรมันตั้งแต่ตัว A-Z ตามลำดับก่อนหลังตามวันและเวลาเกิดพายุ และใช้ชื่อผู้หญิง เพื่อจะได้ลดความเกี้ยวกราดลง แต่กลุ่มสตรในอเมริกาได้ประท้วงหาว่าเปรียบผู้หญิงโหดร้าย เลยมีการตั้งชื่อผู้ชายไปด้วย แต่ในปี พศ. 2543 ได้เกิดระบบตั้งชื่อพายุใหม่โดยใช้ภาษาพื้นเมืองของแต่ละประเทศ ซึ่งประเทศในแถบแปซิฟิคตอนบนกับทะเลจีนใต้ รวม 14 ประเทศได้ตกลงกับ องค์กรอุตุนิยมวิทยาโลกตั้งชื่อพายุเอง โดนแต่ละประเทศจะเสนอชื่อมาประเทศละ 10 ชื่อรวม 140 ชื่อ แล้วแบ่งเป็น 5 กลุ่มๆละ 28 ชื่อ เมื่อเกิดพายุก็จะใช้ชื่อกลุ่มแรกไปเรื่อยจนหมดจึงใช้กลุ่ม 2 ต่อไป



เครดิต http://www.cmmet.tmd.go.th/met/typhoon.php



แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 31 กรกฎาคม 2554 / 22:14
แก้ไขครั้งที่ 2 เมื่อ 31 กรกฎาคม 2554 / 22:58

แสดงความคิดเห็น

>

4 ความคิดเห็น

Rose-shishi 3 ส.ค. 54 เวลา 22:03 น. 4

ฮาดีอ่ะ ของไทย
พายุทุเรียน กร๊ากๆๆๆ
จะหลบดียังไงล่ะเนี่ย


PS.  เพราะฉันคือฉัน อย่าพยายามทำให้ฉันเป็นใคร
0