Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

10 เรื่องน่ารู้ของเกาหลีใต้ ก่อนจะเกิดสงครามเกาหลี

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่




10. พรรคการเมือง

เมื่อ ธันวาคม พ.ศ. 2538 เกิดการรวมตัวของ 3 พรรคใหญ่ คือ พรรค Democratic Justice Party-DJP พรรค Reunification Democratic Party-RDP และ พรรค New Democratic Republican Party-NDRP และตั้งชื่อว่าพรรค New Korean Party-NKP ก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อ ธ.ค. 2540 ได้เกิดพรรคใหม่คือ พรรค Grand National Party -GNP (ซึ่งเป็นการรวมตัวของพรรค NKP กับพรรค New Party by the People) พรรค Millennium Democratic Party-MDP ซึ่งมีนาย คิม แด จุง เป็นหัวหน้าพรรค และ พรรค United Liberal Democrats-ULD ซึ่งมีนาย คิม จอง พิล เป็นหัวหน้าพรรค โดยพรรค MDP กับพรรค ULD ได้ร่วมกันส่งนายคิม แด จุง เข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี และได้รับชัยชนะ โดยนาย คิม จอง พิล ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ต่อมาพรรค ULD ได้ถอนตัวจากการร่วมรัฐบาล ปัจจุบันมีพรรคฝ่ายค้าน (Grand National Party-GNP) และพรรครัฐบาล (Millennium Democratic Party-MDP) และพรรคฝ่ายค้านเสียงส่วนน้อย (United Liberal Democrats-ULD) ทั้งนี้ พรรคฝ่ายค้าน GNP สามารถคุมเสียงข้างมากเด็ดขาดในสภารวม 139 ที่นั่ง ทั้งนี้เมื่อ 15 เม.ย. 2547 มีการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาเกาหลีใต้สมัยที่ 17 โดยเป็นการเลือกสมาชิกรัฐสภาทั้งสิ้น 299 ที่นั่งประกอบด้วยการเลือกตั้งโดยตรง 243 ที่นั่ง และจากส่วนพรรค (party list) 56 ที่นั่ง ผลการนับคะแนนอย่างเป็นทางการพรรค Uri ได้คะแนนเสียงข้างมากส่งผลให้พรรค Uri กลายเป็นฝ่ายครองเสียงข้างมากในรัฐสภาเกาหลีใต้ อย่างไรก็ตาม พรรค Uri ได้พ่ายแพ้ในการเลือกตั้งซ่อม 6 ครั้งในเดือนเมษายน 2548 ทำให้พรรค Uri ไม่ได้ครองเสียงข้างมากในสภาอีกต่อไป นอกจากนี้ ยังได้แพ้ในการเลือกตั้งซ่อมในเดือนตุลาคม 2548 อีก ทำให้เสถียรภาพของรัฐบาลมีปัญหามากขึ้น

9. รัฐธรรมนูญ

เกาหลีใต้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรกเมื่อ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2491 โดยได้มีการปรับปรุงแก้ไขมาโดยตลอดอีก 9 ครั้ง การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งล่าสุดมีขึ้นในปี พ.ศ. 2530 เมื่อรัฐบาลประธานาธิบดีชุน ดู ฮวาน ต้องประสบกับภาวะกดดันทางการเมืองจากพรรคการเมืองต่าง ๆ ซึ่งเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง และในที่สุด ประธานาธิบดีชุน ดู ฮวาน ก็ยินยอมให้มีการลงประชามติ แก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง โดยอยู่ในตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว (5 ปี) และให้มีการจัดระบบการปกครองท้องถิ่นอิสระเป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญที่ได้รับการแก้ไข ยังได้ยกเลิกอำนาจการยุบสภาของประธานาธิบดี และให้รัฐสภามีอำนาจหน้าที่ดูแลและตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล รวมทั้งระบุว่ากองทัพต้องวางตัวเป็นกลางทางการเมือง

8. สงครามเกาหลี

หลังเกิดสงครามเกาหลี เกาหลีใต้อยู่ใต้ เส้นขนานที่ 38 โดยมีเขตปลอดทหารเกาหลี แนวกันชนที่มีการป้องกันกว้าง 4.0 กิโลเมตร ระหว่างสองชาติเกาหลี อุบัติการณ์ขนาดย่อมยังคงดำเนินต่อมาตราบจนปัจจุบัน จากมุมมองวิทยาศาสตร์การทหาร สงครามเกาหลีเป็นการรวมยุทธศาสตร์และยุทธวิธีของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สองเข้าด้วยกัน โดยเริ่มต้นจากการสงครามเคลื่อนที่ด้วยการเข้าตีของทหารราบอย่างรวดเร็ว ตามด้วยการตีโฉบฉวยทิ้งระเบิดทางอากาศ แต่กลายเป็นสงครามสนามเพลาะที่อยู่นิ่งเมื่อถึงเดือนกรกฎาคม 1951

7. ภูมิศาสตร์

ตั้งอยู่ที่ ละติจูด 33-39 องศาเหนือ ลองจิจูดที่ 125-131 องศาตะวันออก 70% ของประเทศเป็นภูเขา

6. ศาสนา

ประเทศเกาหลีใต้ไม่มีศาสนาประจำชาติ และประชาชนมีอิสระในการนับถือศาสนา ในปี ค.ศ. 2005 ประชากรเกาหลีใต้เกือบครึ่งหนึ่งเป็นอศาสนา ส่วนที่เหลือส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธหรือคริสต์ ต่อมาในปี ค.ศ. 2007 ได้มีการสำรวจสำมะโนประชากร พบว่าร้อยละ 29.2 นับถือศาสนาคริสต์ (ในจำนวนนี้เป็นโปรเตสแตนต์ร้อยละ 18.3 และคาทอลิกร้อยละ 10.9) รองลงมาคือร้อยละ 22.8 นับถือศาสนาพุทธ นอกจากนี้ยังศาสนิกของศาสนาอิสลาม ซึ่งเข้าสู่เกาหลีครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 7 รวมทั้งลัทธิเกิดใหม่อย่าง ลัทธิช็อนโด และลัทธิว็อนบุล ทั้งยังมีการปฏิบัติศาสนกิจในลัทธิเชมัน ลัทธิดั้งเดิมของเกาหลีก่อนรับศาสนาอื่น ซึ่งนับถือเทพเจ้าผู้สร้างคือ ฮวันอิน (คือ พระอินทร์ในพุทธศาสนา) ทั้งได้รับการนับถือในกลุ่มชาวคริสต์ทั้งคาทอลิกและโปรเตสแตนต์ด้วย โบสถ์คาทอลิกจ็อนดง วัดแฮอินซา ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีศาสนิกมากที่สุดในเกาหลีใต้ มีศาสนิกชนราว 13.7 ล้านคน โดยประชากรราวสองในสามนิยมเข้าโบสถ์โปรเตสแตนต์ และประชากรร้อยละ 23 นิยมเข้าโบสถ์ของโรมันคาทอลิก อย่างไรก็ตามในช่วงปี ค.ศ. 1980 ศาสนิกชนเข้าโบสถ์โปรเตสแตนต์ลดลง เพราะการขยายตัวของนิกายโรมันคาทอลิก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเกาหลีใต้ถือเป็นประเทศที่มีการส่งมิชชันนารีออกเผยแผ่ศาสนามากเป็นอันดับสองของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา ศาสนาพุทธเข้ามามีบทบาทในเกาหลีตั้งแต่ปี ค.ศ. 372 จากการสำรวจสำมะโนประชากรในปี ค.ศ. 2005 มีศาสนิกชนราว 10.7 ล้านคน ปัจจุบันชาวพุทธส่วนใหญ่ในเกาหลีใต้ร้อยละ 90 นับถือนิกายโจ-กเย ซึ่งศาสนวัตถุของพุทธศาสนาจำนวนมากได้กลายเป็นสมบัติประจำชาติ ซึ่งตกทอดมาจากยุครัฐเหนือใต้ และยุคโครยอที่ศาสนาพุทธมีความเจริญจนถึงขีดสุด และภายหลังศาสนาพุทธได้อ่อนแอลงจากการปราบปรามของราชวงศ์โชซ็อนซึ่งนับถือลัทธิขงจื๊อ ศาสนาอิสลามเคยเข้ามามีอิทธิพลในดินแดนเกาหลีตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 ในยุครัฐเหนือใต้ แต่ผู้สืบเชื้อสายได้หันไปนับถือศาสนาพุทธหรือเชมันแทน เนื่องจากเกาหลีขาดการติดต่อกับโลกอาหรับ ปัจจุบันจากการเผยแผ่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีชาวมุสลิมสัญชาติเกาหลีใต้ราว 30,000-35,000 คน ขณะที่อิสลามิกชนส่วนใหญ่ราว 100,000 คนในเกาหลีใต้เป็นแรงงานชาวต่างชาติ อาทิ บังกลาเทศ และปากีสถาน ในเกาหลีใต้มีการขัดแย้งทางศาสนาอยู่ ดังกรณีศาสนิกบางส่วนของศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ได้แสดงความเป็นปฏิปักษ์ต่อศาสนาพุทธ มีเหตุการณ์วางเพลิงและการกระทำที่ป่าเถื่อนกับศาลเพียงตาของพุทธศาสนารวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ หลายสิบครั้ง รวมทั้งการทำลายวัดขนาดใหญ่หลายแห่งในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา โดยมีเนื้อความระบุว่าผู้กระทำผิดเป็นชาวโปรเตสแตนต์ และมีข้อความหลงเหลืออยู่ซึ่งประณามการบูชา "รูปเคารพ"

5. ฝ่ายบริหาร

1.ประธานาธิบดี เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากผู้มีสิทธิออกเสียง โดยมีวาระ 5 ปี และไม่สามารถลงสมัครแข่งขันเป็นครั้งที่ 2 ได้ เพื่อเป็นการป้องกันการขยายอำนาจ ประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งประมุขของรัฐ และผู้บัญชาการทหารสูงสุดด้วย รวมทั้งเป็นผู้มีอำนาจประกาศกฎอัยการศึก และมาตรการจำเป็นในยามฉุกเฉิน นอกจากนี้ประธานาธิบดีสามารถเสนอร่างกฎหมายให้รัฐสภาพิจารณาได้ อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดีไม่มีอำนาจยุบสภา 2.คณะรัฐมนตรี ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ซึ่งประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งโดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยประธานาธิบดีในด้านบริหารประเทศ รวมทั้งมีอำนาจในการพิจารณานโยบายต่าง ๆ ของประเทศ และการเข้าร่วมประชุมรัฐสภา คณะรัฐมนตรีมีจำนวน 20 คน นอกจากนี้ ฝ่ายบริหารยังประกอบด้วย สภาที่ปรึกษาอาวุโส สภาความมั่นคงแห่งชาติ สภาที่ปรึกษาการรวมประเทศ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจแห่งชาติ คณะกรรมการวางแผนและงบประมาณ คณะกรรมการเกี่ยวกับสิทธิสตรี สภาที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะกรรมการเกี่ยวกับธุรกิจขนาดกลางและเล็ก คณะกรรมการตรวจสอบการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาล และสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติ โดยประธานของคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี ทั้งนี้ หน่วยงานเหล่านี้ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำต่อคณะรัฐบาลด้วย

4. การปกครอง

หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2491 คาบสมุทรเกาหลีถูกแบ่งเป็นสองส่วนโดยเส้นละติจูดที่ 38 องศาเหนือ (มักเรียกว่าเส้นขนาน 38) โดยสหภาพโซเวียตดูแลเกาหลีเหนือมีการปกครองระบอบสังคมนิยม ส่วนสหรัฐอเมริกาดูแลเกาหลีใต้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ปกครองในระบอบประชาธิปไตย ประมุขของประเทศคือประธานาธิบดี ซึ่งได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนให้เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร มีนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา รัฐสภาเป็นองค์กรนิติบัญญัติ และศาลทำหน้าที่ทางตุลาการ ทั้งนี้ เกาหลีใต้มีการแบ่งเขตการปกครองเป็น 9 จังหวัด และ 6 เขตการปกครอง (โซล ปูซาน อินชอน แตกู ควังจู แตชอน)

3. ราชวงศ์

ในปัจจุบัน แม้ว่าสาธารณรัฐเกาหลีจะปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐซึ่งมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ แต่ก็ยังมีผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ในตำแหน่งสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งเกาหลีที่ถูกล้มล้างไปโดยจักรวรรดิญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ. 1910 เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 2006 เจ้าชายวอน รัชทายาทแห่งเกาหลี ได้ทรงสถาปนาพระองค์เองขึ้นดำรงพระยศเป็นประมุขแห่งราชตระกูลจักรพรรดิเกาหลี (ราชวงศ์โชซ็อน) แต่กระนั้น เจ้าหญิงแฮวอนแห่งเกาหลี ก็ทรงได้รับการสนับสนุนจากคณะราชนิกูลที่เห็นว่าพระนางมีพระอาวุโสสูงสุดในราชวงศ์ จึงจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นเสวยราชย์ดำรงพระยศเป็นประมุขแห่งราชตระกูลจักรพรรดิเกาหลีเช่นเดียวกัน เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม ค.ศ. 2006 พร้อมทั้งทรงประกาศฟื้นฟูสถาบันจักรพรรดิในสาธารณรัฐเกาหลีอย่างเป็นทางการและอ้างสิทธิในราชบัลลังก์จักรพรรดิแห่งเกาหลี โดยเรียกพระองค์เองว่า จักรพรรดินีแห่งเกาหลี (Empress of Korea) อย่างไรก็ตาม ยังมีกลุ่มราชนิกุลบางส่วนสนับสนุนให้เจ้าชายชังขึ้นเสวยราชย์และอ้างสิทธิเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิ เพราะมีคุณสมบัติที่ครบถ้วนแต่พระองค์กลับปฏิเสธ ทั้งนี้ ประชาชนเกาหลีมีสถาบันจักรพรรดิเป็นศูนย์รวมจิตใจมาตั้งแต่ช่วงที่เกาหลีเป็นประเทศในอารักขาของจักรวรรดิญี่ปุ่น จนกระทั่งการสิ้นพระชนม์ของเจ้าชายโฮอุนแห่งเกาหลี ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ของเกาหลีพระองค์ก่อนเมื่อปี ค.ศ. 2005 แต่เนื่องจากไม่มีผู้สืบราชสันตติวงศ์ส่งผลให้บัลลังก์ของราชวงศ์โชซ็อนว่างเว้นจากตำแหน่งสมเด็จพระจักรพรรดิช่วงหนึ่งในปี ค.ศ. 2005 อย่างไรก็ตาม เป็นที่คาดการณ์ว่าสาธารณรัฐเกาหลีจะมีการฟื้นฟูสถาบันจักรพรรดิอย่างเป็นทางการในอนาคต หากมีการรวมชาติระหว่าง 2 เกาหลี โดยเชื่อว่าสถาบันจักรพรรดินั้นคือศูนย์รวมประวัติศาสตร์ของทั้ง 2 ประเทศในอดีต โดยสำนักโพลในประเทศสาธารณรัฐเกาหลี ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วไป พบว่า ร้อยละ 54.4 สนับสนุนให้มีการฟื้นฟูสถาบันจักรพรรดิในสาธารณรัฐเกาหลีโดยให้เป็นสัญลักษณ์ของรัฐและมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร

2. กองกำลัง

เกาหลีใต้มีกำลังพลทั้งหมด 3,539,000 คน แบ่งเป็นทหารประจำการ 639,000 คน และกำลังสำรอง 2,900,000 คน และกองหนุน 300,000 คน

1. มือที่มองเห็น

ต่างจากเกาหลีที่มีมือที่มองไม่เห็นสนับสนุนดันหลังอยู่ เกาหลีใต้ถูกหนุนโดยพี่ใหญ่อย่าง "พี่กัน" และเหล่าพันธมิตรที่แข็งแกร่งอีกมากมาย เหตุที่มีเยอะก็คบงเป็นเพราะเกาหลีใต้รับบทเป็นฝ่ายดีไม่ได้เป็นผู้เริ่มสงครามก่อนนั้นเอง แถมยังใจเย็นอดทนต่อสิ่งยั่วยุได้เป็นอย่างดี ในกรณีเรือลาดตระเวนโชนัน ของเกาหลีใต้จมโดยไม่ทราบสาเหตุ ทั้งๆที่สาเหตุน่าจะมาจากตอปิโดของเรือดำน้ำเกาหลีเหนือแน่นอน




Cr. toptenthailand


แสดงความคิดเห็น

>

3 ความคิดเห็น