Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ราชสกุลในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

ราชสกุลในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

มี 27 ราชสกุล



แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 26 พฤศจิกายน 2549 / 18:21

PS.  เศร้ากับชีวิต อนาถจิตกับสันดาน นิพพานกับความจริง I love Onepiece

แสดงความคิดเห็น

46 ความคิดเห็น

Ms.Allsunday 26 พ.ย. 49 เวลา 17:48 น. 1



กมลาสน์

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากมลาสเลอสรรค์ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร พระนามเดิม พระองค์เจ้ากมลาสเลอสรรค์ พระราชโอรสพระองค์ที่ ๒๗ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเที่ยง ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือน ๑๒ ขึ้น ๖ ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก จ.ศ. ๑๒๑๘ (พ.ศ. ๒๓๙๙)

พระองค์เจ้ากมลาสเลอสรรค์ ทรงรับราชการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ ๑๐๐ ปี พ.ศ. ๒๔๒๕ พระองค์เจ้ากมลาสเลอสรรค์ ทรงรับหน้าที่ซ่อมปรับปรุงเครื่องประดับประดา เครื่องศิลา กระถางต้นไม้ ประดับพระอาราม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระองค์เจ้ากมลาสเลอสรรค์ ทรงกรมเป็น กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร กำกับราชการกรมช่างหล่อ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากมลาสเลอสรรค์ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร ทรงประทับอยู่ที่วัง บริเวณสี่กั๊กพระยาศรี ใกล้โรงพักสำราญราษฎร์ สิ้นพระชนม์ในสมัยรัชกาลที่ ๗ เมื่อวันศุกร์ เดือน ๑๒ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีมะแม ตรีศก จ.ศ. ๑๒๙๓ (พ.ศ. ๒๔๗๔) พระชนมายุได้ ๗๕ พรรษา ทรงเป็นต้นราชสกุล กมลาสน์ (กมลาศน์)



แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 26 พฤศจิกายน 2549 / 18:22

PS.  เศร้ากับชีวิต อนาถจิตกับสันดาน นิพพานกับความจริง I love Onepiece
0
Ms.Allsunday 26 พ.ย. 49 เวลา 17:49 น. 2


กฤษดากร

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ พระนามเดิม พระองค์เจ้ากฤดาภินิหาร พระราชโอรสองค์ที่ ๑๗ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร ประสูติเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๐ ประสูติแด่เจ้าจอมมารดากลิ่น ธิดาพระยาดำรงค์ราชพลขันธ์(จุ้ย คชเสนี หลานปู่ของเจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรีย) ทรงว่าราชการกรมพระนครบาล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในขณะนั้นเรียกชื่อว่า "คอมมิตตี กรมพระนครบาล" ทรงเป็นผู้ปรับปรุงและจัดระเบียบกิจการตำรวจกรมกองตระเวน ตามแบบอย่างของสิงคโปร์ หลังจากได้โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประพาสสิงคโปร์ เมื่อ ร.ศ. ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๓) ต่อมาได้พัฒนามาเป็นกิจการตำรวจไทย

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็น กรมหมื่นนเรศร์วรฤทธิ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๘ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เป็น กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒ และทรงราชการเป็นสมุหมนตรี และเสนาบดีกระทรวงมุรธาธร

กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ ทรงฉายพระรูปพร้อมกับ เจ้าจอมมารดากลิ่นพระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร ทรงประทับที่วังถนนพระอาทิตย์ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างตำหนักพระราชทานบนที่ดินมรดกของพระองค์ ต่อมาเมื่อทรงเจริญพระชันษาครบ ๕ รอบใน พ.ศ. ๒๔๖๐ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชทรัพย์สำหรับทรงสร้างตำหนักหลังใหม่ ชื่อ "วังมะลิวัลย์" ส่วนเจ้าจอมมารดากลิ่นยังคงพำนักอยู่ที่ตำหนักเดิม

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ ประทับที่วังมะลิวัลย์จนสิ้นพระชนม์ ใกล้เคียงกับที่เจ้าจอมมารดากลิ่นถึงแก่กรรม เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๖ และได้ประดิษฐานพระโกศพระศพ และโกศศพไว้ที่ท้องพระโรงของวังมะลิวัลย์นี้ ทรงเป็นต้นราชสกุล กฤดากร


PS.  เศร้ากับชีวิต อนาถจิตกับสันดาน นิพพานกับความจริง I love Onepiece
0
Ms.Allsunday 26 พ.ย. 49 เวลา 17:50 น. 3


เกษมศรี

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเกษมศรีศุภโยค กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ พระนามเดิม พระองค์เจ้าเกษมศรีศุภโยค พระราชโอรสพระองค์ที่ ๓๐ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาจันทร์ ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือน ๙ แรม ๑๒ ค่ำ ปีมะเส็งนพศก จ.ศ. ๑๒๑๙ (พ.ศ. ๒๔๐๐)

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็น กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๙ ทรงโปรดฯ ให้กำกับกรมช่างมุก

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเกษมศรีศุภโยค กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ ทรงสิ้นพระชนม์ในสมัยรัชกาลที่ ๖ เมื่อวันจันทร์ เดือนอ้าย แรม ๑๓ ค่ำ ปีเถาะสัปตศก จ.ศ. ๑๒๗๗ (พ.ศ. ๒๔๕๘) พระชันษา ๕๙ ปี ทรงเป็นต้นราชสกุล เกษมศรี


PS.  เศร้ากับชีวิต อนาถจิตกับสันดาน นิพพานกับความจริง I love Onepiece
0
Ms.Allsunday 26 พ.ย. 49 เวลา 17:51 น. 4


เกษมสันต์

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ พระนามเดิม พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ พระราชโอรสองค์ที่ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาแพ เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๓๙๙

พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ ทรงเป็นพระเจ้าน้องยาเธอที่มีบทบาทในงานวรรณกรรมในช่วงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นเจ้าของและบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ ดรุโณวาท ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกที่เผยแพร่แก่ประชาชน และดำเนินการโดยคนไทย เริ่มออกฉบับแรกเมื่อ พ.ศ.๒๔๑๗ ชื่อหนังสือมีความหมายว่า "โอวาทหรือคำสอนของคนหนุ่ม" มีทั้งสารคดีและบันเทิงคดี มีสาระทันสมัย แสดงความสามารถและสติปัญญาของคนหนุ่มรุ่นใหม่ในยุคนั้น

พระองค์เจ้าเกษมสันตโสภาคย์ รับราชการในโรงพิมพ์และการเสื้อหมวก เป็นพนักงานจารึกอักษรในแผ่นศิลาประดับวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๗ พระชนมายุได้ ๖๘ พรรษา


PS.  เศร้ากับชีวิต อนาถจิตกับสันดาน นิพพานกับความจริง I love Onepiece
0
Ms.Allsunday 26 พ.ย. 49 เวลา 17:52 น. 5


คัคณางค์

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล กรมหลวงพิชิตปรีชากร พระนามเดิม พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาพึ่ง ประสูติเมื่อวันจันทร์ที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๙๘

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล รับหน้าที่เป็นนายด่าน ทำการก่อสร้างหอพระคันธารราฐ ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งก่อสร้างค้างมาตั้งแต่รัชกาลก่อน

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสังเกตเห็นว่าพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์นี้ มีพระอัธยาศัยนิยมศึกษาตัวบทกฎหมายและอรรถคดี จึงทรงโปรดฯ ให้ไปศึกษากฎหมายและการพิจารณาความกับ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์ ซึ่งทรงบัญชาการศาลรับสั่ง อยู่ในขณะนั้น ในปี พ.ศ. ๒๔๑๗ ทรงโปรดให้ตั้งองคมนตรีสภา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล เป็นองคมนตรีในครั้งนั้นด้วย และแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรี พิจารณาความรับสั่งบางเรื่อง

 

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้ตั้งศาลฎีกา ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๑๙ พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล ทรงเป็นอธิบดีศาลฎีกา พระองค์แรก และทรงได้รับการสถาปนาพระเกียรติยศขึ้นเป็น กรมหมื่นวิชิตปรีชากร และเป็นอธิบดีศาลแพ่งกลาง และศาลแพ่งเกษม อีก ๒ ศาล ในเวลาต่อมา

ในปี พ.ศ. ๒๔๒๗ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิชิตปรีชากร เป็นข้าหลวงขึ้นไปรักษาเมืองเชียงใหม่พระองค์ได้ทรงจัดการศาลต่างประเทศ และจัดการระเบียบการปกครองภาคเหนือใหม่ ต่อมาเมื่อเสด็จกลับกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. ๒๔๒๘ ทรงได้รับสถาปนาพระเกียรติยศขึ้นเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร

ในปี พ.ศ. ๒๔๓๔ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ทรงเป็นข้าหลวงใหญ่ เสด็จขึ้นไปว่าราชการอยู่ที่มณฑลอีสาน จังหวัดอุบลราชธานีทรงปรับปรุงการปกครองหัวเมืองทางภาคอีสาน ซึ่งในขณะนั้นเป็นเพียงหัวเมืองชั้นนอก ประมาณ ๒๐ หัวเมืองขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร ยังมิได้รวมเป็นมณฑล ในการเสด็จออกตรวจราชการตามท้องที่ต่างๆ ทำให้พระองค์มีความรู้เกี่ยวกับชายแดนลาว และเขมร เป็นอย่างดี

เมื่อเสด็จกลับกรุงเทพมหานคร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมหลวงพิชิตปรีชากร เป็นผู้พิพากษาฝ่ายไทยร่วมกันพิจารณาคดีความร่วมกับฝรั่งเศส ในกรณีพระยอดเมืองขวาง ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๓๗ ทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม พระองค์ที่สอง สืบต่อจากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัตน์วิศิษฎ์ ซึ่งถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง เพื่อเสด็จไปราชการ ณ ประเทศยุโรป

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ทรงมีความรู้ด้านการแพทย์ ทรงเป็นคนไทยคนแรกที่คิดประดิษฐ์ปรุงยาไทยผสมกับยาต่างประเทศ นอกจากนี้ยังทรงมีพระอัจฉริยภาพในด้านการพระนิพนธ์บทร้อยแก้วและร้อยกรอง มากมายหลายเรื่อง เช่น ท้ายกาสีหา นางปทุมสังกา พระองค์ยังได้ร่วมกับพระเจ้าพี่ยาเธอ และพระเจ้าน้องยาเธอ จัดตั้ง หอสมุดวชิรญาณ ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๒๓ เพื่อเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ทรงศึกษาภาษาอังกฤษด้วยพระองค์เองจนกระทั่งอ่านสามารถ fiction และ novel ภาษาอังกฤษได้คล่อง ทรงนิพนธ์ เรื่องสนุกนึก ซึ่งเป็นเรื่องสั้นเรื่องแรก ที่เรียกว่าเป็นบันเทิงคดี ตามแบบอย่างนิยายฝรั่ง ถือเป็นนิยายเรื่องแรกของไทย

ในปี พ.ศ. ๒๔๓๙ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ได้ถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งเสนาบดี กระทรวงยุติธรรม เพราะทรงพระประชวร ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๒ สิริพระชันษาได้ ๕๔ ปี ทรงเป็นต้นราชสกุล คัคณางค์


PS.  เศร้ากับชีวิต อนาถจิตกับสันดาน นิพพานกับความจริง I love Onepiece
0
Ms.Allsunday 26 พ.ย. 49 เวลา 17:53 น. 6


จักรพันธุ์

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ พระนามเดิม เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี พระราชโอรสพระองค์ที่ ๒๘ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระองค์ที่ ๓ ใน สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ประสูติเมื่อวันอังคารที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๓๙๙ เป็นพระราชอนุชาร่วมพระครรโภทรในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ ทรงเป็นพระราชวงศ์พระองค์หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการปฏิรูปการปกครองในช่วงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีพระองค์แรกของกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ทรงวางรากฐานการดำเนินงานของกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และทรงกำหนดระเบียบวิธีการจัดเก็บภาษีอากรอย่างเป็นระบบ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ ประทับอยู่ ณ พระราชวังเดิม ซึ่งเป็นพระราชวังตั้งแต่ครั้งกรุงธนบุรี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๒๔ จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ในคืนวันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๓ พระชนมายุได้ ๔๔ พรรษา


PS.  เศร้ากับชีวิต อนาถจิตกับสันดาน นิพพานกับความจริง I love Onepiece
0
Ms.Allsunday 26 พ.ย. 49 เวลา 17:54 น. 7


จันทรทัต

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรทัตจุฑาธาร กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา พระนามเดิม พระองค์เจ้าจันทรทัตจุฑาธาร พระราชโอรสพระองค์ที่ ๕๑ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่จอมมารดาโหมด ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือนอ้าย แรม ๑๓ ค่ำ ปีวอกโทศก จ.ศ. ๑๒๒๒ (ตรงกับวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๐๓)

พระองค์เจ้าจันทรทัตจุฑาธาร ทรงรับราชการกรมราชเลขานุการ ผู้ช่วยกระทรวงว่าการต่างประเทศ อธิบดีกรมศึกษาธิการ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็น กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพยาบาล มีหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการศิริราชพยาบาล จัดการศึกษาวิชาแพทย์ ควบคุมโรงพยาบาลอื่นๆ จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดฯ ให้ยุบกรมพยาบาล และโอนย้ายหน่วยงานต่างๆ ในสังกัด ไปสังกัดกระทรวงธรรมการ กระทรวงนครบาล กระทรวงมหาดไทย และโรงเรียนราชแพทยาลัย

ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านดำรงตำแหน่งมหาอำมาตย์ตรี กระทรวงยุติธรรม

พระองค์เจ้าจันทรทัตจุฑาธาร ทรงสนพระทัยและทรงศึกษาเกี่ยวกับตำนานพระบรมสารีริกธาตุ และพระอรหันตสาวกธาตุ ทรงนิพนธ์หนังสือ "ตำราพระธาตุ" ซึ่งเป็นตำราเก่าแก่โบราณ บันทึกลักษณะสัณฐานและการจำแนกพระธาตุ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรทัตจุฑาธาร กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๗ เมื่อวันจันทร์ เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ปีวอกจัตวาศก จ.ศ. ๑๒๙๔ (ตรงกับวันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๕) พระชันษาได้ ๗๒ ปี ทรงเป็นต้นราชสกุล จันทรทัต


PS.  เศร้ากับชีวิต อนาถจิตกับสันดาน นิพพานกับความจริง I love Onepiece
0
Ms.Allsunday 26 พ.ย. 49 เวลา 17:55 น. 8


จิตรพงศ์

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ หรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ มีพระนามเดิม พระองค์เจ้าจิตรเจริญ ต่อมาทรงได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นเจ้าฟ้า ทรงเป็นต้นราชสกุล จิตรพงศ์ เป็นพระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงพรรณราย ประสูติเมื่อวันอังคารเดือน ๖ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ปีกุนเบญจศก จ.ศ. ๑๒๒๕ ตรงกับวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2406

พระกรณียกิจ

ด้านการรับราชการ

พระองค์ทรงเป็นเสนาบดีหลายกระทรวงทั้งกระทรวงโยธาธิการ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงกลาโหม กระทรวงวัง

 

สมัยรัชกาลที่ 7 ทรงตำแหน่งอภิรัฐมนตรีที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน อุปนายกราชบัณฑิตยสภา แผนกศิลปากร หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ขณะที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จต่างประเทศ

พระเกียรติประวัติด้านศิลปกรรม

งานสถาปัตยกรรมที่โปรดทำมากคือ แบบพระเมรุ ด้วยเป็นงานที่ทำขึ้นใช้ชั่วคราวแล้วรื้อทิ้งไป เป็นโอกาสได้ทดลองใช้ปัญญาความคิดแผลงได้เต็มที่ จะผิดพลาดไปบ้างก็ไม่สู้กระไร ระวังเพียงอย่างเดียวคือเรื่องทุนเท่านั้น

งานสถาปัตยกรรมชิ้นเอก คือ การออกแบบก่อสร้างพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2442

งานด้านสถาปัตยกรรมเป็นงานที่พระองค์ทรงพิถีพิถันอย่างมาก เพราะตรัสว่า "ต้องระวังเพราะสร้างขึ้นก็เพื่อความพอใจ ความเพลิดเพลินตา ไม่ใช่สร้างขึ้นเพื่ออยากจะรื้อทิ้ง ทุนรอนที่เสียไปก็ใช่จะเอาคืนมาได้ ผลที่สุดก็ต้องทิ้งไว้เป็นอนุสาวรีย์สำหรับขายความอาย"

ด้านภาพเขียน

เช่น ภาพเขียนสีน้ำมันประกอบพระราชพงศาวดาร แผ่นดินพระเจ้าท้ายสระครั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นภาพช้างทรงพระมหาอุปราชแทงช้างพระที่นั่ง ภาพเขียนรถพระอาทิตย์ที่เพดานพระที่นั่งภานุมาศจำรูญ (พระที่นั่งบรมพิมาน)  ภาพประกอบเรื่องธรรมาธรรมะสงคราม  ภาพแบบพัดต่าง ๆ

ด้านวรรณกรรม

มีทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง เช่น โคลงประกอบภาพจิตรกรรมภาพพระราชพงศาวดาร, โคลงประกอบเรื่องรามเกียรติ์ ทรงนิพนธ์เมื่องานฉลองพระนครครบรอบร้อยปี, ลายพระหัตถ์โต้ตอบประทานบุคคลต่าง ๆ เช่น จดหมายเวรโต้ตอบกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ลายพระหัตถ์ประทานความรู้ในลักษณะจดหมายโต้ตอบพระสารประเสริฐและพระยาอนุมานราชธน เรื่องภาษาและประเพณี ลายพระหัตถ์โต้ตอบเหล่านี้ เป็นเหมือนคลังความรู้สำหรับผู้สนใจใฝ่ศึกษาค้นคว้าทั่วไป

ด้านงานออกแบบ

ออกแบบตรากระทรวงต่าง ๆ, อนุสาวรีย์ทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่ 1, องค์พระธรณีบีบมวยผมที่เชิงสะพานผ่านพิภพลีลา พระบรมรูปหล่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชที่เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า

ด้านดุริยางคศิลป์และนาฏศิลป์

ทรงสนพระทัยทั้งดนตรีไทยและดนตรีสากล โดยเฉพาะดนตรีไทยนั้นทรงฝึกฝนมาแต่พระเยาว์ ทรงถนัดเล่นปี่พาทย์และระนาดมากกว่าเครื่องดนตรีอื่นๆ

ด้านบทละคร

ทรงนิพนธ์บทละครดึกดำบรรพ์ไว้หลายเรื่อง เช่น สังข์ทอง ตอนทิ้งพวงมาลัย ตีคลี และตอนถอดรูป

คาวี ตอนเผาพระขรรค์ ชุบตัว และตอนหึง อิเหนา ตอนตัดดอกไม้ฉายกริช ไหว้พระ และตอนบวงสรวง รามเกียรติ์ ตอนศูรปนขาตีสีดา

ด้านเพลงพระนิพนธ์

เพลงสรรเสริญพระบารมี เพลงเขมรไทรโยค เพลงตับ เช่น ตับแม่ศรีทรงเครื่อง ตับเรื่องขอมดำดิน

 

 

สวรรคต

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงประชวรด้วยโรคพระหทัยโตขณะที่ยังทรงรับราชการในตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงวังจึงกราบถวายบังคมลาออกจากราชการ แต่ยังรับราชการส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงใช้เวลาส่วนใหญ่กับงานศิลปะและวิทยาการจนพระกำลังพระปัญญาเสื่อมลงทุกที ด้วยทรงพระชราด้วยโรคภัยเบียดเบียน คือโรคพระหทัยโต หลอดลมอักเสบเรื้อรัง และโรคเส้นพระโลหิตแข็ง วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2490 จึงสิ้นพระชนม์โดยสงบ ขณะมีพระชันษาได้ 83 ปี

วันที่ 28 เมษายนเป็นวันครบรอบวันประสูติของพระองค์ ทุกปีจะมีงาน "วันนริศ" ณ ตำหนักปลายเนิน คลองเตย มีการแสดงละคร การบรรเลงเพลงพระนิพนธ์ การตั้งแสดงงานฝีพระหัตถ์บางชิ้น และการมอบ "ทุนนริศรานุวัดติวงศ์" แก่นักศึกษาในสาขาวิชาศิลปะ

องค์การยูเนสโกยกย่องให้พระองค์เป็นบุคคลสำคัญของโลกประจำปี พ.ศ. 2506


PS.  เศร้ากับชีวิต อนาถจิตกับสันดาน นิพพานกับความจริง I love Onepiece
0
Ms.Allsunday 26 พ.ย. 49 เวลา 17:55 น. 9


ชยางกูร

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยานุชิต กรมหมื่นพงศาดิศรมหิป พระนามเดิม พระองค์เจ้าไชยานุชิต พระราชโอรสพระองค์ที่ ๕๕ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเที่ยง ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน ๙ แรม ๖ ค่ำ ปีระกาตรีศก จ.ศ. ๑๒๒๓ (๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๐๔)

พระองค์เจ้าไชยานุชิต ทรงดำรงตำแหน่งเจ้ากรมพิพิธภัณฑ์พระองค์แรก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๐ ภายหลังจากที่ยกฐานะเป็นกรมหนึ่งในกระทรวงธรรมการ ทรงรับราชการกรมชลประทาน ทรงอำนวยการขุดคลอง ตั้งแต่คลองสิบสี่ ถึงคลองยี่สิบเอ็ด ในจังหวัดฉะเชิงเทรา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็น กรมหมื่นพงศาดิศรมหิป เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๑

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยานุชิต กรมหมื่นพงศาดิศรมหิป สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๘ เมื่อวันอังคาร ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๓ ปีกุนสัปตศก จ.ศ. ๑๒๙๗ (๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘) พระชันษา ๗๔ ปี พิธีพระราชทานเพลิงศพ ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๙ ทรงเป็นต้นราชสกุล ชยางกูร


PS.  เศร้ากับชีวิต อนาถจิตกับสันดาน นิพพานกับความจริง I love Onepiece
0
Ms.Allsunday 26 พ.ย. 49 เวลา 17:56 น. 10


ชุมพล

พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ พระนามเดิม พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช พระราชโอรสองค์ที่ ๑๑ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และองค์ที่ ๓ ใน เจ้าจอมมารดาพึ่ง ประสูติเมื่อวันอังคารที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๐๐

พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช ทรงสำเร็จการศึกษาทางด้านกฏหมายและด้านช่าง ทรงเริ่มรับราชการในกรมช่างทหารใน และดำรงตำแหน่งราชองครักษ์(เอดเดอแกมป์) ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๗ ทรงรับราชการในตำแหน่งอธิบดีศาลฎีกาและศาลแพ่ง ใน พ.ศ.๒๔๓๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาพระเกียรติยศเป็น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ ตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ

ต่อมาทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็น ข้าหลวงต่างพระองค์ เสด็จไปรับราชการที่มณฑลลาวกาว (อิสาน) ครอบคลุมท้องที่จังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร อำนาจเจริญ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม และกาฬสินธุ์ และตั้งกองบัญชาการที่จังหวัดอุบลราชธานี ใน พ.ศ. ๒๔๓๖ โดยทรงรับผิดชอบทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน พระองค์ปกครองมณฑลอิสานเป็นเวลากว่า ๑๗ ปี พ.ศ.๒๔๕๓ พระองค์ได้เสด็จกลับกรุงเทพฯ และทรงได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงวัง

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับสถาปนาพระเกียรติยศเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ และได้กราบถวายบังคมลาออกจากราชการ เนื่องจากทรงพระชรา และมีพระอนามัยไม่สมบูรณ์

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมพลสมโภช กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๕ รวมพระชนมายุได้ ๖๕ พรรษา ทรงเป็นต้นราชสกุล "ชุมพล"


PS.  เศร้ากับชีวิต อนาถจิตกับสันดาน นิพพานกับความจริง I love Onepiece
0
Ms.Allsunday 26 พ.ย. 49 เวลา 17:57 น. 11


ไชยันต์

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย พระนามเดิม พระองค์เจ้าไชยันตมงคล พระราชโอรสพระองค์ที่ ๗๗ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาห่วง ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน ๓ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ปีฉลูสัปตศก จ.ศ. ๑๒๒๗ (พ.ศ. ๒๔๐๘)

พระองค์เจ้าไชยันตมงคล ทรงรับราชการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในตำแหน่งนายพันเอก ราชองครักษ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๘ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็น กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงวัง และกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ทรงก่อตั้งธนาคารแห่งแรกที่ดำเนินการโดยคนไทย ใช้ชื่อว่า บุคคลัภย์ (Book Club) ต่อมาได้รับพระบรมราชานุญาตให้จดทะเบียนตั้งเป็นธนาคารได้ถูกต้องตามกฎหมาย ใช้ชื่อว่า บริษัทแบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด (Siam Commercial Bank Co.) ปัจจุบันคือ ธนาคารไทยพาณิชย์ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล ทรงได้รับการยกย่องเป็น พระบิดาแห่งวงการธนาคารไทย

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อวันจันทร์ เดือน ๖ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีมะแมนพศก จ.ศ. ๑๒๖๙ (พ.ศ. ๒๔๕๐) พระชันษา ๔๔ ปี ทรงเป็นต้นราชสกุล ไชยันต์


PS.  เศร้ากับชีวิต อนาถจิตกับสันดาน นิพพานกับความจริง I love Onepiece
0
Ms.Allsunday 26 พ.ย. 49 เวลา 17:58 น. 12


ดิสกุล

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๕๗ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าจอมมารดาชุ่ม ธิดาพระอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ) ต้นราชสกุล "โรจนดิศ" เป็นเจ้าจอมมารดา ประสูติในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๐๕ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกนาถ พระราชทานพระนามและพระพร ประกอบด้วยคาถาเป็นภาษาบาลีซึ่งมีคำแปลดังต่อไปนี้ "สมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏ พระจอมเกล้าเจ้าแผ่นดินสยาม ผู้บิดาตั้งนามกุมารบุตรที่เกิดแต่ชุ่มเล็กเป็นมารดานั้นว่าดังนี้ พระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าดิศวรกุมาร นาคนาม ขอจงเจริญชนมายุ วรรณ สุข พล ปฏิภาณ สรรพสิริสวัสดิพิพัฒนมงคล ทุกประการ สิ้นกาลนานต่อไป เทอญ" พระองค์ยังทรงเป็นต้นราชสกุลดิศกุล

ทรงศึกษา

พระองค์ทรงเริ่มเรียนหนังสือไทยชั้นต้นจากสำนักคุณแสงและคุณปาน ราชนิกุล ในพระบรมมหาราชวัง ทรงศึกษาภาษาอังกฤษในโรงเรียนหลวง ซึ่งมีมิสเตอร์ ฟรานซิส ยอร์ช แพตเตอร์สัน เป็นพระอาจารย์

พ.ศ. ๒๔๑๘ เมื่อมีพระชนม์ได้ 13 พรรษา ได้ทรงผนวชเป็นสามเณรที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงเป็น พระอุปัชฌาย์ และประทับจำพรรษาที่วัดบวรนิเวศวิหาร

พ.ศ. ๒๔๒๐ ได้ทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก ได้รับพระราชทานยศเป็นนายร้อยตรีทหารมหาดเล็ก บังคับกองแตรวง พระชนมายุได้ 15 ปี

ทรงงาน

-พ.ศ. ๒๔๒๒ ได้รับพระราชทานยศเป็นนายร้อยโท ผู้บังคับการทหารม้า ในกรมทหารมหาดเล็กและในปีเดียวกันนี้ได้รับพระราชทานยศเป็น นายร้อยเอก ราชองค์รักษ์ประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระชนมายุได้ 17 ปี

-พ.ศ. ๒๔๒๓ ได้รับพระราชทานยศเลื่อนเป็นนายพันตรี ผู้สนองพระบรมราชโองการ ว่าการกรมทหารมหาดเล็ก

-พ.ศ. ๒๔๒๔ โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไปสังกัดกรมทหารปืนใหญ่ ซึ่งเรียกกันในสมัยนั้นว่า "กรมกองแก้วจินดา" ทรงจัดตั้งโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ

-พ.ศ. ๒๔๒๕ ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงเป็นพระ อุปัชฌาย์ และประทับจำพรรษาที่วัดนิเวศธรรมประวัติ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

-พ.ศ. ๒๔๒๘ โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไปเป็นผู้บังคับการทหารมหาดเล็ก และได้รับพระราชทานยศเป็นนายพันโท

-พ.ศ. ๒๕๒๙ โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระสุพรรณบัฎ และทรงประกาศแต่งตั้งให้ดำรงพระอิสริยยศ เป็น "กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ"

-พ.ศ. ๒๔๓๐ โปรดเกล้าฯ ให้เป็นผ้บัญชาการทหารบก

-พ.ศ. ๒๔๓๑ ได้รับพระราชทานยศเป็นนายพลตรี

-พ.ศ. ๒๔๓๒ โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายจากงานฝ่ายทหารไปปฏิบัติงานทางพลเรือน ทรงเป็นผู้กำกับ กรมธรรมการ

-พ.ศ. ๒๔๓๓ โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนขึ้นเป็นอธิบดีกรม ศึกษาธิการ

-พ.ศ. ๒๔๓๕- ๕๘ โปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดี กระทรวงมหาดไทย

-พ.ศ. ๒๔๔๒ โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระอิสริยยศเป็น "กรมหลวงดำรงราชานุภาพ"

-พ.ศ. ๒๔๕๔ โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระอิสริยยศ เป็น "กรมพระดำรงราชานุภาพ"

-พ.ศ. ๒๔๕๘ ดำรงตำแหน่งนายกหอพระสมุดสำหรับ พระนคร

-พ.ศ. ๒๔๖๖ ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมุรธาธร และเป็นนายพลเอก

-พ.ศ. ๒๔๖๘ ดำรงตำแหน่งอภิรัฐมนตรี

-พ.ศ. ๒๔๖๙ ดำรงตำแหน่งนายก ราชบัณฑิตยสภา

-พ.ศ. ๒๔๗๒ โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อน พระอิสริยยศเป็น "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ"

สิ้นพระชนม์

เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ ที่วังวรดิศ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สิ้นพระชนม์ สิริรวมพระชนม์มายุได้ ๘๑ พรรษา ได้ทรงประกอบพระกรณียกิจด้านต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่เป็นงานใหญ่ และงานสำคัญอย่างยิ่ง ของบ้านเมือง ทรงเป็นกำลังสำคัญในการบริหารประเทศหลายด้าน และทรงเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นอย่างสูง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เคยตรัสชมพระองค์ เปรียบเทียบว่าเป็นเสมือน "เพชรประดับพระมหาพิชัยมงกุฎ" ผลงานด้านต่าง ๆ ของพระองค์แสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพอันสูง เป็นที่ประจักษ์แก่มหาชนทุกยุคทุกสมัย


PS.  เศร้ากับชีวิต อนาถจิตกับสันดาน นิพพานกับความจริง I love Onepiece
0
Ms.Allsunday 26 พ.ย. 49 เวลา 17:59 น. 13


ทวีวงศ์

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ พระนามเดิม พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ หรือกรมภู กรมภูธเรศ นั้น ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๒๔ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารตาตลับ ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน ๔ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ปีเถาะสัปตศก จ.ศ. ๑๒๑๗ (พ.ศ. ๒๓๙๘)

พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ ทรงรับราชการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรม สถาปนาขึ้นเป็น กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ ต่อมาทรงโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเสนาบดีกรมพระนครบาล หรือ กระทรวงนครบาล

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ ทรงประทับอยู่ที่วังสะพานช้างโรงสี เหนือ (เรียกกันว่า วังเหนือ) ซึ่งเดิมเป็นวังที่ประทับของ กรมหมื่นสนิทนเรนทร์ และกรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชา เมื่อกรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์สิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดฯ ให้แบ่งพื้นที่ทำเป็นตึกแถว พระราชทานชื่อถนนย่านนั้นว่า แพร่งภูธร ตามพระนามของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันพุธ เดือนอ้าย ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีระกา นพศก จ.ศ. ๑๒๕๙ (พ.ศ. ๒๔๔๐) พระชันษา ๔๒ ปี ทรงเป็นต้นราชสกุล ทวีวงศ์


PS.  เศร้ากับชีวิต อนาถจิตกับสันดาน นิพพานกับความจริง I love Onepiece
0
Ms.Allsunday 26 พ.ย. 49 เวลา 18:00 น. 14


ทองแถม

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ พระนามเดิม พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาสังวาลย์ ธิดานายศัลยวิชัย ( ทองคำ ณ ราชสีมา ) ประสูติเมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๐๐ ทรงเป็นพระบิดาแห่งภาพยนตร์ไทย

พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ ทรงพระปรีชาในด้านงานช่าง ทรงร่วมรับหน้าที่บูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อครั้งสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๑๐๐ ปี พ.ศ. ๒๔๒๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมเกียรติพระองค์ ทรงกรมเป็น กรมหมื่นสรรพสาตรศุภกิจ ผู้บังคับการกรมช่างมหาดเล็ก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๑ ทรงบังคับบัญชางานช่างต่างๆ ในพระบรมมหาราชวังชั้นใน พระราชวังบางปะอิน สวนสราญรมย์ ทรงรับผิดชอบงานโยธาในการก่อสร้าง พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย และวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

กรมหมื่นสรรพสาตรศุภกิจได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประพาสสิงคโปร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๙ และได้ทอดพระเนตรภาพยนตร์เป็นครั้งแรก ในปีต่อมา ทรงตามเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ได้ทรงจัดซื้อเครื่องซีเนมาโตกราฟฟี ซึ่งเป็นทั้งกล้องถ่ายและเครื่องฉายภาพยนตร์ กลับมาเมืองไทยด้วย ภาพบันทึกเหตุการณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรป เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๐ นับเป็นภาพยนตร์ม้วนแรกสุดในโลกที่ได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับชาติไทย

กรมหมื่นสรรพสาตรศุภกิจได้ทรงถ่ายทำภาพยนตร์บันทึกเหตุการณ์เบ็ดเตล็ด ทั้งในและนอกเขตพระราชวัง จนถึงภาพพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ทรงเป็นผู้ดำเนินธุรกิจจัดฉายภาพยนตร์เก็บค่าดูจากสาธารณชน ที่บริเวณวังสรรพสาตรศุภกิจ และในงานออกร้านประจำปีวัดเบญจมบพิตร นับว่าทรงเป็นพระบิดาแห่งภาพยนตร์ไทย

พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ ทรงประทับอยู่ที่วังสรรพสาตรศุภกิจ ที่ก่อสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๔ วังนี้ถูกไฟไหม้หมดจนเหลือแต่ซุ้มประตูทางเข้าวัง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐ และมีการสร้างตึกแถวสมัยใหม่ขึ้นมาแทน ปัจจุบันย่านนี้เรียกว่า แพร่งสรรพศาสตร์

 

 

พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ ทรงได้รับเฉลิมพระเกียรติเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๕ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับราชการตำแหน่งสุดท้ายเป็น นายพันเอกราชองครักษ์ ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๒ พระชนมายุได้ ๖๒ พรรษา ทรงเป็นต้นราชสกุล ทองแถม และทรงมีเชื้อสายที่ไม่ได้นับเป็นราชสกุล คือสกุล ทองเจือ และ สุวรรณรัฐ


PS.  เศร้ากับชีวิต อนาถจิตกับสันดาน นิพพานกับความจริง I love Onepiece
0
Ms.Allsunday 26 พ.ย. 49 เวลา 18:01 น. 15


ทองใหญ่

พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม พระนามเดิม พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาสังวาลย์ ธิดานายศัลยวิชัย ( ทองคำ ณ ราชสีมา ) ทรงเป็นพระเจ้าลูกเธอองค์ที่ ๒๕ ในรัชกาลที่ ๔ ประสูติในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันเสาร์ เดือน ๕ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีมะโรง จุลศักราช ๑๒๑๘ ตรงกับวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๙ เมื่อสมโภชเดือนแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่า พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ เพราะในวันประสูติมีผู้นำทองคำก้อนใหญ่ ซึ่งขุดได้ที่ตำบลบางสะพานในเวลานั้นได้เข้ามาทูลเกล้าฯ ถวาย ทรงถือว่าเป็นศุภนิมิตมงคลสำหรับพระเจ้าลูกเธอพระองค์นี้

พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ ทรงมีพระอนุชา พระขนิษฐาในเจ้าจอมมารดาเดียวกันอีก ๓ พระองค์คือ

-พระองค์เจ้าชายทองแถมถวัลยวงศ์ (ภายหลังได้รับสถาปนาเป็นกรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๒ ต้นสกุล ทองแถม )

-พระองค์เจ้าชายเจริญรุ่งราษี

-พระองค์เจ้าหญิงกาญจนากร

พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ ทรงเริ่มการศึกษาวิชาอักษรไทย และบาลี กับพระองค์เจ้ากฤษณา หม่อมเจ้าหญิงจอ และพระยาปริยัติธรรมธาดา (เปี่ยม) และทรงศึกษาภาษาต่างประเทศกับ นางเลียวโนเว็น และ นายแป็ตเตอสัน จนสามารถตรัส และเขียนภาษาอังกฤษได้ดี

ทรงผนวชเป็นสามเณรที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑ และเสด็จไปประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงผนวชที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๘ และประทับที่วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม และได้ศึกษาพระธรรมวินัยกับสมเด็จพระสังฆราช (สา) เมื่อลาสิกขาแล้วทรงศึกษาวิชากฎหมายจากขุนหลวงไกรศรี (หนู) แล้วเข้ารับราชการเป็นนักเรียนศาลฎีกาในสมัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์ เป็นอธิบดีศาลฎีกา

ภาพวาดสุริยุปราคาเต็มดวง วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๑๘เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๑๘ ได้เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ขึ้นในประเทศไทย "ท่านทอง" พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ ได้ทรงคำนวนการเกิดสุริยุปราคาถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คณะนักดาราศาสตร์อังกฤษได้ตั้งค่ายสังเกตสุริยุปราคาที่แหลมเจ้าลาย จังหวัดเพชรบุรี นักดาราศาสตร์เหล่านี้ไม่สามารถถ่ายภาพสุริยุปราคาไว้ได้ คงมีแต่ภาพวาดฝีพระหัตถ์ของพระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ และถูกบันทึกอยู่ในตำราดาราศาสตร์ ในนามของ Prince Tong

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๔ เป็นกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ทรงเป็นกำลังสำคัญของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการรักษาดินแดนไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส ครั้งวิกฤต ร.ศ. ๑๑๒ ทรงเป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายใต้ปราบปรามกบฏจีนฮ่อในมณฑลลาวพวนจนสงบราบคาบ
                ในเวลาต่อมา ทรงดำรงตำแหน่งข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลฝ่ายเหนือ พ.ศ. ๒๔๓๖ ได้ทรงตั้งกองบัญชาการมณฑลลาวพวนที่ บ้านหมากแข้ง ทรงสร้างความเจริญ จากหมู่บ้านชนบทจนเป็นเมืองอุดร และต่อมาได้ยกฐานะเป็นจังหวัดอุดรธานี

พ.ศ. ๒๔๔๒ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็น กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ทรงดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารเรือ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม สิ้นพระชมน์ ณ วังตรอกสาเก เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๗ โรคอันตะ (ไส้ใหญ่ ) พิการ สิริพระชันษาได้ ๖๘ พรรษา ทรงเป็นต้นราชสกุล ทองใหญ่


PS.  เศร้ากับชีวิต อนาถจิตกับสันดาน นิพพานกับความจริง I love Onepiece
0
Ms.Allsunday 26 พ.ย. 49 เวลา 18:02 น. 16


เทวกุล

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ พระนามเดิม ว่า พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับ สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าจอมมารดาเปี่ยม) ร่วมพระชนนีเดียวกับสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า โดยทรงเป็นพระเจ้าลูกเธอชั้นเล็ก ลำดับที่ ๔๒ ในจำนวนทั้งหมด ๘๒ พระองค์ ทรงมีพระเชษฐาพระขนิษฐา ๖ พระองค์

-พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย (พระองค์นี้ได้รับพระนามตามบทบาทของเจ้าจอมมารดา)

-พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ)

-พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์(สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวีพระองค์แรกในรัชกาลที่ ๕)

-พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา (สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า)

-พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง)

-พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัตน์วิศิษฎ์)

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน ๑๒ แรม ๗ ค่ำ ปีมะเมียสัมฤทธิศก จ.ศ. ๑๒๒๐ ตรงกับวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๑ ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อทรงพระเยาว์ ทรงได้รับการศึกษาขั้นต้นเขียนอ่านภาษาไทยในสำนักพระองค์เจ้าหญิงมณี และพระองค์เจ้าหญิงกฤษณา (พระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ ๓) ทรงศึกษาภาษามคธ แล้วเข้าชั้นมัธยมศึกษาในสำนักพระยาปริยัติธรรมธาดา (เปี่ยม) ผนวชเป็นสามเณร ไปประทับอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงศึกษาพระธรรมวินัยในสำนักสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงเล่าเรียนภาษาอังกฤษที่โรงเรียนหลวง ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งขึ้นภายในกรมทหารมหาดเล็ก ในพระบรมมหาราชวัง กระทั่งลาผนวช และเข้ารับราชการ

สมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ทรงบริหารราชการแผ่นดินตลอดพระชนม์ชีพถึง ๓ รัชกาล จากรัชกาลที่ ๔ ถึงรัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทรงดำรงตำแหน่งไปรเวตสิเกรตารีฝรั่ง (ราชเลขานุการฝ่ายต่างประเทศ) ทำหน้าที่ดูแลงานต่างประเทศ ทรงมีบทบาทสำคัญด้านการทูต เป็นผู้เจรจาข้อพิพาทกับฝรั่งเศส ครั้งวิกฤต ร.ศ. ๑๑๒ ทรงเสนอให้มีการตั้งสถานทูตในต่างประเทศ ที่ยุโรปและสหรัฐอเมริกา ทรงว่าราชการเป็นเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศทั้งในรัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๖ เป็นเวลา ๓๗ ปี จนได้ชื่อว่าเป็น องค์บิดาแห่งการต่างประเทศของไทย

นอกเหนือจากการงานด้านการต่างประเทศ ได้ทรงงานที่สำคัญตลอดพระชนม์ชีพอีกหลายด้านเช่น ได้ทรงดำรงตำแหน่งนายกสภาการคลังในปี พ.ศ. ๒๔๖๕ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้เป็น 'อัครมหาเสนาบดี' ทรงมีผลงานพระนิพนธ์หนังสือหลายเล่ม

 

สมเด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ทรงสนพระทัยในวิชาโหราศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศใช้ปฏิทินแบบใหม่ตามสุริยคติตามแบบสากล จากเดิมที่ประเทศไทยใช้แบบจันทรคติ สมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ทรงเป็นผู้คิดปฏิทินไทยใช้ตามสุริยคติ เรียกว่า เทวะประติทิน มีการกำหนดชื่อเดือนขึ้นมาใหม่ จากเดิมที่ใช้ เดือนอ้าย เดือนยี่ ถึงเดือนสิบสอง เป็นชื่อเดือนแบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานสร้างวังให้สมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ บนที่ดินพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ชื่อว่า วังเทวะเวสม์ ทรงเป็นต้นราชสกุล เทวกุล

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๖ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๘ แรม ๑ ค่ำ ปีกุนเบญจศก จ.ศ. ๑๒๘๕ ตรงกับวันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๖ พระชันษา ๖๖ ปี


PS.  เศร้ากับชีวิต อนาถจิตกับสันดาน นิพพานกับความจริง I love Onepiece
0
Ms.Allsunday 26 พ.ย. 49 เวลา 18:03 น. 17


นพวงศ์

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านพวงศ์ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส หรือ พระองค์เจ้าชายนพวงศ์ วรองค์อรรคมหามกุฎ ปรมุตมราโชรส พระนามเดิม พระองค์เจ้านพวงศ์ พระราชโอรสพระองค์ที่ ๑ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน้อย ธิดาของพระอินทรอำไพ(สมเด็จเจ้าฟ้าทัศไภย พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีกับ กรมหลวงบริจาภักดี ศรีสุดารักษ์) ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๔ แรม ๑๐ ค่ำ ปีมะเมียจัตวาศก จ.ศ. ๑๑๘๔ (พ.ศ. ๒๓๖๕) พระองค์เจ้านพวงศ์ ทรงเป็นพระโอรสหนึ่งในสองพระองค์ที่ประสูติก่อนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะทรงพระราชพิธีบรมราชาภิเษก (อีกพระองค์หนึ่งคือ พระองค์เจ้าสุประดิษฐ์)

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็น กรมหมื่นมเหศวรศิวลาส กำกับดูแลกรมล้อมพระราชวัง ต่อมาโปรดฯให้กำกับราชการกรมพระคลังมหาสมบัติ เพิ่มอีกตำแหน่ง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านพวงศ์ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส สิ้นพระชนม์เมื่อวันศุกร์ เดือน ๘ แรม ๓ ค่ำปีเถาะนพศก จ.ศ. ๑๒๒๙ (พ.ศ. ๒๔๑๐) พระชันษา ๔๖ ปี ทรงเป็นต้นราชสกุล นพวงศ์


PS.  เศร้ากับชีวิต อนาถจิตกับสันดาน นิพพานกับความจริง I love Onepiece
0
Ms.Allsunday 26 พ.ย. 49 เวลา 18:05 น. 18


ภาณุพันธุ์

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช หรือพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชชนนี ประสูติเมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๐๒ ทรงเป็นผู้ให้กำเนิดกิจการไปรษณีย์ไทย ทรงเสด็จทิวงคต เมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๑ ทรงเป็นต้นราชสกุลภาณุพันธุ์

หนังสือค๊อตข่าวราชการ

สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ทรงประทับอยู่ ณ ตำหนักหอนิเพทพิทยาคม ริมประตูศรีสุนทร ในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งเป็นสถานที่ที่ทรงศึกษาภาษาอังกฤษร่วมกับเจ้านายที่เป็นพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์อื่นๆ เมื่อยังทรงพระเยาว์ ต่อมาแม้การสอนภาษาอังกฤษที่นั่นจะยกเลิกไป แต่เจ้านายก็ยังเสด็จไปชุมนุมกันที่ตำหนักหอนิเพทพิทยาคม

 

สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ได้ทรงชักชวนพระเจ้าน้องยาเธอบางพระองค์ ช่วยกันจดข่าวในพระราชสำนักแต่ละวันมาพิมพ์เผยแพร่เป็นหนังสือพิมพ์ข่าวรายวัน เจ้านายที่ทรงร่วมจดข่าวในครั้งเริ่มแรกมี ๖ พระองค์ คือ พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ากฤษฎาภินิหาร พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ หนังสือข่าวเล่มแรกพิมพ์ออกเผยแพร่เมื่อวันอาทิตย์ ที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๑๘ ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า "COURT" ซึ่งแปลว่า พระราชสำนัก ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๑๙ จึงใช้ชื่อภาษาไทยว่า ข่าวราชการ ในเวลาต่อมาจึงเรียกว่า หนังสือค๊อตข่าวราชการ

สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ทรงดำริให้มีคนเดินส่งหนังสือแก่ผู้รับหนังสือทุกๆ คน ทุกๆ เช้า โดยคิดเงินค่าสมาชิก และเมื่อคนส่งหนังสือไปส่งหนังสือที่บ้านสมาชิกผู้ใดแล้ว ผู้นั้นจะฝากจดหมายส่งถึงสมาชิกผู้หนึ่งผู้ใดก็ได้ โดยจะต้องซื้อแสตมป์ปิดจดหมายของตนที่จะฝากไปส่งและลงชื่อของตนเองทับแสตมป์แทนตราเพื่อให้เป็นแสตมป์ที่จะนำไปใช้อีกไม่ได้ แสตมป์นั้นทำเป็นพระรูปเหมือนอย่างที่พิมพ์ไว้ข้างหน้าหนังสือ COURT ขายดวงละอัฐและให้ซื้อได้จากโรงพิมพ์หนังสือข่าวราชการ ราคาค่าจ้างส่งจดหมายมีอัตราต่างกัน ถ้าอยู่ในคูพระนครชั้นใน ติดแสตมป์หนึ่งอัฐ ถ้านอกคูพระนครออกไป ผู้ส่งต้องติดแสตมป์ ๒ อัฐ

กิจการไปรษณีย์

การจัดส่ง หนังสือ COURT และ หนังสือข่าวราชการ ของคนส่งหนังสือที่ทำหน้าที่รับส่งจดหมายระหว่างสมาชิกด้วย นับเป็นจุดเริ่มของการมี บุรุษไปรษณีย์ และการใช้แสตมป์ติดบนจดหมายที่สมาชิกของหนังสือ COURT และหนังสือข่าวราชการส่งถึงกัน จึงเป็นจุดเริ่มของการไปรษณีย์ขึ้นในประเทศไทย เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ให้มีการไปรษณีย์และโทรเลขขึ้นในประเทศไทย ทรงเห็นว่าสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช มีพระทัยใส่ในเรื่องการไปรษณีย์ จึงมีพระราชดำรัสสั่งให้สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ตั้งกรมไปรษณีย์ และกรมโทรเลข ขึ้นเมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๒๖ ทรงได้รับตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์ และกรมโทรเลข เป็นพระองค์แรกของประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๔๑ ทั้ง ๒ กรมนี้ได้รวมเป็นกรมเดียวกัน มีชื่อใหม่ว่า กรมไปรษณีย์โทรเลข


PS.  เศร้ากับชีวิต อนาถจิตกับสันดาน นิพพานกับความจริง I love Onepiece
0
Ms.Allsunday 26 พ.ย. 49 เวลา 18:06 น. 19

 
วรวรรณ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ (พระองค์เจ้าวรวรรณากร) (พ.ศ. 2404 - 2474) ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมารดาเขียน ทรง เป็นกวีและนักประพันธ์ ทรงเข้ารับราชการในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงตำแหน่งรองเสนาบดี กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ทรงเป็นต้นราชสกุล "วรวรรณ ณ อยุธยา"

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ มีพระนามเดิมว่า "พระองค์เจ้าวรวรรณากร" ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 56 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเขียน ประสูติเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2404

พระองค์เจ้าวรวรรณากร ทรงเริ่มรับราชการที่หอรัษฏากรพิพัฒ เป็นพนักงานการเงินที่ฝากแบงค์ต่างประเทศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงศ์ เมื่อปี พ.ศ. 2433 ดำรงตำแหน่งรองเสนาบดีกรมพระคลังมหาสมบัติ จนถึงรัชกาลที่ 6 ในปี พ.ศ. 2464 ทรงสถาปนาเป็น กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2474 ในสมัยรัชกาลที่ 7 พระชันษา 70 ปี



แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 26 พฤศจิกายน 2549 / 18:05
แก้ไขครั้งที่ 2 เมื่อ 26 พฤศจิกายน 2549 / 18:15

PS.  เศร้ากับชีวิต อนาถจิตกับสันดาน นิพพานกับความจริง I love Onepiece
0
Ms.Allsunday 26 พ.ย. 49 เวลา 18:08 น. 20


วัฒนวงศ์

พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ กรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์ พระนามเดิม พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ พระราชโอรสพระองค์ที่ ๖๔ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาบัว ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน ๗ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ปีกุนเบญจศก จ.ศ. ๑๒๒๕ (พ.ศ. ๒๔๐๖)

พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ ทรงรับราชการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๘ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็น กรมหมื่นมรุพงศ์สิริพัฒน์ รับราชการในกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภ ราชองครักษ์ ต่อมาทรงรับตำแหน่งอัครราชทูตประจำกรุงปารีส

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงจัดระเบียบการปกครองแบบเทศาภิบาล ภายใต้ดูแลของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้รวมเอา ๗ หัวเมือง คือ กรุงเก่า (พระนครศรีอยุธยา) อ่างทอง สระบุรี ลพบุรี อินทบุรี (ปัจจุบันคืออำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี) พรหมบุรี (ปัจจุบันคืออำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี) และสิงห์บุรีเข้าเป็นมณฑลกรุงเก่า และตั้งที่ว่าการมณฑลที่มณฑลกรุงเก่า เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๓๘ (ร.ศ. ๑๑๔) พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมรุพงศ์สิริพัฒน์ ทรงดำรงตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาลของมณฑลกรุงเก่าพระองค์แรก

ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนขึ้นเป็น กรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๕

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ กรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๖ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๕ แรม ๕ ค่ำ ปีกุนเบญจศก จ.ศ. ๑๒๘๕ (พ.ศ. ๒๔๖๖) พระชันษา ๖๑ ปี ทรงเป็นต้นราชสกุล วัฒนวงศ์


PS.  เศร้ากับชีวิต อนาถจิตกับสันดาน นิพพานกับความจริง I love Onepiece
0