Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

(เทคนิคฝึกคิดให้รอบคอบ)

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก โป๊ะ เชะ ! "      
(เทคนิคฝึกคิดให้รอบคอบ)


"เป็นคนใจร้อน วู่วาม เวลาจะทำอะไร มักจะไม่ค่อยรู้จักคิดหรือไตร่ตรองให้ดีก่อน มีวิธีไหนบ้างค่ะที่จะทำให้เราใจเย็นลง "

          สมาชิกท่านหนึ่งส่งคำถามนี้มาทางเมลล์ถึงสองครั้งสองครา แสดงว่าต้องการที่จะเรียนรู้จริง ๆ
      ถ้าอย่างนั้นได้เลยครับ..! สำนักข่าวชาวพุทธ วันนี้ขอเสนอบทความ เรื่อง "หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก โป๊ะ เชะ ! " เทคนิคฝึกนิสัยตนเองให้เป็นคนรู้จักคิดไตร่ตรองแบบง่าย ๆ เสนอแด่ท่านผู้อ่านที่ปรารถนาจะฝึกตนให้เป็นคนรอบคอบ (การรู้จักใคร่ครวญทำให้ชีวิตเจริญก้าวหน้า ขอเชิญอ่านพระไตรปิฎก) เป็นการประยุกต์วิธีคิดมาจากหลักการคิดแบบวิภัชชะ(แยกแยะองค์ประกอบ) ในพระไตรปิฎก ขอเชิญติดตามได้เลยครับ

หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก โป๊ะ เชะ ! (เทคนิคฝึกคิดให้รอบคอบ)


ข้อตกลงที่ ๑
    คุณควรตั้งคำถามกับตัวเองก่อนว่า คุณเป็นคนที่ปรกติมีนิสัยชอบทำอะไรตามใจตัวเอง
    ไม่ค่อยรู้จักคิดใคร่ครวญอะไรให้รอบคอบหรือเปล่า ถ้าหากคุณมีปัญหานี้จริง อ่านข้อตกลงที่
    ๒ ต่อไปได้เลย แต่ถ้าหากคุณเป็นคนที่มีนิสัยรอบคอบ ชอบใคร่ครวญก่อนที่จะทำอยู่แล้ว
    เครือข่ายฯขอแสดงความยินดีด้วย เพราะคุณเป็นชาวพุทธที่มีคุณภาพ ไม่ต้องฝึกเรื่องนี้ก็ได้ครับ
ข้อตกลงที่ ๒
    คุณยอมรับหรือไม่ว่าชีวิตของคนเราเกิดมาจะได้ดิบได้ดีนั้น ไม่ใช่ว่าจู่ ๆ จะมีใครมาดล
    บันดาลให้ คุณสมบัติที่ดีในตัวของคุณทุกอย่าง หรือที่เรียกว่า"วาสนา" นั้น ล้วนสามารถ
    เกิดขึ้นมาได้จากการฝึกฝนพัฒนาตนด้วยความเพียรของคุณเองทั้งสิ้น ถ้าคุณเห็นด้วย
    ขอเชิญคุณอ่านกระบวนการฝึกคิดต่อไปได้เลย แต่ถ้าไม่เห็นด้วย สงสัยคงต้องไปใช้
    วิธีสวดอ้อนวอนหวังพึ่งพาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ดลบันดาลเหมือนเดิมแล้วล่ะครับ
กระบวนการปฏิบัติ
           เริ่มต้นเข้าสู่กระบวนการฝึกคิด เราขอเสนอวิธีคิด ๓ ขั้นตอน โดยให้คุณคิดตามลำดับ
    ทุกครั้ง เมื่อคุณคิดจะตัดสินใจทำอะไรสักอย่างในชีวิตประจำวัน
    โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
      ๑.ให้ตั้งคำถามกับตัวคุณเองว่าสิ่งที่คุณต้องการจะกระทำนั้นมีประโยชน์ หรือ มีคุณค่า
            ต่อคุณหรือผู้อื่นอย่างไร แจกแจงมาสัก ๓ ข้อ
      ๒.จากนั้นให้ถามตัวเองว่า สิ่งที่คุณต้องการจะกระทำนั้น มันมีข้อเสีย จุดอ่อน หรือ
            มีโทษ อย่างไรบ้าง แจกแจงมาสัก ๓ ข้อ
      ๓. คิดทั้งสองด้านแล้วให้ตัดสินใจได้เลยว่าจะทำอย่างไรต่อไป เพราะถ้าหากคุณคิด
           ได้ถึงขั้นนี้แล้ว ถือได้ว่าคุณเป็นคนมองอะไรรอบคอบพอสมควรทีเดียว
   ยกตัวอย่าง

       คุณอรทัยเกิดความคิด"ชะแว้บ"ขึ้นมาว่าวันนี้น่าจะออกไปช้อปปิ้งที่ประตูน้ำสักหน่อย ถ้าเป็นแต่ก่อนนี้
เธอคงคว้ากระเป๋าก้าวพรวดพราดออกไปแล้ว แต่นี่เธอเริ่มตั้งสติแล้วถามกับตัวเองว่า
    ขั้นที่ ๑ เราออกไปอย่างเนี้ยมันจะได้อะไรมาบ้าง

      ๑. ก็พักผ่อนหย่อนใจไงล่ะ โด่..ถามได้
      ๒. บางทีอาจจะได้เสื้อผ้าสวย ๆ มาใส่อวดแฟนสักตัว
      ๓. ของอร่อย ๆแถวนั้นก็มีเยอะแยะ หาอะไรแปลก ๆ กินแก้เหงาปาก
    ขั้นที่ ๒ ทีนี้มันจะมีข้อเสียอะไรบ้างล่ะ

      ๑. มีหวังหมดอีกหลายร้อย ชัวร์ !
      ๒. อากาศดีจังเลยนะ ประตูน้ำเนี่ย สูดไอเสียเต็มปอดอีกแล้วเรา
      ๓. เสียเวลาไปอีกอย่างน้อย ๕ ชั่วโมง
    ขั้นที่ ๓ เอายังไงดี ! เรา

            ในขั้นตอนนี้ คำตอบจะออกมา "โป๊ะเชะ ! " ข้อเดียวครับ
    การตัดสินใจของคุณอรทัยอาจจะแตกต่างกันไปตามสถานการณ์ อาทิเช่น

      " แหวะ..ไม่ไปดีก่า ซื้อก๊วยเตี๋ยวเป็ดหน้าซอยมากิน แล้วดูทีวีก็ได้ "
                 หรือ
      "เอ้า..! ไปก็ไป แต่ให้ใช้เงินไม่เกิน ๓๐๐ บาท ตกลงกับตัวเองตรงนี้ไว้ก่อนเลย"
                 หรือ
      " เอายังงี้ เปลี่ยนไปเที่ยวตลาดนัดจตุจักร ของก็ถูก อากาศยังดีกว่าประตูน้ำ"
      ฯลฯ




ที่มา  http://www.budpage.com/budlife.shtml

แสดงความคิดเห็น

>

2 ความคิดเห็น