Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

เพื่อนๆๆๆๆจะมีการเปลี่ยนเครื่องแบบลูกเสือเป็น 5 สี (เยอะจางO_o)

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
 

ศธ.เตรียมโละชุดลูกเสือ-เนตรนารีที่ใช้มา 63 ปีทิ้ง เตรียมออกกฎกระทรวงกำหนดเครื่องแบบใหม่ 5 ชุด เหลือง เขียวอ่อน โอลด์โรส ฟ้า เทา ตามประเภทลูกเสือ เลิกใช้เครื่องหมายที่เป็นโลหะ เปลี่ยนใช้เครื่องหมายที่เป็นผ้า (Badge) แทน อ้างเพื่อความทันสมัย ยันผู้ปกครองไม่เดือดร้อน เพราะราคาถูกกว่าชุดเก่า 1 เท่าตัว

สืบเนื่องจากพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 5 มีนาคม ที่ผ่านมา เลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ จึงถือโอกาสยกเลิกชุดลูกเสือ-เนตรนารีที่ใช้มา 63 ปี กำหนดเครื่องแบบใหม่ 5 ชุด โดยให้เหตุผลว่าทำตามมาตรา 51 ของ พ.ร.บ.เพื่อให้ทันสมัยเท่าเทียมกับชุดลูกเสือของนานาชาติ

โดยนายบุญรัตน์ วงศ์ใหญ่ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ กล่าวว่า คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานได้ตั้งคณะกรรมการรองรับ ภารกิจตาม พ.ร.บ.ลูกเสือ ขึ้นมาปรับปรุงระบบกิจการลูกเสือให้สอดรับกับ พ.ร.บ.ลูกเสือฉบับใหม่

รวมถึงเรื่องการปรับเปลี่ยนเครื่องแบบลูกเสือด้วย เพราะตามมาตรา 51 ระบุให้กระทรวงศึกษาธิการออกกฎกระทรวงกำหนดเครื่องแบบและการแต่งกายลูกเสือ เครื่องแบบลูกเสือใหม่นี้ได้ผ่านการประชาพิจารณ์รับฟังความเห็นจาก 4 ภูมิภาคมาแล้ว ส่วนใหญ่เห็นด้วยต่อการปรับเปลี่ยนเครื่องแบบลูกเสือ อย่างไรก็ตาม คณะทำงานต้องสรุปเรื่องเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการบริหารลูกเสือ แห่งชาติก่อน จากนั้นกระทรวงศึกษาธิการก็ต้องยกร่างเป็นกฎกระทรวงเสนอขอความเห็นชอบจาก คณะรัฐมนตรี (ครม.) ด้วย

ส่วนเครื่องแบบลูกเสือใหม่ที่คณะทำงานร่างขึ้นนี้ได้รับการปรับ ปรุงให้ทันสมัยขึ้น โดยเลียนแบบจากชุดลูกเสือของหลายๆ ประเทศ ที่นิยมออกแบบชุดลูกเสือให้มีสีสันสดใสเพื่อจูงใจให้นักเรียน อยากเรียนลูกเสือ ลูกเสือแต่ละประเภทจะมีเครื่องแบบแต่งสีกันเพื่อให้สังเกตได้ง่ายว่า ที่สำคัญจะเลิกใช้เข็ม หรือตราสัญลักษณ์ต่างๆ ที่เป็นโลหะ เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายได้ ปัจจุบันในต่างประเทศเลิกใช้เข็มที่เป็นโลหะ แต่เปลี่ยนมาใช้ตราสัญลักษณ์ที่เป็นผ้าปักลงเสื้อแทน มีเพียงประเทศไทยเท่านั้นที่ยังใช้เข็มหรือตราสัญลักษณ์ที่เป็นโลหะอยู่

นายเสฏฐนันท์ อังกูรภาสวิชญ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสภาลูกเสือแห่งชาติ ประธานคณะทำงานกฎกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเครื่องแบบและการแต่งกายลูกเสือ กล่าวว่า ต่อไปจะไม่มีชุดเนตรนารีแล้ว ทั้งหญิงและชายจะเปลี่ยนมาใช้เครื่องแบบเดียวกัน เพียงแต่แยกกางเกง กระโปรง

โดยเครื่องแบบจะเป็น 5 ชุด ตามประเภทของลูกเสือ นักเรียนชั้น ป.1-ป.6 ซึ่งเป็นลูกเสือสำรองจะเป็นเครื่องแบบนักเรียนปกติ เสื้อขาว กางเกงขาสั้น หรือกระโปรงสีดำ ใส่ผ้าผูกคอสีเหลือง หมวกแก็ปสีเหลือง

นักเรียนชั้น ม.1-ม.3 เป็นลูกเสือสามัญ จะใส่เสื้อสีเขียวอ่อน กางเกงขาสั้น หรือกระโปรงสีดำ หมวกเบเร่ต์สีเขียวเข้ม ผ้าผูกคอสีเหลือง นักเรียนชั้น ม.4-ม.5 เป็นลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ จะใส่เสื้อสีโอลด์โรส กางเกงขาสั้น หรือกระโปรงสีดำ หมวกเบเร่ต์สีเลือดหมู ผ้าผูกคอสีเหลือง นักเรียนชั้น ม.6 รวมทั้งนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ซึ่งเป็นลูกเสือวิสามัญ จะใส่เสื้อสีฟ้า กางเกงขายาว หรือกระโปรงสีดำ หมวดเบเร่ต์สีน้ำเงิน ผ้าผูกคอสีเหลือง ส่วนลูกเสืออื่น ๆ ใส่เสื้อสีเทา กางเกงขายาวหรือกระโปรงสีดำ ผ้าผูกคอสี หมวกสี

“ชุดลูกเสือใหม่ ประหยัด สะดวก ทันสมัย และไม่อันตราย เครื่องแบบลูกเสือแบบใหม่จะไม่มีเข็ม หรือตราที่เป็นโลหะ ตราสัญลักษณ์ทุกอย่างจะเป็นผ้าเย็บติดกับตัวเสื้อ โดยแขนเสื้อซ้ายจะมีธงชาติและชื่อจังหวัดเย็บติด ส่วนแขนขวาจะมีตราชื่อโรงเรียน กลุ่มกองที่ลูกเสือนั้นสังกัดอยู่

ด้านหน้าจะมีป้ายชื่อและตรารูปหน้าเสือเย็บติดอยู่ หมวกจะไม่ใช้เข็มเช่นกันจะเปลี่ยนเป็นตรารูปหน้าเสือที่ทำด้วยผ้าเย็บติดแทน ส่วนกางเกงและกระโปรงนั้นที่เปลี่ยนมาใช้สีดำเพื่อรองรับกับเครื่องแบบ นักเรียน แต่กระโปรงของผู้หญิงนั้นจะทำให้เป็นกระโปรงกางเกงเพื่อความคล่องตัว และเนื้อผ้าของเสื้อจะเปลี่ยนเป็นผ้าบางแทนเพื่อให้เข้ากับสภาพอากาศ” นายเสฏฐนันท์กล่าว

การเปลี่ยนแปลงเครื่องแบบลูกเสือ-เนตรนารีครั้งนี้ เป็นครั้งแรกที่ใช้เครื่องแบบในปัจจุบันมาตั้งแต่ปี 2486 ซึ่งออกแบบโดยนาวาโทหลวงศุภชลาศัย อธิบดีกรมพลศึกษาคนแรกและอุปนายกสภาลูกเสือแห่งชาติในขณะนั้น โดยเลียนแบบมาจากชุดการแต่งกายของข้าราชการและนักเรียนในขณะนั้น ซึ่งแต่งกายด้วยชุดสีกากี แต่เครื่องแบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนั้นไม่ใช่เครื่องแบบพระราชทานของ ร.6 เพราะว่าเครื่องแบบพระราชทานสมัย ร.6 นั้นจะเป็นเสื้อแขนยาวสีน้ำตาล กางเกงสีดำและถุงเท้ายาวสีดำ

ชุดเครื่องแบบใหม่นั้นราคาจะถูกลงกว่าเครื่องแบบในปัจจุบันที่ราคาชุดลูก เสือที่องค์การค้า สกสค.จำหน่ายอยู่ประมาณ 800-1,000 บาท แต่ชุดแบบใหม่จะราคาประมาณ 400 บาท เพราะประหยัดค่าเข็มตราสัญลักษณ์ และที่สำคัญคณะบริหารงานลูกเสือแห่งชาติจะเป็นผู้ตัดเย็บชุดออกมาจำหน่ายเอง จะได้ราคาโรงงาน ชุดลูกเสือใหม่ที่มีตราสัญลักษณ์ลูกเสือนั้นจะเป็นลิขสิทธิ์ของคณะกรรมการ ผู้อื่นจะจัดจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตไม่ได้

“เพื่อไม่ให้ผู้ปกครองเดือดร้อน ในประกาศกระทรวงศึกษาธิการกำหนดเครื่องแบบลูกเสือใหม่จะมีบทเฉพาะกาลให้มี ผลบังคับใช้หลังจากนั้น 3 ปี เพราะฉะนั้นนักเรียนสามารถใช้เครื่องแบบเก่าไปได้ก่อนตลอด 3 ปีนี้ หรือหากใครจะซื้อชุดใหม่ใช้เลยก็ได้ ปัจจุบันมีนักเรียนประถมและมัธยมเรียนลูกเสือประมาณ 6 แสนคน” นายเสฏฐนันท์กล่าว

นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ยังไม่ได้รับรายงานเรื่องนี้ แต่ในช่วงเสื้อผ้าแพงนี้ไม่ควรเปลี่ยนแปลงชุดเครื่องแบบลูกเสือ เพื่อไม่ให้ผู้ปกครองเดือดร้อน

นายไพศาล สืบศักดิ์วงศ์ นักเรียนโรงเรียนมัธยมป่ากลาง จ.น่าน กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยหากจะเปลี่ยนชุดลูกเสือในระยะปีหรือ 2 ปีนี้ เนื่องจากชุดหนึ่งราคาเฉียด 1,000 บาท เกรงว่าหากกระทรวงศึกษาธิการออกระเบียบให้เปลี่ยนทันที พ่อแม่จะต้องมีค่าใช้จ่ายตรงนี้

ถ้าเป็นไปได้ควรให้เป็นนักเรียนเข้าใหม่ ส่วนนักเรียนเก่าก็ควรอนุโลมใช้ชุดเดิม ที่สำคัญชุดลูกเสือที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ดูภูมิฐาน และใช้มาหลายสิบปีแล้ว คงต้องมาดูว่าชุดยังเหมาะสมหรือไม่ เพราะในแต่ละปีจะมีตัวแทนลูกเสือไทยร่วมไปเข้าค่ายหรือร่วมทำกิจกรรมต่างๆ กับลูกเสือต่างประเทศ ถ้าจะเปลี่ยนควรออกแบบให้เหมาะสมกับการทำกิจกรรมหนักๆ ด้วย

ผู้ปกครองรายหนึ่งที่มีลูกเรียนชั้น ม.1 และ ม.4 โรงเรียนของรัฐ กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยที่จะมีการเปลี่ยนแปลงชุดเครื่องแบบลูกเสือของนักเรียนเพราะ เครื่องแบบที่ใช้ในปัจจุบันนั้นเหมาะสมดีอยู่แล้ว และมีการแยกนักเรียนชายและหญิง ผ้าพันคอก็มีแตกต่างกันชัดเจนอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องไปเปลี่ยนเพื่อให้ทันสมัยขึ้น แม้จะมีการให้เวลา 3 ปีให้โรงเรียนเปลี่ยนแปลงเครื่องแบบลูกเสือ แต่ก็คิดว่ายังสร้างภาระและความสิ้นเปลืองให้แก่ผู้ปกครองอยู่ดี

นายณัฐกิจ บัวขม ผอ.โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงเครื่องแบบลูกเสือเพราะที่ใช้กันมานานแล้ว จนบ่งบอกได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ดูแล้วบอกได้เลยว่าเป็นลูกเสือไทย ที่สำคัญจะเป็นภาระผู้ปกครองเพราะนักเรียนทุกคนตัดเครื่องแบบลูกเสือใส่ และให้มีการผ่อนส่งได้โดยตัด 1 ชุด ก็อยู่ได้นานมาก แต่เครื่องแบบลูกเสือที่เปลี่ยนใหม่ไม่รู้ว่าจะใส่ได้นานเหมือนแบบเดิมหรือ ไม่ หลังจากมีการแบ่งเขตพื้นที่การศึกษา กิจกรรมของลูก็เงียบลงไป อยากให้ส่งเสริมกิจกรรมลูกเสือให้มากขึ้น

วันเดียวกัน นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.ศึกษาธิการ พร้อมด้วยคุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) แถลงข่าวว่า ปัจจุบันรัฐบาลได้จัดเงินอุดหนุนให้โรงเรียน 3 รายการ ได้แก่ เงินอุดหนุนรายหัว เงินอุดหนุนพิเศษสำหรับคนยากจนหัวละ 460 บาทต่อปี ในระดับประถมศึกษา และ 2,500 บาทต่อปี สำหรับระดับมัธยม และเงินค่าอาหารกลางวันและอาหารเสริมนม หัวละ 10 และ 6 บาท ตามลำดับ

เพราะฉะนั้น โรงเรียนไม่สามารถเรียกเก็บเงินค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเป็นรายบุคคลได้ แต่ขอบริจาคตามความสมัครใจได้ และขอย้ำว่าเงินที่ได้รับบริจาคและระดมทรัพยากรจากผู้ปกครองต้องนำไปใช้ จ่ายในการจัดการศึกษา นอกเหนือจากหลักสูตรและบริการอื่น

ขณะนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เปิดให้นักศึกษาชั้นปีที่ 2-4 ยื่นคำขอกู้ยืมเงินจากกองทุนได้ โดยให้สถานศึกษาเป็นผู้พิจารณารายชื่อและแจ้งมายังกองทุนตามความจำเป็น โดยกำหนดระดับมัธยมศึกษาตอนปลายให้กู้ยืมค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายที่ เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา 1.4 หมื่นบาท ค่าครองชีพ 1.2 หมื่นบาท รวม 2.6 หมื่นบาทต่อคนต่อปี ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ให้กู้ยืมค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา 2.1 หมื่นบาท ค่าครองชีพ 1.4 หมื่นบาท รวม 3.5 หมื่นบาทต่อคนต่อปี

ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ให้กู้ยืมค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา 2.5-3 หมื่นบาท ค่าครองชีพ 2.4 หมื่นบาท รวมประมาณ 5.4 หมื่นบาทต่อคนต่อปี และระดับอนุปริญญาปริญญาตรีให้กู้ยืมค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยว เนื่องกับการศึกษา 60,000-150,000 บาท ขึ้นอยู่กับกลุ่มสาขาวิชาที่เรียน โดยให้กู้ค่าครองชีพ 2.4 หมื่นบาท จัดสรรเงินไว้ 3.5 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะปล่อยกู้ได้ 8.4 แสนราย

ส่วนการกู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) เปิดให้กู้ยืมตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม โดยให้นักศึกษาระดับ ปวส.อนุปริญญา และปริญญาตรีที่เข้าเรียนในชั้นปีที่ 1 ยื่นคำขอกู้ผ่านทางมหาวิทยาลัย ซึ่งมีสาขาวิชาต่างๆ มากกว่า 150 ได้จัดสรรเงินไว้ 3,000 ล้านบาท

คาดว่าปล่อยกู้ได้จำนวน 7.5 หมื่นคน สาขาดูรายละเอียดและดาวน์โหลดแบบคำขอกู้ กรอ.ได้จากเว็บไซต์ www.studentloan.or.th ยื่นเอกสารแบบคำขอกู้ยืมพร้อมหลักฐานประกอบการพิจารณาได้ที่ฝ่ายกองทุนของสถานศึกษา ก่อนวันที่ 30 มิถุนายน 2551

ที่มาจากหนังสือพิมพ์



สรุปก็คือ เตรียมออกกฎกระทรวงกำหนดเครื่องแบบใหม่ 5 ชุด เหลือง เขียวอ่อน โอลด์โรส ฟ้า เทา ตามประเภทลูกเสือ เลิกใช้เครื่องหมายที่เป็นโลหะ เปลี่ยนใช้เครื่องหมายที่เป็นผ้า (Badge) แทน 

โดยเครื่องแบบจะเป็น 5 ชุด ตามประเภทของลูกเสือ นักเรียนชั้น ป.1-ป.6 ซึ่งเป็นลูกเสือสำรองจะเป็นเครื่องแบบนักเรียนปกติ เสื้อขาว กางเกงขาสั้น หรือกระโปรงสีดำ ใส่ผ้าผูกคอสีเหลือง หมวกแก็ปสีเหลือง

นักเรียนชั้น ม.1-ม.3 เป็นลูกเสือสามัญ จะใส่เสื้อสีเขียวอ่อน กางเกงขาสั้น หรือกระโปรงสีดำ หมวกเบเร่ต์สีเขียวเข้ม ผ้าผูกคอสีเหลือง นักเรียนชั้น ม.4-ม.5 เป็นลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ จะใส่เสื้อสีโอลด์โรส กางเกงขาสั้น หรือกระโปรงสีดำ หมวกเบเร่ต์สีเลือดหมู ผ้าผูกคอสีเหลือง นักเรียนชั้น ม.6 รวมทั้งนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ซึ่งเป็นลูกเสือวิสามัญ จะใส่เสื้อสีฟ้า กางเกงขายาว หรือกระโปรงสีดำ หมวดเบเร่ต์สีน้ำเงิน ผ้าผูกคอสีเหลือง ส่วนลูกเสืออื่น ๆ ใส่เสื้อสีเทา กางเกงขายาวหรือกระโปรงสีดำ ผ้าผูกคอสี หมวกสี

ที่สำคัญก็มีแค่นี้แหละ

แสดงความคิดเห็น

>

9 ความคิดเห็น

๑เคปัง๑ 27 พ.ค. 51 เวลา 21:01 น. 2

เซ็งจิต อย่างแรก

เครื่องแบบลูกเสือบ้านเรายิ่งมีโลหะ(สีทอง)ยิ่งดูไฮโซ

ไม่เหมือนประเทศอื่นน่ะดีที่สุดแล้ว

ชอบแบบเดิม

และขอบอกไว้ถ้ามันเปลี่ยนเครื่องแบบน่ะเราไม่เปลี่ยนกับมันหรอ

จะใส่ให้คนอื่นรู้ไว้ว่าเครื่องของกรุมันเท่


PS.  ปาหมอนดูแล้วทุกข์มหัน ปาหมอน1000tip
0
มิวๆ 28 พ.ค. 51 เวลา 12:24 น. 4

ช่ายๆๆ ไม่รู้จะเปลี่ยนทำไม
ถ้าเปลี่ยน เครื่องแบบเดิมก็ต้องโละทิ้งเลยดิ
แล้วก็ต้องเสียเงินซื้อแบบใหม่อีกอะ

0
sgsg 28 ก.ค. 51 เวลา 18:27 น. 7

นี้พี่ครับ ช่วยบอกวิธี ใส่ ชุด ลูกเสื่อสามัญรุ่นใหญ่ให้หน่อยสิผมพึ่งขึ้น ม.1

0