Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

มองมหาลัยเอพียู(APU)แบบเป็นกลาง

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
มหาลัย APU มีชื่อเต็มๆว่า Ritsumeikan Asia Pacific University

เป็นมหาลัยที่กำลังไต่เต้าให้มีชื่อติดอันดับอยู่ในทำเนียบมหาลัยเจ๋งๆของญี่ปุ่น

APU เป็นมหาลัยเอกชน อยู่บนเกาะคิวชู ทางตอนใต้ของญี่ปุ่น

ก่อตั้งเมื่อปี 2000 ด้วยการรวมทุนของบริษัทใหญ่ๆในญี่ปุ่น

ปัจจุบันจำนวนประชากรนักเรียนในมหาลัยมีอยู่มากกว่า 5000 คน

แบ่งเป็นนักเรียนในประเทศและต่างประเทศอย่างละครึ่งๆ

มีการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับปริญญาตรีไปจนถึงปริญญาเอก



จุดเด่นของมหาลัยนี้คงอยู่ตรงที่การรวมนักเรียนเกือบจะทั่วทุกมุมโลก

(ที่จริงๆแล้วส่วนใหญ่ก็หนีไม่พ้นประเทศใน Asia Pacific) ถึงมหาลัยจะพยายามโฆษณาความเป็น international ของมหาลัยด้วยใบปลิวรูปนักเรียนหัวทองฝั่งยุโรป หรือนักเรียนผิวดำแอฟริกาก็ตาม

สิ่งที่นักศึกษาจะได้รับอย่างแน่นอนจาก APU คือ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม การได้เจอกับผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ ที่ถ้าอยู่เมืองไทย คงมีโอกาสเจอได้น้อย



นอกจากนี้ จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของมหาลัยทุกแห่งที่ต้องมีคือแง่ของ Academics

ในช่วงแรกก่อตั้งมหาลัย ในระดับปริญญาตรี มหาลัยมีเพียง 2 คณะ คือ

APS - Asia Pacific Studies และ APM - Asia Pacific Management

และในภายใต้ 2 คณะ ยังแบ่งย่อยเมเจอร์หลักอีกมากมายให้นักเรียนได้ไปเลือกศึกษา

และคณะน้องใหม่ล่าสุด CAP (Crossover Advanced Programs

) ก็กำลังมาแรงแซงทางโค้งคณะอื่นๆ ด้วยเนื้อหาของคณะที่อยู่กึ่งกลางระหว่าง APS และ APM



ในช่วงเวลา 9 ปีที่ผ่านมาของ APU ถือได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ด้วยวิชาเรียนที่เพิ่มมากขึ้น จำนวนส่วนของวิชาภาคภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่นที่มีส่วนแบ่งดีขึ้น (หมายถึง วิชานี้มีภาคภาษาอังกฤษ วิชานี้ก็มีในภาษาญี่ปุ่น) และจำนวนนักเรียนที่หลากหลายประเทศมากขึ้น



สำหรับการสมัครเข้าเรียนที่นี่ผู้ไม่รู้ภาษาญี่ปุ่นก็สมัครได้ ถือเป็นตัวแปรสำคัญ ที่ทำให้นักเรียนต่างชาติที่สนใจในวัฒนธรรมหรือเทคโนโลยีของประเทศญี่ปุ่นหลั่งไหลและให้ความสำคัญกับมหาลัยนี้



นอกจากนี้อาจกล่าวได้ว่ามหาลัย APU เปรียบเสมือน มหาลัยบุญทุ่ม

เมื่อมหาลัยมอบทุนการศึกษาหลายหลายเวอร์ชั่นให้กับนักเรียนที่สอบผ่าน

ไม่ว่าจะเป็นเรียนฟรีกินฟรีอยู่ฟรี    เรียนฟรีกินอยู่ไม่ฟรี    หรือจะเป็นเรียนฟรีครึ่งกินอยู่ไม่ฟรี   หรือสอบผ่านจ่ายเต็ม

ซึ่งจากจุดนี้เองทำให้คำว่า scholarship คงไม่สามารถใช้ได้สำหรับทุกคน หากจะเรียกให้ถูกทุน 100% 65% หรือ 30% ควรเปลี่ยนเป็น Reduction Fee ซะมากกว่า



สำหรับการสอบในเมืองไทยใช้วิธีการสอบข้อเขียนและสัมภาษณ์ ข้อเขียนคือการสอบที่มีลักษณะเหมือนโทเฟล การวิเคราะห์หรือตัดสินคะแนน ผู้เขียนไม่สามารถตอบคำถามจุดนี้ได้ จึงขอข้ามในส่วนเรื่องการสอบไป



บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมของมหาลัย



มหาลัยตั้งอยู่บนภูเขาซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าสภาพภูมิอากาศบนที่สูงย่อมแตกต่างจากที่ราบโดยสิ้นเชิง นั่นคือหนาวกว่า และร้อนกว่า ในที่ราบ

และอุปสรรคที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ลมที่พัดแรงในทุกช่วงฤดู



แต่นั่นเป็นเพียงในแง่ของภูมิอากาศและภูมิประเทศ หัวใจที่สำคัญของสิ่งแวดล้อมของการศึกษายังรวมไปถึง



ห้องสมุด

ห้องสมุดของมหาลัยเป็นห้องสมุดขนาดเล็กมีหนังสือหลากหลายภาษา ส่วนใหญ่เน้นเรื่องสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ภาษา และหนังสือในเครือวิชาบริหารจัดการ แต่หากต้องการค้นคว้าหนังสือเชิงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแล้วนั้นจัดได้ว่ามีหนังสืออยู่น้อยมาก  ซึ่งดูจะไม่สอดคล้องกับจำนวนวิชาเชิงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เพิ่มมากขึ้น

อย่างไรก็ตามนักศึกษายังสามารถยืมหนังสือจากมหาลัยในเครือได้ ซึ่งก็สามรถทดแทนกับปริมาณหนังสือที่ไม่พอเพียงภายในมหาลัย เพียงแต่ต้องใช้เวลาในการขนส่งเท่านั้น



ห้องสารสนเทศ  ห้องคอม

เริ่มต้นเปิดใช้ให้นักเรียนเพียง 2 ห้อง ในจำนวนจำกัดจำเขี่ยกับจำนวนนักเรียน

ในปัจจุบันมีการเปิดให้บริการเพิ่มมากขึ้น แต่หากมองในแง่จำนวนคอมพิวเตอร์ต่อจำนวนนักเรียนทั้งมหาลัยแล้วคงตอบได้เพียงว่า ยังไม่เพียงพอ



จุดบกพร่องบางจุดของมหาลัย



ด้วยมหาลัยเป็นมหาลัยที่เพิ่งก่อตั้งในปี 2000 ทำให้ระบบจัดการภายในของมหาลัยค่อนข้างไม่เป็นระบบ

เจ้าหน้าที่หรือสตาฟภายในมหาลัยมีความชัดเจนในรายละเอียด หากนักเรียนมีปัญหาอาจจะทำให้เกิดความยุ่งยาก จำเป็นต้องติดต่อหลายขั้นตอน

อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญคือ ภาษา

เมื่ออัตรานักเรียนต่างชาติมีเพิ่มมากขึ้นแต่สตาฟหรือผู้ประสานงานชาวต่างชาติหรือผู้ที่พูดภาษาต่างประเทศนั้นๆได้กลับมีไม่เพียงพอ บางครั้งการสื่อสารที่คลาดเคลื่อนอาจนำมาซึ่งความผิดพลาดที่ยากจะแก้ไข



นั่นเป็นแง่ระบบของประชากรเจ้าหน้าที่ในมหาลัย ลองดูปัญหาในระบบเทคโนโลยีดูบ้าง



ระบบเทคโนโลยีในมหาลัยถือได้ว่ายังอยู่ในเกณฑ์เกือบปานกลาง ไม่ถือว่าดี

การเอื้ออำนวยโปรแกรมให้นักเรียนในภาควิชาที่จำเป็นต้องใช้โปรแกรมเฉพาะยังไม่ทั่วถึง

ระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ในมหาลัยยังเป็นระบบปฏิบัติการผูกขาดเพียงระบบปฎิบัติการเดียว ทั้งๆที่มหาลัยมีภาควิชาเชิงวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ



แต่ปัญหาสำคัญและปัญหาหลักในสังคมมหาลัย คือ จำนวนประชากรของนักเรียนแต่ละประเทศที่ไม่ลงตัว

จากจำนวนนักเรียนล่าสุด  ปัจจุบัน APU มีนักเรียนไทยอยู่ราวๆ 200 คน ซึ่งเป็นจำนวนที่มากทีเดียวเมื่อเทียบกับอัตราส่วนพื้นที่มหาลัยเล็กๆที่ถูกจำกัดอยู่บนยอดเขา เรียกได้ว่าไหล่ชนไหล่เลยทีเดียว จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเดินไปที่ใดบนมหาลัยหรือในเมืองเบปปุที่จะได้ยินเสียงภาษาไทย

แต่เมื่อเห็นจำนวนนักศึกษาในชาติอื่นๆ เช่น จากเกาหลีที่มีอยู่ถึงเกือบ 700 คน และ จีนที่มีมากเกือบ 400 คน

ประเทศไทยถึงแม้จะมีนักศึกษามากถึง 200 คน ก็เป็นเพียงอันดับ 3 ของตารางรายงานจำนวนนักเรียนแต่ละประเทศในมหาลัย



จากปัญหาจำนวนนักเรียนนี้เอง ส่งผลให้การไม่กระจายตัวของนักเรียนแต่ละเชื้อชาติกลายเป็นปัญหาอย่างหนึ่ง

การไม่กระจายตัวของนักศึกษาต่างชาติและนักศึกษาท้องถิ่น (นักศึกษาญี่ปุ่น) เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นกับมหาลัยในปัจจุบันเมื่อเทียบกับแรกเริ่มที่ก่อตั้ง เมื่อครั้งแรกๆที่มีนักเรียนไทยเพียงไม่ถึง 10 คน

จากปัญหาดังกล่าว ก่อให้เกิดความไม่เป็นจริงทางการผสมผสานทางวัฒนธรรม และภาษา

ปริมาณนักศึกษาต่างชาติที่พูดภาษาญีปุ่นได้เมื่อจบการศึกษามีไม่มากนัก ซึ่งนั่นก็เป็นปริมาณเดียวกันกับนักศึกษาญีปุ่นเองที่เมื่อจบการศึกษาก็พูดภาษาอังกฤษได้ในปริมาณที่ไม่สมคำโฆษณาของมหาลัยเท่าไรนัก



แต่อย่างไรก็ตามปัญหาทางด้านจำนวนนักเรียนนี้คงไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยแง่ของธุรกิจของมหาลัย

หากแต่ผู้ที่คิดจะไปเรียนควรเปิดใจให้กว้างและยอมรับให้มหาลัยแห่งนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่จะได้เปิดประตูสู่โลกกว้างอีกด้านหนึ่งของการเรียนรู้  การมีประชากรนักเรียนไทยอยู่มากก็มีผลดีในแง่ของการช่วยเหลือ ภาษาเดียวกัน วัฒนธรรมเดียวกัน การช่วยเหลือย่อมเข้าถึงจิตใจกว่าชาวต่างชาติ

แต่อย่างไรก็ตามเมื่อได้โอกาสไปศึกษาต่างประเทศแล้วก็ควรเปิดใจให้กว้างรับมุมมองใหม่ๆที่ต่างจากบ้านเราเพื่อให้คุ้มกับโอกาสที่เราได้รับแต่มีอีกหลายล้านคนที่ไม่มีโอกาสอย่างเรา คงจะดีกว่าการปิดกั้นไม่รับสิ่งใดเลย



และอีกสิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงถึงคือ การไปศึกษาต่อ เป้าหมายสำคัญคือการไปศึกษา การไปเรียนรู้

ถึงแม้การไปศึกษาต่อของนักเรียนไทยในญีปุ่นหลายๆคนจะเป็นเพราะการชื่นชอบวัฒนธรรม ดนตรี อะนิเมชั่น ภาพยนต์

จงอย่าลืมว่าสิ่งที่อยู่ในจอกับนอกจอนั้นมันไม่เหมือนกัน

สิ่งที่ผ่านสื่อล้วนกลั่นกรองจากเรื่องราวที่มีบทนำและตอนจบ แต่ชีวิตคนเราไม่สามารถเห็นตอนจบได้ ฉะนั้นก่อนการตัดสินใจควรคำนึงถึงอนาคตไว้บ้าง การศึกษาข้อกำหนดมหาลัยนั้นๆ รายละเอียดของคณะที่ต้องการศึกษาต่ออย่างละเอียดก่อนไปจึงเป็นสิ่งสำคัญ อย่าปล่อยให้ความคิดเพียงชั่ววูบ ทำให้เราเสียเงิน เสียเวลา เสียโอกาสดีๆที่ควรจะได้รับเลย.

ที่มา http://kebenaran.exteen.com/

แสดงความคิดเห็น

>

2 ความคิดเห็น

เด๊กโชะ 2 ก.พ. 52 เวลา 03:06 น. 1

เท อรู้ จริง
&nbsp เทอ น่า มาก
&nbsp &nbsp  จาก เดก เบปปุ


ร๊าก ฮิโรเสะ ชอบ บุ๊คอ๊อฟ&nbsp 
ขอขอบคุณ โตกิวา และ กอมซ่า


ร๊าก ก ไดจัง&nbsp และ ยามาดะ เดงคิ&nbsp &nbsp &nbsp 

ขอบคุณ โคอพ และ มารุเล็ก


แอบชอบคนขับรด โออิตะ คตซือ และ คาเมะนอย ย ย ย ย


แอบรัก เคนจัง ลูกคุฯป้าขายผัก หน้าเอพีเฮ้า

แอบปลื้มน้ายาม ม ม ^_____________________^


ฮิ้ว วว ว ว ว ว ว ว ว ว ว วว ว



เอพียู&nbsp บึ๊ม !!!


แน่จริงอย่าลบ !!!&nbsp 



รักราจิ๊บ บ บ จ้ว บบ บ บ บ บ บบบบ&nbsp ^3^1

0
กวีเพนจร 7 เม.ย. 52 เวลา 03:37 น. 2

APU เป็นมหาวิทยาลัยที่ดีในสายตาผม
ในอีกไม่นานหากได้รับการพัฒนาที่ดีย่อม
มีศักยภาพที่จะเติบโตได้มากกว่ามหาลัยอื่นๆในญี่ปุ่น
เนื่องจากfacilities ที่เพียบพร้อม ทั้งห้องเรียน ห้องสมุด โรงอาหาร
โรงการแสดง และหอพัก อยากให้คนที่อยากรู้จักมหาลัยนี้จริงๆ
เข้ามาได้เรียนรู้กันจริงๆ ทุกที่มีจุดดีจุดด้อยด้วยกันทั้งนั้น7

0