Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ภาวะโลกร้อน

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
เรายังไม่สามารถแน่ใจได้ว่าสภาวะโลกร้อนมีสาเหตุมาจากกระบวนการทางธรรมชาติหรือมีสาเหตุมาจากการกระทำของมนุษย์
ภูมิอากาศของโลกมีการเพิ่มขึ้นของความร้อน 1 F (0.5 C) ในรอบ 100 ปีที่ผ่านมาซึ่งก็ตรงกีบการคำนวณจาก แบบจำลองภูมิอากาศของโลก (GCMs) ซึ่งมีพื้นฐานมาจากการเพิ่มขึ้นของก๊าซ CO2 ในบรรยากาศ ดังนั้นจึงสามารถยืนยันได้มากยิ่งขึ้นว่าการกระทำของมนุษย์ก็เป็นสาเหตุหนึ่งของสภาวะโลกร้อนในครั้งนี้

ถึงแม้ว่า GCMs จะเป็นแนวทางหนึ่งที่ทำให้เราสามารถทำนายการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศได้ แต่ตัวมันเองก็ยังมีขีดจำกัดอยู่ดี การเปลี่ยนแปลงระยะยาวในมหาสมุทรและผลกระทบของพวกมันต่อรูปแบบของอากาศบนโลกยากต่อการทำนาย พวกเราไม่แน่ใจว่าเป็นผลกระทบจากการกระทำของมนุษย์เพียงอย่างเดียวหรือไม่ เช่น การตัดไม้ทำลายป่า ยิ่งไปกว่านั้นแล้วยังมีคำถามออกมาว่ากระแสสภาวะโลกร้อนอาจจะเป็นผลเนื่องมาจากการผันแปรของตามธรรมชาติของภูมิอากาศเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่ยังไม่ชัดเจนในความรู้ในปัจจุบัน

สิ่งที่ท้าทายที่สุด ในการสร้างสรรค์ GCMs คือการประเมินค่าของผลกระทบของเมฆได้อย่างแม่นยำ เมฆสะท้อนรังสีดวงอาทิตย์ซึ่งผลก็คือทำให้โลกเย็นลง แต่พวกมันก็ดูดซับความร้อนด้วยเช่นกัน นี่ก็เป็นผลกระทบที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน พวกเราเชื่อว่าเมฆสะท้อนพลังงานแสงอาทิตย์กลับไปมากกว่าที่มันดูดซับเอาไว้ จึงทำให้สมดุล ซึ่งผลก็คือโลกก็ยังเย็นลงอยู่ดี

การคำนวณของเราถูกทำให้ซับซ้อนมากยิ่งขึ้นโดยการแผ่รังสีของ SO2 จากสถานีผลิตพลังงานกระแสไฟฟ้า อนุภาค Sulfate ในอากาศเพิ่มโอกาสในการเกิดเมฆ และการเพิ่มขึ้นของก้อนเมฆส่งผลให้จะช่วยลดพลังงานแสงอาทิตย์ที่จะส่งลงมาที่โลกอีกด้วย สิ่งที่กล่าวในที่นี้เกี่ยวกับการคำนวณ และทำนายการร้อนขึ้นของซีกโลกเหนือผิดพลาดน้อยลง

อย่างไรก็ตาม ในปี 1994 บรรดานักวิทยาศาสตร์ก็ได้ตระหนักว่าเมฆอาจจะดูดซับพลังงานแสงอาทิตย์ได้มากขึ้น 4 เท่า ของที่เคยดูดซับไว้ได้ นี่คือตัวที่ทำให้ผลกระทบของการร้อนมีมากขึ้น แต่สภาวะโลกร้อนไม่ได้ถูกรวมเข้าไปในการพยากรณ์ในปัจจุบัน เห็นได้ชัดว่ามีงานวิจัยอีกมากที่จำเป็นต้องทำเกี่ยวกับการศึกษาคุณสมบัติของเมฆในอนาคต GCMs สามารถจัดการกับมันได้อย่างเพียงพอ

ความผันแปรของธรรมชาติ

10,000 ปีที่ผ่านมาก่อนหน้านี้ ภูมิอากาศเอาแน่เอานอนไม่ได้ เราไม่รู้เลยว่าการเปลี่ยนแปลงนี้ยังอยู่ในยุคน้ำแข็ง และผลที่ตามมาของมันหรือไม่ หรือว่ามันคือพฤติกรรมปกติของภูมิอากาศ และเสถียรภาพของ 10,000 ปีที่ผ่านมาถูกทำให้ผิดไปจากปกติหรือไม่

อุณหภูมิของอากาศ คือ ปัจจัยเพียงอย่างเดียวในความซับซ้อนอีรุงตุงนังของภูมิอากาศ การแผ่ขยายออกอย่างรวดเร็วของทะเลทรายบนโลกในปี 1970s และความแห้งแล้งเป็นเวลานานใน Sahel มีจุดเริ่มต้นมาจากส่วนหนึ่งของสภาวะโลกร้อน อย่างไรก็ตาม สถานการณ์นี้ก็ถูกเชื่อมโยงเข้ากับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบฝนตก ซึ่งมันคือผลกระทบของ ปรากฏการณ์เอลนีโญ ในปัจจุบัน ความแห้งแล้งและการขยายออกของทะเลทราย อาจทำให้อุณหภูมิผิวหน้าน้ำทะเลในเขตร้อนเพิ่มขึ้นมากกว่าการร้อนขึ้นของบรรยากาศ

ความร้อนที่เพิ่มขึ้นในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งมาจากความผันแปรตามธรรมชาติหรือไม่ก็รูปแบบของอากาศ พฤติกรรมของพลังงานแสงอาทิตย์เป็นตัวควบคุมการตอบสนองของสภาวะร้อน เพราะการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิของโลกเกิดควบคู่กับ 11 ปีของวงจรของจุดดับบนดวงอาทิตย์ การเปลี่ยนแปลงในพลังงานดวงอาทิตย์มันไกลและดูเล็กน้อยมากที่จะใช้ในการอธิบายการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ

การป้องกันสภาวะโลกร้อน

ความสงสัยเกี่ยวกับขนาดของสภาวะโลกร้อนในอนาคตไม่ได้หมายความว่าเราไม่ต้องทำอะไรเลย อย่างน้อยที่สุดรัฐบาลก็ควรที่จะพัฒนานโยบายและตั้งเป้าหมายในการถ่วงดุลการสร้าง ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gas) การแก้ปัญหานี้ถูกสะท้อนกลับมาในการตัดสินใจของการประชุมที่ เมือง Rio ในปี 1992 ถึงการทำให้การแผ่ขยายของก๊าซเรือนกระจกคงที่ ในปี 1999 – 2000 การประชุมเกี่ยวกับภูมิอากาศโลกในปี 1995 ที่กรุง Berlin เห็นด้วยกับการไปสู่เป้าหมายของการลดการขยายของก๊าซเหล่านี้

เป้าหมายของถ้อยแถลงนี้นำไปสู่การใช้งานทั้งสิ่งที่พัฒนาไปแล้วและสิ่งที่กำลังจะทำการพัฒนาต่อไป การกระทำที่น่าสนใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน, โรงผลิตกระแสไฟฟ้าและยานพาหนะที่ก่อให้เกิดมลพิษต่ำ, การพัฒนากระบวนการอุตสาหกรรม และการขนส่งสาธารณะ, การนำแหล่งพลังงานกลับมาใช้ใหม่ให้ดีขึ้น การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้คือการใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมเราจึงต้องการนโยบายที่ใช้แก้ปัญหาทั้งส่วนของรัฐบาลและเอกชน

สภาวะโลกร้อน (Global Warming)
เป็นปรากฎการณ์สืบเนื่องจากการที่โลกไม่สามารถระบายความร้อนที่ได้รับจากดวงอาทิตย์ออกไปได้อย่างที่เคยเป็น ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้น  แม้ว่าในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาอุณหภูมิดังกล่าวสูงขึ้นเพียงไม่กี่องศา แต่ก็ทำให้สภาพอากาศของโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก และส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกอย่างรุนแรง  สภาวะดังกล่าวเรียกว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (climate change)
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้มีการถกเถียงกันในหมู่นักวิทยาศาสตร์ว่า ปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ หรือเกิดจากการกระทำของมนุษย์  เนื่องจากโลกได้มีการเปลี่ยนสภาพอากาศมาแล้วนับไม่ถ้วน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาหลายแสนปี  แต่ในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์แทบทั้งหมดเชื่อว่า มนุษย์มีส่วนทำให้เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวขึ้น และเป็นที่แน่ชัดว่ากิจกรรมของมนุษย์มีส่วนเร่งให้เกิดปรากฎการณ์ดังกล่าวให้มีความรุนแรงกว่าที่ควรจะเป็นตามธรรมชาติ
                          กลไกของสภาวะโลกร้อน
ในสภาวะปกติ โลกเราจะได้รับพลังงานประมาณ 99.95 % จากดวงอาทิตย์ ในรูปแบบของการแผ่รังสี  พลังงานที่เหลือมาจากความร้อนใต้ภิพซึ่งหลงเหลือจากการก่อตัวของโลกจากฝุ่นธุลีในอวกาศ และการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสีที่มีอยู่ในโลก  
ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์มาโลกเราสามารถรักษาสมดุลย์ของพลังงานที่ได้รับอย่างดีเยี่ยม  โดยมีการสะท้อนความร้อนและการแผ่รังสีจากโลกจนพลังงานสุทธิที่ได้รับในแต่ละวันเท่ากับศูนย์ ทำให้โลกมีสภาพอากาศเหมาะสมต่อสิ่งมีชีวิตหลากหลาย
กลไกหนึ่งที่ทำให้โลกเรารักษาพลังงานความร้อนไว้ได้ คือ "ปรากฏการณ์เรือนกระจก" (greenhouse effect) โดยโลกจะมีชั้นบาง ๆ ของแก๊สกลุ่มหนึ่งเรียกว่า "แก๊สเรือนกระจก" (greenhouse gas) ที่ทำหน้าที่ดักและสะท้อนความร้อนที่โลกแผ่กลับออกไปในอวกาศให้กลับเข้าไปในโลกอีก  หากไม่มีแก๊สกลุ่มนี้ โลกจะไม่สามารถเก็บพลังงานไว้ได้ และจะมีอุณหภูมิแปรปรวนในแต่ละวัน  แก๊สกลุ่มนี้จึงทำหน้าที่เสมือนผ้าห่มบาง ๆ ที่คลุมโลกที่หนาวเย็น
การณ์กลับกลายเป็นว่าในช่วงระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา โลกเราได้มีการสะสมแก๊สเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศมากขึ้น  เนื่องจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงต่าง ๆ ที่ใช้ในกิจกรรมประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิงที่ขุดขึ้นมาจากใต้ดิน  การเพิ่มขึ้นของแก๊สเรือนกระจกทำให้โลกไม่สามารถแผ่ความร้อนออกไปได้อย่างที่เคย ส่งผลให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เสมือนกับโลกเรามีผ้าห่มที่หนาขึ้นนั่นเอง
ผลกระทบจากสภาวะโลกร้อน
แม้ว่าโดยเฉลี่ยแล้วอุณหภูมิของโลกจะเพิ่มขึ้นไม่มากนัก แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะส่งผลต่อเป็นทอด ๆ และจะมีผลกระทบกับโลกในที่สุด  ขณะนี้ผลกระทบดังกล่าวเริ่มปรากฏให้เห็นแล้วทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย  ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ การละลายของน้ำแข็งทั่วโลก ทั้งที่เป็นธารน้ำแข็ง (glaciers) แหล่งน้ำแข็งบริเวณขั้วโลก และในกรีนแลนด์ซึ่งจัดว่าเป็นแหล่งน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดในโลก  น้ำแข็งที่ละลายนี้จะไปเพิ่มปริมาณน้ำในมหาสมุทร  เมื่อประกอบกับอุณหภูมิเฉลี่ยของน้ำสูงขึ้น น้ำก็จะมีการขยายตัวร่วมด้วย ทำให้ปริมาณน้ำในมหาสมุทรทั่วโลกเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ  ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นมาก ส่งผลให้เมืองสำคัญ ๆ ที่อยู่ริมมหาสมุทรตกอยู่ใต้ระดับน้ำทะเลทันที
มีการคาดการณ์ว่า หากน้ำแข็งดังกล่าวละลายหมด จะทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 6-8 เมตรทีเดียว
ผลกระทบที่เริ่มเห็นได้อีกประการหนึ่งคือ การเกิดพายุหมุนที่มีความถี่มากขึ้น และมีความรุนแรงมากขึ้นด้วย  ดังเราจะเห็นได้จากข่าวพายุเฮอริเคนที่พัดเข้าถล่มสหรัฐหลายลูกในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา  แต่ละลูกก็สร้างความเสียหายในระดับหายนะทั้งสิ้น  สาเหตุอาจอธิบายได้ในแง่พลังงาน กล่าวคือ เมื่อมหาสมุทรมีอุณหภูมิสูงขึ้น พลังงานที่พายุได้รับก็มากขึ้นไปด้วย ส่งผลให้พายุมีความรุนแรงกว่าที่เคย
นอกจากนั้น สภาวะโลกร้อนยังส่งผลให้บางบริเวณในโลกประสบกับสภาวะแห้งแล้งอย่างอย่างไม่เคยมีมาก่อน เช่น ขณะนี้ได้เกิดสภาวะโลกร้อนรุนแรงขึ้นอีกเนื่องจากต้นไม้ในป่าที่เคยทำหน้าที่ดูดกลืนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ล้มตายลงเนื่องจากขาดน้ำ  นอกจากจะไม่ดูดกลืนแก๊สต่อไปแล้ว ยังปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาจากกระบวนการย่อยสลายด้วย  และยังมีสัญญาณเตือนจากภัยธรรมชาติอื่น ๆ อีกมา ซึ่งหากเราสังเกตดี ๆ จะพบว่าเป็นผลจากสภาวะนี้ไม่น้อย
ตารางแสดงแก๊สเรือนกระจกและแหล่งที่มา
แก๊สเรือนกระจก      แหล่งที่มา     ส่งผลให้โลกร้อนขึ้น (%)
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
(CO2)     1) จากแหล่งธรรมชาติ เช่น กระบวนการหายใจของสิ่งมีชีวิต
2) จากมนุษย์ เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงจากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ , การตัดไม้ทำลายป่า (ลดการดูดซับ CO2)    57
แก๊สมีเทน
(CH4)    1) จากแหล่งธรรมชาติ เช่น จากการย่อยสลายของสิ่งมีชีวิต, การเผาไหม้ที่เกิดจากธรรมชาติ
2) จากมนุษย์ เช่น จากนาข้าว, แหล่งน้ำท่วม, จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงประเภทถ่านหิน น้ำมัน และแก๊สธรรมชาติ    12
แก๊สไนตรัสออกไซด์
(N2O)    ) จากมนุษย์ เช่น อุตสาหกรรมที่ใช้กรดไนตริกในขบวนการผลิต, อุตสาหกรรมพลาสติก, อุตสาหกรรมไนลอน, อุตสาหกรรมเคมี, การเผาไหม้เชื้อเพลิงจากซากพืชและสัตว์, ปุ๋ย, การเผาป่า
2) จากแหล่งธรรมชาติ - อยู่ในภาวะที่สมดุล    6
แก๊สที่มีส่วนประกอบ
คลอโรฟลูออโรคาร์บอน
(CFCS)    จากมนุษย์ เช่น อุตสาหกรรมต่างๆ และอุปกรณ์เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น โฟม, กระป๋องสเปรย์, เครื่องทำความเย็น ; ตู้เย็น แอร์ , ตัวทำลาย (แก๊สนี้จะรวมตัวทางเคมีได้ดีกับโอโซนทำให้โอโซนในชั้นบรรยากาศลดลงหรือเกิดรูรั่วในชั้นโอโซน)    25
PS.  ขอบคุนน้าค้า

แสดงความคิดเห็น

2 ความคิดเห็น

-ต่องต๊อง- 16 พ.ค. 52 เวลา 14:35 น. 2

โหยย!!!!

อย่างนี้โลกเราก็แย่นะสิค่ะ

ช่วยกันรงณรงค์นะค่ะทุกคน ^^


PS.  นางฟ้าไร้ปีก...คงไม่มีคุณค่าอะไร...เหมือน...ฉันไร้เธอ...ฉันก็คงไร้ค่า...เช่นกัน...
0