Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

วิศวะปิโตรเคมี

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

วันนี้มีรุ่นพี่มาแนะนำเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยต่างๆและแนะนำเกี่ยวกับคณะต่างๆ

แต่เราสนใจเป็นพิเศษก็คือ  วิศวะปิโตรเคมี


เราอยากรู้ว่าคนที่เรียนนี้จำเป็นต้องเก่งเคมีด้วยมั้ย  เพราะเราค่อนข้างที่จะไม่ได้เคมีซะเลย

และเรียนที่มหาวิทยาลัยไหนถึงจะดี

และเงินเดือนเริ่มที่เท่าไร  และก็จบมาทำงานที่ไหน

ใครให้คำตอบได้ก็ขอขอบคุณด้วยค่ะ

และกรุณา ส่งมาที่เมลล์นี้ด้วยน่ะค่ะ   snowcool-cool@hotmail.com

แสดงความคิดเห็น

>

15 ความคิดเห็น

CareBoDy 20 ต.ค. 52 เวลา 20:46 น. 2

จำเป็นนะเว้ยย ขึ้นชื่ออยู่ว่า ปิโตรเคมี เน้นไปทางเคมี+พอลิเมอร์(ที่เหลือวิชาวิศวะไม่กี่ตัว)
เรียนหนักนะ แต่ก้ต้องได้ อยากเรียน แนะนำศิลปากร เขาร่ำลือมา รับเป้นร้อย
จบมาน้อยมาก จะหายไปทีละปีๆ&nbsp คนส่วนมากปวดตรง ออแกนิค เคมี อะไรวิชาอื่นๆ

0
zainamly 20 ต.ค. 52 เวลา 20:58 น. 3

จำเป็นอย่างมากกก

เพราะเพื่อนเราบ่นตลอดเวลา

ว่าจะกินเคมีเข้าไปได้อยู่แล้วแหละ

เพื่อนเราอยู่วิศวะปิโตรเคมีศิลปากร

ก็เรื่องงานไม่รู้นะว่าเริ่มที่เท่าไหร่

แต่ว่าเราจบได้ก็เก่งแล้วละ


PS.  ไปอ่านนิยายเราบ้างนะ ^^::: plese ได้โปรดดดT^T
0
55+ 20 ต.ค. 52 เวลา 23:47 น. 7

ปตท.สผ. เค้าไม่รับ"วิศวปิโตรเคมี"

เค้ารับ"วิศวปิโตรเลียม"

คห.5 อย่ามามั่ว

ทำให้คนอื่นเข้าใจผิด

0
หหหหห 21 ต.ค. 52 เวลา 12:47 น. 8

ดูเหมือนศิลปากรจะเน้นไปที่พอลิเมอร์นะ&nbsp คือ&nbsp พัฒนาให้มันเป็นอย่างอื่น&nbsp 

แต่ของจุฬาฯ จะเน้นด้านปิโตเลียม คือ พวกขุดเจาะแหล่งน้ำมัน

0
^ ^ 21 ต.ค. 52 เวลา 14:04 น. 9

ปิโตเรียนยากครับ พี่ก็เรียนอยู่ไม่จำเป็นต้องเก่งเคมีครับแต่ต้องขยัน ต้องอ่านเยอะๆเพราะมันไม่เหมือน ม.ปลายอยู่แล้วเนื้อหา อ่านเยอะๆมันก็เก่งไปเอง ถึงจะเก่งจาก ม.ปลายแต่ไม่ทบทวนไม่อ่านหนังสือตลอด ไปอ่านเอาวันใกล้สอบ เอฟครับน้องไม่เอฟก็ดีแจ้ *-*

0
*-* 21 ต.ค. 52 เวลา 14:06 น. 10

เรป 7 อย่าปัญญาอ่อนครับ ปตท สาขาเยอะแยะเปนร้อยเปนพัน มันรับทุกวิดวะแหละ คณะอื่นมันก็รับนะนายขวาย อักษรมันยังรับเลยครับนายขวาย 555+

0
เด็กทับแก้ว 21 ต.ค. 52 เวลา 15:40 น. 11

ตัวพี่เอง เรียนที่ วิศวะปิโตรเคมีและวัสดุพอลิเมอร์ ศิลปากร
เรามาทำความรู้จักกันก่อนครับ ว่าวิศวะปิโตรเคมีและวัสดุพอลิเมอร์เค้าเรียนอะไรกัน อธิบายง่ายๆ
ปิโตรเคมีคืออุตสาหกรรมการผลิตสาร 2 กลุ่ม คือ กลุ่มโอเลฟิน และกลุ่มอะโรมาติก ซึ่งสารทั้งสองกลุ่มนี้จะนำไปทำพอลิเมอร์สังเคราะห์ทุกชนิดได้ครับ

แล้วพอลิเมอร์ คืออะไร
พอลิเมอร์ คือวัสดุที่ประกอบไปด้วยมอนอเมอร์ มอนอเมอร์หลายๆอันมาต่อกันเรียกพอลิเมอร์
ตัวอย่างพอลิเมอร์ เช่น พลาสติก เส้นใยสังเคราะห์ ยางสังเคราะห์ สี และสารเคลือบผิว ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่เราต้องใช้กันอยู่เป็นประจำทุกๆวัน พอลิเมอร์จัดเป็นวัสดุทางเคมีภัณฑ์นะคับ

การเรียนปิโตรเคมีและวัสดุพอลิเมอร์ คือการเรียนการสอนที่เจาะลึกลงไป คือจะเรียนแคบกว่าวิศวกรรมเคมีแต่เรียนลึกกว่า

แล้ววิศวกรรมเคมี เค้าเรียนอะไร
วิศวกรรมเคมีจะเรียนเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเคมีทั้งหมด
เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเลียม(ขุดน้ำมัน) อุตสาหกรรมปิโตรเคมี(แปรรูปน้ำมัน) และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับเคมีอื่นๆ
ส่วนใหญ่(เกือบทั้งหมด)คนที่จบวิศวกรรมเคมีก็จะทำงานอยู่ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี(แปรรูปน้ำมัน) และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับเคมีอื่นๆ ส่วนน้อยมากอยู่ในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม(ขุดน้ำมัน)
เพราะในบ้านเราการจ้างงานในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม(ขุดน้ำมัน)มีน้อยมาก แต่ค่าตอบแทนสูง และต้องเก่งจริงๆด้วย ระดับหัวกะทิ

ต้องแยกให้ออกระหว่าง ปิโตรเลียม กับ ปิโตรเคมี
ปิโตรเลียม เปิดสอนที่ วิศวะจุฬา ต้องเข้าวิศวะรวมให้ได้ก่อน จาก 680 คน มีเพียงประมาณ 15 คนที่ได้เข้าภาคปิโตรเลียม เพราะเข้ายากจริงๆ และเปิดสอนที่ วิศวะม.สุรนารี อันนี้เค้ารับตรงช่วงไหนพี่ก็ไม่รู้นะ แต่เพื่อนบอกว่าเค้าจะแยกรับเดี่ยวไปเลย ไม่มารวมก่อนแล้วค่อยแยก

ปิโตรเคมี เปิดสอนที่ ศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์(ทับแก้ว) จ.นครปฐม อยู่ในคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ภาควิชาวิทยาการและวิศวกรรมวัสดุ สาขาวิชาปิโตรเคมีและวัสดุพอลิเมอร์ เป็นหลักสูตรวิศวะ
และเปิดสอนที่ลาดกระบัง เป็นหลักสูตรวิทยาศาสตร์(พี่ไม่แน่ใจว่าตอนนี้ยังมีอยู่หรือเปล่า)

สำหรับแนวทางศึกษาต่อ ป.โท ป.เอก มีดังนี้
ถ้าจบปิโตรเคมีและวัสดุพอลิเมอร์ ศิลปากร สามารถศึกษาต่อได้ที่ วิทยาการและวิศวกรรมพอลิเมอร์ ที่ศิลปากร มีเปิดสอนถึงป.เอก
หรือ
วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี(สอนเฉพาะป.โท ป.เอก) สังกัดจุฬา มี 3 หลักสูตร คือ
เทคโนโลยีปิโตรเคมี มีสอนถึง ป. เอก
วิทยาศาตร์พอลิเมอร์ มีสอนถึง ป.เอก
เทคโนโลยีปิโตรเลียม มีสอนถึง ป.โท
หรือจะต่อวิศวกรรมเคมีหรือสายที่เกี่ยวข้องตาม ม.อื่นๆ

เงินเดือนของคนที่จบวิศวะปิโตรเคมีและวัสดุพอลิเมอร์จะประมาณ 15000 - 20000 บาท และยังมีเบี้ยพิเศษอื่นๆอีกมากมาย

ธุรกิจปิโตรเคมีในบ้านเราที่ใหญ่ๆเป็นของ 2 องค์กร คือ ปตท. และ SCG(เครือซีเมนต์ไทย) ซึ่งทั้งสองนี้จะไปถือหุ้นตามบริษัทลูกที่เกี่ยวข้องต่างๆ

0
เด็กทับแก้ว 23 ต.ค. 52 เวลา 08:50 น. 13

วิศวะส่วนมากแทบทั้งหมดเงินเดือนจะประมาณ 15000 - 20000 เมื่อเริ่มทำงาน
ส่วนพวกเงินเดือน 50000 คือเมื่อเริ่มทำงาน คือ พวกที่ไปขุดเจาะน้ำมันกลางทะเล โดยงานหลักเป็นของวิศวกรรมปิโตรเลียม(ย้ำ ปิโตรเลียมไม่ใช่ปิโตรเคมี) แล้วก็ยังมี วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมเคมี ซึ่งคอยทำงานสนับสนุน

แต่

อย่าคิดว่าจบ ไฟฟ้า เครื่องกล เคมี แล้วไปลงแท่นนะ มันไม่ได้ง่ายขนาดนั้น คุณต้องเก่งภาษาอังกฤษ จบได้เกรดสูงๆ ตามที่ ปตท.สผ.
(ย่อมาจาก ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม) กำหนดไว้แล้วถึงไปลองสมัครดู ซึ่งไม่ง่ายเลย มีไม่ถึงร้อยละ 1 ที่ได้ทำ

ส่วนวิศวกรรมปิโตรเคมี ถ้าจะเข้าของ ปตท. ก็จะอยู่ในส่วนของ ปตท.เคมิคอล ซึ่งเงินเดือน 15000 - 20000 บาท

แต่

คุณก็คิดเองแล้วกัน ว่าในอนาคตข้างหน้า ระหว่างปิโตรเลียม กับ ปิโตรเคมี อันไหนจะรุ่งกว่ากัน
เพราะตอนนี้เขาเริ่มใช้พลังงานทดแทนชนิดอื่นแทนน้ำมันกันแล้ว ส่วนวัสดุพอลิเมอร์(ซึ่งได้มาจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี) เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถที่จะไม่ใช่มันในชีวิตประจำวันได้ และเดี๋ยวนี้ถุงพลาสติกรุ่นใหม่ๆ ก็ใช้เวลาย่อยสลายในธรรมชาติไม่เกิน 3 เดือนไม่ใช่หลายร้อยปีเหมือนแต่ก่อน ทั้งนี้เป็นเพราะความเจริญก้าวหน้าทางด้านพอลิเมอร์

0
ว่าที่ MD 15 มิ.ย. 53 เวลา 00:55 น. 15

เอางี้ครับ&nbsp ง่ายๆ
วิศวะ ปีโตรเลียม&nbsp มีที่ จุฬา และ&nbsp มทส(เทคโนสุระ)&nbsp =&nbsp อยู่ที่ ลิค&nbsp &&nbsp  สำรวจ+ขุดเจาะน้ำมัน&nbsp เเรื่องเงินเดือนของปิโตรเลียม Start ไม่ใช่ 5 หมื่น&nbsp แต่เป็น 9 หมื่น ครับ&nbsp (แต่ต้องเสียภาษี อะไรซักอย่างนี่แหละ&nbsp รวมๆ แล้วประมาณ 7 หมื่น)&nbsp นี่ข้อมูลจริง พอดีว่าเพื่อนผมเป็นลูกผู้บริหาร ปตท

แนะนำ&nbsp อยากไปทำงานกับ วิศวะ ปิโตรเลียม ให้เรียน&nbsp วิทยาศาสตร์ ธรณี(ถ้าจะเข้า ปตท ให้เรียนที่จุฬา นะ)&nbsp มันอาจจะเป็นค่านิยม แต่เป็นเรื่องจริง&nbsp วิทย์ ธรณี&nbsp ทำงาน เป็นคนค้นหา ตำแหน่ง ในทะเล หรือ ในพื้นที่(บนบก)&nbsp โดยใช้ดาวเทียม&nbsp พอทราบตำแหน่งแล้วก็ให้ วิสวะ ปิโตรเลียมไปขุด&nbsp  ส่วนรายได้ 50k-70k&nbsp น้อยกว่าปิโตรเลียม

ส่วน ปิโตรเคมี&nbsp เป็น แขนงหนึ่ง ของ วิศวะกรรม เคมี
จะทำงานในโรงกลั่น

**ถ้ามีผิดขออภัยด้วย**

0