Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ใครเก่งภาษาไทยช่วยทำหน่อยคร้าบบม.5

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

เนี้ยๆเราเรียนเรื่อง ลิลิตตะเลงพ่ายอะอาจารย์สั่งงานมา เยอะอ่า

ทำไม่เป็นอะเพื่อนๆช่วยทีนะครับ

      ภูธรเมิลอมิตรไท้    ธำรง สารแฮ

  ครบสิบหกฉัตรทรง    เทริดเกล้า
  บ่จวนบ่จวบองค์        อุปราช แลฤา
  พลางเร่งขับคชเต้า    แต่ตั้งตาแสวง

อาจารย์ผมเค้าให้ 1.ถอดคำประพันธ์

2.หาคำศัพท์

3.วิเคราะห์ศิลปะการประพันธ์ (อธิพจน์ , สัตพจน์ อะไรประมาณเนี้ย)

4.ข้อคิดอะ

5.ความรู้ที่ได้รับ

6.โวหารและรสวรรณคดี (สวรจนีย์ไรพวกนั้นอะคร้าบ)

 ช่วยทีน้าเรื่องคอขาดบาดตาย!

แสดงความคิดเห็น

>

10 ความคิดเห็น

NAN 2 พ.ย. 52 เวลา 12:11 น. 2

ยากไป

ถ้าเปนตอนที่พี่ เรียนดาวองก์ เตรียมเอนท์ คงช่วยได้
แต่นี่ ผ่านมาเปนปีแล้ว ลืมหมด

เสียใจด้วย จิงๆ
สู้ต่อไป .. ทาเคชิ

0
<<--JuiceZye--< 2 พ.ย. 52 เวลา 15:07 น. 5

สู้ๆครับ


PS.  ปฏิทินที่นับพ้นข้ามปี เเต่ละเข็มนาทีที่เลยผ่าน ต้องกอดกับความเดียวดายอีกนานเท่าไหร่ >.<
0
ลองช่วยดู 2 พ.ย. 52 เวลา 15:16 น. 6

ไม่รู้ จขกท.จะได้คำตอบหรือยัง
แต่ก็ขอลองหาให้เที่ได้นะ  
         ภูธรเมิลอมิตรไท้    ธำรง สารแฮ
  ครบสิบหกฉัตรทรง    เทริดเกล้า
  บ่จวนบ่จวบองค์        อุปราช แลฤา
  พลางเร่งขับคชเต้า    แต่ตั้งตาแสวง

1.ถอดคำประพันธ์   >>  เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมองเข้าไปในกองทัพของข้าศึก
ก็พบว่ามีการจัดช้างทรงไว้ ๑๖ ช้าง (คือในการรบ เจ้านายหรือกษัตริย์จะทรง
ช้างศึก โดยช้างทรงนั้น จะได้รับการตกแต่งให้สง่างามและเด่นกว่าช้างอื่นๆ
แต่ในที่นี้ มีช้างในลักษณะที่คล้ายคลึงกับช้างทรงถึง ๑๖ ช้าง) แต่ก็ไม่ทรงพบ
พระมหาอุปราชาเลย  พระองค์จึงเร่งไสช้างเข้าไปเพื่อหาพระมหาอุปราชา

2.หาคำศัพท์   อันนี้หาเองล่ะกัน   ต่างคนต่างความคิด

3.วิเคราะห์ศิลปะการประพันธ์   น่าจะเป็นบรรยายโวหาร

4.ข้อคิด  มีความรอบคอบในการทำการศึก  อย่างเช่นมีการจัดช้างทรงแบบลวงๆไว้

   5 กับ 6 นี้จนปัญญาไปหาเองนะครับ

0
natchapan 2 พ.ย. 52 เวลา 15:31 น. 7

เนี้ยๆเราเรียนเรื่อง ลิลิตตะเลงพ่ายอะอาจารย์สั่งงานมา เยอะอ่า

ทำไม่เป็นอะเพื่อนๆช่วยทีนะครับ

&nbsp &nbsp &nbsp ภูธรเมิลอมิตรไท้&nbsp &nbsp ธำรง สารแฮ&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp 
------------------&nbsp ภูธร = น.พระราชา&nbsp &nbsp ,&nbsp เมิล = ก.ดู&nbsp , อมิตร = ว.ไม่ใช่เพื่อน น.ข้าศึก ศัตรู&nbsp , ธำรง = ก.ทรงไว้ ชูไว้---------------------------------

&nbsp ครบสิบหกฉัตรทรง&nbsp &nbsp เทริดเกล้า&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp 
-----------------&nbsp ฉัตรทรง = น. เครื่องสูงชนิดหนึ่ง มีรูปคล้ายร่มที่ซ้อนกันขึ้นไปเป็นชั้น ๆ ชั้นบนมีขนาดเล็กกว่า ชั้นล่างลดหลั่นกันไปโดยลําดับ สําหรับแขวน ปัก ตั้ง หรือเชิญเข้ากระบวนแห่เป็นเกียรติยศ. (ส. ฉตฺร; ป. ฉตฺต ว่า ร่ม);
---------------------ส่วนที่ต่อจากปุ่มฆ้องเป็นฐานแผ่ออกไปแล้วงองุ้มลงมาเป็นขอบโดยรอบอย่างฉัตร; ชื่อดาวฤกษ์อารทรา. , เทริด =&nbsp น. เครื่องประดับศีรษะ รูปมงกุฎอย่างเตี้ย มีกรอบหน้า.------------------------------

&nbsp บ่จวนบ่จวบองค์&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp อุปราช แลฤา
------------------จวน = น. ที่อยู่ของเจ้าเมือง, บ้านที่ทางราชการจัดให้เป็นที่อยู่ของผู้ว่าราชการจังหวัดเรียกว่า จวนผู้ว่าราชการจังหวัด. ,น. ผ้าชนิดหนึ่ง.&nbsp , ว. เกือบ, ใกล้, เช่น จวนถึง จวนตาย จวนได้.--------------------------
----------------------จวบ =&nbsp ก. พบ, ประสบ, ร่วม, ถึง. จวบจวน ว. จนถึง, ถึงที่.&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp ,&nbsp &nbsp &nbsp อุปราช =&nbsp น. ผู้สําเร็จราชการต่างพระองค์ประจําภาคหนึ่ง ๆ ในอาณาจักร.&nbsp ----------------------------

พลางเร่งขับคชเต้า&nbsp &nbsp แต่ตั้งตาแสวง
--------------------แสวง =&nbsp ก. เที่ยวหา, ค้นหา, เสาะหา.

อาจารย์ผมเค้าให้
1.ถอดคำประพันธ์
-----------แปลความได้ว่า&nbsp เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมองเข้าไปในกองทัพของข้าศึก
ก็พบว่ามีการจัดช้างทรงไว้ ๑๖ ช้าง (คือในการรบ เจ้านายหรือกษัตริย์จะทรง
ช้างศึก โดยช้างทรงนั้น จะได้รับการตกแต่งให้สง่างามและเด่นกว่าช้างอื่นๆ
แต่ในที่นี้ มีช้างในลักษณะที่คล้ายคลึงกับช้างทรงถึง ๑๖ ช้าง) แต่ก็ไม่ทรงพบ
พระมหาอุปราชาเลย&nbsp พระองค์จึงเร่งไสช้างเข้าไปเพื่อหาพระมหาอุปราชา----------

0
natchapan 2 พ.ย. 52 เวลา 15:32 น. 8

2.หาคำศัพท์&nbsp 
------อยู่ตรงกลอนนะคะ------

3.วิเคราะห์ศิลปะการประพันธ์ (อธิพจน์ , สัตพจน์ อะไรประมาณเนี้ย)

-----------------&nbsp &nbsp  ภาษาที่ใช้ในวรรณกรรมร้อยกรองนั้นมักจะเป็น
ภาษาที่ไพเราะ สามารถโน้มน้าวอารมณ์และความรู้สึกของผู้อ่านทำให้เกิด
จินตนาการและมโนภาพ ผู้ประพันธ์จะต้องเลือกกรองถ้อยคำหรือสำนวนโวหาร
มาร้อยเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดความงาม เพราะนอกจากบทร้อยกรองจะมีเนื้อหา
สาระและความคิดที่ดีแล้วยังต้องมีศิลปะการประพันธ์ หรือวรรณศิลป์ หรือเรียก
ว่าแง่งามของบทร้อยกรองอีกด้วยซึ่งพิจารณาจากสิ่งต่อไปนี้
4.1&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  เสียงเสนาะ&nbsp การแต่งบทร้อยกรองไม่ได้มุ่งหมายความไพเราะ
เท่านั้น ยังต้องนึกถึงความไพเราะแก่ผู้ฟัง นั้นคือต้องมีเสียงสัมผัสทั้งสระและตัว
อักษร เสียงวรรณยุกต์ มีการเลียนแบบเสียงธรรมชาติ เป็นต้น
4.1.1&nbsp &nbsp &nbsp การใช้สัมผัส
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp คำประพันธ์นอกจากไพเราะด้วยเสียงสัมผัสบังคับแล้ว
ยังเพิ่มความไพเราะด้วยเสียงสัมผัสในได้แก่&nbsp คำว่า โอ้-อัส, ลง-แล้ว,นง-นุช
และเล่นคำว่า&nbsp รอนรอน-เรื่อยเรื่อย ซึ่งเป็นคำสัมผัส “ ร ” ทั้งหมด นอกจากนี้
จะได้เสียงสัมผัสและยังแสดงความรู้สึกโศกเศร้าได้อย่างชัดเจน คำว่า รอนรอน
ทำให้เห็นภาพดวงอาทิตย์กำลังจะตกเหมือนหัวใจที่รอนรอน เรื่อยเรื่อย แสดง
อาการดวงอาทิตย์กำลังจะลับลงช้า ๆ เช่นเดียวกับการรอคอยที่ยาวนาน
4.1.2&nbsp  การเล่นสัมผัส
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  “…พลางพระดูดงเฌอ&nbsp พิศพุ่มเสมอเหมือนฉัตร เป็นขนัด
เนืองนันต์&nbsp หลายเหล่าพรรณพฤกษา&nbsp มีนานาไม้แมก&nbsp หมู่ตระแบกกระบาก&nbsp มาก
รวกโรกรักรังรง&nbsp ปริกปริงปรงปรางปรู&nbsp ลำแพนลำพูลำพัน…”
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp ( ลิลิตตะเลงพ่าย : สมเด็จพระมหาสมรเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส )
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  คำประพันธ์ข้างต้นนี้แสดงให้เห็นการเล่นสัมผัสพยัญชนะ
ในแต่ละวรรคมีคำที่เสียงคล้องจองทำให้เกิดเสียงที่กลมกลืนกัน เช่น พลาง-พระ
พิศ-พุ่ม,เนือง-นันต์,พรรณ-พฤกษา,สมอ-สมี-แสม,ม่วง-โมก,ซาก-ซึก, โศก-สน-สัก
รวก-โรก-รัก-รัง-รง, ปริก-ปริง-ปรง-ปราง-ปรู,แพน-พู-พัน เป็นต้น
4.1.4&nbsp &nbsp การเลียนเสียงธรรมชาติ
คำประพันธ์ต่อไปนี้เป็นการเลียนเสียงการบินของผึ้ง&nbsp ในคำว่า&nbsp “หึ่ง หึ่ง”&nbsp 
เป็นเสียงที่มีลักษณะทอดซ้ำ&nbsp วนเวียนอยู่เหมือนการบินของผึ้ง&nbsp ช่วยเสริมจินตนาการให้แก่ผู้อ่านให้คิดถึงการเคลื่อนไหวของผึ้ง
(อ่านดูแล้วหัดวิเคราะห์นะคะจะได้เป็น)

0
natchapan 2 พ.ย. 52 เวลา 15:34 น. 9

4.ข้อคิดอะ
----------------ความดีเด่น เป็นการยึดมันถือมันในการกระทำในสิ่งที่ดี และเป็นเสมือนสิ่งที่เตือนใจของผู้ที่เข้ารับการถือสัตย์ประติญาณ
ข้อดี เป็นการอนุรักษ์ความเป็นจารีดประเภณี
คติธรรมที่ได้ เป็นการสั่งสอน อบรมให้ยึดมั้นในอุดมการณ์ของความถูกต้อง -----------------------
5.ความรู้ที่ได้รับ
------------จากการที่เราได้รับการศึกษาเรื่องลิลิตตะเลงพ่ายเราจะเห็นได้ชัดเจนว่าในช่วงตอนที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเปลี่ยนแผนการรบเป็นรับศึกพม่าแทนไปตีเขมร&nbsp 
&nbsp &nbsp พระองค์ได้ทรงจัดการวางแผนอย่างเป็นขั้นเป็นตอนอย่างไม่รอช้า&nbsp ทรงแต่งตั้งให้พระยาศรีไสยณรงค์เป็นแม่ทัพหน้าและพระราชฤทธานนท์เป็นปลัดทัพหน้าตามด้วยแผนการอื่นๆอีกมากมายเพื่อทำการรับมือ&nbsp 
และพร้อมที่จะต่อสู้กับข้าศึกศัตรูทางฝ่ายพม่า เมื่อเราเห็นถึงคุณธรรมทางด้านการวางแผนแล้วเราก็ควรเอาเยี่ยงอย่างเพื่อใช้ในการดำเนินชีวิตให้เป็นไปอย่างมีระเบียบ&nbsp มีแบบแผน
ซึ่งจากคุณธรรมข้อนี้ก็อาจช่วยเปลี่ยนแปลงให้ท่านผู้อ่านทุกท่าน&nbsp ให้กลายเป็นบุคคลที่มีคุณภาพชีวิตทางด้านการวางแผนในการดำเนินชีวิตก็เป็นได้ถ้าเรารู้จักการวางแผนให้กับตัวเราเอง --------------------------

6.โวหารและรสวรรณคดี (สวรจนีย์ไรพวกนั้นอะคร้าบ)
-------&nbsp ลิลิต คือ คำประพันธ์ชั้นสูง ที่ต้องใช้ถ้อยคำ สำนวนโวหารทั้งของไทย และที่ได้จากต่างประเทศ การแต่งลิลิตจะประกอบด้วยร่าย และโคลง มี ๒ ประเภท&nbsp 
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp ๑.ลิลิตสุภาพ แต่งด้วยร่ายสุภาพ และโคลงสุภาพ&nbsp 
๒.ลิลิตโบราณ แต่งด้วยร่ายดั้น และโครงดั้น
&nbsp &nbsp ลักษณะบังคับของร่ายสุภาพ ร่ายสุภาพบทหนึ่งมีตั้งแต่ ๕ วรรคขึ้นไป และตอนท้ายต้องจบด้วยโคลงสองสุภาพ ร่ายสุภาพแต่ละวรรคกำหนดให้มี ๕ คำ
สำหรับสัมผัสบังคับของร่ายสุภาพ กำหนดให้คำสุดท้ายของวรรคหน้าส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๑ หรือที่ ๒ หรือที่ ๓ เพียงดำใดคำหนึ่งในวรรคถัดไป การส่งสัมผัสเป็นไปเช่นนี้จนกระทั่งจบด้วยโคลงสองสุภาพ
ส่วนสัมผัสในซึ่งเป็นสัมผัสที่ไม่บังคับในร่ายสุภาพใช้ไดทั้งสัมผัสพยัญชนะและสัมผัสสระ แต่นิยมสัมผัสพยัญชนะมากกว่า&nbsp 


ช่วยทีน้าเรื่องคอขาดบาดตาย!


++++++++++++++++++ไม่รู้ใช้ได้อะป่าว เพราะผ่านมา 6 ปีละ++++++++++++++++++++

0
ALONE 2 พ.ย. 52 เวลา 15:47 น. 10

อืม... ส่วนตัวคิดว่า

ผู้แสดงความคิดเห็นน่าจะแนะนำวิธีทำ หรือให้แนวทางหรือแหล่งที่นำไปสู่คำตอบ
มากกว่าที่จะบอกคำตอบไปเลยนะคะ

(มันคือ จสน. ด้านดี)


แต่ถ้ามีคนบอกคำตอบ เป็นเราเราก็เอา 555

(มันคือ จสน. ด้านไม่ดี หุหุ)


PS.  First impression is last impression.
0