Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

เวทีเสวนาแอดมิชชั่นส์-รับตรงเละ-นร.อัดไร้มาตรฐาน

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

เวที เสวนาแอดมิชชั่นส์-รับตรงเละ ! เด็กเทพจวกยับข้อสอบGAT-PAT ไร้มาตรฐาน เดี๋ยวยากเดี๋ยวง่ายทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ วอน ศธ.จัดสอบฟรีอย่างมีคุณภาพเหมือนนโยบายเรียนฟรี15ปีอย่างมีคุณภาพ พร้อมเสนอเลิกหรือลดใช้คะแนนGPAX-ONET และติวเตอร์แชลแนลของศธ.ส่งเสริมการเรียนกวดวิชา

 นายนิติพัฒน์ กุลาเลิศ  นักเรียนชั้นม.6 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กล่าวว่า  มาตรฐานของข้อสอบGAT/PAT ที่จัดสอบมาทั้งหมด 3 ครั้งไม่เท่ากัน ครั้งแรกซึ่งจัดสอบในเดือนมีนาคม 52 นั้น จะออกตามเนื้อหาในหลักสูตร มีคิดวิเคราะห์น้อย ครั้งที่ 2 สอบเดือนก.ค.นั้น เริ่มออกนอกเหนือหลักสูตร เน้นคิดวิเคราะห์มากขึ้น ครั้งที่ 3 สอบเดือน ต.ค. เป็นข้อสอบที่ยาก ออกเกินหลักสูตรมาก อย่างดาราศาสตร์ออกยากระดับข้อสอบโอลิมปิกวิชาการ ซึ่งทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบสำหรับเด็กที่เข้าสอบคนละครั้งกัน เด็กเก่งเท่ากันกลับทำคะแนนได้เท่ากันเพราะความยากง่ายของข้อสอบต่างกัน  โดน !!!!

 นอกจากนี้   ยังมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะข้อสอบโดยไม่ประชาสัมพันธ์ล่วงหน้า อย่าง PAT1 คณิตศาสตร์ ในการสอบครั้งที่1 และ 2 เป็นข้อสอบปรนัย แต่ครั้งที่ 3 เปลี่ยนเป็นข้อสอบปรนัยและอัตนัยอย่างละครึ่ง แต่ทั้งที่ข้อสอบปรนัยต้องใช้ความสามาถและเวลาในการทำข้อสอบมากกว่า กลับมีการแจ้งให้ทราบทางเวปไซต์แค่ 10 วันล่วงหน้าเท่านั้น จริง ๆ แล้วควรแจ้งให้ทราบล่วงหน้าไม่ต่ำกว่า 3 เดือน  โดน !!!!

 “ข้อสอบGAT/PAT ค่อนข้างยากเพราะออกเกินหลักสูตร แต่จุดเสียของข้อสอบGAT/PAT ไม่ได้อยู่ที่ความยากง่าย แต่อยู่ที่มาตรฐานข้อสอบในการสอบแต่ละครั้งไม่เท่ากัน ถ้ายากทุกครั้งก็ไม่มีปัญหา ไม่เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ เพราะฉะนั้น ผมให้ปรับปรุงข้อสอบให้มีมาตรฐานเท่าเทียมกันทุกครั้ง กำหนดกรอบให้ชัดเจนว่า จะออกเรื่องอะไร แคต่ไหน ใช้ข้อสอบปรนัย-อัตนัยส่วนเท่าใด และไม่ควรเปลี่ยนแปลงบ่อย “ นายนิติพัฒน์ กล่าว 

 นายนิติพัฒน์  กล่าวด้วยว่า ไม่เห็นด้วยกับการนำคะแนน GPAX -/O-NET มาใช้ในระบบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย เพราะคะแนน GPAX ไม่มีและไม่มีทางจะมีมาตรฐาน แม้แต่ครูในโรงเรียนเดียวกันยังมองเด็กคนเดียวกันไม่เหมือนกัน แล้วคะแนนGPAX ของแต่ละโรงเรียนจะอยู่บนมาตรฐานเดียวกันได้อย่างไร ส่วนคะแนนO-NET นั้น เป็นการสอบรวม 8 วิชาเพื่อวัดมาตรฐานการเรียนตอลดหลักสูตร จึงไม่ควรนำมาใช้คัดเลือกเข้ามาหวทิยาลัย เพราะการเรียนในแต่ละสาขาวิชานั้น ไม่จำเป็นต้องรู้ทุกอย่าง แต่ต้องถนัดในสาขาวิชาที่ตัวเองเรียน อย่างไรก็ตาม ตนเห็นว่า การรับตรงมีความจำเป็น เพราะระบบแอดมิชชั่นส์  ไม่สามารถคัดเด็กตรงตามความต้องการของคณะได้ อย่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ ตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา มีเด็กถูกรีไทม์จำนวนมาก ต้องถอนรายวิชาก็มาก โดยเฉพาะวิชาทางวิทยาศาสตร์ บางคณะถอนรายวิชากันเกือบครึ่ง

 นายวิธวินท์   จงจตุพร  นักเรียนชั้นม.5  โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ กล่าวว่า ข้อสอบGAT/PAT ของการสอบทั้ง 3 ครั้ง มาตรฐานไม่เท่ากัน ครั้งที่ 1- 2 เหมือนข้อสอบปลายภาคตามปกติ ถ้าใครไปเรียนกวดวิชามาก่อนสามารถทำข้อสอบได้สบาย ๆ อย่างเพื่อนคนหนึ่งทำข้อสอบได้ 300 เต็ม แต่สำหรับเด็กปกติที่ไม่ได้เรียนกวดวิชาจะทำได้ไม่หมดเพราะช่วงนั้นยังเรียน ไม่จบ ต้องรอการสอบครั้งที่ 3 ในเดือนต.ค.จึงจะเรียนจบ แต่การสอบครั้งที่ 3 ข้อสอบกลับยากมาก เช่นนี้แล้วเท่ากับเป็นการส่งเสริมให้เด็กไปเรียนกวดวิชา

 “ค่าสมัครสอบยังแพงมาก ทั้งที่การศึกษาไม่ใช่การค้าที่จะหาเรื่องให้เด็กสมัครสอบเยอะเพื่อหวังกำไร จริง ๆ แล้ว น่าจะมีนโยบายสอบฟรีอย่างมีคุณภาพเหมือนอย่างนโยบาบเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ  ผมไม่เห็นด้วยเช่นกันกับการใช้คะแนนGPAX ในการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย มีตัวแปรเยอะมากแต่ทำให้คะแนน GPA ไม่มีมาตรฐาน" นายวิธวินท์ กล่าว  โดน !!!!

 น.ส.มะลิวัลย์   กัลยาณสิทธิ์  นักเรียนชั้นม.5 โรงเรียนเบญจมราชาลัย  กล่าวว่า การรับตรงของมหาวิทยาลัยนั้น รู้สึกไม่โปร่งใสมาก ไม่สามารถขอดูคะแนนได้จึงเอื้อต่อการใช้เส้นสาย อีกทั้งยังมีค่าใช้จ่ายที่สูง คนไม่มีเงินไม่มีสิทธิ์ไปสมัครสอบแข่งขันได้ เพราะฉะนั้น ควรปรับปรุงระบบแอดมิชชั่นให้ดีขึ้น แล้วลดการรับตรงลง อย่างไรก็ตาม การใช้คะแนน GPAX เป็นองค์ประกอบหนึ่งสำหรับคัดคนเข้ามหาวิทยาลัยนั้น ไม่ได้ช่วยทำให้เด็กสนใจเรียนในชั้นเรียนเลย ซ้ำยิ่งบีบให้เด็กต้องไปกวดวิชามากขึ้น เด็กทุกคนต้องการให้คะแนนGPAX ดีทุกเทอม จึงตัองไปลงเรียนกวดวิชาล่วงหน้าก่อน การเรียนในชั้นเรียนเป็นแค่การทบทวนเท่านั้น เด็กจึงไม่ค่อยให้ความสนใจ นอกจากนั้น ยังกดดันให้เด็กขาดคุณธรรมด้วย ทุกวันนี้ เด็กลอกข้อสอบทั้งปลายภาค-กลางภาค ลอกรายงาน โครงงานทุกอย่าง เพราะหวังให้เกรดตัวเองออกมาดี เด็กจึงไม่มีความรู้ติดตัวจากการทำงานแต่เป็นแต่การฝึกคัดลายมือเท่านั้น  โดน !!!!

 “รัฐบาลมีนโยบายให้จัดโครงการติวเตอร์แชลแนล ถ้างั้นสรุปว่า การติวมันดีใช้มั้ย  และในแง่จิตวิทยาแล้ว การเห็นหน้าใครบ่อย ๆ ทำให้เรารู้สึกชอบเขามากขึ้นเหมืนอการโฆษณาสินค้า ไม่ต้องบรรยายสรรพคุณ แค่เห็นหน้าบ่อย ๆ ก็รู้สึกดี เพราะฉะนั้น นโยบายนี้เท่ากับเป็นการส่งเสริมทให้เด็กเรียนกวดวิชามากขึ้น อย่างไรก็ตาม วิธีแก้ปัญหากวดวิชานั้น ไม่ใช่การบังคับใช้คะแนน GPAX ในการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย จะให้เด็กสนใจเรียน โรงเรียนก็ต้องมีในสิ่งที่ร.ร.กวดวิชาไม่มี โดยเฉพาะการทำLab ทุกวันนี้ หลายโรงเรียนไม่เคยให้นักเรียนทำLab เลย ห้องLab แห้งมาก “ น.ส.มะลิวัลย์ กล่าว  โดน !!!!

 นักเรียนชั้นม.6 จากร.ร.สาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหงรายหนึ่ง   กล่าวว่า การเอาติวเตอร์มาออกโทรทัศน์นั้น เท่ากับเป็นการสนับสนุนให้เด็กเรียนกวดวิชามากขึ้น ทุกวันนี้ เด็กแทบทุกคนเรียนกวดวิชาอยู่แล้ว เพราะใคร ๆ ก็อยากเข้ามหาวิทยาลัยได้ อย่างตัวเอง เริ่มเรียนกวดวิชาทุกอย่าง ทุกวิชามาตั้งแต่ ม.4 รวม ๆ แล้วเสียค่าใช้จ่ายไปเป็นแสน  โดน !!!!

 ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การใช้คะแนนGPAX คัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยก็มีข้อดี เพราะช่วยลดอัตราการย้ายถิ่นฐานของเด็กเข้ามาเรียนในโรงเรียนดัง เช่น ร.ร.เตรียมฯ ร.ร.สวนกุหลาบ ร.ร.ประจำจังหวัด เด็กหลายคนสมัครใจเรียนอยู่ในร.ร.ประจำตำบลเพราะถ้าเขาเรียนดีอาจทำคะแนน เฉลี่ยได้ 4.00 แต่ถ้าเด็กกลุ่มนี้ย้ายมาอยู่เตรียมอาจเหลือแค่ 3.20 เพราะฉะนั้น นโยบาบนี้เป็นการเปิดโอกาสให้ร.ร.ในภูมิภาคได้พัฒนา ครูมีกำลังใจสอนเพราะเด็กเก่งไม่หนีหายหมด

เมื่อวันที่ 6 พ.ย.2552  คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา จัดเสวนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นเรื่อง “ ผลกระทบต่อสิทธิทางการศึกษาชองเด็กจากการใช้ระบบAdmissions” โดยมีตัวแทนนักเรียนม.4-6 ผู้ปกครองประมาณ 120 คน ร่วมแสดงความเห็นใน 4 ประเด็น คือ 1.ส่วนองค์ประกอบGPAX/O-NET และGAT/PAT 2.ลักษณะและแนวทางของข้อสอบGAT/PAT 3.หลักสูตรการศึกษาและระบบการเรียนการสอน และ4.การสมัครสอบตรงและการสมัครสอบในระบบแอดมิชชั่น วิธีการรับสมัครและค่าสมัครสอบ ซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่โจมตีว่า การสอบGAT/PAT ไม่มีมาตรฐาน และขอให้ลดหรือเลิกใช้คะแนน GPAX  โดน !!!!


PS.  ทอฝันแสนซน สุดเฮี้ยว แสนซ่า และน่ารัก(มั้ง) แล้วแต่จะคิดอ่ะ

แสดงความคิดเห็น

>

6 ความคิดเห็น

민트 8 พ.ย. 52 เวลา 20:04 น. 3

ระเ่่่    ยใจกับการศึกษาไทย เฮ้ออ



อีกไม่ถึง 2 วัน กรี๊ดดดดดดดดดดดดด

แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 8 พฤศจิกายน 2552 / 20:07
แก้ไขครั้งที่ 2 เมื่อ 8 พฤศจิกายน 2552 / 20:07


PS.  My dream come true..
0
(Sand glasS) 8 พ.ย. 52 เวลา 22:05 น. 6

ก็รุ่นเรามันเจอทุกอย่างอยู่แล้วนิ
ม.1 ใช้ NT. ก็วิ่งรอกซะ
ม.6 ใช้ แกท แพท ก็วิ่งสอบตรงซะ
เหนื่อยจริง ๆ สงสารพ่อแม่
หาเงินมาให้เราเรียนกวดวิชา
กว่าจะได้เรียนมหาวิทยาลัย หมดเป็นแสน

0