Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

เสือโคคำฉันท์

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

เสือโคคำฉันท์

ผู้แต่ง พระมหาราชครู สันนิษฐานว่ามีเชื้อสายพราหมณ์เป็นพระอาจารย์ถวายพระอักษรแด่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช อาจดำรงตำแหน่งพระมหาราชครูฝ่ายลูกขุน ณ.ศาลาหลวงหรือพระมหาราช


              ประวัติ สันนิษฐานว่าแต่งก่อนสมุทรโฆษคำฉันท์ โดยนำเค้าเรื่องมาจากปัญญาชาดก
ทำนองแต่ง แต่งด้วยฉันท์และกาพย์ แต่มีจำนวนฉันท์และกาพย์น้อยชนิดกว่าสมุทรโฆษคำฉันท์
              ความมุ่งหมาย เพื่อสอนคติธรรม

....... เริ่มต้นกล่าวสรรเสริญคุณเทวดา กษัตริย์ และพระรัตนตรัย แล้งดำเนินเรื่องว่าเสือแม่ลูกอ่อนและโคนม แม่ลูกอ่อนอยู่ในป่าแห่งหนึ่ง วันหนึ่งแม่เสือออกไปหาอาหาร ลูกโคสงสารจึงบอกแม่ใหนมแก่ลูกเสือ ลูกเสือและลูก โคจึงเริ่มรักกันอย่างพี่น้อง แม่เสือสาบานว่าจะไม่ทำลูกโค แต่แม่เสือไม่รักษาคำสัตย์กินแม่โคเสีย ลูกเสือและลูกโค จึงช่วยกันประหารแม่เสือ แล้วชวนกันไปหากินจนพบพระฤาษีพระฤาษีเมตตาชุบให้เป็นคน ลูกเสือเป็นพี่ได้ชื่อว่า พหลวิไชย ลูกโคเป็นน้องชื่อว่าคาวี พระฤาษีอวยพรและมอบพระขรรค์วิเศษให้ ทั้งสองจึงลาฤาษีไปเมืองมคธ
พระคาวีได้ฆ่ายักษ์ที่คอยทำร้ายชาวเมืองนั้นตาย ได้นางสุรสุดา ราชธิดาท้าวมคธ แต่พระคาวีถวายแด่พระพี่ชาย แล้วออกเดินทางต่อ ไป ต่างฝ่ายต่างเสี่ยงบัวคนละดอก เมื่อไปถึงดมืองร้างเมืองหนึ่งพบกลองใหญ่ตีไม่ดัง ผ่าดูพบ นางจันทราผู้ผมหอมธิดาท้าวมัทธราชและนางแก้วเกษร แห่งรมนคร ได้ทราบความจากนางว่านกอินทรีย์ใหญ่คู่หนึ่งบิน
มากินชาวเมืองตลอดจนพ่อแม่ นางรอกชีวิตได้ก็เพราะกลองใบนั้น พระคาวีปราบนกอินทรีด้วยพระขรรค์วิเศษและ ได้นางจันทรเป็นชายา
วันหนึ่งนางจันทรลงสรงในแม่น้ำ ใส่ผมหอมในอบแล้วลอยน้ำไป ท้าวยศภูมิ ผู้ครองเมืองพันธวิไสยเก็บได้ หลงใหลผมหอมนั้น นางทาสีอาสานำนางมาถวาย โดยออกอุบายลวงถามความลับเกี่ยวกับพระขรรค์จากนางจันทร ครั้นทราบว่าพระคาวีถอดพระชนม์ไว้ในพระขรรค์ จึงนำพระขรรค์ไปเผาไฟ พระคาวีสลบไป แล้วนางทาสีพา นางจันทรไปถวายท้าวยศภูมิ  แต่ไม่อาจเข้าใกล้นางได้เพราะร้อนเป็นไฟ ด้วยอำนาจความภักดีที่มีตอพระคาวี เมื่อพระพหลวิไชยเห็นบัวอธิฐานเ่ยวลงเป็นลางร้ายจึงตามหาร่างพระคาวี และพบพระขรรค์ในกองไฟ มาชำระล้าง
วางบนองค์พระคาวี พระคาวีพื้นขึ้นแล้ว พากันออกตามหานาวจันทรถึงเมืองท้าวยศภูมิ พระพหลวิไชยแปลงเป็น พระฤาษีอาสาชุบท้าวยศภูมิให้เป็นหนุ่มแล้วฆ่าเสียเอาพระคาวีออกมาแทนอ้างว่าชุบตัวเป็นหนุ่มได้สำเร็จ พระคาวีได้ อภิเษกสมรสกับนางจันทรและได้ครองเมืองพันธไสยสืบมา
เสือโคคำฉันท์เป็นหนังสือประเภทฉันท์เรื่องแรกที่จบสมบูรณ์ ชนิดของฉันท์ที่ใช้แต่งไม่มีมากและโคลงไม่เคร่งครัด ตามแผนบังคับ นอกจากนี้มีกาพย์ชนิดต่าง ๆ  แต่งอยู่ด้วย ถ้อยคำสำนวนเข้าใจง่ายกว่าสมุทรโฆษคำฉันท์ เรื่องนี้ ได้ต้นเค้ามาจากปัญญาสชาดก แต่ก็ไม่ได้กล่าวถึงการกลับมาของบุคคลในเรื่องอย่างชาดก ต่อมาในรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องคาวีเรื่งเสือโคคำฉันท์นี้



เรื่องย่อ

                 เริ่มต้นกล่าวสรรเสริญคุณเทวดา กษัตริย์ และพระรัตนตรัย แล้งดำเนินเรื่องว่าเสือแม่ลูกอ่อนและโคนมแม่ลูกอ่อนอยู่ในป่าแห่งหนึ่ง วันหนึ่งแม่เสือออกไปหาอาหาร ลูกโคสงสารจึงบอกแม่ให้นมแก่ลูกเสือ ลูกเสือและลูกโคจึงเริ่มรักกันอย่างพี่น้อง แม่เสือสาบานว่าจะไม่ทำลูกโค แต่แม่เสือไม่รักษาคำสัตย์กินแม่โคเสีย ลูกเสือและลูกโคจึงช่วยกันประหารแม่เสือ แล้วชวนกันไปหากินจนพบพระฤาษีพระฤาษีเมตตาชุบให้เป็นคน ลูกเสือเป็นพี่ได้ชื่อว่า พหลวิไชย ลูกโคเป็นน้องชื่อว่าคาวี พระฤาษีอวยพรและมอบพระขรรค์วิเศษให้ ทั้งสองจึงลาฤาษีไปเมืองมคธ พระคาวีได้ฆ่ายักษ์ที่คอยทำร้ายชาวเมืองนั้นตาย ได้นางสุรสุดา ราชธิดาท้าวมคธ แต่พระคาวีถวายแด่พระพี่ชายแล้วออกเดินทางต่อ ไป ต่างฝ่ายต่างเสี่ยงบัวคนละดอก เมื่อไปถึงดมืองร้างเมืองหนึ่งพบกลองใหญ่ตีไม่ดัง ผ่าดูพบนางจันทราผู้ผมหอมธิดาท้าวมัทธราชและนางแก้วเกษร แห่งรมนคร ได้ทราบความจากนางว่านกอินทรีย์ใหญ่คู่หนึ่งบินมากินชาวเมืองตลอดจนพ่อแม่ นางรอกชีวิตได้ก็เพราะกลองใบนั้น พระคาวีปราบนกอินทรีด้วยพระขรรค์วิเศษและได้นางจันทรเป็นชายา

วันหนึ่งนางจันทรลงสรงในแม่น้ำ ใส่ผมหอมในอบแล้วลอยน้ำไป ท้าวยศภูมิ ผู้ครองเมืองพันธวิไสยเก็บได้ หลงใหลผมหอมนั้น นางทาสีอาสานำนางมาถวาย โดยออกอุบายลวงถามความลับเกี่ยวกับพระขรรค์จากนางจันทร ครั้นทราบว่าพระคาวีถอดพระชนม์ไว้ในพระขรรค์ จึงนำพระขรรค์ไปเผาไฟ พระคาวีสลบไป แล้วนางทาสีพานางจันทรไปถวายท้าวยศภูมิ  แต่ไม่อาจเข้าใกล้นางได้เพราะร้อนเป็นไฟ ด้วยอำนาจความภักดีที่มีตอพระคาวี
เมื่อพระพหลวิไชยเห็นบัวอธิฐานเ่ยวลงเป็นลางร้ายจึงตามหาร่างพระคาวี และพบพระขรรค์ในกองไฟ มาชำระล้างวางบนองค์พระคาวี พระคาวีพื้นขึ้นแล้ว พากันออกตามหานาวจันทรถึงเมืองท้าวยศภูมิ พระพหลวิไชยแปลงเป็นพระฤาษีอาสาชุบท้าวยศภูมิให้เป็นหนุ่มแล้วฆ่าเสียเอาพระคาวีออกมาแทนอ้างว่าชุบตัวเป็นหนุ่มได้สำเร็จ พระคาวีได้อภิเษกสมรสกับนางจันทรและได้ครองเมืองพันธไสยสืบมา
เสือโคคำฉันท์เป็นหนังสือประเภทฉันท์เรื่องแรกที่จบสมบูรณ์ ชนิดของฉันท์ที่ใช้แต่งไม่มีมากและโคลงไม่เคร่งครัดตามแผนบังคับ นอกจากนี้มีกาพย์ชนิดต่าง ๆ  แต่งอยู่ด้วย ถ้อยคำสำนวนเข้าใจง่ายกว่าสมุทรโฆษคำฉันท์ เรื่องนี้ได้ต้นเค้ามาจากปัญญาสชาดก แต่ก็ไม่ได้กล่าวถึงการกลับมาของบุคคลในเรื่องอย่างชาดก ต่อมาในรัตนโกสินทร์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องคาวีเรื่งเสือโคคำฉันท์นี้

เนื้อหาวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง
วรรณคดีที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับนิราศหรือการจากนาง
   นิราศเหล่านี้จะมีลักษณะคร่ำครวญถึงนาง และบรรยายการเดินทางไปพร้อม ๆ กันด้วย ได้แก่ โคลงนิราศหริภุญชัย ราชาพิลาปคำฉันท์หรือนิราศสีดา และ นิราศนครสวรรค์
ในที่นี้จะยกตัวอย่างของโคลงนิราศหริภุญชัย ที่ผู้แต่งมีความมุ่งหมายเพื่อบรรยายความรู้สึกที่ต้องจากหญิงรักไปนมัสการพระ ธาตุหริภุญชัย ที่เมืองหริภุญชัย(ลำพูน)ก่อนออกเดินทางไปนมัสการลาพระพุทธสิหิงค์ขอพรพระ มังราชหรือพระมังรายซึ่งสถิต ณ ศาลาเทพารักษ์ นมัสการลาพระแก้วมรกต เมื่อเดินทางพบสิ่งใดหรือตำบลใดก็พรรณาคร่ำครวญรำพันรักไปตลอด จนถึงเมืองหริภุญชัยได้นมัสการพระธาตุ สมความตั้งใจ บรรยายพระธาตุ งานสมโภชพระธาตุ ตอนสุดท้ายลาพระธาตุกลับเชียงใหม่
       ดวงเดียวดูยิ่งฟ้า      อัปศร
   เป็นปิ่นกามาวจร         เจื่องเจ้า
   บุญบาแต่งปางก่อน      ทักทำ นายนี
   แสนชาติยังยั้งเฝ้า       จึ่งล้วนลุคะนึง

วรรณคดีที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับคำสอน
ได้แก่โคลงภาษิต ๓ เรื่อง ได้แก่
๒.๑ ทศรถสอนพระราม มีเนื้อหาแสดงพระจริยวัตรของพระมหากษัตริย์ที่พึงปฏิบัติต่อพระโอรส
๒.๒ พาลีสอนน้อง มีเนื้อหาสั่งสอนข้าราชการ โดยเอาเรื่องรามเกียรติ์มาเป็นมูลของเรื่อง
๒.๓ โคลงราชสวัสดิ์ มีเนื้อหาสอนธรรมเนียมปฏิบัติราชการแก่ผู้ที่จะเป็นข้าแผ่นดินละเอียดกว่าโคลงพาลีสอนน้อง
ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างเรื่องพาลีสอนน้อง
   หนึ่งของกองโกศไว้   ในคลัง
อย่าคิดปิดแสวงหวัง      อาจเอื้อม
เอาออกนอกคลังรัง      แรงโทษ
อย่าได้มีใจเงื้อม         เงื่อนร้ายสลายคุณ ฯ
วรรณคดีที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับนิทาน
ได้แก่เรื่อง เสือโคคำฉันท์ เป็นเรื่องเล่าสู่กันมาเพื่อความสนุกสนาน
จะจับเรื่องโคเสือมาเพื่อกล่าว   ถึงเรื่องราวสัมพันธ์ก่อที่ต่อสาน
ลูกเสือลูกโคเป็นเพื่อนกัน         สื่อสัมพันธ์สนิทแน่นแม้นพี่น้อง
ต้นตอก่อเหตุที่แม่เสือ         ออกล่าหาเหยื่อเพื่อปากท้อง
เลยเวลาไม่กลับมาเหลียวมอง      ปล่อยลูกเสือโห่ร้องเพราะท้องหิว
วรรณคดีที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการยอพระเกียรติ
ได้แก่ โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  และเรื่องเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าปราสาททอง ซึ่งเป็นการยกย่องสรรเสริญให้สมกับเกียรติยศของท่าน
ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างจาก โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
พระมนเทียรถ้าเทิด      แถวถงัน
ขวาสุทธาสวรรย์พรรณ      เพริศแพร้ว
ซ้านจันทรพิลาศวรรณ      เว็จมาศ
บานแบ่งคนธรสเร้า      เฟื่องฟุ้งขจรถวาย
วรรณคดีที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์
ได้แก่ พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ เป็นบันทึกเหตุการณ์สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น  ตามพระราชโองการของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพื่อเป็นบันทึกทางประวัติศาสตร์
คำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง มีเนื้อหาเป็นการกล่อมช้างเผือกที่ได้มาในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และกาพย์ห่อโคลงพระศรีมโหสถ กล่าวถึงชีวิตและขนบธรรมเนียมประเพณีของราษฎรชาวกรุงศรีอยุธยาในสมัยนั้น
ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างจาก ราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ
   “ศักราช ๒๕๘ มแมศก (พ.ศ.๒๐๐๗) สมเด็จพระบรมไตรโลกเจ้าไปเสวยราชสมบัดดิเมืองพิศณุโลก และตรัสให้พระเจ้าแผ่นดินเสวยราชสมบัดดิพระนครศรีอยุธยา ทรงพระนามสมเด็จพระบรมราชา ครั้งนั้นพระมหาราชท้าวลูกยกพลมาเอาเมืองสุโขทัย...”
วรรณคดีที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้ภาษาเป็นสื่อผ่านวรรณคดี
ได้แก่ จินดามณี มีลักษณะเป็นตำราเรียนฉันทลักษณ์ และเพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงอ่านเป็นที่สำราญพระทัย โคลงอักษรสามหมู่ เพื่อแสดงแบบการแต่งกลโคลง โคลงเบ็ดเตล็ดของศรีปราชญ์ เพื่อแสดงปฏิภาณของผู้แต่ง
ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างจากจินดามณี   
   หมู่ใดในคณะ เป็นคู่อย่าละ กาพย์โคลงพากย์หาร บทฉันทใดฉงน สืบถามอย่านาน จู่ลู่ใช่การ ลิกขิตเกี้ยวพันธ์
และตัวอย่างจากโคลงอักษรสามหมู่
   เสนาสูสู่สู้      ศรแผลง
ยิงค่ายทลายเมืองแยง      แย่งแย้ง
รุกร้นร่นรนแรง      ฤทธิ์รีบ
ลวงล่วงล้วงวังแว้ง      รวบเร้าเอามา ฯ

 

คุณค่าของเรื่องเสือโคคำฉันท์

 

เป็นวรรณคดีไทยที่มีคุณค่าสูงเรื่องหนึ่ง  เป็นฉันท์เรื่องแรกที่มีความยาวเป็นพิเศษ  แต่งด้วยฉันท์และกาพย์  เพื่อสอนคติธรรมโดยอาศัยเค้าโครงมาจากปัญญาสชาดก  บทสุดท้ายเป็นโคลงสี่สุภาพสองบท
เนื้อเรื่องกล่าวถึงลูกโคและลูกเสือซึ่งเกิดมีความผูกพันกัน  เริ่มจากในวันหนึ่งซึ่งลูกเสือถูกแม่ทิ้งไว้เกิดหิวนม  ลูกวัวจึงให้กินนมจากแม่ของตน  นับแต่นั้นมาทั้งสองก็เป็นสหายรักใคร่กัน  ลูกเสือขอให้แม่อย่าทำร้ายลูกโคและแม่โค  วันหนึ่งแม่เสือผิดสัญญา  ลูกเสือและลูกโคจึงช่วยกันทำร้ายจนถึงแก่ความตาย  พระฤๅษีถอดหัวใจของทั้งสองใส่ไว้ในพระขรรค์วิเศษคนละเล่ม  มอบให้ดูแลรักษา
เมื่อทั้งสองเดินทางมาถึง  จันทบูรนคร  สามารถปราบยักษ์ที่คอยทำร้ายชาวเมืองได้  พหลวิชัยได้อภิเษกสมรสกับ  นางสุรสุดา  พระธิดาของพระเจ้ามคธ  คาวีเดินทางไปจนถึงรมยนคร  เห็นกลองใบใหญ่เมื่อผ่าออกดูพบ  นางจันทร์ผมหอม หรือ  นางจันทร์สุดา  หรือ  นางจันทรวรา  (ซึ่งมีผมหอม)  พระธิดาของท้าวมัททราชและนางแก้วเกสรคาวีประหารนกอินทรีใหญ่ที่มากินชาวเมืองรมยนครได้อภิเษกสมรสกับนางจันทร์ผมหอม  วันหนึ่งนางอาบน้ำแล้วนำเส้นผมใส่ผอบปล่อยลอยน้ำไป  พระเจ้ายศภูมิ  (หรือท้าวสันนุราช)  แห่งเมืองพัทธพิสัยทรงพบผมหอมบังเกิดความลุ่มหลง  ใช้อุบายให้คนนำพระขรรค์ของคาวีไปเผาไฟชิงนางจันทร์มาได้สำเร็จแต่ไม่อาจเข้าใกล้ได้เพราะตัวนางจะร้อนเป็นไฟ  อันเนื่องมาจากอำนาจความซื่อสัตย์ต่อสามี
พหลวิชัยตามหาคาวีจนพบ  ชุบชีวิตให้คืนชีพ  จากนั้นพหลวิชัยปลอมตัวเป็นฤๅษีหลอกทำพิธีชุบตัวให้พระเจ้ายศภูมิกลับเป็นหนุ่ม  เมื่อสบโอกาสจึงผลักลงหลุมไฟ  คาวีกับนางจันทร์ผมหอมจึงได้ครองเมืองพัทธพิสัยสืบต่อมา

 

แสดงความคิดเห็น

>

9 ความคิดเห็น

Kam-ong2131 30 ส.ค. 64 เวลา 14:24 น. 9

ขอแถลงสำแดงกิจยุบล กลนิติสายสาร

โดยในสุภาสิตบรรหาร วิศาลประเศศโถ ฯ

๑๖๏ โปฎกทั้งสองเสือโค จรอารัญโญ

ประเทศมรรคาบหึง

๏ คล้ายคล้ายลีลาลุถึง แถวสถานสำนึง

สำนักนักสิทธิฤๅษี


ช่วยแปลบทนี้ให้หน่อยคร้าา

0