Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

[เฉลย]O-NET 53 วิทยาศาสตร์ ส่วนเคมี

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่



ขอเฉลยที่เป็นชุดก่อนนะครับ ซึ่งต้องตอบถูก 3 ข้อจะได้ 2 คะแนน

ข้อ 69 ตอบข้อ 1 เพราะ มีโปรตอน 9 แสดงว่าเลขข้างล่าง คือ 9 นิวตรอน 10 แสดงว่า เลขบน-เลขล่าง คือ 10 

ข้อ 70 ตอบข้อ 1 เมื่อจัดเรียงอิเล็กตรอนแล้วจะได้ 2 7 คือ หมู่ 7 คาบ 2 นั่นคือ F ซึ่งอยู่ในรูปของ Diatomic molecule 

ข้อ 71 ตอบข้อ 4 เพราะ ข้อ 1 2  ถูก ฟลูออรีนอยู่ในสถานะแก๊ส ไอออนมีประจุ -1 ซึ่งเมื่อเกิดสารประกอบกับ Ca ซึ่งเป็นโลหะ

หมู่ 2 จะมีสูตร CaX2


ข้อ 21 ตอบข้อ 4

ข้อ 1 ถูก อ้างอิงจากแบบเรียน สารและสมบัติของสารหน้า 30 เรื่องกรดนิวคลีอิก 

ข้อ 2 ถูก (ไม่มีในแบบเรียนสารและสมบัติของสาร)

อ้างอิงจาก http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK9/chapter12/t9-12-l1.htm และ http://www.student.chula.ac.th/~47437390/webpage/carbohydate.htm

ข้อ 3 ถูก อ้างอิงจากแบบเรียน สารและสมบัติของสารหน้า 12 เรื่องประโยชน์ของไขมัน

ข้อ 4 ผิด อ้างอิงจากแบบเรียน สารและสมบัติของสารหน้า 29 




ข้อ 22 ตอบข้อ 3

เหตุผล ก คือแป้ง ข คือ น้ำตาลทราย ค คือ เส้นใยพืช(ไหมเป็นเส้นใยสัตว์ ซึ่งถือเป็นเส้นใยโปรตีน) ง คือน้ำตาลอะไรก็ได้ที่ไม่ใช่น้ำตาลทราย



ข้อ 25 ตอบข้อ 1

การเกาะเกี่ยวของคู่เบสจะมีความจำเพาะเจาะจง คือ

อะนะดีน(A) กับ ไทมีน (T)

กวานีน(G) กับ ไซโตซีน (C)




ข้อ 23 ตอบข้อ 4 เพราะ น้ำมันพืชแม้จะเป็นไขมันที่เหมาะกับการประกอบอาอารแต่ต้องมีการเติมวิตามินอีหรือสารบางชนิดลงไปก่อน


ข้อ 1 และ 2 การพิจรณาการเหม็นหืนของน้ำมัน ถ้ามี % ไขมันไม่อิ่มตัวมาก จะเหม็นหืนเร็ว



ข้อ 24 ตอบข้อ ไม่มีคำตอบ

ปล. ข้อ 1 จะเกิด 6 ชนิด 

ข้อ 2 การทดสอบโปรตีนทดสอบด้วย CuSO4 ในเบส ให้สารสีน้ำเงินม่วงซึ่งเป็นสารประกอบเชิงซ้อนระหว่างทองแดงกับ สารที่มีพันธะเปปไทด์ 2 พันธะขึ้นไป (ขอบคุณ น้อง kasama จาก ตอ.

อ้างอิงจาก หนังสือกวดวิชาเคมี อ.อุ๊ บท สารชีวโมเลกุล หน้า 142

ข้อ 3 พันธะเปปไทด์ 2 พันธะ



ข้อ 26 ตอบข้อ 3

ข้อ 1 น้ำมันเบนซินมีจุดเดือด 250-340 องซาเซลเซียส

ข้อ 2 ไฮโดรคาร์บอนทุกชนิดไม่ละลายน้ำเพราะไม่มีขั้ว

ข้อ 4 จำนวนคาร์บอนของตัวทำละลายในอุตสาหกรรมเคมี คือ 6-12

ทั้งหมดอ้างอิงจาก หนังสือเรียนสารและสมบัติของสารหน้า 37 ภาพ 2.1




ข้อ 29 ตอบข้อ 1 

ข้อ 30 ตอบข้อ 2 Cl2+H2O------->HClO(กรดไฮโปคลอรัส)+HCl(กรดเกลือ/กรดไฮโดรคลอริก)     (โหดมากสำหรับสายศิลป์)

ข้อ 1 อีเทน ไม่ละลายน้ำ 

ข้อ 4 (จริงๆควรได้กรดซัลฟิวรัสมากกว่า)


ข้อ 31 ตอบข้อ 1 เพราะ จะเผาไหม้ได้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำได้ต้องเป็นสารอินทรีย์ และเกิดการเผาไหม้แบบเผาไหม้สมบูรณ์

ปล. 
ข้อ 2 แก๊สโซฮอล์ คือ เอทานอล + น้ำมันเบนซิน
ข้อ 4 แก๊สธรรมชาติ หมายถึง แก๊สมีเทน



ข้อ 32 ตอบข้อ 1 เพราะ อุณหภูมิต่ำลงเป็นปฏิกิริยาดูดความร้อน


ข้อ 33 ตอบข้อ 2 เพราะเกิดแก๊ส

ข้อ 1 สบู่ละลายได้ทั้งน้ำและไขมัน เพราะมีส่วนทั้งส่วนที่มีขั้วและไม่มีขั้ว

ข้อ 3 โปรตีนเสียสภาพ กลับคืนไม่ได้

ข้อ 4 ไม่ใช่ตัวเร่ง แต่มันเกิดปฏิกิริยาเอง (ไฟฟ้าเคมี) แบบเซลล์ทุติยภูมิ



ข้อ 37 ตอบข้อ 1 ไอโซโทปคือ ธาตุที่มีจำนวนโปรตอนเท่ากัน ส่วนข้อ 3 คือธาตุเดียวกับที่โจทย์ให้

เพิ่มเติม ไอโซโทน คือ นิวตรอนเท่ากัน ไอโซบาร์ คือ เลขมวลเท่ากัน ไอโซอิเล็กทรอนิกส์คือ อิเล็กตรอนเท่ากัน

ข้อ 38 ตอบข้อ 4 เมื่อจัดเรียงอิเล็กตรอนแล้วจะได้ดังนี้

A 2,2          B 2,8,3          C 2,8,7




ข้อ 39 ตอบข้อ 3 

ก. เกลือแกง NaCl โซดาไฟ NaOH 

ข. สารประกอบไอออนิกสภาวะปกติ ไม่นำไฟฟ้า จะนำไฟฟ้าได้เมื่อหลอมเหลว หรือ ละลายเป็นสารละลาย 

ค.ธาตุเหล่านี้เรารู้จักกันว่าเป็นโลหะ เพราะมีสมบบัติทางกายภาพเหมือนโลหะ แมสมบัติทางเคมีบางประการที่แตกต่างจากโลหะในหมู่ 1A และ 2A

อ้างอิงจากแบบเรียน สารและสมบัติของสารหน้า 111 เรื่องโลหะแทรนซิชัน 



ข้อ 40 ตอบข้อ 3 

สมมติให้ตอนแรกมี 100 จะสลายตัวดังนี้ 100--->50--->25--->12.5--->6.25 ครึ่งชีวิต 5000 ปี แสดงว่าทั้งหมดจะใช้เวลา 20,000 ปี



ข้อ 59 ตอบข้อ 2  อ้างอิงจากแบบเรียน สารและสมบัติของสารหน้า 117 เรื่องประโยชน์ของธาตุกัมมันตรังสี



ข้อ 34 ตอบข้อ 1,3



ข้อ 35 ตอบข้อ 1 เพราะ การดูดความชื้นไม่ถือเป็นปฏิกิริยาเคมี (ใครมีเหตุผลอื่นค้านได้นะครับ) ข้อ 2 ก็ตอบได้ครับเพราะกระดาษที่ใช้งานไม่ได้คือ

กระดาษขาดไม่เกิดปฏิกิริยาเคมี ส่วนพลาสติก เกิดปฏิกิริยาเคมีครับ เพราะ เกิดการขาดออกของสายโซ่ เป็นต้น

ข้อ 36 ตอบข้อ 3 H+ มีโปรตอน 1 นิวตรอน 0 อิเล็กตรอน 0 





ข้อ 27 ตอบข้อ 2 เหตุผล ยางวัลคาไนซ์มีการเติมซัลเฟอร์เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติ

ข้อ 1 SiO2 เป็นของแข็งไม่ใช่ก๊าซ ข้อ 4 NH3 ละลาบน้ำแล้วสมบัติเป็นเบส ส่วนข้อ 3 พอลิไวนิลอซิเตตไม่มี Cl ในโครงสร้าง

เมื่อเผาจึงไม่น่าจะสามารถสลายให้ HCl ได้

ข้อ 28 ตอบข้อ 3,4

ข้อ 1 เคี้ยวข้าว แป้งโดนย่อยเป้นมอลโตส 

ข้อ 2 สบู่จับกับไอออนบางชนิดที่มีในน้ำกระด้างกลายเป็นไคลสบู่ 









ข้อ 72 ตอบข้อ 2 เพราะอัตราไม่คงที่ ไม่ได้ลดลงตามเวลา

ข้อ 73 ตอบข้อ 2 เพราะ แอมโมเนีย 2 โมล พอดีกับ คาร์บอนมอนออกไซด์ 1 โมล ถ้าใช้แอมโมเนีย 3 โมล และคาร์บอนไดออกไซด์ 1 โมล จะเหลือ

แอมโมเนีย 1 โมล และมีน้ำเกิดขึ้นอีก 1 โมล

ข้อ 74 ตอบข้อ ไม่เฉลยเพราะไม่เข้าใจโจทย์ หากอ้างอิงจากข้อ 73 จะตอบข้อ 2 เพราะแอมโมเนียเป็นตัวเหลือพ่นลงน้ำรวมกับไอน้ำที่เกิดขึ้น


มีคำถาม สงสัย อยากคุย อยาระบาย อยากด่า สทศ มาคุยกันได้ที่ s-tamper@msn.com

ขอบคุณน้องภูมิ ว่าที่ นศพ.มข. และพี่ pap ครับ



แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 6 มีนาคม 2553 / 03:27
แก้ไขครั้งที่ 2 เมื่อ 6 มีนาคม 2553 / 03:39
แก้ไขครั้งที่ 3 เมื่อ 6 มีนาคม 2553 / 03:57
แก้ไขครั้งที่ 4 เมื่อ 6 มีนาคม 2553 / 04:01
แก้ไขครั้งที่ 5 เมื่อ 6 มีนาคม 2553 / 04:16
แก้ไขครั้งที่ 6 เมื่อ 6 มีนาคม 2553 / 04:36
แก้ไขครั้งที่ 7 เมื่อ 6 มีนาคม 2553 / 13:50
แก้ไขครั้งที่ 8 เมื่อ 6 มีนาคม 2553 / 14:08
แก้ไขครั้งที่ 9 เมื่อ 6 มีนาคม 2553 / 14:19
แก้ไขครั้งที่ 10 เมื่อ 6 มีนาคม 2553 / 14:44
แก้ไขครั้งที่ 11 เมื่อ 6 มีนาคม 2553 / 14:55
แก้ไขครั้งที่ 12 เมื่อ 6 มีนาคม 2553 / 14:57
แก้ไขครั้งที่ 13 เมื่อ 6 มีนาคม 2553 / 15:04
แก้ไขครั้งที่ 14 เมื่อ 6 มีนาคม 2553 / 15:16
แก้ไขครั้งที่ 15 เมื่อ 6 มีนาคม 2553 / 15:30
แก้ไขครั้งที่ 16 เมื่อ 6 มีนาคม 2553 / 16:43
แก้ไขครั้งที่ 17 เมื่อ 6 มีนาคม 2553 / 16:56
แก้ไขครั้งที่ 18 เมื่อ 6 มีนาคม 2553 / 17:16
แก้ไขครั้งที่ 19 เมื่อ 7 มีนาคม 2553 / 06:43
แก้ไขครั้งที่ 20 เมื่อ 7 มีนาคม 2553 / 06:58

แสดงความคิดเห็น

>

43 ความคิดเห็น

สงสัยครับ 6 มี.ค. 53 เวลา 03:45 น. 1

ข้อ21

อะไรแปลว่าแหล่งพลังงานขั้นแรกอ่ะครับ ตัวเลือก 4 ค่าพลังงานถูกแต่ไม่เข้าใจคำว่าแหล่งพลังงานขั้นแรกครับ

0
p'pap 6 มี.ค. 53 เวลา 03:57 น. 2

http://www.dek-d.com/board/view.php?id=1618010 พี่ฝากอันนี้ไว้ให้น้องพิจารณาด้วยนะครับ
เป็นไปได้ไหมครับ ว่าข้อ 21 จะผิด 2 ข้อ พี่ดูแว้บแรกพี่ก็ตอบข้อ 2 เหมือนกันครับ แต่พอดูน้องๆทำ
น้องตอบข้อ 4 ด้วยพี่เลยมาดูละเอียดๆคิดว่า คงจะเป็นคำว่าพลังงานขั้นแรกน่ะครับ จริงๆโปรตีน
เอามาใช้หลังสุด ต่อจากคาร์โบไฮเดรตและไขมัน ถ้าเรียกพลังงานขั้นสุดท้ายจะดีกว่าไหมครับ

0
--สแตมป์-- 6 มี.ค. 53 เวลา 03:59 น. 3

ตอบ ความคิดเห็นที่ 1 ครับ แหล่งพลังงานขั้นแรกของร่างกายหมายความว่า ร่างกายจะนำพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตมาใช้เป็นอันดับแรก ต่อไปคือไขมันและโปรตีนครับ 

***อ้างอิงจากแบบเรียน สารและสมบัติของสารหน้า 29  

0
pap 6 มี.ค. 53 เวลา 04:02 น. 4

คือสามตัวนี้เรียกแหล่งพลังงานขั้นแรกของร่างกายทั้งหมดเลยน่ะหรอครับ
แล้วมันมีแหล่งพลังงานของร่างกายแหล่งอื่นอีกหรอครับนอกจากสามอันนี้ งงๆ
พี่เพิ่งเคยได้ยินคำนี้น่ะครับ ไว้เดี๋ยวจะลองไปหาแบบเรียนมาดูครับ ขอบคุณครับ

0
--สแตมป์-- 6 มี.ค. 53 เวลา 04:18 น. 5

ที่พี่บอกผมถูกแล้วครับ แหล่งพลังงานขั้นแรก น่าจะหมายถึง เอาพลังงานจากอะไรมาใช้อันแรก ซึ่งก็คือ คาร์โบไฮเดรต 

0
p'pap 6 มี.ค. 53 เวลา 04:29 น. 6

โอเคครับ งั้นข้อนี้ก็น่าจะผิด 2 ข้อแบบที่พี่คิดไว้จริงๆด้วย พี่ยังไม่ได้ดูละเอียดๆเลยครับ พอดีพอข้อสอบออกมาก็รีบไปดู 3 ข้อติดก่อนเลย เพราะอยากรู้ว่าเค้าออกยังไง เดี๋ยวไว้มีเวลาพี่จะลองมาดูข้ออื่นๆ ขอบคุณมากครับ ที่โพสต์เฉลยแบ่งปัน เดี๋ยวถ้าพี่ได้ลองทำแล้วจะได้มาเทียบดูประกอบด้วยครับ เก่วนะ ดูได้ละเอียดทีเดียวในแต่ละตัวเลือก&nbsp ยังไงฝากพิจารณาข้อที่พี่ดูไว้ด้วยนะครับ หากพี่ดูผิดท้วงติงได้เลยนะครับ ไปละครับ ^^

0
ภูมิค้าบ 6 มี.ค. 53 เวลา 09:09 น. 7

จขกท.เฉลยเหมือนที่เราคิดทุกข้อเลยแต่
ข้อ 21. คาร์โบไฮเดรตช่วยให้การเผาไม้เป็นไปอย่างสมบูรณ์ถูกแล้ว ข้อนั้นตอบข้อ 4 เท่านั้น 
ข้อ 34. ตอบสิ่งที่มีผลทดสอบว่าพื้นที่ผิวมีผลต่อ R คือ กระดาษฝอยติดไฟได้เร็วกว่าแผ่นกระดาษ หลักการเดียวกันกับการเคี้ยวข้าวก่อน
กลืน
ข้อ 35. ตอบสิ่งที่ไม่ได้แสดงว่าธรรมชาติมีผลต่อ R คือ เหล็กที่ชื้นผุเร็วกว่าอะลูมิเนียม เพราะเหล็กที่ชื้นจะเกิดปฏิกิริยาเคมีกับน้ำหลายเป็น Fe2O3.xH2O

0
1234 6 มี.ค. 53 เวลา 10:16 น. 8

ช้อ 34 ตอบ 3
เพราะ การที่ใช้ยูเรเนียมเป็นก้อนเล็กๆ(พื้นที่ผิวสัมผัสมาก)จะทำให้เกิดปฏิกิริยาไวกว่าการใช้ยูเรเนียมเป็นแท่ง(พื้นที่ผิวสัมผัสน้อย)

ข้อ 35 ตอบไม่ 1 ก็ 4
คือมันมองได้ 2 มุม ข้อ 1 อาจมองว่าไม่ใช่ปฏิกริยาเคมีถึงแม้เกลืออาจมีรูปไฮเดรตก็ตามแต่การที่ดูดความชื้อสามารถพิจารณาในรูปการละลายได้ จึงตอบ 1
หรือข้อ 4 ในความเป็นจริง Al ควรจะผุเร็วกว่าเหล็ก(จากค่า E0 ) แต่ที่ผุช้ากว่าเพราะมีชั้นของสนิมอะลูมิเนียมมาเคลือบทำให้อะลูมิเนียมเนื้อในไม่ผุกร่อน จึงเสมือนว่ากร่อนช้ากว่า ข้อนี้เหล็กกร่อนไวกว่าจึงไม่ได้แสดงว่าเหล็กมีปฏิกริยาเคมีไวกว่า(เข้าจ้าย!!)

ส่วนข้อ 28 ตอบ 3 เท่านั้น
เพราะข้อ 4 คือปฏิกริยาการเกิดether(ไม่ใช่ ester นะ)แต่ต้อง reflux ซึ่งอาจยากไปนิดสำหรับสายศิลป์(หรือสายวิทย์ด้วยหว่า)แต่ที่โรงเรียนเราไม่มีสอนนะ เขาสอนกันในค่าย สสวท. สอวน. เคมี

ข้อ 30 ตอบ 2
ที่ไม่ตอบ 4 เพราะมันต้องได้ H2SO3(ซัลฟิวรัส)

0
punchkano 6 มี.ค. 53 เวลา 12:08 น. 10

คือว่า
แหล่งพลลังงานของร่างกายมีลำดับการใช้ดังนี้
แหล่งแรกคือคาร์โบไฮเดรต
พอคาร์โบหมดก็ใช้ไกลโคลเจน
พอไกลโคลเจนหมดก็ใช้ไขมัน
พอไขมันหมดก็ใช้โปรตีน

ดังนั้นโปรตีนเป็นแหล่งพลังงานขั้นที่ 4 - 5 เลยนะ

0
p'pap 6 มี.ค. 53 เวลา 12:28 น. 11

น้องภูมิช่วยอธิบายเพิ่มเติมทีนะครับว่าคาร์โบไฮเดรตช่วยให้การเผาไหม้ไขมันเป็นไปสมบูรณ์ยังไงครับ มันถูกต้องยังไงอ่ะครับ เป็นกลไก เป็นชีวะหรอครับ&nbsp ช่วยอธิบายด้วยครับไม่ทราบจริงๆ อยากทราบครับ

ขอลองคิดที่ที่น้องเอามาโชว์บ้างนะครับ

ข้อ 69-71 คิดเหมือนน้องแสตมป์
ข้อ 21 ยังงงๆตัวเลือกที่ 2 ครับ แต่ส่วนตัวถ้าให้เลือกกาตัวเดียวก็ตอบ 4 แต่ก็ไม่เข้าใจว่าข้อ 2 มันถูกยังไง ไม่ทราบจริงๆ ส่วนตัวเลือกที่ 4 ลองอ่านคห.ที่ 1- 6 และ คห.ที่ 10 ประกอบนะครับ
ข้อ 29-30 เหมือนน้องแสตมป์ครับ ข้อ 30 ตัวเลือกที่ 2 ไม่น่าถูกนะครับ N2 ละลายน้ำ ไม่น่าจะได้กรดไนตริกนะครับ กรดไนตริกน่าจะได้จากพวกออกไซด์ของไนโตรเจนละลายน้ำมากกว่าครับ&nbsp 2 NO2 + H2O → HNO2 + HNO3&nbsp  ตัวเลือกที่ 4 จึงน่าจะดีที่สุดแต่จริงๆก็ไม่ถูกอยู่ดี เพราะมันน่าจะเป็นกรดซัลฟิวรัสมากกว่า
ข้อ 31 37 38 39 40 59 ตอบเหมือนที่น้องแสตมป์เฉลยครับ

0
p'pap 6 มี.ค. 53 เวลา 12:30 น. 12

ตัวอักษรประหลาดๆความเห็นข้างบนคือเครื่องหมายลูกศรนะครับ

ข้อ 34 ควรตอบข้อ 3 นะครับเหมือนน้องคห. 8 ตอบไป&nbsp ตัวเลือกที่ 1 มันต่างกันที่ชนิดของสารด้วยไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบเรื่องพื้นที่ผิวได้น่ะครับเค้าไม่ได้ให้ข้อมูลที่จะเปรียบเทียบไปถึงพื้นที่ผิวได้ด้วยครับ ตัวเลือกที่ 1 เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับธรรมชาติของสารน่ะครับ ตัวเลือกที่ 2 ก็เป็นปัจจัยเกี่ยวกับตัวเร่ง ตัวเลือกที่ 4 เป็นเรื่องปริมาณสารไปแล้วน่ะครับ ไม่ใช่อัตราเร็ว(เกิดเร็วเกิดช้าเป็นคนละเรื่องกับเกิดมากเกิดน้อยครับ)
ข้อ 35 ถ้าเป็นพี่พี่ตอบข้อ 1นะ&nbsp จากโจทย์ข้อไหนที่แสดงว่าธรรมชาติของสารมีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยา ข้อนั้นต้องตัดทิ้ง ในตัวเลือกข้อแรกเกลือเม็ด ดูดความชื้นเร็วกว่าน้ำตาลทราย ดูผ่านๆเหมือนจะเป็นเรื่องธรรมชาติของสาร แต่การดูดความชื้นของสารสองตัวนี้มันไม่ใช่ปฏิกิริยาเคมีครับ เหมือนที่น้องคห. 8 บอกไป ส่วนตัวเลือกที่ 4 หากเราไม่มองลึกขนาดน้องคห.ที่ 8 มองตามข้อมูลที่เค้าให้มาแค่นั้นก็คือธรรมชาติขิงสารมีผลต่ออัตตราการเกิดปฏิกิริยา เพราะเค้า set condition ต่างๆไว้เหมือนกัน แต่พี่เข้าใจนะน้องจะมองว่า pathway ของปฏิริยามันต่างกัน หากจะเทียบที่ pathway เดียวกันควรจะตอบ Al เกิดเร็วกกว่า แต่หากมองกว้างๆแบบไม่รู้จักปฏิกิริยาในรายละเอียด เอาตามข้อเท็จจริงที่เค้าให้ในตัวเลือกมาพิจารณา เมือ่ผลออกมาแบบนั้นก็ควรอยู่ในข้อสรุปที่ว่า ธรรมชาติของสารมีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยา ส่วนในรายละเอียดของปฏิกิริยาที่ทำให้มันต่างกัน ก็ต้องเป็นเรื่องที่ต้องไปศึกษากันต่อซึ่งก็โยงมาจากเรื่องธรรมชาติขิงสารที่ต่างกันอยู่ดีน่ะครับ ถ้าเป็นพี่พี่จะตอบข้อ 1 ครับ แต่ก็เข้าใจที่น้องคห.ที่ 8 อธิบายมานะ

0
p'pap 6 มี.ค. 53 เวลา 12:33 น. 13

ข้อ36 กะ 27 ก็ไม่มีปัญหา มาข้อ&nbsp 28 เลยข้อนี่พี่คิดเหมือนน้องแสตมป์นะ พี่ลังเลว่าจะตอบอันไหนดี ถ้าให้กาได้ตัวเลือกเดียวพี่คงจะกาข้อ 4 เพราะหมู่ฟังชั่นของสารเหมือนกันเลยคือ OH เค้าน่าจะเจตนาวัดว่ามันไม่เกิดปฏิกิริยากัน มันเป็นแค่การละลาย พี่ไม่มองว่าจะมีเรื่องของการนำมา reflux นะเพราะมันต้องมีการตั้ง reaction มีการ heat แต่โจทย์บอกมาสั้นๆแค่นั้น เพราะถ้ามองแบบนั้นนะครับ ทุกๆปฏิกิริยาที่ไม่น่าจะเกิดได้ก็จะมี pathway ในการเกิดได้หมดครับ เช่น นำแก๊สไฮโดรเจนมา ผสมกับ แก๊สออกซิเจน หากบอกแค่นี้พี่ก็ว่ามันก็เป็นแค่สารละลายในรูปแก๊ส ไม่ด้ำทปฏิกิริยากัน แต่ถ้าเราเพิ่มอุณหภูมิและอัดความดันเข้าไปก็อาจจะเกิดเป็นน้ำได้ แต่ถ้าเค้าไม่ได้บอกรายละเอียดมา ส่วนตัวก็มองว่าน่าจะดูที่ภาวะปกติทั่วไป หากเค้าจะสื่อว่าให้เกิดปฏิกิริยาเค้าน่าจะบอกถึงคอนดิชั่นที่ทำให้มันเกิดมาในข้อเท็จจริงด้วยน่ะครับ และโดยเฉพาะ สารพวก organic นะครับ pathway มันเกิดได้มากมาย หากเราต้องคิดใส่ข้อเท็จจริงเพิ่มเข้าไป จะมี pathway มาสอดรับได้เกือบทั้งหมดครับ เช่นพี่เรียนแบบโจทย์เลยนะ เอา methanol มาผสมกับ ethanol พี่ก็สามารถบอกว่ามันจะเกิดเป็น ethyl methyl ether ได้ครับ และมันคงเกิดได้ สามารถเขียน mechanism ได้ ส่วนจะด้วย condition แบบไหน ได้ yield เท่าไหร่ ก็เป็นอีกเรื่องนึงน่ะครับ แต่ก็เข้าใจที่น้องอธิบายมานะครับ พี่ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเค้าเฉลยอะไร ส่วนตัวเลือกที่ 3 ทำไมพี่ตัดไป จริงๆพี่ก็ไม่อยากตัดนะ แต่พอพี่มองว่าตัวเลือก 4 มันน่าจะแค่ละลายกัน ส่วนตัวเลือกที่ 3 พี่ไม่ทราบว่าในการ coating นั้นมันมีกลไกการยึดไหม เกิด bond ไหมหรือว่าแค่แห้งติดไปเฉยๆ คืออันนี้พี่ไม่มีความรู้ในรายละเอียดของการ coating น่ะครับแต่คิดว่าตัวเลือก 4 มันน่าจะแค่ละลายกัน คือมั่นใจกว่าเลยตัดข้อนี้ แต่หากมันไม่เกิดปฏิกิริยานะ แค่แห้งไปเฉยๆ ตัวเลือกนี้ก็น่าจะตอบได้ครับ

0
p'pap 6 มี.ค. 53 เวลา 12:41 น. 14

พี่เอาในกระทู้ที่พี่ตั้งไว้มาแปะในนี้เลยละกันนะครับ น้องๆจะได้สะดวกไม่ต้องตามไปกดดู

เซตที่ต้องตอบถูกสามข้อจึงจะได้คะแนนพี่ว่าเซตนี้น่าจะมีปัญหานะ คือข้อ 74 ในข้อที่ 74 นั้นโจทย์น่าจะพิมพ์อะไรผิดสักอย่าง เพระถ้าเอาตามนั้นจริงๆจะไม่มีคำตอบ โจทย์ค่อนข้างไม่รัดกุมครับ พี่คิดว่าโจทย์ข้อ 74 ควรอ้างไปถึงข้อ 73 มากกว่าที่จะเป็นข้อ 72 เพราะหากโยงไปถึงข้อ 72 แล้วถามว่าถ้านำแก๊สที่เกิดขึ้นทั้งหมดพ่นลงในน้ำ จะเกิดอะไร ในสมการเคมีที่ให้มา แก๊สที่เกิดขึ้นมีตัวเดียวคือ ไอน้ำ เพื่อพ่นลงไปในน้ำก็ย่อมได้น้ำ หากจะมองว่า ก็แอมโมเนียกะคาร์บอนไดออกไซไง ถ้าพ่นลงในน้ำจะได้ แอมโมเนียมไฮดรอกไซด์และกรดคาร์บอนิก แต่พี่ก็มองว่า โจทย์แปลกนะ เพราะมันไม่ได้เกิดขึ้น มันเป็นสารตั้งต้นจะเกิดขึ้นจากอะไรได้ ต้องใช้จนหมดไปต่างหาก และหากไม่ได้กำหนดปริมาณของสารมา ก็ควรคิดว่านำมาทำปฏิกิริยากันและหมดไปทั้งคู่ เพระหากจะมองว่าเหลือตัวไหนจะเหลือล่ะ จะทราบได้อย่างไร และมันต้องมีตัวนึงหมดไม่งั้นปฏิกิริยาก็ยังไม่สิ้นสุด พี่จึงมองว่าสารตั้งต้นต้องหมดทั้งคู่ รวมทั้ง ในสมการเคมีก็ไม่ได้เป็นปฏิกิริยาที่ผันกลับได้(ไม่มีลูกศรไปกลับ-สมดุลเคมี)ย่อมไม่อาจใช้คำว่าเกิดขึ้นได้เลยไม่ว่าจะมองจากมุมไหน (หากเป็นสมดุลเคมีก็อาจเกิดจากปฏิกิริยาที่ผันกลับมาได้ แต่ไม่ใช่กรณีโจทย์แน่นอน) แต่หากอ้างถึงข้อนี้จริงๆ และยอมให้ใช้คำว่าเกิดขึ้นแทนก๊าซทุกตัวเลยในสมการ(ซึ่งจริงๆก็ไม่ควร)ก็ต้องตอบตัวเลือกที่ 4 ครับแต่มันก็ไม่ได้วัดอะไรเลย แค่รู้ว่าเป็นก๊าซก็จบแล้ว โจทย์ก็บอกมาโต้ง ไม่น่าจะใช่เจตนาคนออก

แต่หากในโจทย์อ้างไปถึงข้อ 73 ก็จะวัดการคำนวนต่อเนื่องมา(ซึ่งน่าจะเป็นไปได้มากที่สุดตามเจตนาคนออกแต่ถ้าเป็นแบบนี้จริงก็คือโจทย์พิมพ์ผิด) ในข้อ 73 นั้นเหลือแอมโมเนีย 1 โมล คาร์บอนไดออกไซด์เป็นตัวหมด ส่วนผลิดภัณฑ์ไม่ต้องพูดถึงเพราะยูเรียเป็นของแข็งไม่ใช่ก๊าซตามสมการ(ยูเรียเกิดขึ้น 1 โมล)ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่โจทย์บอกว่านำไปพ่น ส่วนไอน้ำพ่นไปก็ได้น้ำอย่างที่บอกไปตอนแรก หากอ้างถึงข้อนี้ และหยวนๆให้ใช้คำว่าเกิดขึ้นรวมไปถึงสารตั้งต้นส่วนที่ยังเหลืออยู่ด้วย(ย้ำอีกทีว่าไม่ควร) ก็ควรจะตอบแอมโมเนียมไฮดรอกไซด์ตัวเลือกที่ 2 ครับ

หรือหากจะมองอีกกรณีนึงคือเอายูเรียมาพ่นซึ่งก็ไม่น่าจะใช่เพราะโจทย์สั่งให้พ่นแก๊สแต่ยูเรียในโจทย์บอกมาเป็นของแข็ง หากยอมให้พ่นได้(ซึ่งมันก็จะไปขัดกับข้อ73อีก เพระถ้ายอมให้ยูเรียเป็นแก๊ส คิดว่าโจทย์พิมพ์ผิด ข้อ 73 จากที่ควรจะตอบ 2 โมล ก็จะกลายเป็นต้องตอบ 3โมล)&nbsp แต่ในกรณีนี้มันก็สอดคล้องที่สุดกับคำว่า"ที่เกิดขึ้น"ในโจทย์คำถามข้อ 74 นี้น่ะครับเพราะยูเรียเป็นผลิตภัณฑ์ ก็กลายเป็นว่าต้องตอบตัวเลือกที่ 3 แทน

ดังนั้นพี่ถือว่าข้อสอบ set นี้มีปัญหานะ เพราะต้องตอบถูกสามข้อติด แต่โจทย์ข้อสุดท้ายน่าจะผิดพลาดอยู่น่ะครับ ไม่ตรงไหนก็ตรงหนึ่งที่โจทย์พิมพ์พลาดไป ไม่ก็สถานะผิด ไม่ก็ใช้คำผิดดันใช้คำว่าที่เกิดขึ้น ไม่ก็อ้างข้อผิดซึ่งพี่เดาว่าน่าจะเป็น 2 กรณีสุดท้ายรวมกัน (คือโจทย์ข้อนี้พิมพ์ผิดและใช้คำพลาด) เพราะเค้าน่าจะเจตนาวัดความรู้รอบด้านทั้งหมดของเด็กว่าดูตัวเหลือตัวหมดได้ไหมด้วย ต้องตอบได้ว่าตัวไหนเหลือ เป็นการคอนเฟิร์มว่าข้อก่อนนี้ไม่ได้เดาเลขถูกมานะ หรือคำนวนพลาดแล้วบังเอิญถูกมาน่ะครับ

ยังไงฝาก set oไว้ด้วยครับ หากเค้ามีเฉลยแต่โจทย์เค้าไม่เครียน้องจะเสียโอกาสไปเลยทั้งๆที่สองข้อแรกทำมาถูกแต่ไม่เข้าใจในข้อที่สาม ซึ่งพี่ก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน เดี๋ยวจะได้ศูนย์ไปน่ะครับ น่าเสียดายน่ะครับแบบนั้น

0
p'pap 6 มี.ค. 53 เวลา 12:49 น. 15

เพิ่งเห็นของน้องภูมิในคห.ที่ 7 ข้อ 35 ก็น่าจะสรุปได้ว่าเป็นธรรมชาติของสารนะครับ เพราะว่า ตัวนึงเกิดเร็วอีกตัวนึงเกิดช้าหรือแม้จะไม่เกิดเลย ใน conduion ต่างที่ๆเหมือนกันคือมีอากาศและความชื้น สิ่งที่ทำให้เกิดเร็วช้าต่างกัน ก็ต้องเป้นเพราะที่ชนิดของสาร ธรรมชาติของสารน่ะครับ พี่คิดแบบนี้อ่ะนะครับ .... ไม่ต้องเชื่อพี่นะครับ พี่ไม่ใช่ สทศ. แม้เป็น สทศ.ก็ปักใจเชื่อไม่ได้ครับ ต้องดูตามเหตุผลน่ะครับ

0
p'pap 6 มี.ค. 53 เวลา 14:35 น. 16

สมัครสมาชิกไม่ได้อ่ะ ไม่สมัครละ

เห็นมาเพิ่มข้อ 23-24 ข้อ 23 ถ้าเป็นพี่พี่ตอบข้อ 4 นะครับ เพระมันชัดเจนเลย แต่ข้อ 3 มันยังต้องมีเงื่อนไขอื่นๆด้วย คือข้อนี้มันเลียนแบบ o-net ปี 51 ข้อ 22 ครับ หากเป็นกรณีที่เราทอดนานๆนะ มันจะไม่ค่อยเหมาะถ้าเป็นไม่อิ่มตัว สารพวก alkene มันจะเกิดปฏิกิริยาง่ายครับ น้องสายวิทย์คงได้เรียนเปรียบเทียบความว่องไวในการทำปฏิกิริยาในบทสารประกอบคาร์บอนมา คือบางทีสารอาจเปลี่ยนอาจจะกลายเป็น carcinogenic compound ได้ และพอมาเป็น conjugate คือมี double bond มาเรียงๆกันในพวกกรดไขมัน ก็มีประเด็นเรื่องการเกิด radical อีก มันเลยไม่เหมาะในมุมๆนึงที่ต้องทอดด้วยไฟแรงๆหรือทอดนานๆ แต่ถ้าทอดไม่นานไฟไม่แรง หรือพวกผัดๆ แบบไม่อิ่มตัวก็ดีกว่าครับ เพราะจะได้ไม่ไปอุดตันเส้นเลือด...ไม่รบกวนละครับ เกรงใจครับ พิมพ์เยอะไปประหนึ่งเป้นกระทู้ตัวเอง โชคดีครับน้องๆ ^-^

0
1234 6 มี.ค. 53 เวลา 15:22 น. 17

รู้สึกผมจะคิดมากไปและคงผิดเยอะมากๆแน่เลย

ส่วนข้อละลายน้ำ น่าจะตอบ คลอรีน ละลายได้กรดเกลือนะครับ
เพราะเวลาเขาฆ่าเชื้อในสระว่ายน้ำ เขาจะใช้วิธีเปิดกระป๋องCl2 ใต้น้ำ ทำให้ไม่มี gas Cl2 รั่วออกมา

ส่วนข้อปฏิกริยาเคมีคือผมตัดตัวเลือกเอาเพราะไม่เคยอ่านเจอเรื่องเกี่ยวกับการทาเคลือบไม้

เหอะๆ เจอ PAT 2 รอบ ตค. เคมีค่อนข้างยากมากและออกคล้ายๆจะเกินหลักสูตร(แต่ผมคิดว่านักเรียนสามารถเดาได้) เช่นข้อสมมาตรออร์บิทัล อะโรมาติกส์(สะกดผิดแน่เลย) สมการเนอร์ส บลาๆ

0
Panorama 6 มี.ค. 53 เวลา 15:31 น. 18

ข้อ 30 อ่ะครับ

SO2 + H20 ------> H2SO3

จะละลายได้กรดซัลฟิวรัสเท่านั้นนะครับ

แต่ถ้าเป็น ก๊าซคลอรีน ละลายน้ำ

จะได้ Cl2 + H20 ---------> HClO + HCl

จะได้ Major product เป็น กรดไฮโปคลอรัส และได้ กรดไฮโดรคลอริก ด้วยนะครับ

ส่วนตัวคิดว่าตอบข้อ 2 นะครับ เพราะ Chlorine ละลายน้ำสามารถได้กรดไฮโดรคลอริกเหมือนกัน

รู้สึกข้อนี้ค่อนข้างยากเกินระดับไปนิดๆ ยังไงไม่รู้สิครับ เพราะทั้ง hypochlorus และ sulphurus เด็ก ม ปลาย อาจจะยังไม่รู้จัก หรือ

ไม่เคยเจอบ่อยๆ

0
1234 6 มี.ค. 53 เวลา 15:36 น. 19

ข้อที่เป็นชุดๆ 72-74
ข้อ 74 ผมก็ไม่ค่อยเข้าใจโจทย์แต่ดูแล้วน่าจะตอบ 3
ถ้าเราคิดว่าปฏิกิริยาสมบูรณ์มันจะไม่มีคำตอบ
ฉะนั้นถ้าคิดว่ามันไม่สมบูรณ์ ก็ พอละลายน้ำ จะได้แอมโมเนียมไฮดรอกไซด์กับคาร์บอนิก
ซึ่งจะทำปฏิกิริยากรด-เบสต่อทันที(โหซับซ้อนนะนี่) ได้เป็นแอมโมเนียมคาร์บอเนต.....เลยตอบข้อ 3 (ผมว่าตัวเลือกที่ 4 เอามาหลอกคนที่คิดไม่ลึกพอ หรือผมคิดลึกเกินไป)

ปล. ผมชอบเขียนแมคคานิซึมนะ เพราะมันจะได้ไม่ต้องจำสมการ แต่รีเอเจนท์จำแหลก&nbsp 
อยากขึ้นมหาลัยแล้วจะได้เรียนอินทรีย์แบบโหด มัน ฮา ตอนเทอม 2

0
p'pap 6 มี.ค. 53 เวลา 16:08 น. 20

ขออีกสักอันนะ ^^

อ่อจริงด้วย ขอบคุณน้อง 1234 และคุณ panoramaม ากครับ จริงด้วยครับ พี่ไม่ได้มองข้อนี้เลย เพรkะปกติก๊าซคลอรีนมันก็เป็นก๊าซพิษอยู่แล้วน่ะครับ เลยคิดว่าลงไปในน้ำก็ไม่ได้อะไรมั้งแค่ละลายลงไปได้บ้างเล็กน้อย ก็คงฆ่าเชื้อโรคได้ละ มองตื้นไป เลยได้ลองไปหาปฏิกิริยามา มันได้ HCl จริงๆด้วยแบบที่คุณ panorama บอกมา ข้อสอบลึกจัง เด็กศิลป์จะทำได้หรอนี่ หลายๆอย่างมันไม่มีในหนังสือด้วยนะพี่ว่า ข้อ 30 นี้จึงควรตอบตัวเลือกที่ 2 ครับ อืมๆ ยากเกินไปไหม เด็กศิลป์ไม่ต้องพูดถึงเลยเดาแน่นอน ส่วนข้อเคลือบไม้พี่เข้าใจนะ พี่เองก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเข้าใจเฉลยยังไง

พี่ขอวิจารณ์ข้อสอบหน่อยนะครับ คือข้อสอบเคมีหลังๆมีปัญหามากนะพี่ว่า ตั้งแต่เป็น pat2 ตอนครั้งแรกเดือนมีนา รวมๆก็ยังไม่ยากมากแต่ก็มีที่ผิดพลาดทั้งเฉลยและโจทย์ และก็มีบางส่วนที่ไม่ควรเอามาออก เอาจุดผิดเด่นๆเลยนะที่ไม่ควรเกิดข้อวัดศักยภาพข้อแรก ต้องคิดนานมากแต่กลับไม่มีคำตอบ เด็กที่เทเวลามาทำนี่เสียเปรียบมากๆเลยครับ มันไม่ควรพลาดอ่ะคนออกข้อสอบ แล้วจริงการเอาการแยกสารมาปนในโทย์อีกพ่ก้ว่าไม่ดี มันเป็นเนื้อหาม.ต้นไปแล้ว ทำไมจึงไม่ตัดออกไป หากมองว่าทิ้งไม่ได้นะ พี่ก็ขอค้านว่า จริงๆมันรู้ได้ก็ลืมได้หากจะวัดด้วยจริงๆ ก็บอกมาด้วยเลยจะดีกว่าเด็กจะได้เตรียมตัว ถ้าไม่เตรียมมันก็ลืมได้น่ะครับ ไม่งั้นคงไม่มีรายการถ้าคุณแน่อย่าแพ้เด็กประถมหรอก และแยกสารก็มีมาตอน pat กรกฎาอีก ตกลงมันอยู่ในหลักสูตรหรือนี่ ไม่เข้าใจคนออก และอย่างตัวเลือกบางตัว ก็ไม่ควรนำมาเพราะมันไม่มีในหลักสูตร อย่างเอไซด์แอนไออน พี่ว่ายากไป ถ้าเด็กไปอ่านหนังสือโครงการสอวน.อาจรู้จัก แต่ถ้าไม่เคยเลย ก็น่าสงสาร ทำไมไม่วัดในสิ่งที่น่าวัดกว่านี้นะ ทำไมเค้าต้องเสียเปรียบทั้งๆที่เค้าก็อ่านหนังสือ 5 เล่มหลักที่ต้องเรียนมาอย่างดี หรืออย่างเอาสารประหลาดๆมา gridnard reagent เด็กงงแน่นอน งงแน่นอนไอออนิกหรือโควาเลนต์นะนี่ คงจะงงๆกัน ข้อที่ให้หาเลขออกซิเดชั่นของคาร์บอนน่ะครับ เด็กงงทั้งสาร งงทั้งวิธีคิด เพราะมันไม่มีการสอนคิดในหลักสูตรจริงๆ พูดง่ายๆก็คือเกินหลักสูตรครับ แต่ก็เหมือนจะบอกว่าเด็กต้องหัดคิด คล้ายๆต้องคิดหาวิธีการคิดขึ้นมาเองซึ่งถ้าอยู่ ปี 1 มหาลัย กลับมาสอบก็อาจจะไม่มีปัญหา มันก็เหลื่อมล้ำอีก ทำไมต้องให้เด็กซิ่วได้เปรียบด้วยนะไม่เข้าใจ เหมือนอย่างที่น้องบอกมาการดู aromatic หรือสมการของ Nernst เป็นต้น

0