Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

"บ้านกึ่งวิถี" พัฒนาทักษะเด็กพิการซ้อน

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
คอลัมน์ ทั่วถิ่นไทย

สถิรา ปัญจมาลา ประชาสัมพันธ์ ศูนย์สารนิเทศการศึกษาขั้นพื้นฐาน สพฐ.



ด้วยความตระหนักว่า นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นและพิการซ้อนจะเป็นเด็กที่มีพัฒนาการช้าและแตกต่าง กันมาก มีศักยภาพการเรียนรู้ทักษะด้านวิชาการต่ำ ควรจะได้รับการพัฒนาและเตรียมความพร้อมทักษะการดำรงชีวิตประจำวัน สามารถเรียนรู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง และสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมครอบครัวอย่างมีความสุข

โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ จังหวัดเชียงใหม่ โดย ครูศิริพร ตันทโอภาส จึงได้จัดโครงการ บ้านกึ่งวิถี (The Half-Way House Program) ขึ้นตั้งแต่ปี 2549 จนถึงขณะนี้ซึ่งเป็นรุ่นที่ 2 มีเด็กอยู่ในโครงการเป็นนักเรียนหญิง 6 คน

โรงเรียนได้จัดหาบ้านเช่าลักษณะทาวน์เฮาส์ 1 หลัง ซึ่งมีราคาเดือนละ 6,000 บาท อยู่ห่างจากโรงเรียนประมาณ 200 เมตร เพื่อให้เด็กที่ได้รับการคัดเลือกทั้ง 6 คน ที่เป็นผู้บกพร่องทางการเห็นและพิการซ้อน ใช้ชีวิตประจำวันร่วมกัน และมีผู้ดูแลความเรียบ ร้อยภายในบ้าน

ตื่นเช้าหลังจากจัดการธุระส่วนตัวทั้ง 6 คน จะเดินไปโรงเรียนพร้อมกันโดยไม่ใช้ไม้เท้าหรือผู้นำทาง (จะมีครูคอยดูอยู่ห่างๆ) เพื่อเข้าเรียนวิชาพื้นฐานและฝึกประกอบอาชีพหารายได้ระหว่างเรียนในห้องเรียน

หลังโรงเรียนเลิกและวันหยุดเด็กจะแบ่งเวรกัน ทำความสะอาดบ้าน ซักผ้ารีดผ้า หุงข้าว ฯลฯ โดยมีครูคอยดูแลอย่างใกล้ชิด

สาเหตุที่โครงการบ้านกึ่งวิถี สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง ก็เพราะได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก The Hilton/ Perkins Program ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งพึงพอใจและชื่นชมผลการ จัดกิจกรรมที่ได้รับการพัฒนาให้เป็นแบบอย่างที่ดีในภูมิภาคนี้

ความพิการที่มีมาแต่กำเนิด มักจะเป็นความทุกข์ทรมานของผู้ที่เกิดมา รวมไปถึงบิดามารดา และครอบครัว ซึ่งผู้พิการแต่ละราย จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูให้สามารถอยู่ในสังคมปกติ และสามารถพึ่งพาตนเองได้ เพื่อให้ตนเองเป็นภาระแก่สังคมน้อยที่สุด

นั่นคือจุดมุ่งหมายสำคัญของโครงการบ้านกึ่งวิถี

แสดงความคิดเห็น

1 ความคิดเห็น