Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

การวิเคราะห์งานวิจัยทางการบริหารการศึกษา

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

ชื่อ พระครูปลัดสิทธิวัฒน์  กุสลจิตโต (ดวงจันทร์ คำภีระ) 
รหัสนักศึกษา 525315132 มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ห้อง2 จ.เชียงใหม่
ที่อยู่ 2 ถนนสามล้าน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200 
(วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร)
โทร 081-2881487
 

การวิเคราะห์งานวิจัยทางการบริหารการศึกษา

 

                                                                                                                **รองศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ไทย  สุรกิจบวร

............................................................................................................................................................

 

ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย

 

                การศึกษาเป็นเรื่องที่ได้รับการยอมรับและให้ความสำคัญ ในฐานะเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่จะทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างปกติสุข  การศึกษาเป็นเทคนิคหรือเครื่องมือในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงทางค่านิยม  เจตคติและวัฒนธรรมในสังคมทุกระดับไม่ว่าจะเป็นระดับหมู่บ้าน ตำบล  อำเภอ  จังหวัด ประเทศ  และสังคมโลก  อย่างไรก็ตาม  การถ่ายทอดความรู้  เจตคติ และค่านิยมตลอดจนวัฒนธรรมทางสังคมที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมทุกอย่างด้านการศึกษา  ได้ถูกดำเนินการโดยสถาบันและองค์การต่างๆ โดยแนวทางและยุทธวิธีที่แตกต่างกัน  หรืออาจจะกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า บรรดากิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้นในองค์การและช่วยให้การดำเนินงานไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ย่อมเกิดจาก  การบริหารการศึกษา  (Education  Administration ) 

 

                การบริหารการศึกษา  เป็นความพยายามที่จัดดำเนินงานเกี่ยวกับเรื่องของการศึกษา  อันได้แก่  สถานศึกษา  หลักสูตร  ครู  อาจารย์  นักเรียน  นักศึกษา  วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ตำราเรียน  และอาคารสถานที่  ตลอดจนเทคโนโลยีต่าง  ๆ เป็นต้น  ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  หรืออาจจะกล่าวว่า  เป็นความพยายามที่จะจัดดำเนินงานทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาโดยให้มีผลผลิต คือ  นักเรียน  นักศึกษา  ให้มีคุณภาพสูงสุด  การดำเนินการดังกล่าวจึงต้องอาศัยศาสตร์และศิลป์ของผู้บริหารและผู้ร่วมงานที่มีความรู้  ความสามารถที่จะจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์  โดยอาศัยหลักการและทฤษฎีทางการบริหารการศึกษาให้เกิดประโยชน์สูงสุด  ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นที่ผู้บริหารและผู้ร่วมงานจะต้องเรียนรู้ เข้าใจ  และสามารถประยุกต์ใช้หลักการและแนวทางการบริหารการศึกษาได้อย่างเหมาะสมกิจกรรมและสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมที่มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

 

 

                ** ประธานดำเนินการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และประธานสาขาการบริหารการศึกษา  มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

 

 

 

                การบริหารการศึกษาเป็นศาสตร์ที่มีการศึกษาค้นคว้าของนักวิชาการทางสาขาการบริหารการศึกษา ทั้งในประเทศและต่างประเทศมายาวนานพอสมควร เพื่อให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของหลักการ  แนวคิดทฤษฎี  และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม  เศรษฐกิจและการเมือง  ซึ่งการศึกษาค้นคว้าของนักวิชาการทางสาขาการบริหารการศึกษา มักจะใช้ "การวิจัย"  เป็นแนวทางในการศึกษาและแสวงหาความรู้  นอกจากนั้นยังมีนักศึกษาและอาจารย์ในมหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศได้ศึกษาค้นคว้า  และวิจัยในรูปแบบของปริญญานิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์ไว้มากมาย

 

                การวิจัยทางการบริหารการศึกษาดังกล่าวมีเนื้อหาสาระ  รูปแบบ และวิธีการหลากหลาย  เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลา  จึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาเชิงวิเคราะห์เนื้อหาสาระ  จัดกลุ่ม และจัดประเภทงานวิจัยในกลุ่มนั้น ๆ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ศึกษาค้นคว้า  และผู้แสวงหาแนวทางการวิจัยทางการบริหารการศึกษาดังกล่าวมีเนื้อหาสาระ  รูปแบบ และวิธีการหลากหลาย  เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลา  จึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาเชิงวิเคราะห์เนื้อหาสาระ  จัดกลุ่ม  และจัดประเภทงานวิจัยในกลุ่มนั้น ๆ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ศึกษาค้นคว้า  และผู้แสวงหาแนวทาง  การวิจัยทางการบริหารการศึกษา  ผู้วิจัยในฐานะนักวิชาการ  สาขาการบริหารการศึกษา  และอาจารย์ในสาขานี้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว  จึงได้วิเคราะห์งานวิจัยจากปริญญานิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์ รายงานวิจัย และ Dissertation Abstracts  International  โดยเน้นการวิเคราะห์เนื้อหาสาระ  จัดกลุ่ม  และจัดประเภทงานวิจัยในกลุ่มนั้น  เพื่อยังประโยชน์ต่อนักศึกษาสาขาการบริหารการศึกษา  และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง  นักวิชาการบริหารการศึกษา  และผู้ศึกษาค้นคว้าที่สนใจ  เพื่อการวิจัยทางสาขาการบริหารการศึกษาต่อไป

 

ความมุ่งหมายของการวิจัย

เพื่อศึกษาและวิเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา  จัดกลุ่ม  และประเภทของงานวิจัยโดยเน้นให้ได้สาระที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ศึกษาและผู้ที่ต้องการแนวทางการวิจัยเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย

งานวิจัยนี้ให้ประโยชน์ต่อการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาและผู้สนใจทางด้านการบริหารการศึกษา  ดังนี้

                1.  ได้รับทราบแนวทางการดำเนินการวิจัยทางการบริหารการศึกษาในประเทศไทย

                2. ได้ทราบลักษณะและประเภทของงานวิจัยทางการบริหารการศึกษา  และแนวโน้มของการดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาการบริหารการศึกษาในปัจจุบัน  และอนาคต

                3.  ได้แนวทางการพัฒนาเอกสารและ / หรือตำราประกอบการศึกษา  รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาการบริหารการศึกษา  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาในสาขาการบริหารการศึกษา  ระดับบัณฑิตศึกษา

                4.  เป็นแหล่งสารสนเทศสำหรับการศึกษาค้นคว้า  อ้างอิงเกี่ยวกับการวิจัยทางการบริหารการศึกษา

 

ขอบเขตของการวิจัย

                การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา  ซึ่งมีขอบเขตของการวิจัย  ดังนี้

1. เนื้อหาของการวิจัยเป็นการศึกษาการวิจัยเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา  ที่เป็นปริญญานิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์  และรายงานการวิจัยทางการบริหารการศึกษา  ภายในประเทศ  และ Dissertation  Abstracts International

2.  ประชากร  คือ  รายงานการวิจัยทางการบริหารการศึกษา จากปริญญานิพนธ์  หรือ วิทยานิพนธ์  และรายงานการวิจัย และ Dissertation Abstracts International

3.  กลุ่มตัวอย่าง  คือ  รายงานการวิจัยทางการบริหารการศึกษาภายในประเทศ  ระหว่าง  ปี         พ.ศ.  1988 – 2530 – 2545  จำนวน 1,416  เรื่อง  และจาก Dissertation  Abstracts  International  ระหว่าง ปี  ค.ศ. 1988 – 1999  จำนวน  303 เรื่อง

 

กรอบแนวคิดการวิจัย

กรอบแนวคิดการวิจัยครั้งนี้  ผู้วิจัยได้ปรับปรุงจากกรอบแนวคิดในการสังเคราะห์งานวิจัยทางการศึกษา (นงลักษณ์  วิรัชชัย  และสุวิมล  ว่องวานิช,มปป.)  เนื้อหาสาระในขอบเขตรายวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการบริหารการศึกษา  เนื้อหาสาระในขอบเขตรายวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการบริหารการศึกษา          (บัณฑิตศึกษา  คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏสกลนคร,มปป.)  งานวิจัยของ  Reyes Nester  Balmores (1989)  และพิสมร  วิญญากูล (มปป.) มาเป็นกรอบแนวทางสำหรับกำหนดกรอบแนวคิดการวิเคราะห์งานวิจัยทางการบริหารการศึกษา 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                                                                                               

     กลุ่มนักเรียนและนักศึกษา

ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับ

วิธีวิทยาการวิจัย

                                                                                กลุ่มผู้บริหาร  ครู อาจารย์ นักการศึกษา นักวิชาการ

                                                                                และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการศึกษา

                               

                                                                                ขอบข่าย เนื้อหา  และสาระที่ศึกษา

·      

ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล

นโยบายและการวางแผนการศึกษา

·       คุณลักษณะ ศักยภาพ  และการพัฒนาผู้บริหาร

การศึกษา และผู้บริหารสถานศึกษา

·       องค์การทางการศึกษา

·      

ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับสถิติที่ใช้ประกอบการวิจัย

การบริหารทรัพยากรทางการศึกษา

·       การทดสอบและใช้หลัก แนวคิด ทฤษฎี และ

เทคนิคการบริหารการศึกษา

·       การประเมินโครงการทางการศึกษาและการติดตาม 

โครงการทางการศึกษา

 

ภาพประกอบที่  1  กรอบแนวคิดการวิเคราะห์งานวิจัยทางการบริหารการศึกษา  : การวิเคราะห์เนื้อหาและแนวทางการวิจัย

 

กรอบแนวคิดการวิเคราะห์งานวิจัยนี้  มุ่งเน้นที่จะศึกษางานวิจัยทางการบริหารการศึกษาโดย  การจัดกลุ่มและประเภทของการวิจัย  ดังนี้

1) กลุ่มตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับวิธีวิทยาการวิจัย  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลและสถิติที่ใช้ประกอบการวิจัย

2)  กลุ่มของประชากรหรือกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาวิจัย

3)  กลุ่มเนื้อหาสาระที่ใช้ศึกษาวิจัย

ดังนั้น  เพื่อให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายของการวิจัยครั้งนี้  ผู้วิจัยจะยึดกลุ่มและประเภทเพื่อเป็นกรอบแนวทางการวิเคราะห์งานวิจัยทางการบริหารการศึกษาต่อไป

 

วิธีดำเนินการวิจัย

                ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยตามลำดับดังนี้

                                1.  ประมวลแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการศึกษา  และการวิเคราะห์งานวิจัย

                                2.  รวบรวมเอกสาร  วิทยานิพนธ์  ปริญญานิพนธ์  รายงานการวิจัยและบทคัดย่องานคัดย่องานวิจัยทางการบริหารการศึกษา

                                3.  ศึกษาและวิเคราะห์งานวิจัยแต่ละเรื่อง  จัดกลุ่มและประเภทงานวิจัยโดยใช้กรอบ     แนวคิดการวิจัยที่กำหนดไว้  โดยเน้นกลุ่มและประเภทที่เป็นสาระสำคัญในการวิจัยที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ศึกษาและผู้ต้องการแนวทางการวิจัยเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา

                                4.  พิจารณาหาข้อสังเกตและข้อเสนอแนะในการวิจัย

 

สรุปผลการวิจัย

                ผลการวิเคราะห์งานวิจัยทางการบริหารการศึกษาเน้นการวิจัยเกี่ยวกับเนื้อหาสาระต่าง ๆ ดังนี้

                1.  งานวิจัยเกี่ยวกับนโยบายและการวางแผนการศึกษา  จัดกลุ่มสาระย่อยได้  5  กลุ่มดังนี้

                                1.1  การเตรียมนโยบายและการวางแผนการศึกษา

                                1.2  การวิเคราะห์นโยบายและการวางแผนการศึกษา

                                1.3  การพัฒนานโยบายและการวางแผนการศึกษา

                                1.4  การดำเนินการตามนโยบายและการวางแผนการศึกษา  และ

                                1.5  การติดตามการใช้นโยบายและแผนการศึกษา

                2.  งานวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาคุณลักษณะ  ศักยภาพและการพัฒนาผู้บริหารการศึกษา  และผู้บริหารสถานศึกษา  จัดกลุ่มสาระย่อย ได้  2  กลุ่ม  ดังนี้

                                2.1 พฤติกรรมผู้นำ  ภาวะผู้นำ  คุณลักษณะผู้นำ  แบบของผู้นำ  ทักษะความเป็นผู้นำ  และการใช้พลังอำนาจของผู้นำโดยศึกษาร่วมกับตัวแปรคุณลักษณะของผู้บริหารอื่น ๆ และแนวทางการพัฒนา

                                2.2 แนวทางการพัฒนาผู้บริหารและส่งเสริมวิชาชีพทางการบริหารการศึกษา  โดยจัดกลุ่มเนื้อหาสาระย่อย ๆ ประกอบด้วย  การวิเคราะห์เพื่อแสวงหาแนวทางการพัฒนาผู้บริหารการศึกษา  หรือผู้บริหารสถานศึกษา  และการประเมินผลการดำเนินงานของผู้บริหารการศึกษาหรือผู้บริหารสถานศึกษา

                3.  งานวิจัยเกี่ยวกับองค์การและการพัฒนาองค์การทางการศึกษา จัดกลุ่มสาระย่อยได้ 4  กลุ่ม ดังนี้

                                3.1  องค์ประกอบของตัวแปรที่มีผลต่อประสิทธิผลขององค์การหรือระดับประสิทธิผลองค์การหรือเปรียบเทียบประสิทธิผลระหว่างองค์การหรือความสัมพันธ์หรือความมีอิทธิพลของประสิทธิผลขององค์การต่อตัวแปรอื่นๆ (ประสิทธิผลขององค์การในที่นี้รวมไปถึงความสำเร็จขององค์การด้วย

                                3.2  องค์ประกอบของตัวแปรหรือปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพขององค์การหรือระดับประสิทธิภาพขององค์การหรือการเปรียบเทียบระหว่างประสิทธิภาพขององค์การหรือความสัมพันธ์หรือความมีอิทธิพลระหว่างประสิทธิภาพขององค์การกับตัวแปรอื่น

                                3.3  องค์ประกอบหรือปัจจัยขององค์การหรือสภาพของตัวแปรต่างๆ ขององค์การ หรือการวิเคราะห์โครงสร้างขององค์การ  หรือความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะขององค์การกับตัวแปรอื่น ๆ

                                3.4  องค์ประกอบของตัวแปรหรือ ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพขององค์การหรือระบบของการประกันคุณภาพขององค์การ  หรือการวิเคราะห์ระบบการประกันคุณภาพ  หรือการเปรียบเทียบคุณภาพระหว่างองค์การหรือระดับคุณภาพขององค์การหรือการศึกษาแนวโน้มการพัฒนาคุณภาพขององค์การ

                4.  งานวิจัยเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา  จัดกลุ่มสาระย่อยได้ 8 กลุ่ม  ซึ่งแต่ละกลุ่มสามารถจัดกลุ่มสาระย่อยได้  ดังนี้

                                4.1งานวิจัยที่เกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการ  สามารถจัดกลุ่มสาระย่อยได้  7  กลุ่ม  ดังนี้

                                                ก.  สภาพ  ปัญหา  แนวทางการพัฒนาและการแสวงหารูปแบบการบริหารงานวิชาการหรือการดำเนินวิชาการหรือการปฏิบัติงานวิชาการ

                                                ข.  สภาพ  ปัญหา  แนวทางการพัฒนาและการแสวงหารูปแบบการจัดการเรียนการสอนหรือปัจจัย (องค์ประกอบ)  ที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอน

                                                ค.  คุณลักษณะ  ความต้องการหรือบทบาทของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนกับงานวิชาการในโรงเรียน

                                                ง.  การบริหาร  การใช้และ/หรือการพัฒนาหลักสูตร

                                                จ.  งานและกิจกรรมส่งเสริมงานวิชาการโรงเรียน

                                                ฉ.  สภาพและปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

                                                ช.  การวิจัยเพื่อส่งเสริมงานวิชาการ

                                4.2  งานวิจัยที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคลากร  สามารถจัดกลุ่มสาระย่อยได้  3  กลุ่มดังนี้

                                                ก.  สภาพ  ปัญหา และ/หรือรูปแบบหรือแนวทางการพัฒนาการบริหารงานบุคลากรตามลักษณะที่เป็นองค์รวม  แต่ละองค์ประกอบหรือขั้นตอนย่อย และ /หรือผลอันเกิดจากปัจจัยหรือตัวแปรอื่น

                                                ข.  คุณลักษณะ  หรือองค์ประกอบย่อยหรือสมรรถภาพหรือ  พฤติกรรมของบุคลากรโดยศึกษาสภาพที่เกิดจากปัจจัยหรือตัวแปรอื่น หรือผลที่มีต่อตัวแปรอื่น

                                                ค.  ลักษณะการปฏิบัติหรือผลการปฏิบัติงานหรือประสิทธิผลหรือประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร  โดยศึกษาสภาพที่เกิดจากปัจจัยหรือตัวแปรอื่นหรือผลที่มีต่อตัวแปรอื่น

                                4.3  งานวิจัยที่เกี่ยวกับการบริหารงานธุรการ  การเงินและพัสดุ  สามารถจัดกลุ่มสาระย่อยได้ 2 กลุ่ม  ดังนี้

                                                ก.  สภาพ  ปัญหา  ความต้องการและแนวทางการแก้ปัญหางานธุรการ  การเงินและพัสดุ

                                                ข. การวิเคราะห์งานธุรการ  การเงินและพัสดุ

                                4.4  งานวิจัยที่เกี่ยวกับการบริหารงานอาคาร  สถานที่และสิ่งแวดล้อม  กลุ่มสาระที่เน้นการศึกษา  สภาพและปัญหาการดำเนินการและการบริหารอาคารสถานที่และ / หรือ  สิ่งแวดล้อมของโรงเรียนหรือสภาพแวดล้อมทางการเรียนของนักเรียนด้วย

                                4.5  งานวิจัยที่เกี่ยวกับบริหารงานกิจการนักเรียนและนักศึกษา  สามารถจัดกลุ่มสาระย่อยได้  3  กลุ่ม  ดังนี้

                                ก.  การศึกษาสภาพ  ปัญหา  และแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะ  สมรรถภาพ  พฤติกรรมและ/หรือ  การดำเนินชีวิตของนักเรียนหรือนักศึกษา  โดยศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องหรือผลที่เกิดกับปัจจัยอื่น ๆ

                                ข.  สภาพและ/หรือปัญหา และ/หรือ แนวทางพัฒนาหรือ  รูปแบบการบริหารงานกิจการนักเรียนและนักศึกษา

                                ค.   งานหรือกิจกรรมที่ส่งเสริมการบริหารหรือการดำเนินงานกิจการนักเรียน  นักศึกษาโดยศึกษาสภาพและ/หรือปัญหา  และ/หรือแนวทางการพัฒนาหรือรูปแบบ

                4.6  งานวิจัยที่เกี่ยวกับการบริหารงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน  กลุ่มสาระนี้เป็นการศึกษาสภาพ  ปัญหาการบริหารงานและ/หรือผลการปฏิบัติงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน  โดยการศึกษาระดับหรือปัจจัยที่สัมพันธ์หรือส่งผล

                4.7  งานวิจัยที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ  สามารถจัดกลุ่มสาระย่อยได้ 2  กลุ่ม  ดังนี้

                                ก.  สภาพปัญหา และแนวทางการพัฒนาหรือรูปแบบการบริหารจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศเพื่อการศึกษาโดยศึกษาระดับ  ปัจจัยที่มีผล  และผลต่อปัจจัยอื่น

                                ข.  สภาพ  ปัญหาการใช้และผลการใช้นวัตกรรมและสารสนเทศเพื่อการศึกษา

                4.8  งานวิจัยที่เกี่ยวกับการบริหารเวลา  กลุ่มสาระนี้เน้นนักศึกษาการใช้หรือการบริหารเวลาของผู้บริหารโรงเรียน

5.  งานวิจัยที่เกี่ยวกับการทดสอบและการใช้  หลัก  แนวคิด  ทฤษฎีและแนวคิดทางการบริหารการศึกษา  จัดกลุ่มสาระย่อยได้ 6 กลุ่ม  ดังนี้

                5.1  การทดสอบและการใช้หลัก  แนวคิด  ทฤษฎี และเทคนิคการบริหารการศึกษาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารหรือเพื่อนร่วมงาน โดยศึกษาระดับตัวแปร  หรือเปรียบเทียบระหว่างตัวแปร  หรือความสัมพันธ์ และ/หรือความมีอิทธิพลของตัวแปร

                5.2 การศึกษาเทคนิคการบริหารหรือการเปรียบเทียบและ/หรือความสัมพันธ์และอิทธิพลของเทคนิคการบริหารกับตัวแปรอื่น

                5.3  ลักษณะสิ่งแวดล้อมทางการบริหารหรือการเปรียบเทียบและ/หรือความ สัมพันธ์  และอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมทางการบริหารกับตัวแปรอื่น

                5.4   บทบาททางการบริหารหรือการเปรียบเทียบและ/หรือความสัมพันธ์และอิทธิพลของบทบาททางการบริหารกับตัวแปรอื่น

                5.5   รูปแบบหรือระบบทางการบริหารหรือการเปรียบเทียบและ/หรือปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบหรือระบบการบริหารและ/หรือความสัมพันธ์และอิทธิพลของรูปแบบหรือระบบการบริหารกับตัวแปรอื่น

                5.6  การวิเคราะห์หลัก แนวคิด ทฤษฎี  และเทคนิคการบริหารการศึกษา ทั้งเฉพาะตัวแปรและการบูรณาการตัวแปร

6.  งานวิจัยเกี่ยวกับการประเมินผลและติดตามโครงการทางการศึกษา  จัดได้ 2  กลุ่มสาระดังนี้ 

                6.1  การประเมินโครงการทางการศึกษาและอื่น ๆ

                6.2  การติดตามการดำเนินการตามนโยบาย  แผน โครงการ  การใช้กฎหมายและอื่น ๆ

 

ข้อค้นพบจากผลการวิเคราะห์งานวิจัยทางการบริหารการศึกษาในส่วนของประชากรที่ศึกษา  วิธีวิทยาวิจัย เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล  และสถิติที่ใช้ประกอบการวิจัย  สามารถสรุปได้ดังนี้

1.  ประชากรที่ศึกษา  ประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียนและผู้ช่วย  คณะกรรมการสถานศึกษา  ครู ผู้ปกครอง  และนักเรียน  ผู้บริหารมหาวิทยาลัย  อาจารย์  นักศึกษาและศิษย์เก่า  หัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง  ผู้วชาญทางการศึกษา  ผู้ทรงคุณวุฒิ  ศึกษานิเทศก์  แพทย์  และพยาบาล ข้าราชการพลเรือนสาย ข. และสาย ค.  วิทยากรฝึกอบรมและผู้เข้ารับการฝึกอบรม  ตำรวจและเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องและ/หรือเอกสารหรือระเบียนที่เกี่ยวข้อง

2.  วิธีวิทยาการวิจัย  งานวิจัยที่วิเคราะห์ทั้งหมดสามารถจัดประเภทการใช้วิธีวิทยาการวิจัยได้  2  ประเภทหลัก  คือ การวิจัยเชิงปริมาณ   และการวิจัยเชิงคุณภาพ  โดยภาพรวมพบว่างานวิจัยที่ใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณ  มากกว่างานวิจัยที่ใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ  นอกจากนั้นยังพบว่างานวิจัยกลุ่มหนึ่งเริ่มใช้วิธีวิทยาการวิจัยผสม  คือ  ใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพควบคู่กัน

3.  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล  จากผลการวิเคราะห์งานวิจัย  พบว่างานวิจัยที่ใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณ  ใช้เครื่องมือเก็บข้อมูลประเภทแบบสอบถามเป็นหลัก  มีบางเรื่องใช้แบบสอบถามเฉพาะเรื่องหรือแบบมีเรื่องใช้แบบสอบถามเฉพาะเรื่องหรือแบบทดสอบ  และมีงานวิจัยบางเรื่องใช้การสัมภาษณ์หรือเอกสารและ/หรือระเบียนสะสมประกอบแบบสอบถาม  นอกจากนั้นยังพบว่างานวิจัยเชิงปริมาณบางเรื่องใช้การสังเกต  และ/หรือสัมภาษณ์  และ/หรือแบบสอบถามหรือแบบทดสอบและ/หรือ เอกสารหรือระเบียนการสังเกต และ/หรือการสัมภาษณ์ และ/หรือแบบสอบถามหรือแบบทดสอบและ/หรือ เอกสารหรือระเบียนสะสม  แล้วแต่เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพแต่ละแบบและกรณีศึกษา

4.  สถิติที่ใช้ประกอบการวิจัย  ผลการวิเคราะห์งานวิจัยพบว่า  กลุ่มงานวิจัยที่ใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณ  เน้นการใช้สถิติประกอบการวิจัย  เช่น  สถิติบรรยาย  ประกอบด้วย ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย        ค่าความเบี่ยงเบน  มาตรฐาน และสถิติเพื่อทดสอบสมมุติฐาน  ประกอบด้วย  ค่าที  ค่าเอฟ  ค่าไคสแควร์  ค่าสหสัมพันธ์  และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ  การวิเคราะห์การจำแนกพหุคูณ  (Dicriminant  Analysis)  หรือการวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis)  การวิเคราะห์องค์ประกอบ  ซึ่งเน้นกลุ่มสถิติพาราเมตริก (Parametric Statistics)   และพบว่ามีงานวิจัยส่วนหนึ่งใช้สถิตินอนพาราเมตริก  (Non  Paramatric Statistics)  ทดสอบสมมุติฐานการวิจัย  เช่น  Mann Whitney  U-test หรือ Kruskl Wallis และ One-Way ANOVA    เป็นต้น  สำหรับกลุ่มงานวิจัยที่ใช้วิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพกลุ่มสาระที่เน้นการวิจัยเอกสาร-การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ไม่ใช้สถิติประกอบการวิจัย  มีงานวิจัยกลุ่มนี้บางเทคนิคเช่น  การวิจัยคุณภาพเน้นเทคนิคเดลฟายและการวิจัยอนาคต  ใช้สถิติประกอบการวิจัย  เช่น ค่าร้อยละ  ค่ามัธยฐาน  ค่าฐานนิยม  และค่าส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ส่วนงานวิจัยคุณภาพที่เป็นการศึกษาเฉพาะกรณีใช้สถิติบรรยายประกอบ การวิจัย เป็นต้น

 

การอภิปรายผล

                การวิเคราะห์ผลการวิจัยทางการบริหารการศึกษาครั้งนี้ไว้ข้อค้นพบที่ควรนำมาอภิปรายผลดังนี้

                                1.  การวิเคราะห์การวิจัยทางการบริหารการศึกษาทั้งงานวิจัยที่เป็นวิทยานิพนธ์และที่เป็น Disserttation  Abstracts  International  พบว่ามีทั้งงานวิจัยที่เป็นเนื้อหาสาระของการบริหารการศึกษาโดยตรงอย่างชัดเจน  และเป็นเรื่องที่สามารถจัดเป็นการวิจัยในสาขาอื่น ๆ ได้ด้วย

                                การวิจัยที่เป็นเนื้อหาสาระการบริหารการศึกษาโดยตรง  ได้แก่  งานวิจัยที่เกี่ยวกับนโยบายและการวางแผนการศึกษา  งานวิจัยที่เกี่ยวกับการศึกษาคุณลักษณะ  ศักยภาพและการพัฒนาผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา  งานวิจัยเกี่ยวกับการองค์การและการพัฒนาองค์การทางการศึกษา  งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบและการใช้หลักแนวคิด  ทฤษฎีเกี่ยวกับการประเมินผลและติดตามโครงการทางการศึกษา

                ส่วนการวิจัยที่สามารถจัดเป็นการวิจัยในสาขาวิชาอื่นได้ด้วย  ได้แก่  งานวิจัยที่เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาในส่วนของสาระย่อยการบริหารงานวิชาการ  เช่น  สภาพ  ปัญหา        แนวทางการพัฒนาและแสวงหารูปแบบการจัดการเรียนการสอนหรือ  ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนและการบริหาร  การใช้ และ/หรือการพัฒนาหลักสูตรทั้ง 2  กลุ่มสาระย่อยนี้สามารถจัดเป็นการวิจัยทางสาขาหลักสูตรและการสอนได้และสาระย่อยงานวิจัยที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ สามารถจัดเป็นการวิจัยทาทางสาขาเทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา เป็นต้น  นอกจากนั้นงานวิจัยที่เกี่ยวกับพฤติกรรมผู้นำ  ภาวะผู้นำ  คุณลักษณะผู้นำ  แบบของผู้นำ  ทักษะความเป็นผู้นำและการใช้พลังอำนาจของผู้นำ  ในกลุ่มงานวิจัยที่เกี่ยวกับการศึกษาคุณลักษณะ  ศักยภาพและการพัฒนาผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา  สามารถจัดเป็นการวิจัยทางสาขาจิตวิทยาได้  และงานวิจัยที่เกี่ยวกับการประเมินผลและติดตามโครงการทางการศึกษา  สามารถจัดเป็นการวิจัยทางสาขาวัดผลและประเมินผลได้

                                2.  การจัดประเภทการวิจัยทางการบริหารการศึกษาเป็น 6  ประเภทนั้น  เป็นการจัดโดยยึดผลการวิเคราะห์วิจัยเป็นรากฐานได้ แต่ละกลุ่มสาระมีความเป็นเอกลักษณ์  อย่างไรก็ตามอาจจะพบว่าแต่ละกลุ่มสาระของเนื้อหามีความซับซ้อนกัน  ก็เนื่องมาจากองค์ความรู้ในสาขาการบริหารการศึกษาเป็นลักษณะสหวิทยาการ (Interdisciplinary)  นั่นคือ เน้นการบูรณาการองค์ความรู้จากหลายสาขาวิชา  อาทิ  สาขาวิชาจิตวิทยา  สาขาวิชาพฤติกรรมศาสตร์  สาขาวิชาการวิจัย  สาขาวิชาสังคมศาสตร์  และสาขาวิชาการบริหาร

 

ข้อเสนอแนะ

                จากผลการวิเคราะห์งานวิจัยทางการบริหารการศึกษาได้ข้อเสนอแนะ  ดังนี้

                1.  ด้านเนื้อหาสาระของการวิจัย  ด้านเนื้อหาสาระของงานวิจัยแต่ละกลุ่มมีข้อเสนอแนะดังนี้

                                1.1  งานวิจัยเกี่ยวกับนโยบายและการวางแผนการศึกษา  ด้วยบริบททางการศึกษาและการบริหารการศึกษาได้เปลี่ยนไปทั้งผลอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายการศึกษา  เช่น พ.ร.บ  การศึกษาแห่งชาติ แผนการศึกษา  และแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ  รวมถึง พ.ร.บ  ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในท้องถิ่นที่ยังเป็นปัญหาในด้านการนำไปใช้อยู่ขณะนี้  ดังนั้นงานวิจัยในกลุ่มสาระนี้ที่ควรดำเนินการอยู่ก็คือ  การวิเคราะห์  การเตรียมการ  การดำเนินการ การติดตามการใช้และการ         วางแผนการศึกษา  อนึ่งเพื่อให้บรรลุผลการวิจัยที่เอื้อต่อการประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษาของท้องถิ่นควรให้ความสำคัญ  สาระเนื้อหาเกี่ยวกับการแสวงหารูปแบบการดำเนินการตามนโยบายและการวางแผนการศึกษาการส่งต่อนโยบายการศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา  การแสวงหารูปแบบความร่วมมือ  การจัดการศึกษาระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบล  หรือเทศบาลกับสถานศึกษา  และการติดตามนโยบายการศึกษาโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการปฎิบัติการของสถานศึกษา

                                1.2  งานวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาคุณลักษณะ  ศักยภาพและการพัฒนาผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา  เนื่องจากบริบททางการศึกษาและการบริหารการศึกษาของไทยได้เปลี่ยนไป  ความจำเป็นของการวิจัยในกลุ่มสาระนี้ยังมีอยู่  แต่ควรให้ความสำคัญในลักษณะโครงการวิจัยที่มีความต่อเนื่อง  นั่นคือ  การศึกษาสภาพคุณลักษณะด้านต่าง ๆ และ/หรือ  ศักยภาพด้านต่าง ๆ ของผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้บริหารสถานศึกษาแล้ว  แสวงหาแนวทางการพัฒนาเพื่อให้ได้ข้อสรุปเชิงประยุกต์ใช้ที่ชัดเจนเป็นเรื่อง ๆ ไป  ดังภาพประกอบที่  2

                การศึกษาคุณลักษณะด้านต่าง ๆ และ/หรือ                                    การแสวงหาแนวทาง

                ศักยภาพด้านต่าง ๆ ของผู้บริหารการศึกษา                                   การพัฒนา

                หรือผู้บริหารการศึกษากับความสำเร็จของ

                งานด้านต่าง ๆ

               

                ภาพประกอบที่  2  กรอบแนวคิดการวิจัยเกี่ยวกับคุณลักษณะ  ศักยภาพและการพัฒนาผู้บริหารการศึกษา และผู้บริหารการศึกษา

 

                อนึ่งการวิจัยในกลุ่มสาระนี้ควรให้ความสนใจศึกษากลุ่มประชาชนที่เป็นครู  อาจารย์ที่ปฏิบัติหน้าที่สอนด้วย  ทั้งนี้เนื่องจากการจัดการเรียนการสอนทุกระดับการศึกษานั้น  ความสำเร็จของการจัดการเรียนการสอนมิได้ขึ้นอยู่กับผู้บริหารการศึกษา  หรือผู้บริหารสถานศึกษาเท่านั้น  สิ่งที่ควรเน้นให้ความสำคัญไว้ก็คือการศึกษาคุณลักษณะต่าง ๆ และ/หรือ ศักยภาพต่าง ๆ นั้น ควรเน้นคุณลักษณะและหรือศักยภาพที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จของงานผลสัมฤทธิ์ของงานหรือประสิทธิผล  ประสิทธิภาพของงานเป็นหลักการ

                                1.3  งานวิจัยเกี่ยวกับองค์การและการพัฒนาองค์การทางการศึกษา  จากการวิเคราะห์งานวิจัยในกลุ่มสาระนี้มีสาระย่อยที่ศึกษาได้ค่อนข้างครอบคลุมแต่เป็นการวิจัยแยกส่วนสาระย่อยจึงขาดการวิเคราะห์องค์รวมขององค์การ  ดังนั้นควรให้ความสำคัญต่อการวิจัยลักษณะต่าง ๆดังนี้

                                                ก. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเส้นทางขององค์ประกอบขององค์การที่มีประสิทธิผลโดยเฉพาะองค์การที่เป็นโรงเรียน สถาบันการศึกษา  เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การแสวงหาแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลขององค์การ

                                                ข.  การศึกษาองค์ประกอบของวัฒนธรรมองค์การมีค่อนข้างน้อย  จึงควรให้ความสนใจศึกษาเชิงวิเคราะห์เพื่อแสวงหารูปแบบที่เหมาะสมของวัฒนธรรมองค์การในบริบทไทย  เช่น  วัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนเป็นต้น

                                1.4  การวิจัยเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา  งานวิจัยในกลุ่มสาระนี้มีการศึกษาในประเภทงานวิจัยวิทยานิพนธ์มากและค่อนข้างครอบคลุม  อย่างไรก็ตามความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการวิจัยซึ่งในสถานการณ์หรือบริบทที่เปลี่ยนไปยังมีความจำเป็น  แต่ควรให้ความสำคัญสำหรับงานวิจัยที่เน้นเฉพาะพื้นที่หรือเฉพาะกรณีโดยเน้นวิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณผสมเชิงคุณภาพ  หรือการวิจัยเชิงคุณภาพตามความเหมาะสม  ทั้งนี้เพื่อเหตุผลเชิงประยุกต์ใช้  ดังภาพประกอบที่  3

 

 

 

 

                สภาพ และ/หรือ ปัญหา การบริหารงาน...                     การแสวงหาแนวทางการพัฒนาหรือ

                ในสถานศึกษาหรือหน่วยงาน......                                    รูปแบบการบริหารงาน

 

 

                ภาพประกอบที่ 3  กรอบแนวคิดการวิจัยเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาในกลุ่มสาระต่าง ๆ

 

                1.5  งานวิจัยเกี่ยวกับการทดสอบและการใช้หลัก  แนวคิด  ทฤษฎีและเทคนิคการบริหารการศึกษา  ผลจากการวิเคราะห์งานวิจัยในกลุ่มสาระนี้พบว่ามีการศึกษาในงานวิจัยประเภท Dissertation Abstract International  มาก ในประเภทวิทยานิพนธ์มีไม่มากจึงทำให้ความครอบคลุมและความลึกของเนื้อหาสาระที่ศึกษาจึงสมควรให้ความสนใจโดยเฉพาะในงานวิจัยประเภทวิทยานิพนธ์  งานวิจัยกลุ่มสาระนี้  ยังมีความจำเป็นที่ต้องให้ความสำคัญในการวิจัย  แต่ควรเน้นการศึกษาเพื่อคัดสรร  หลัก แนวคิด  ทฤษฎีที่เหมาะสมต่อบริบทไทยในสภาพการณ์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนไปและแตกต่างกัน  ดังนั้นจึงควรให้ความสำคัญต่อการวิจัยในกลุ่มสาระนี้  ดังนี้

                                ก. การวิเคราะห์องค์ประกอบของตัวแปรในหลัก  แนวคิด  ทฤษฎีที่มีผลต่อการดำเนินงานทางการศึกษาหรือการบริหารการศึกษา

                                ข.  การสังเคราะห์ตัวแปร  ในหลัก  แนวคิด  ทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารการศึกษาหรือการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ในบริบทไทย

                                ค.  การวิเคราะห์ความสัมพันธ์รูปแบบต่าง ๆ ของตัวแปรหรือปัจจัยในหลัก  แนวคิด ทฤษฎีหรือเทคนิคทางการบริหารการศึกษา  เพื่อพัฒนารูปแบบหรือแนวทางการประยุกต์ใช้ซึ่งสามารถสรุปเป็นกรอบแนวคิดการวิจัย  ดังภาพประกอบที่ 4

การวิเคราะห์องค์ประกอบของตัวแปร                             ทดสอบผลการดำเนินงานหรือการบริหาร

การสังเคราะห์ตัวแปร                                                          ทดสอบองค์ความรู้ใหม่ในบริบทไทย

การวิเคราะห์ความสัมพันธ์รูปแบบต่าง ๆ ของตัวแปร    ทดสอบการประยุกต์ใช้

 

ภาพประกอบที่ 4  กรอบแนวคิดการวิจัยเกี่ยวกับการทดสอบและการใช้หลัก แนวคิด  ทฤษฎีและเทคนิคการบริหารการศึกษา

 

1.6  งานวิจัยเกี่ยวกับการประเมินผลและติดตามโครงการทางการศึกษา ผลการวิเคราะห์งานวิจัยในกลุ่มนี้พบว่างานวิจัยประเภท Dissertation  Abstracts International แนวโน้มจะมีมากกว่า งานวิจัยประเภทวิทยานิพนธ์  จึงเห็นสมควรให้ความสำคัญต่องานวิจัยกลุ่มสาระนี้ให้มากในวิทยานิพนธ์ ทั้งนี้เนื่องจากผลการวิจัยกลุ่มสาระนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ต่อกิจกรรมที่เกี่ยวข้องได้โดยตรง

                2.  ด้านวิธีวิทยาการวิจัย  ผลจากการวิเคราะห์งานวิจัยสาขาการบริหารการศึกษาพบว่างานวิจัยที่เป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณมากกว่าวิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ  แสดงให้เห็นว่าผู้วิจัยยังให้ความสนใจต่อกลุ่มเนื้อหาสาระของงานวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อทราบความคิดเห็นเจตคติหรือการรับรู้มากกว่าเพื่อแสวงหาแนวทางการดำเนินงาน  อย่างไรก็ตามประโยชน์ของงานวิจัยที่สำคัญก็คือการแสวงหาองค์ความรู้ในกลุ่มเนื้อหาสาระของสาขาวิชาและการแสวงหาแนวทางการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ดังกล่าว  ดังนั้น  ถ้าผู้วิจัยสนใจปัญหาวิจัยที่ครอบคลุมประโยชน์ดังกล่าวการพิจารณาเลือกวิธีวิทยาการวิจัยควรผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณกับการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งปรากฏอยู่บ้างในกลุ่มตัวอย่างงานวิจัยที่วิเคราะห์ครั้งนี้ และขอให้ระลึกเสมอว่า  การกำหนดวิธีวิทยาการวิจัยย่อมขึ้นอยู่กับเนื้อหาสาระและปัญหาการวิจัยของผู้วิจัยเป็นหลัก

                3.  ข้อเสนอแนะต่อสถาบันหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเสนอผลการวิจัย

                                การวิเคราะห์บทคัดย่องานวิจัยทั้งวิทยานิพนธ์และ Disserttation Abstracts International  มีข้อสังเกตเกี่ยวกับโครงสร้างเนื้อหาภายในบทคัดย่อดังกล่าวก็พบก็คือ  ความครอบคลุมของเนื้อหาบางเรื่อง  ดังนั้น เพื่อประโยชน์ด้านการศึกษาค้นคว้าของนักวิจัยและผู้สนใจด้านการวิจัยต่อไป  จึงเสนอแนะโครงสร้างของบทคัดย่อ งานวิจัย ควรมีส่วนประกอบที่เป็นประเด็นสำคัญดังนี้

 

สถาบันหรือหน่วยงาน.....

ปีที่.....

สาขาวิชา.....

ผู้วิจัย.....

ที่ปรึกษา....

 

เนื้อหาสาระที่สรุป  ประกอบด้วย

1.       จุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของการวิจัย

2.       ประชากรหรือกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา

3.       วิธีวิทยาการวิจัยที่ใช้

4.       เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล

5.       สถิติที่ใช้ประกอบการวิจัย (ถ้ามี)

6.       สรุปผลการวิจัยที่สำคัญ (ควรสอดคล้องกับข้อ 1)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หนังสืออ้างอิง

 

นงลักษณ์  จิรัชชัยและสุวิมล ว่องวานิช. (มปป.) การสังเคราะห์งานวิจัยทางการศึกษาด้วยการ                           วิเคราะห์อภิมาค และการวิเคราะห์เนื้อหา. รายงานการวิจัย:สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ  สำนักนายกรัฐมนตรี กรุงเทพมหานคร.

พิสมร  วิญญูกูล. (มปป.).การสังเคราะห์วิทยานิพนธ์ด้านการบริหารการศึกษาของมหาวิทยาลัยศิลปากร.วิทยานิพนธ์ ศษ.ม.:มหาวิทยาลัยศิลปากร

สถาบันราชภัฏสกลนคร.(มปป.).คู่มือการศึกษามหาบัณฑิต(สาขาการบริหารการศึกษา).สกลนคร:บัณฑิตศึกษา  คณะครุศาสตร์  สถาบันราชภัฏสกลนคร.

Balmores,Nester Reyes. (1988). "The Characteristies and Theoritical Orientation of the Knowledge Base of Educational Administration in Journal Articles, 1965-1987 : A content Analysis Study.", ProQuest – Dissertation Abstracts. AAC 8908447:DAI-A 50/02,p.311,Aug.1989.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ครูมืออาชีพ  : สิ่งจำเป็นที่ควรมีและควรเป็น

 

                                                                                                                                รศ.ดร.ศักดิ์ไทย   สุรกิจบวร

 

 

........ทุกคน  ทุกอาชีพในโลกต้องมีครูเป็นที่พึ่ง

 

                ครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง (profession)  ที่ได้รับการยอมรับมาช้านานกว่าร้อยปีอย่างเป็นทางการ โดยเฉพาะประเทศไทย  ความเป็นวิชาชีพของอาชีพครู มีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 6 ประการคือ

                -  วิชาชีพที่ให้การบริหารแก่สังคมในลักษณะที่มีความจำเป็นและเจาะจง (social service)

                -  สมาชิกในวงการวิชาชีพครูจะต้องใช้วิธีการแห่งปัญญาในการให้บริหาร (intellectual method)

                -  สมาชิกในวงการวิชาชีพครูจักต้องได้รับการศึกษาอบรมให้มีความรู้  กว้างขวางลึกซึ้ง  โดยใช้ระยะเวลายาวนานพอสมควร (long period training )

                -  สมาชิกในวงการวิชาชีพครูจักต้องมีเสรีภาพในการใช้วิชาชีพนั้น ๆ ตามมาตรฐานของวิชาชีพ (Professional autonomy) 

                -  วิชาชีพครูจะต้องมีจรรยาบรรณ (professional ethics)  และ

                -  วิชาชีพครูจะต้องมีสถาบันวิชาชีพเป็นแหล่งกลางในการสร้างสรรค์  จรรโลงความเป็นมาตรฐานวิชาชีพ (professional institute)

                เนื่องจากความเป็นมืออาชีพ (professional) จึงมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการคือ

                -  บุคคลนั้นต้องยึดถืออาชีพนั้น ๆ ให้สอดคล้องกับวิชาชีพของตน

                -  บุคคลนั้นจะต้องมีความรู้ เจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ  และมีทักษะที่เหมาะสมต่อวิชาชีพนั้น ๆ

                - บุคคลนั้นจะต้องมีจิตวิญญาณต่ออาชีพ กล้ารับผิดชอบ กล้าเผชิญต่อผลการกระทำอันเนื่องมาจากภารกิจที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ

 

*ประธานดำเนินการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

 

 

 

 

 

                ความเป็นมืออาชีพของครู  จึงควรที่จะต้องยึดถือและปฏิบัติให้เกิดความสัมพันธ์กับมาตรฐานของวิชาชีพครู  ซึ่งมีความสำคัญและความจำเป็นต่อครูทุกคน  ทั้งนี้เนื่องจากกระแสแห่งโลกาภิวัตน์  ทำให้       มีความจำเป็นที่บุคคลจักต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทุกระดับ ให้มีความสำนึกต่อบทบาทและภารกิจต่าง ๆ ที่มีต่อสังคมมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540  และ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. 2542  พร้อมทั้งกฎระเบียบข้อบังคับและกติกาทางสังคมแห่งยุคประชาธิปไตย  เป็นสิ่งบ่งบอกว่าต่อไปนี้  สังคม องค์การ  หน่วยงาน  และหน่วยปฏิบัติต่าง ๆ มีความต้องการ "ครูมืออาชีพ" มิใช่เพียงแต่มี "อาชีพครู" เกิดขึ้นเท่านั้น  ซึ่งตามทัศนะของผู้เขียนแล้ว "ครูมืออาชีพ"  จักต้องมีลักษณะพื้นฐานในตน 3 ประการ ต่อไปนี้ คือ

1.       ครูต้องมี ฉันทะ ต่ออาชีพครู  เป็นพื้นฐาน

2.       ครูต้องมีความเมตตา ต่อเด็กและบุคคลรอบข้างเป็นพื้นฐาน และ

3.       ครูต้องมีความเป็น  กัลยาณมิตร  พร้อมเสมอที่จะช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความบริสุทธิ์ใจ

 

ครูมืออาชีพต้องมีคุณภาพการสอน

                สิ่งที่ครูมืออาชีพควรตระหนักเป็นอย่างยิ่งก็คือ "คุณภาพการสอน" ซึ่งเป็นความสามารถที่จะสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้  เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกคน

                ครูมืออาชีพ  จึงต้องมีความสามารถต่อไปนี้

                1.  สามารถประยุกต์ใช้ยุทธศาสตร์ และการจัดระบบ ได้อย่างเหมาะสมกับการเรียนรู้และความต้องการทางการศึกษาของผู้เรียน  สภาพแวดล้อมของโรงเรียนและสาระการเรียนรู้ที่สอน

                2.  สามารถติดตามการเรียนรู้ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ใช้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อวางแผนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนเป็นรายบุคคล  เป็นกลุ่มและเป็นชั้น

                3.  ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างอิสระ  ฝึกการใช้ภาษา คาดหวังให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในการเรียนรู้

                4.  พัฒนาความสัมพันธ์เชิงจรรยาบรรณ  บนพื้นฐานทักษะการสื่อสารที่ดีให้การยอมรับผู้เรียนทุกคน และคาดหวังจะได้รับการยอมรับจากผู้เรียน

                5.  มีความรู้ที่ทันสมัย  และสนับสนุนข้อคิดเห็นที่มีต่อหลักสูตรอย่างกระตือรือร้น

                6.  เชื่อความสามารถในการเรียนของผู้เรียนทุกคน  คาดหวังว่าผู้เรียนทุกคนเรียนรู้และส่งความคาดหวังนี้ไปยังแต่ละบุคคล  โรงเรียนและชุมชน

                7.  กระตือรือร้นในการฝึกผู้เรียนเข้าสู่ประสบการณ์แห่งการเรียนรู้เรื่องที่ผู้เรียนเห็นว่ามีความสำคัญต่อชีวิตของตน

                8.  ช่วยให้ผู้เรียนสามารถสร้างความเชื่อมโยง  เข้าใจความสัมพันธ์ทั้งภายในและระหว่างสาระการเรียนรู้

ครูสอนดีต้องมีหลักในการสอน

การสอนที่ดีและมีคุณภาพย่อมต้องคำนึงถึงหลักสำคัญ ๆ 20 ประการ  ดังนี้

1.       ศึกษาหลักสูตรให้กระจ่าง

2.       วางแผนการสอนอย่างดี

3.       มีกิจกรรม/ทำอุปกรณ์

4.       สอนจากง่ายไปหายาก

5.       วิธีสอนหลากหลายชนิด

6.       สอนให้คิดมากกว่าจำ

7.       สอนให้ทำมากกว่าท่อง

8.       แคล่วคล่องเรื่องสื่อสาร

9.       ต้องชำนาญการจูงใจ

10.    อย่าลืมใช้จิตวิทยา

11.    ต้องพัฒนาอารมณ์ขัน

12.    ต้องผูกพันห่วงหาศิษย์

13.    เฝ้าตามติดพฤติกรรม

14.    อย่าทำตัวเป็นทรราช

15.    สร้างบรรยากาศไม่น่ากลัว

16.    ประพฤติตัวตามที่สอน

17.    อย่าตัดรอนกำลังใจ

18.    ให้เทคนิคการประเมิน

19.    ผู้เรียนเพลินมีความสุข

20.    ครูสนุกกับการเรียน

(รศ.ดร.ทองคูณ  หงส์พันธุ์, 2544)

สรุปตอนท้ายว่า "การสอน" เป็นภารกิจหลักของครู  ครูมืออาชีพจึงต้องเน้นการสอนให้มีคุณภาพ เพราะว่าคุณภาพการสอนของครูย่อมส่งผลดีต่อนักเรียน  และเยาวชนของชาติ  การประเมินคุณภาพของครูจึงสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องประเมินจากตัวเด็กและเยาวชนของชาติ  ดังคำกล่าวที่ว่า "คุณภาพของเด็ก" สะท้อน "คุณภาพของครู"  ดังนั้นครูมืออาชีพควรมีและควรเป็นก็คือ  ต้องเน้นคุณลักษณะพื้นฐานนั่นคือ  ฉันทะ เมตตา และ กัลยาณมิตร  ซึ่งถือว่าเป็นคุณภาพพื้นฐานที่สำคัญของครู  และพัฒนาการสอนของครูซึ่งเป็นภารกิจหลัก โดยเฉพาะการสอนอย่างมีคุณภาพ นั่นคือ ครูมืออาชีพ  จึงต้องมีคุณธรรมโน้มนำ  ทำการสอนอย่างมีคุณภาพ  มีภาพลักษณ์ของความเป็นครูดี  เพื่อพัฒนาศักดิ์ศรีของอาชีพครูสืบไป

        ขอให้ครูมืออาชีพทุกท่านจงรวมพลัง  สร้างสรรค์  พัฒนาอาชีพครู  เพื่อมุ่งสู่ความเป็นครูมืออาชีพ ด้วยความมุ่งมั่นต่อไป  ผู้เขียนขอเป็นกำลังใจแด่ทุกท่านเสมอและตลอดไป.



แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 24 มีนาคม 2553 / 13:06

แสดงความคิดเห็น

>

2 ความคิดเห็น

bekiny 24 มี.ค. 53 เวลา 08:02 น. 1
Reviews Outland Stainless Steel Plate ESCALADEReviews Outland Black Plate Silverado 1500LDReviews Outland Stainless Steel Plate CommanderReviews Outland Stainless Steel Plate 06 08Reviews Outland Stainless Steel Nissan FRONTIERReviews Outland Black Plate 03 06 ExpeditionReviews Outland Stainless Steel Plate 06 08Reviews Outland Black Plate Chevy SilveradoReviews Outland Black Plate Toyota 4 RUNNERReviews Rear Bumper Guard BlackReviews Outland Stainless Steel Excludes modelsReviews Outland Stainless Steel Plate EXPEDITIONReviews Outland Stainless Steel Plate HUMMERReviews Rear Skirt Diffuser for Mazda3Reviews Polished Aluminum 1997 2006 Wrangler WAR916FCPAReviews Jeep Bull BarReviews Kawasaki Brute Force Front BumperReviews Outland Black Plate Nissan FRONTIERReviews Outland Stainless Steel Plate SILVERADOReviews Outland Stainless Steel Plate 99 07Reviews Outland Stainless Steel Plate SEQUOIAReviews Honda Rincon ATV Front BumperReviews Outland Stainless Steel Plate 04 08Reviews Aries 6550 Stainless Steel SportReviews Outland Stainless Steel Plate 08 09Reviews Outland Black Plate 07 09 SilveradoReviews Outland Black Plate Silverado 2500LDReviews Outland Black Plate Toyota TUNDRAReviews Outland Stainless Steel Plate 95 99Reviews Outland Black Plate 04 09 NissanReviews Outland Stainless Steel Plate NissanReviews Outland Black Plate 07 09 ExpeditionReviews Aries 9503 Stainless Steel SportReviews Honda Rancher 420 Front BumperReviews Honda Foreman Rubicon Front BumperReviews Outland Black Plate 07 09 ChevyReviews Outland Black Plate 08 09 SuperReviews Outland Stainless Steel Plate 05 07Reviews Outland Black Plate 99 04 SuperReviews Outland Stainless Steel Plate 07 09Reviews Outland Stainless Steel Plate 08 09Reviews Outland Black Plate 06 08 DodgeReviews Outland Black Plate TOYOTA SEQUOIAReviews Outland Stainless Steel Plate EXPEDITIONReviews Outland Black Plate Toyota CRUISERReviews Outland Stainless Steel SIERRA 3500HDReviews Outland Stainless Steel Toyota CRUISERReviews Outland Black Plate 95 99 ChevyReviews Outland Stainless Steel Plate ColoradoReviews 3 Inch Powder Rugged Ridge WranglerReviews Outland Stainless Steel Toyota TUNDRAReviews Outland Stainless Steel Silverado 1500LDReviews Outland 3 Inch Stainless Steel CherokeeReviews Outland Black Plate 07 09 ChevyReviews Outland Black Plate 06 08 DodgeReviews Outland Black Plate 05 07 SuperReviews Outland Black Plate 06 09 CommanderReviews Suzuki King Quad Front BumperReviews Polaris Sportsman 2004 09 Front BumperReviews Outland Stainless Steel Plate Silverado
0