Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

แนวทางในการประกอบอาชีพ คณะศิลปกรรมศาสตร์/จิตกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

แนวทางในการประกอบอาชีพ คณะศิลปกรรมศาสตร์/จิตกรรม 
ประติมากรรม ภาพพิมพ์


คณะศิลปกรรมศาสตร์/จิตกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์
 
เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาการที่เกี่ยวกับศิลปะและประยุกต์ศิลป์ โดยศึกษาทฤษฎีประวัติ เทคนิควิธีการสร้างสรรค์ เช่น การวาดภาพ การออกแบบปั้น การพิมพ์ การเล่นดนตรี และการรำ เป็นต้น ทั้งนี้โดยมีจุดหมายให้สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ และอนุรักษ์ศิลปกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติ รวมทั้งบุกเบิกสร้างสรรค์วิทยาการใหม่ ประกอบด้วยสาขาวิชาต่าง ๆ ดังนี้ สาขาวิชาทัศนศิลป์ ศึกษาศิลปะบริสุทธิ์ที่รับรู้ผ่านการมองเห็น เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ ภาพถ่าย และสื่อผสม

โดยมีวิชาเฉพาะ เช่น ทฤษฎีศิลปะ ประวิติศิลปะ ปรัชญาศิลปะ และวิชาปฏิบัติสร้างสรรค์ศิลปะต่างๆ
สาขาวิชานฤมิตศิลป์ ศึกษาการออกแบบเพื่อสื่อสารแนวความคิด เช่น การออกแบบกราฟฟิก เครื่องปั้นดินเผา แฟชั่น และนิทรรศการ โดยมีวิชาเฉพาะ เช่น ทฤษฎีการออกแบบประวิติการออกแบบ ปรัชญาการออกแบบต่าง ๆ สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ ศึกษาดนตรีไทย และสาขาดุริยางคศิลป์ วิชาเอกดุริยางคศิลป์ตะวันตก ศึกษาดนตรีคลาสสิก โดยมีวิชาเฉพาะ เช่น ทฤษฎีดนตรี ประวัติดนตรี และวิชาปฏิบัติการบรรเลง ขับร้อง และประพันธ์ดนตรี สาขาวิชานาฎยศิลป์ แยกเป็นนาฎศิลป์ไทยซึ่งศึกษาการรำไทย และนาฎยศิลป์ตะวันตกเป็นการศึกษาการเต้นบัลเล่ต์และการเต้นรำแบบตะวันตก โดยมีวิชาเฉพาะ เช่น ทฤษฎีการรำ ประวัติการรำ ปรัชญาการรำ และวิชาปฏิบัติการรำแบบต่างๆ

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
1 .ต้องเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีจินตนาการ และทักษะในการค้นคว้า และการแสดงออกทางศิลปกรรม
2 .ต้องยินดีที่จะสละเวลาเพื่อการฝึกฝนทักษะนอกเวลาเป็นพิเศษด้วยตนเอง
3 .ต้องไม่มีความพิการอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาในสาขาวิชานั้น ๆ 

แนวทางในการประกอบอาชีพ
ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถทำงานในหน่วยงานราชการ สถาบันเอกชน และงานอิสระของตนเองได้ เนื่องจากศิลปกรรมศาสตร์เป็นสาขาวิชาชีพเฉพาะทางซึ่งเป็นที่ต้องการของสังคมไทย ซึ่งกำลังมีการพัฒนาการด้านศิลปะและการออกแบบ

Credit admissions.is.in.th
ติดตามข่าว Admissions : http://my.dek-d.com/oak_html_5/board/

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น