Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ความฉลาดทางด้านดนตรี (Musical intelligence)

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ความฉลาดทางด้านดนตรี (Musical intelligence)

 
          ความฉลาดทางด้านดนตรี เป็นความสามารถในการรับรู้ทางการได้ยินที่ละเอียดอ่อน เฉียบไว ถ่ายโยงความสามารถในการรับรู้ทางการได้ยินที่ลึกซึ้ง ทั้งความสูงต่ำของเสียง ความถี่ของเสียงจังหวะของเสียงไปสู่จิตใจ อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดมาถักทอเป็นรูปแบบทางความสามารถที่เกี่ยวข้องกับ เสียง เช่น ดนตรี การร้องเพลง การแต่งเพลง การพากย์หนัง การเลียนเสียงสัตว์ หรือผู้ที่ฝึกนกเขาชวา หรือตัดสินความสามารถในการขันของนกเขาชวา ต้องมีความสามารถในการรับรู้ทางเสียงที่เฉียบคม   เป็นต้น
จาก แนวคิดทฤษฎีพหุปัญญา หรือ Multiple Intelligence ซึ่งเป็นแนวคิดที่มองมนุษย์อย่างรอบด้าน ดร.โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ นักจิตวิทยาพัฒนาการ เป็นผู้คิดทฤษฎีนี้ขึ้น และได้ศึกษาศักยภาพและความถนัดของคนแล้วจำแนกปัญญาด้านต่างๆของมนุษย์ออก เป็น 8 ด้านตามทฤษฎีพหุปัญญา ดังนี้
 
         1. ด้านภาพและมิติ
            2. ด้านคำศัพท์และภาษา
            3. ด้านตรรกะและคณิตศาสตร์
            4. ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว
            5. ด้านดนตรี
            6. ด้านตัวตนตนเอง
            7. ด้านมนุษยสัมพันธ์
            8. ด้านธรรมชาติวิทยา

            และต่อมาได้มีการทำการศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง จนได้พบความถนัดอีกด้านหนึ่ง คือ
            9. ด้านการดำรงอยู่ของชีวิต หรือด้านจิตนิยม
 
          จะเห็นได้ว่าความถนัดทางด้านดนตรี ถูกจำแนกแยกออกมาเป็นหนึ่งในทฤษฎีนี้ นั่นแสดงให้เห็นว่าดนตรีเป็นศาสตร์ และมีความเฉพาะทางด้านความถนัดสูงมาก
 
          ความถนัดทางดนตรีของมนุษย์ เป็นศักยภาพที่พบมากในคนที่เล่นดนตรี ศิลปินดนตรี นักแต่งเพลง ผู้ควบคุมวง ผู้เรียบเรียงเสียงประสาน นักร้อง นักเต้นรำ
ซึ่งบุคคลพวกนี้มีทักษะทางดนตรีในขั้นพิเศษกว่าคนทั่วไป

เช่น เมื่อฟังเพลง แล้วสามารถจับจังหวะได้ สามารถบอกระดับเสียง เขียนเป็นโน้ตดนตรี ตีความบทเพลง รับรู้พลังของดนตรี ซึ่งบุคคลทั่วไปอาจฟังแค่เพลงนั้นไพเราะ หรือถูกใจเพียงผิวเผิน แต่อย่างไรก็ดี ความสามารถทางดนตรีย่อมพัฒนาให้ดีขึ้นได้ด้วยการฝึกฝน เช่น หัดเล่นดนตรี ร้องเพลง อ่านโน้ต ฟังเพลงมากๆ การฝึกฝนทางด้านดนตรีที่ดี ผู้เรียนต้องมีแรงจูงใจ   มีความอยากเรียนด้วยตนเอง มีความสุขเมื่อได้ทำกิจกรรมดนตรี มีความต้องการแสดงออกทางดนตรี
 
         ดังนั้น หากพ่อแม่ ผู้ปกครอง มีความต้องการให้เด็กๆ มีความถนัดทางด้านนี้ ควรสร้างรากฐานแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นตั้งแต่เด็กยังเล็ก
ดังเช่นคำพูดที่ว่า “กว่าจะถึงอนุบาลก็สายเสียแล้ว” เพราะว่าในช่วงแรกของชีวิต
เป็นช่วงแห่งการเรียนรู้ที่ดีที่สุด เด็กที่ได้รับการเตรียมพร้อมโดยพ่อแม่ ก่อนการเข้าเรียนในโรงเรียนย่อมได้เปรียบเด็กอื่นๆ ที่มีกิจกรรมที่บ้านด้วยการดูโทรทัศน์
หรือเล่นเกมคอมพิวเตอร์ การเรียนดนตรี ก็เช่นเดียวกัน

มีผู้ปกครองส่วนมากที่เข้าใจกันว่า เมื่อส่งลูกเข้าเรียนพิเศษในโรงเรียนดนตรีก็หวังว่าจะให้เด็กประสบความสำเร็จทางดนตรีเช่นเดียวกับ โมซารท์ (Mozart) คีตกวีเอกของโลก แต่ไม่ได้สร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ดนตรีที่บ้าน เช่น การเปิดเพลงให้ฟัง   การพาเด็กไปชมการแสดงดนตรี ซึ่งหมายถึงประเภทของดนตรีที่ฟังด้วย
เพราะดนตรีที่ส่งเสริมความคิดที่ดีต้องเป็นดนตรีที่กลั่นกรองมาดี เช่น ดนตรีคลาสสิก หรือ ดนตรีพื้นบ้าน ดนตรีไทย   ดนตรีที่ไม่ได้รับการปรุงแต่งด้วยเทคโนโลยีจนผิดธรรมชาติ
 
          แต่อีกทฤษฎีหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องของความจริงที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อ โดยทั่วไปแล้วคนเชื่อว่าเมื่อพ่อแม่เป็นนักดนตรีลูกก็จะมีความถนัดทางดนตรี ในทำนอง "ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น" นักจิตวิทยาทางดนตรี (Music Psychologist) ได้พยายามศึกษาเรื่องความถนัดทางดนตรีมาเป็นเวลาช้านาน

เอ็ดวิน กอดอน (Edwin Gordon) ได้ศึกษาและเขียนหนังสือขึ้นมาเล่มหนึ่งชื่อจิตวิทยาดนตรี (The Psychology of Music) สรุปออกมาว่า เด็กที่มีพ่อแม่เป็นนักดนตรีทั้งคู่จะมีความถนัดทางดนตรีสูงมาก เด็กที่มีพ่อแม่คนหนึ่งคนใดมีความถนัดทางดนตรี จะมีความถนัดในทางดนตรีระดับปานกลาง และเด็กที่พ่อแม่ไม่มีความถนัดทางดนตรีเลย จะมีความถนัดทางดนตรีน้อยกว่าทั้งสองกรณีแรก

นักดนตรีเอกของโลกหลายคนที่มีพ่อแม่เป็นนักดนตรี เช่น โวล์ฟกัง อมาติอุส โมสารต์ (Wolf gang Amadeus Mozart) ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเด็กที่มีอัจฉริยะทางดนตรี มีความสามารถทางดนตรีสูงมากทั้งด้านการแต่งเพลงและเล่นดนตรีได้ตั้งแต่อายุ ได้ 4 ขวบ
นักดนตรีที่สำคัญอีกคนหนึ่งลุควิด แวน  เบโธเฟน (Ludwid van Beethovan)
ถึงแม้ว่าเบโธเฟนจะแต่งเพลงไว้น้อย เมื่อเปรียบเทียบกับ  โมสาร์ต
แต่เพลงทุกเพลงของเบโธเฟนได้รับการยกย่องว่าเป็นผลงานของผู้ยิ่งใหญ่
 
          เหตุที่ปัจจุบันได้มีการส่งเสริมความถนัดทางด้านดนตรี เนื่องจากดนตรีเป็นศาสตร์ที่สามารถปลูกฝังได้ตั้งแต่ในวัยเยาว์ ดังที่ได้กล่าวไปในข้างต้น เมื่อเด็กมีความรู้ความถนัดทางด้านนี้แล้วนั้น ย่อมอาจจะส่งผลให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาความถนัดในด้านอื่นๆได้ด้วย เห็นได้จากทฤษฎี และหลักการต่างๆ
ดังตัวอย่างต่อไปนี้
 
                   Smutny 1999 ได้กล่าวถึงพฤติกรรม และลักษณะนิสัยของผู้ที่มีความถนัดทางด้านดนตรีไว้ตัวอย่างเช่น
 
- ทำงานอย่างเป็นอิสระและมีความคิดริเริ่ม
- ชอบกิจกรรมการอ่านหนังสือ  รักการอ่านหนังสือหลายเล่ม
- มีการตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ดีและสามารถตัดสินใจได้ดี
- ชอบสนทนาถกปัญหา  และมีความคิดสุขุม
- สนใจในสภาพแวดล้อมรอบตัว
- ชอบการใช้สมองเกี่ยวกับตัวเลข   การหาวิธีการแก้โจทย์ปัญหา
- เรียนรู้ได้เร็วและสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้
- มีจินตนาการสูงและสามารถคิดเกมส์สร้างสรรค์
- ชอบเล่นเกี่ยวกับคำศัพท์
- เป็นผู้นำในการคิดเกมส์ต่าง ๆ  มีความตั้งใจในการเอาชนะ
- มีความอ่อนไหวในความรู้สึกเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ 
- สนใจปัญหาทั่วไปเกี่ยวกับโลก
- มีความมุ่งมั่นและสัญชาตญาณของความมีพรสวรรค์
                  
 สิ่งต่างๆที่ได้กล่าวมานี้เป็นลักษณะ และเป็นผลที่เกิดจากความถนัดทางด้านดนตรี จะเห็นได้ว่ามีความครอบคลุมในความถนัดทางด้านอื่นๆด้วย จึงความมีการส่งเสริมความถนัดด้านนี้ให้แก่บุคคลในทุกเพศ ทุกวัย
เพื่อสร้างสังคมแห่งความเป็น “พหุปัญญา” แก่สังคมไทย

PS.  Dont Ever Judge Me..... and Dont You F-u-cking Judge Me.

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น

อู๋วอฟ ชอบคลาสสิก 16 พ.ค. 53 เวลา 17:42 น. 1

มีประโยชน์มากครับ

ผมเป็นคนนึงที่เล่นดนตรีเหมือนกัน ถึงจะไม่ถึงขั้นพรสวรรค์

แต่เมื่อลองเทียบกับคนที่ผมสอนเล่น กับนึกถึงตอนที่ตัวเองหัดเล่นใหม่ๆด้วยตัวเอง

คิดว่าตัวเองเซ็นส์ดีกว่าหลายๆคน ที่แท้พ่อแม่ก้อมีส่วนนี่เอง เพราะพ่อก็เล่นดนตรีเหมือนกัน

0