Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

การทำน้ำยาเช็ดกระจก

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ขอความรู้ด้วยนะคะ

ขอบคุณมากคะ

แสดงความคิดเห็น

>

14 ความคิดเห็น

chai 28 มิ.ย. 53 เวลา 16:38 น. 1

ผู้เขียน: อาจารย์โชติมา วิไลวัลย์
วันที่: 3 ก.ค. 2549
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp น้ำยาเช็ดกระจกก็จัดอยู่ในผลิตภัณฑ์ซักล้าง จึงมีสารลดแรงตึงผิวเป็นองค์ประกอบหลักผสมกับสารเคมีที่ใช้เป็นตัวทำละลาย ซึ่งน้ำยาเช็ดกระจกที่พบมีอยู่หลายยี่ห้อ แต่ละยี่ห้อมีส่วนผสมหลักคล้ายคลึงกัน โดยทุกชนิดจะใช้ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ (isopropyl alcohol) ในปริมาณ 1.0-4.0% ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์เป็นของเหลวใส ไม่มีสี ไวไฟ และมีกลิ่นฉุนมาก ใช้ในการทำความสะอาด ถ้าจะใช้ฆ่าเชื้อต้องใช้ที่ความเข้มข้นสูงถึง 60-70% การหายใจเข้าไปในปริมาณเล็กน้อยจะระคายเคืองจมูก ลำคอ และระบบทางเดินหายใจ&nbsp ทำให้ปวดหัว คลื่นไส้ วิงเวียน อาเจียน ถ้าได้รับปริมาณสูงขึ้นอาจทำให้หมดสติ หรือตายได้ การสัมผัสนาน ทำให้ผิวหนังแห้งและแตก การกลืนกินมีอาการคล้ายการหายใจ อาเจียนและอาจทำอันตรายแก่ปอด และระคายเคืองต่อตา ห้ามทิ้งสู่แหล่งน้ำ น้ำเสีย หรือดิน สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  สารเคมีที่นิยมใช้เป็นตัวทำละลายในน้ำยาเช็ดกระจกอีกชนิดคือบิวทิลเซลโลโซลฟ์ (butyl cellosolve) เป็นตัวทำละลายเคมีที่ละลายน้ำได้ (water-soluble solvent)&nbsp มักใช้กับคราบมัน หรือทำให้มัน มีชื่อทางเคมีว่า 2-บิวทอกซีเอทานอล (2-butoxyethanol) หรือเอทาลีนไกลคอลโมโนบิวทิลอีเทอร์ (ethylene glycol monobutyl ether) มีค่า LD50 (หนู) 470 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เป็นพิษหากถูกดูดซึมผ่านผิวหนัง กินเข้าไปทำให้มึนเมาได้ ตัวทำละลายทั้ง 2 มีผลกระทบคล้ายกันคือ ระคายเคืองต่อตา ผิวหนัง จมูก ลำคอ เกิดอาการไอ คลื่นไส้ วิงเวียน ปวดหัว ตาแดง เจ็บตา เห็นไม่ชัด ปวดท้องน้อย ท้องเสีย อาเจียน กดระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เม็ดเลือดแดงแตก แต่ไม่ต้องกังวลมากเพราะตัวทำละลายในน้ำยาเช็ดกระจกมีความเข้มข้นน้อยมากคือเพียง 0.5-2.5% เท่านั้น


สำหรับสารลดแรงตึงผิวที่ใช้ในน้ำยาเช็ดกระจกคือ sodium lauryl ether sulfate (SLES) หรือ sodium laureth sulfate&nbsp ใช้ในปริมาณ 0.1 - 0.6 % โดยน้ำหนัก SLES มีค่า LD50 (หนู) 1,600 มิลลิกรัม/กิโลกรัม มีพิษปานกลาง เป็นสารทำให้เกิดฟอง มักใช้ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด และแชมพู อาจทำให้เกิดการระคายเคืองตาและผิวหนัง หากเกิดอาการหลังจากใช้ผลิตภัณฑ์ควรหยุดใช้ทันที ในกระบวนการผลิต SLES อาจปนเปื้อนด้วย 1,4-dioxane ซึ่งอาจเป็นสารก่อมะเร็ง ในต่างประเทศมีการห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอาหารและยา แต่อย่างไรก็ตามไม่มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่าสารชนิดนี้เป็นก่อมะเร็ง


&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp น้ำยาเช็ดกระจกบางชนิดที่ไม่ใช้ sodium lauryl ether sulfate เป็นสารลดแรงตึงผิว จะใช้ cocamidopropyl betaine แทน&nbsp  ซึ่งเป็นสารลดแรงตึงผิวที่จับกับทั้ง anion และ cation ในเวลาเดียวกัน สาร cocamidopropyl betaine เป็นสารลดแรงตึงผิวแบบอ่อน ที่ไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและเนื้อเยื่อในจมูก&nbsp นอกจากนี้มันยังมีสมบัติฆ่าเชื้อโรคด้วย และเข้าได้กับสารลดแรงตึงผิวชนิดอื่นๆ&nbsp cocamidopropyl betaine ในน้ำยาเช็ดกระจกมีความเข้มข้นต่ำกว่า 1 % จะไม่ทำให้เกิดการระคายเคือง อย่างไรก็ตามสำหรับที่ความเข้มข้นสูงขึ้นไปอาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้ ควรหลีกเลี่ยงการเทผลิตภัณฑ์ใส่มือโดยตรง


&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  น้ำยาเช็ดกระจกบางยี่ห้อมีการนำ ammonium hydroxide มาใช้ประมาณ 0.1 % ammonium hydroxide ที่ความเข้มข้นสูงกว่า 25 % มีค่า LD50 (หนู) 350 มิลลิกรัม/กิโลกรัม มีความเป็นพิษมาก มีฤทธิ์ทำให้เกิดแผลไหม้ และเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ สารนี้มีฤทธิ์กัดกร่อนเป็นอันตรายต่อเยื่อเมือก ระบบทางเดินหายใจส่วนบน ดวงตา ผิวหนัง การสูดดมทำให้เกิดการระคายเคืองต่อตาและจมูก ซึ่งต้องระวังอันตรายมากกว่า มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ อับเสบ การบวมน้ำของถุงลมและปอด ถ้าเข้าตาสามารถทำให้ตาบอดได้

http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=4&ID=2

0
เงาที่ไร้แสง 28 มิ.ย. 53 เวลา 19:00 น. 2

สมัยนี้นะคะข้าวปลาอาหาร ข้าวของเครื่องใช้ก็แสนจะราคาแพง ถึงขนาดบางร้านงัดกลเม็ดเด็ดอันแพรวพราวต่างๆออกมาใช้เช่น ซื้อ1แถม1บ้าง ลดครึ่งราคาบ้างก็ยังขายยากขายเย็น เรียกได้ว่ายุคนี้เป็นยุคข้าวยากหมากแพงทีเดียว

ด้วยเศรษฐกิจอย่างนี้ฉันจึงอยากเชิญชวนให้คุณๆทั้งหลายมาใช้จ่ายอย่างประหยัด คิดก่อนซื้อ ซื้อแต่ของที่จำเป็นจริงๆเท่านั้น บางอย่างที่สามารถทำขึ้นเองหรือประดิษฐ์ดัดแปลงได้เองก็ควรจะทำ

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp อย่างเช่นวันนี้ฉันจะมาสาธิตการทำน้ำยาเช็ดกระจกยุคประหยัดกันค่ะ วัสดุก็หาได้ไม่ยากขั้นตอนการทำก็แสนง่ายค่ะ คือเตรียมขี้เถ้ามา 1 กำมือผสมกับน้ำสะอาด 1 ขวด แล้วเขย่าให้เท่ากัน ตั้งทิ้งไว้จนขี้เถ้าตกตะกอนรินเอาแต่น้ำใส เอาผ้าชุบนำนี้เช็ดที่กระจกแล้วทิ้งไว้สักครู่ จากนั้นเอาผ้าแห้งอีกผืนหนึ่งมาเช็ดกระจกจนแห้ง กระจกจะใส่แจ๋ว น้ำยาเช็ดกระจกยุคประหยัดนี้มีสรรพคุณไม่แพ้น้ำยาเช็ดกระจกที่ราคาแพงเลยค่ะ&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp 

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp เพื่อนๆลองเอาวิธีนี้ไปใช้เช็ดกระจกที่บ้านกันได้นะคะ เพราะนอกจากจะประหยัดเงินแล้วกระจกจะใส สะอาดอีกด้วยค่ะ

ขอบคุณสาระดีๆจากหนังสือ รอบบ้านรอบครัวค่ะ

http://learners.in.th/blog/innovatorthai025/334550

0
ฤดูฝน 28 มิ.ย. 53 เวลา 19:05 น. 3

น้ำยาเช็ดกระจกจัดอยู่ในผลิตภัณฑ์ซักล้าง จึงมีสารลดแรงตึงผิวเป็นองค์ประกอบหลักผสมกับสารเคมีที่ใช้เป็นตัวทำละลาย ซึ่งแต่ละยี่ห้อมีส่วนผสมหลักคล้ายคลึงกัน โดยทุกชนิดจะใช้ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ (isopropyl alcohol) ในปริมาณ 1.0-4.0% ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์เป็นของเหลวใส ไม่มีสี ไวไฟ และมีกลิ่นฉุนมาก

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp สารเคมีที่นิยมใช้เป็นตัวทำละลายในน้ำยาเช็ดกระจกอีกชนิดคือ บิวทิลเซลโลโซลฟ์ (butyl cellosolve) เป็นตัวทำละลายเคมีที่ละลายน้ำได้ (water-soluble solvent)&nbsp มักใช้กับคราบมัน หรือทำให้มัน มีชื่อทางเคมีว่า 2-บิวทอกซีเอทานอล (2-butoxyethanol) หรือ เอทาลีนไกลคอลโมโนบิวทิลอีเทอร์ (ethylene glycol monobutyl ether)

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  สำหรับสารลดแรงตึงผิวที่ใช้ในน้ำยาเช็ดกระจกคือ sodium lauryl ether sulfate (SLES) หรือ sodium laureth sulfate&nbsp ใช้ในปริมาณ 0.1 - 0.6 %&nbsp เป็นสารทำให้เกิดฟอง น้ำยาเช็ดกระจกบางชนิดที่ไม่ใช้ sodium lauryl ether sulfate เป็นสารลดแรงตึงผิว จะใช้ cocamidopropyl betaine แทน&nbsp 

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp น้ำยาเช็ดกระจกบางยี่ห้อมีการนำ ammonium hydroxide มาใช้ประมาณ 0.1 % ammonium hydroxide ที่ความเข้มข้นสูงกว่า 25 % มีค่า LD50 (หนู) 350 มิลลิกรัม/กิโลกรัม มีความเป็นพิษมาก มีฤทธิ์ทำให้เกิดแผลไหม้ และเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ สารนี้มีฤทธิ์กัดกร่อนเป็นอันตรายต่อเยื่อเมือก ระบบทางเดินหายใจส่วนบน ดวงตา ผิวหนัง การสูดดมทำให้เกิดการระคายเคืองต่อตาและจมูก ซึ่งต้องระวังอันตรายมากกว่า มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ อับเสบ การบวมน้ำของถุงลมและปอด ถ้าเข้าตาสามารถทำให้ตาบอดได้

www.chemtrack.org

0
ลูกข้าวเหนียว 28 มิ.ย. 53 เวลา 19:08 น. 4

สูตรน้ำยาเช็ดกระจก

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp 
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp ส่วนผสม


1 ไอ พี เอ 59.25
กรัม.
2 หัวเชื้อแชมพู 39.50
กรัม
3 WATER 300
กรัม
4 SCPG 520 0.40&nbsp กรัม
5 PG.&nbsp 0.85&nbsp กรัม

&nbsp &nbsp &nbsp  วิธีทำ
1. นำน้ำค่อย ๆ เติมลงใน หัวแชมพู คนให้เข้ากัน
2. เติมกันบูด SCPG 520+ ไอ พี เอ + PG. ตามลำดับ (ต้องใส่ถุงมือเพราะไอ พี เอ & PG. จะกัดมือ)


http://www.archeep.com/chemistry/chem_glass_cleaning.htm

0
NPK 28 มิ.ย. 53 เวลา 19:12 น. 5

น้ำยาสำหรับขัดถูพื้น : ผสมผงฟู 1/4 ถ้วยตวง เข้ากับน้ำสบู่(หรือผงซักฟอกละลายน้ำ) ไม่ต้องมากนัก เมื่อเทลงบนพื้นจะดูเหมือนโรยน้ำตาล จากนั้นก็เริ่มงานขัดได้ตามสะดวก (จะใช้แผ่นใยขัด หรือจะเป็นฟองน้ำนั้น เลือกให้ตรงกับพื้นผิวที่คุณจะขัดด้วย)

น้ำยาเช็ดกระจก : ใช้น้ำส้มสายชู 1/4 ถ้วยตวง ผสมเข้ากับน้ำ 2 ถ้วยตวง เติมน้ำสบู่อีก 1/2 ช้อนชา ผสมให้เข้ากัน ใส่ลงกระบอกฉีด นำไปใช้แทนน้ำยาเช็ดกระจกนอกจากความสะอาดใสแล้ว ยังปลอดภัยอีกด้วย แต่อย่าเผลอเดินชนกระจกเข้าล่ะ

น้ำยาทำความสะอาดเครื่องครัว : โรยผงฟูลงบนพื้นเตา หนาสัก 1/4 นิ้ว แล้วพรมน้ำให้ทั่ว (จะใช้กระบอกฉีดก็ไม่ว่ากัน) พอชุ่ม ๆ ปล่อยทิ้งไว้ 6 ชั่วโมง หากทำตอนกลางคืน ก็ปล่อยทิ้งไว้เลย ตื่นเช้ามาคอยขัดด้วยฟองน้ำ แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด

น้ำยาทำความสะอาดเครื่องเรือน : น้ำส้มสายชู 1/4 ถ้วย หยดน้ำมันพืชลงไปอีกสักสองสามหยด แล้วอย่าเผลอนำไปปรุงอาหารล่ะ เพราะสูตรนี้เขาไว้เช็ดถูเครื่องเรือนต่าง ๆ นะ

น้ำยาทำความสะอาดท่อ : เทผงฟูลงไปในท่อน้ำ ตามด้วยน้ำร้อนอีก 3 ถ้วย ท่อของคุณก็จะหายตันโดยไม่ต้องพึ่งน้ำยาใด ๆ

น้ำยาทำความสะอาดอเนกประสงค์ : ทำเองได้ง่าย ๆ แค่ผสมโซดาซักผ้าเข้ากับน้ำร้อน 2 ถ้วย ในกระบอกฉีด นำไปใช้ทำความสะอาดได้(เกือบ)ทุกพื้นผิว

สเปรย์ป้องกันเชื้อราและแบคทีเรีย : เป็นสูตรพิเศษเพื่ออนามัยของคุณและครอบครัว ทำได้ง่าย ๆ อีกเช่นกัน แค่ผสม tea tree oil 2 ช้อนชา เข้ากับน้ำอีก 2 ถ้วย ใส่ลงในกระบอกฉีด คุณก็จะได้สเปรย์เพื่ออนามัยแล้ว


ถึงแม้ว่าน้ำยาทำความสะอาดที่ผสมเองเหล่านี้ จะอันตราย "น้อย" กว่าน้ำยาทำความสะอาดที่วางขายตามร้ายค้าทั่วไป แต่ก็ยังคงเป็นอันตรายอยู่ คุณพ่อบ้านและคุณแม่บ้านทั้งหลายพึงระวังให้ห่างจากมือลูกน้อยของคุณด้วย และเมื่อผสมเสร็จ ควรเขียนฉลากติดไว้ข้างขวดหรือข้างกระบอกฉีดเพื่อความปลอดภัย

นอกจากนี้ คุณอาจจะเพิ่มเติมส่วนผสมเพื่อเพิ่มคุณสมบัติบางประการให้แก่น้ำยาของคุณ เช่น อาจหยดน้ำมันหอมระเหย เพื่อเพิ่มความหอม และช่วยผ่อนคลายอารมณ์ตามหลักอโรมา เธราปีได้อีกด้วย

ไม่ยากเลย กับการผสมน้ำยาทำความสะอาดใช้เอง นอกจากจะสะอาดตาแล้ว ยังทำให้สบายใจเพิ่มขึ้น เพราะชีวิตนั้น มีค่าเกินกว่าที่จะทิ้งไปด้วยความสะเพร่าเพียงน้อยนิด


http://www.prakard.com/default.aspx?g=posts&t=24817

0