Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

เด็ก ครุ ศึกษา เตรียม เฮ ! คุรุสภา ยกเลิกหลักสูตร ป.บัณฑิต ไม่ให้ เด็กวุฒิอื่นเป็นครูแล้ว

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
คุรุสภา ประกาศยกเลิกการรับรองหลักสูตร ป.บัณฑิต และหลักสูตรฝึกอบรมความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพ มีผลบังคับตั้งแต่ 19 ส.ค.53 ระบุการผลิตครูมีมากเกินต้องการ ซ้ำยังปรับเปลี่ยนการออก "ใบวิชาชีพครู" โดยแยกตามช่วงชั้น ประถม-มัธยม และกลุ่มวิชาที่สอน เริ่มปี 55 ก่อนใช้เต็มรูปแบบปี 57 ส่งผลครู 1 คน ต้องมีใบวิชาชีพครูมากกว่า 2 ใบขึ้นไป

เมื่อวันที่ 19 ส.ค.53 นายดิเรก พรสีมา ประธานคณะกรรมการคุรุสภา เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการคุรุสภาว่า ที่ประชุมมีมติให้มีการแก้ไขมาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพผู้บริหารการศึกษา และให้เพิ่มมาตรฐานความรู้ในวิชาที่สอนเข้าไปซึ่งในปัจจุบันครู จะมีอยู่ 9 มาตรฐาน ส่วนผู้บริหารและศึกษานิเทศก์มี 10 มาตรฐาน โดยจะเพิ่มอีก 1 มาตรฐาน คือมาตรฐานความรู้ในวิชาที่ครูจะสอน โดยในระดับปฐมวัย จะเน้นในเรื่องจิตวิทยาสำหรับเด็ก การดูแลช่วยเหลือเด็ก การช่วยให้เด็กมีพัฒนาการได้อย่างสมวัย ระดับประถมศึกษา จะเพิ่มความรู้ในกลุ่มสาระที่ครูจะต้องสอน รวมถึงเทคนิคและวิธีสอน ระดับมัธยมศึกษา เพิ่มความรู้ในเนื้อหาวิชาที่ครูจะไปสอน อาทิ ครูที่สอนวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์

ทั้งนี้เพื่อจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู โดยจะแยกเป็นใบประกอบวิชาชีพครูระดับปฐมวัย ประถมศึกษา ขณะที่ มัธยมศึกษาตอนต้น จะแยกเป็นกลุ่มสาระวิชา ส่วนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จะแยกเป็นครูสอนฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา เป็นต้น และระดับอาชีวศึกษา ก็จะแยกตามสาขาวิชา อาทิ ครูช่าง บริหาร เกษตร โดยในส่วนผู้ที่จะขอใบอนุญาตใหม่ นั้นจะต้องผ่านกระบวนการทดสอบ จากคุรุสภาก่อน

นายดิเรก กล่าวต่อไปว่า ทั้งนี้นักศึกษาคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ หลักสูตร 5 ปี สามารถสอบขอใบอนุญาตฯ ได้ตั้งแต่ชั้นปีที่ 3 เมื่อสอบผ่านและเรียนจบแล้วก็สามารถนำผลการทดสอบพร้อมกับวุฒิการศึกษาปริญญา ตรี มายื่นขอใบอนุญาตฯ จากคุรุสภาได้ทันที หากสอบไม่ผ่านก็สามารถสอบใหม่ได้โดยทางคุรุสภาจะเปิดให้สอบ 2-3 ครั้งต่อปี อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมเสนอว่าควรมีการนำร่องได้ในปี 2555 และจะดำเนินการเต็มรูปแบบในปี 2557 ส่วนแนวทางในเบื้องต้นสำหรับครูที่มีใบอนุญาตฯ อยู่แล้ว ซึ่งจะหมดอายุในปี 2557 นั้นจะต้องมีหลักฐานในการฝึกอบรมในวิชาที่จะสอบอย่างน้อย 15 ชั่วโมง ย้อนหลัง 3 ปี ซึ่งรายละเอียดต้องประชุมกันอีกครั้ง

นายดิเรก ยังกล่าวต่อว่า นอกจากนี้ที่ประชุมยังมีมติให้ยกเลิกการรับรองประกาศนียบัตรบัณฑิตการศึกษา (ป.บัณฑิต) และ ยกเลิกการรับรองหลักสูตรฝึกอบรมความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 19 ส.ค.53 เป็นต้นไป สำหรับสถาบันอาชีวศึกษา ที่จำเป็นจะต้องใช้ครูที่ไม่ได้จบวิชาชีพครู หากจำเป็นต้องเข้ารับการฝึกอบรม ทางคุรุสภาจะประสานการจัดอบรมในกลุ่มสาขาวิชาเดียวกัน และจะพิจารณาเป็นกรณีไป อย่างไรก็ตามสถาบันผลิตครูต่างๆ ต้องยกเลิกการรับนักศึกษาหลักสูตรดังกล่าวทันที ส่วนนักศึกษาที่ยังศึกษาอยู่ทางคุรุสภาก็จะรับรองให้

สำหรับเหตุผลที่ต้องยกเลิกการรับรองดังกล่าวนั้นเนื่องจากทางคุรุสภาเห็นว่า การผลิตครูมีจำนวนเพียงพอแล้ว อีกทั้งยังต้องการควบคุมคุณภาพและยกมาตรฐานวิชาชีพครูให้สูงขึ้น

Credit : http://www.siamrath.co.th/?q=node/62141

ยินดีกับคนที่ เรียน สายครูมาโดยตรง ด้วยนะ หลังจากนี้ วิชาชีพเรา จะเหมือนวิชาชีพอื่นๆที่ต้องเรียนจบมาโดยเฉพาะ ถึงสามารถประกอบอาชีพได้ เช่นแพทย์ เภสัช

แสดงความคิดเห็น

>

45 ความคิดเห็น

assdds 24 ส.ค. 53 เวลา 19:42 น. 2

อธิบาย ป.บัณฑิต คืออะไร

ป.บัณฑิต = ประกาศนียบัตรบัณฑิตการศึกษา
คือหลักสูตร ที่สอน เกี่ยวกับวิชาชีพและความเป็นครู ให้กับผู้ที่จบ วุฒิ ปริญญาอื่นๆ
เช่น วิทยาศาสตร์บัณฑิต อักษรศาสตร์บัณฑิต ศิลปศาสตร์บัณฑิต
โดย เมื่อผ่านการเรียน จนได้ ประกาศนียบัตรบัณฑิตการศึกษา(เรียน 1ปีหรือที่เขาเรียกว่า เรียนจบแล้วต่อครู 1ปี)
จึงจะสามารถสอบ ใบอนุญาติวิชาชีพครูได้

แต่หลังจากมติของครุสภา ได้ยกเลิก ประกาศนียบัตรบัณฑิตการศึกษา
ทำให้ ผู้ที่ จบ วุฒิ วิทยาศาสตร์บัณฑิต อักษรศาสตร์บัณฑิต ศิลปศาสตร์บัณฑิต หรืออื่นๆ
ที่ไม่ใช่วุฒิครุศาสตร์บัณฑิต ศึกษาศาสตร์บัณฑิต การศึกษาบัณฑิต ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต
ไม่สามารถ สอบใบประกอบวิชาชีัพครูได้ เพราะ ไม่ได้เรีัยน ความเป็นครูมา หรือ ได้ ประกาศนียบัตรบัณฑิตการศึกษา

ทำให้ วิชาชีพครูหลังจากนี้ไป ต้องเป็นผู้ที่จบจากคณะ ครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ หรือ คณะอื่นๆ ที่จบมาแล้วได้วุฒิทางครูโดยตรงเท่านั้น

ยกเว้น สายอาชีวะศึกษา ที่ยังมีการรับรองบางหลักสูตรวิชา

0
นายมะนาว ตระกูลสวน 24 ส.ค. 53 เวลา 22:48 น. 4

แล้วแบบนี้คนที่เรียนคณะมนุษยศาสตร์สายภาษา

เช่น ไทย จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศล อาหรับ มาเลย์ ฯลฯ

จะสามารถเป็นครูได้ไหมครับ ? เพราะไม่ใช่คณะศึกษาศาสตร์

ภาษาอื่นยังพอหางานอื่นทำได้ เช่น มัคคุเทศก์ นักแปล ล่าม ฯลฯ

แต่ภาษาไทยนี่สิ ?

น่า

คิด

นะ

0
000 25 ส.ค. 53 เวลา 16:24 น. 6

พูดตรงๆนะ
เราว่าการที่ต่อครูอีก1ปีที่คนที่เค้าจุบวุฒิอื่นมาน่ะ ดีเหมือนกันนะ
เพราะเราคิดว่า เค้าคงแน่นกว่า แค่ไม่ได้เรียนครูมาแค่นั้นเอง
เราอยากให้คนอื่นให้ความสำคัญกับครูหน่อย
ใครเรียนไม่ค่อยเก่ง ระดับปานกลาง ก้อไปเรียนศึกษา ครุ
ใครเรียนเก่ง ไปวิดวะ วิดยา อักษร แล้วก้อเหลือพวก กลางๆ มาเรียนครู
เราอยากให้แบบว่า ให้เงินเดือนครูเยอะๆ&nbsp เค้าจะได้แย่งกันมาเป็นครูไง
แล้วถ้าทำอย่างงี้เราก้อจะได้คนเก่งๆมาเป็นครู เหมือนคนเก่งๆ มาเป็นหมอไง
ไม่งั้นก็ตั้งมหาลัยเฉพาะไปเลย แบบที่ต่างประเทศเค้าทำกัน

จบมาได้ครุศาสตร์บัณฑิตทั้งม.&nbsp แต่เวลาเรียนก็แยกเรียนเป็นสาขาๆไป
เราจะได้มีครูเก่งๆไว้ใช้ ครูจะได้ไม่ตกงาน

เมื่อไหร่ผู้ใหญ่จะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้นะ
มัวไปทะเลาะกันอะไรไม่รู้

พวกคนใหญ่คนโต เราว่าจริงๆเค้าก็พัฒนาชาติได้แหละ แต่เค้าไม่ทำ
ถ้าคนส่วนใหญ่ฉลาด เค้าก็จะโกงไม่ได้ เพราะจะถูกจับได้
หากินกับความล้าหลังของชาติ เห้อ ไม่ไหวเลยย

1

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

ถูกลบโดยเจ้าของความเห็น

$@tojung 26 ส.ค. 53 เวลา 01:01 น. 7

มองได้สองเเง่ นะ
ปิดโอกาส คนที่เรียนสายตรง

เเต่ก็
ยกระดับความเป็นครู

ครู คือ เเม่พิมพ์ของชาติ
ครุศาสตร์ คือ ศาสตร์เเม่ เเละ ศาสตร์หลักของทุกศาสตร์

ทุกคนต้องมีครู ไม่ว่าจะเรียนรู้อะไรก็ตาม !

ให้ความสำคัญกับครูให้มาก ๆ พัฒนาการศึกษาไทย เเล้วชาติไทยจะเจริญ.. . 


0
So bad 26 ส.ค. 53 เวลา 15:03 น. 8

อนาคตคงมีแต่คนที่เก่งปานกลาง เก่งน้อย หรือเก่งพอๆกับนักเ้รียนมาสอนแล้วแหละครับ

คนเก่งๆ เค้าก็หันไปเรียนสาขาอื่นกันหมด พวก วิทยาศาสตร์ อักษร วิศวะ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ บัญชี และอื่นๆกันหมด
คนพวกนี้ เก่งกว่าเด็กที่เรียนครุศาสตร์+ศึกษาศาสตร์แน่นอนครับ เค้าเรียนมาแน่นกว่าเยอะ

อนาคตเด็กก็ต้องไปกวดวิชากันหมด เพราะไม่เหลือครูเก่งๆมาสอนแล้ว
มีแต่ครูจากราชภัฏมาสอน (อาจจะบอกว่าครุ-ศึกษา ในมหาลัยชั้นนำก็มี แต่ยังไงก็คงสู้คณะอื่นๆไม่ได้อยู่ดี)
แล้วเมื่อไหร่เด็กจะเก่งซะที

1
Fz41 23 ก.ค. 61 เวลา 00:49 น. 8-1

เอาตรงๆนะค้ะ การมาดูถูกวิชาชีพครูว่าความรู้ไม่แน่น เรียนไม่เก่ง กลางๆ อย่าลืมทุกอาชีพในปัจจุบันก้จบมาด้วยคำว่าครู ผ่านการสอนจากคำว่าครูทั้งนั้นค้ะ วิทยาการที่เขาเก่งๆสอนติวให้เขาก้ไม่มานั่งสนใจเด็กเท่าครูหรอกค้ะ

0
porprasit 26 ส.ค. 53 เวลา 16:27 น. 9

ขอร้องว่า อย่ามาดูถูกเด็กศึกษาศาสตร์ กับ ครุศาสตร์นะครับ

ความรู้ของเราก็ไม่ได้เป็นรองใครเหมือนกัน

ถ้ามัวแต่มาดูถูกคนจบสายครู ก็อย่าหวังความเจริญเลยนะครับ

คนเก่งๆลงมาเรียนครูก็มีเยอะ ฉะนั้นอย่ามาดูถูกกันนะ

ผมก็เรียนครู ศึกษาศาสตร์ศิลปากร

ไม่จำเป็นว่าผมจะต้องด้อยกว่าคนอื่นเสมอไป

เราสามารถขวนขวายหาเพิ่มเติมได้และสติปัญญาก็สามารถเท่าเทียมคนอื่นได้เช่นกัน

ย้ำอีกครั้งว่า อย่ามาดูถูกคนเรียนครูให้มากนักนะ

0
คำว่าครูยิ่งใหญ่และกว้างใหญ่กว่าที่คิด 26 ส.ค. 53 เวลา 17:03 น. 10

บางวิชา เช่น คณิต ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ อังกฤษ จำเป็นต้องใช้ผู้ที่เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆนะครับ จึงจะสอนได้ดี และต่อยอดไปยังระดับมหาลัยได้ด้วย เพราะเขาเรียนมาด้านนั้นๆโดยตรง เวลาคุณไปสอนเด็ก คุณสอนวิชาครูให้เด็กนักเรียนรึเปล่าล่ะ ไม่ใช่ คุณไปสอนวิชาคณิต ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ อังกฤษ ส่วนวิชาครูคุณไปเรียนรู้เพิ่มเติมได้ แต่บางคนก็มีพรสววรรค์ด้านการสอนอยู่แล้ว ติวเตอร์ดังๆที่ไม่ต้องเอ่ยชื่อก็รู้จักกันดีเนี่ย หลายๆๆๆๆคนเขาก็ไม่ได้จบครูมาโดยตรงนะ (แต่อาจเรียนเพิ่มเติมภายหลัง เช่น ป.บัณฑิตครู) แต่เขาก็สอนได้ดีกว่าคนจบครู เพราะเขาไม่ได้สอนวิชาครูให้เด็ก แต่สอนวิชานั้นๆน่ะ&nbsp เด็กวิทยา เด็กสายมนุษย์ สังคม ก็เป็นติวเตอร์ได้ดียิ่งกว่าครูในห้องเรียนซะอีก เสียดายนะครับ ถ้าปิดกั้นโอกาสคนเหล่านี้ อย่างตัวผมก็อยากเป็นครูนะ แต่ทำไมไม่ไปเรียนศึกษาหรือครุล่ะ ก็เพราะว่าผมอยากได้ความรู้ด้านนั้นๆให้แน่นๆยังไงล่ะครับ ส่วนองค์ความรู้ด้านการสอนก็ไปเก็บเอาทีหลังได้ แต่อ่านหัวข้อกระทู้แล้วก็แอบเศร้าใจนะครับ เด็กศึกษาครุเตรียมเฮเพราะยกเลิก ป.ครู มันเหมือนบ่งบอกว่าเด็กพวกนี้สู้เด็กจบด้านนั้นๆมาโดยตรงไม่ได้ อย่างคนจบศึกษาวิทยาศาสตร์(ฟิสิกส์)กับคนจบวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ใครจะมีความรู้แน่นกว่ากันก็คิดดูเองเถอะ ถ้าให้เด็กสายวิทย์เลือกเรียนจะเลือกเรียนกับคนไหนก็คิดดูเองอีกเช่นกัน ซึ่งคำถามเหล่านี้ผมเคยคุยกับเพื่อนตอน ม.ปลายเมื่อนานนนนนนนมาแล้ว เพราะที่โรงเรียนมีทั้งครูที่จบศึกษา กับครูจบวิทยา ครูจบอักษร อะไรประมาณเนี้ยะ ทำให้พวกผมเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจนเลยระหว่างครูสองกลุ่มนี้ ก็แค่ความเห็นหนึ่งเท่านั้นครับ ไม่อยากให้คิดว่าคนที่จะเป็นครูได้ต้องจบครูมาเท่านั้น มันเป็นความหมายที่แคบเกินไป

0
So bad 26 ส.ค. 53 เวลา 18:35 น. 11

คห.9

ผมไม่ได้ดูถูกซะหน่อยนะ
คุณกล้าพูดรึเปล่าหล่ะว่าเก่งเลขกว่าวิศวะ
คุณเก่งอังกฤษกว่าเด็กอักษร มนุด ศิลปศาสตร์
คุณเก่งสังคมกว่า นิติ+รัฐศาสตร์
- -+


บางอย่างต้องอาศัยความรู้จริงในวิชาครับ
อย่างผมเองเนี่ย มีอาจารย์จากราชภัฏมาสอน
ผมยอมรับเลยครับว่า ความรู้ที่เค้ามี น้อยกว่าเพื่อนในห้องบางคนเสียอีก
บางทีพอเด็กถาม ก็ตอบไม่ได้

แล้วจะดีกว่ามั๊ยถ้าเปิดโอกาสให้เด็กคณะอื่นมีโอกาสเป็นครูบ้าง

0
i.crazy.snd 26 ส.ค. 53 เวลา 19:11 น. 12

ให้พูดตรงๆเลยไหมครับ พูดง่ายๆนะ การเรียนบางวิชามันต้องอาศัยความรู้ที่ลึก แน่จริง และ แม่นยำ แล้วถ้าเป็นแบบนี้ละ อะไรจะเกิดขึ้น


PS.  ♥♥ Tormorrow To Be Better ~~ <We're Do It For My Future> ♥♥
0
สลัมบอมเบ 26 ส.ค. 53 เวลา 20:41 น. 13

ทุกคนลองเปรียบเทียบคนที่จบครูกับคนที่จบวิชาเฉพาะทางที่สามารถเป็นครูได้&nbsp  ใครจะมีความรู้กว้างกว่ากัน???

0
justincu 26 ส.ค. 53 เวลา 21:24 น. 14

ผมก็เห็นด้วยนะครับ ที่ให้คนที่จบสาขาอื่นสามารถเรียนเป็นครูได้
เพราะผมก็อยากทำแบบนั้นเหมือนกัน

แต่ว่า คห.11 ครับ

อันดับแรกเลย กรุณาให้เกียรติมหาวิทยาลัยราชภัฎฯ ด้วยนะครับ แม้ว่าภาพรวมอาจจะด้อยไปกว่ามหาวิทยาลัยอื่นบ้าง
แต่ครูดีๆหลายๆท่านที่ผมรู้จักก็จบจากมหาวิทยาลัยราชภัฎนะครับ

อันดับต่อมา ผมกล้าพูด "เก่งอังกฤษกว่าเด็กอักษร มนุด ศิลปศาสตร์"
มันมีแน่ๆครับ คุณครูที่เก่งภาษามากๆหน่ะ หลายคนด้วย เท่าที่ผมรู้จักก็ไม่ต่ำกว่า 3 คนแล้วครับ
ท่านยังเป็นครูที่ดี มีประสิทธิภาพมากอีกด้วย ไม่ด้อยกว่าคนที่จบ อักษร มนุษย ศิลปศาสตร์ เลย

ผมรู้ว่าคุณไม่ได้คิดจะดูถูกคนเรียนครุศาสตร์ แต่คำพูดของคุณเนี่ย
เป็นการประเมินความสามารถคนจบครุฯ ต่ำไปนะครับ 
แถมยังส่อไปในทางดูถูกมหาวิทยาลัยราชภัฎด้วย

ขอบคุณครับ 



แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 26 สิงหาคม 2553 / 21:38


PS.  เด็ก Admission'54 สู้เว้ย!! ม.6 ปีสุดท้ายแร้ว ! ^^ จะเข้าอักษรศาสตร์/ครุศาสตร์ จุฬาฯ ให้ได้
0
porprasit 26 ส.ค. 53 เวลา 23:14 น. 15

^
^
^
^
ตามบนนั้นเลย ผมไม่เถียงว่าเลขอาจจะเก่งไม่พอ แต่ถ้ามีคนเก่งกว่าล่ะ???ว่าไง

แล้วประทานโทษเถอะ อีกหน่อยสงสัยเราคงต้องมีครูสอน ภูมิศาสตร์ สอนกฎหมาย สอนอะไรต่อมิอะไรมากมาย
ในโรงเรียนมัธยมอย่างนั้นหรือ ในเรื่องการสอนวิชาสังคม
ถามว่า ครูสายสังคม ถ้าจบมาสอนกฎหมายได้ไหมก็ได้ ถ้าอ่านเพิ่มเติม ก็สามารถอธิบายได้อย่างลึกซึ้ง
และถ้าเรียนนิติกฎหมายสายตรง ถ้าไม่ศึกษาเศรษฐศาสตร์ให้ดีล่ะ สอนได้หรือไม่???? สอนได้ต้องไปอ่านเพิ่มเติม
แน่นอน เราไม่สมควรเป็นอย่างยิ่งที่จะมาบอกว่า ถ้าปิดกั้นตรงนี้แล้ว จะไม่มีครูที่มีคุณภาพ ครูเก่งๆ ครูแน่นๆ มาสอนเด็กนักเรียน

เป็นทัศนคติที่ผิดอย่างมากขอบอก คนเรามันพัฒนากันได้ อย่ามาตัดสินที่สายการเรียนจบมา

ไม่งั้นเค้าคงไม่ตั้งศึกษาศาสตร์มาให้เปลืองงบประมาณหรอกมั้ง ยุบมันซะเลยยังจะดีกว่าไหมล่ะ แล้วใครอยากเป็นครูสอนอะไรก็ไปเรียนเอาคณะนั้นแล้วกัน เอาไหมล่ะ

0
So bad 26 ส.ค. 53 เวลา 23:30 น. 16

คห. 14 ครับ

ผมไม่ได้ดูถูกอาจารย์จากราชภัฏนะครับ แต่ผมพูดไปตามสิ่งที่ผมได้เห็นมากับตัวเอง และเหตุการณ์เหล่านั้นก็เกิดขึ้นจริงแล้ว
คุณลองคิดดูนะครับ อาจารย์จากราชภัฏ จะสามารถสอนให้เด็กติดจุฬา ได้รึเปล่า ถึงได้ โอกาสก็น้อยมากครับ
( เด็กคนนั้นห้ามเรียนกวดวิชาที่ไหนเสริมนะครับ ให้เรียนกับอาจารย์จากราชภัฏคนเดียวเลย )
(&nbsp ถ้าคุณไปเรียนกวดวิชา มีคนหนึ่งจบจากราชภัฏ กับอีกท่าน จบจาก จุฬา ธรรมศาสตร์ หรือมหาลัยชั้นนำ คุณจะเลือกเรียนกับใครดีล่ะ )
ผมยอมรับครับ ว่าอาจารย์จากราชภัฏมีความสามารถในระดับหนึ่ง แต่ถ้าอยู่ม.6 ก็ควรเอาอาจารย์จากคณะอื่นๆมาสอนจะดีกว่า
อีกอย่าง ผมเห็นอาจารย์จากราชภัฏมาสอน ก็ไม่เคยมีใครฟังซักคน - -+ เด็กม.ต้นวิ่งในห้องยังไม่สนใจเลย

ผมเคยเรียนที่โรงเรียนแห่งหนึ่งนะครับ
มีอาจารย์จากคณะอักษรศาสตร์ กับอาจารย์จากคณะครุ-ศึกษา ของมหาลัยแห่งหนึ่ง
ผมเห็นได้ชัดถึงความรู้ที่แตกต่างกัน มันทำให้ผมทราบว่า ถ้าโรงเรียนมีแต่อาจารย์จากคณะครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์ มันคงแย่แน่ๆ

แล้วที่คุณบอกว่า 3 คน มันพอกินมั๊ยครับ??? โรงเรียนมีตั้งเท่าไหร่
ถ้าได้คนจากคณะอื่นมารวมๆกัน มันก็จะเยอะขึ้นๆๆ จนเพียงพอต่อความต้องการของชาติได้ครับ
ถ้าอยากเห็นความแตกต่าง ก็ลองเอาคะแนนของคณะครุ-ศึกษา เทียบกับคณะอื่นๆในมหาวิทยาลัยเดียวกันได้เลยครับ
^____^


พี่แนน อักษร จุฬา
ครูสมศรี อักษร จุฬา
ครูพลอย อักษร จุฬา
จะดีกว่ามั๊ย ถ้ามีอาจารย์ในระดับเดียวกับติวเตอร์มากความสามารถเหล่านี้ สอนในโรงเรียนทั่วไป ^___^

0
So bad 26 ส.ค. 53 เวลา 23:36 น. 17

คห. 15 ครับ
ผมเรียนนะครับ ภูมิศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ กฏหมายเบื้องต้นในรายวิชาสังคม (ถ้ามีอาจารย์จากครุ-ศึกษาที่ถนัดสุดๆ ก็สอนได้ครับ ไม่เห็นเป็นไรนี่นา)
แล้วเค้าก็ไม่ได้สอนทุกสาระในเทอมเดียวกันนี่นา
เค้าแบ่งออกเป็นเทอมๆ เทอมละเรื่องๆ

ม.4 อาจจะเรียนเศรษฐศาสตร์ ก็เอาอาจารย์ที่ถนัดสาขานั้นมาสอนสิครับ ถ้าเป็นอาจารย์จากครุ ศึกษาถ้าเก่งก็ไม่เป็นไรนี่นา
แต่ผมแค่ไม่เห็นด้วยที่จะให้อาจารย์จากครุ ศึกษา เต็มโรงเรียนแบบที่ผู้ใหญ่ใจดีๆกำลังทำกันอยู่

ผมเองตอนนี้ขอบอกเลยว่า
เพื่อนๆผมที่เรียนครุ ศึกษา จะค่อนข้างไม่ชอบเรียนตัดเกรดกับคณะอื่น

เช่นอาจารย์เอกอังกฤษ ก็ไม่อยากไปเรียนตัดกับอักษร เพราะอะไรล่ะ เพราะเกรดมันได้น้อยไงล่ะ!

0
คำว่าครูยิ่งใหญ่และกว้างใหญ่กว่าที่คิด 27 ส.ค. 53 เวลา 00:27 น. 18

สำหรับผมวิชาอื่นไม่ได้มีปัญหาไรเลยนะ ภาษาไทย สังคม หรือวิชาอื่นผมไม่อยากให้เอามาคิดแบบเดียวกัน แต่ขอแค่วิชาวิทย์ ม.ปลาย แค่นี้แหละ คณิต ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ (อังกฤษด้วยก็ดีนะ) ที่จะขอเป็นข้อยกเว้น ให้ช่วยเปิดโอกาสให้ผู้ที่จบด้านนั้นๆโดยตรงมาสอนเถอะ เพราะวิชาเหล่านี้มันสำมะคัญจริงๆๆๆๆๆ กะจะไปเก็บตอนมหาลัยน่ะเรียนไม่รู้เรื่องหรอกครับ ของอย่างนี้มันต้องปูพื้นฐานให้แน่นตั้งแต่ ม.ปลาย และความรู้เหล่านี้มันก็จะต่อยอดเข้าไปในสาขาวิชาชีพต่างๆด้วย และสุดท้ายก็จะส่งผลดีต่อประเทศชาติโดยรวม ถ้าได้ครูเก่งๆมาสอนในระดับม.ปลายก็จะดีมาก เด็กศึกษาเก่งๆก็มี (มั๊ง) แต่ไม่รู้สิ ผมอยากเรียนกับนักวิทยาศาสตร์ตัวจริงมากกว่าน่ะครับ คิดอย่างงี้ตั้งแต่สมัยเรียนแล้ว

0
Little-Killer 27 ส.ค. 53 เวลา 02:22 น. 19

 คุรุสภากำลังทำอะไรอยู่นี่

นั่งเทียนแก้ปัญหา?


PS.  ความจริงกับความฝันย่อมมีเส้นทางมาบรรจบ
0
เทพธิดาฟ้าใส 27 ส.ค. 53 เวลา 11:46 น. 20
สำหรับเรามองว่า
การทำแบบนี้อาจจะเปิดโอกาสให้คนที่จบมาโดยตรง
แต่จะปิดโอกาสคนที่จบสายอื่นมา
เราเห็นด้วยนะว่า
บางวิชา ต้องใช้ความรู้เฉพาะของวิชานั้นๆ

แต่เราอยากให้สังคมเปิดโอกาสให้กับคนที่จบสายอื่นมาเป็นครูได้เหมือนแต่ก่อนน่าจะดีกว่า

ตัวอย่างที่เคยพบมานะ คนที่จบ นิติ ก็มาเป็นครูสอนหน้าที่พลเมือง
คือมีความรู้ทางด้านกฎหมาย

คนที่จบจากคณะมนุษย์ เช่น ภูมิศาสตร์  ประวัติศาสตร์  ก็จะมีความรู้ในด้านนั้นๆ ได้แม่นยำกว่าและที่สำคัญจะเป็นการเปิดโอกาสให้กับคนที่มีความสามารถและมีพนสวรรค์ในด้านการสอน
แต่เผอิญเลือกคณะผิดไม่ได้เลือกครุ+ศึกษา อะไรทำนองนี้

จะเป็นการให้โอกาสมากกว่าไหม  คนเก่งต้อ + พรสวรรค์นะ

บางครั้งคนที่เก่งๆสอนได้ก็จริงแต่เข้าใจเขาแค่คนเดียว
สอนไม่รู้เรื่องอะไรทำนองนี้

การเป็นครูถึงไม่ใช่เรื่องง่ายๆไง
ลองเปิดโอกาสให้กับคนอื่นๆดูบ้างก็ไม่เสียหายนี่นา
สังคมไทยต้องมีน้ำใจนะคะ
ไม่ใช่เห็นแก่ตัว  เห็นแก่ได้
จริงอยู่ว่าชีวิตคือการแข่งขัน ดิ้นรน 
ถึงจะอยู่รอด แต่ในความเป็นจริง...คุณมีความสุขไหมกับชีวิตแบบนั้น
เหนื่อยทั้งกายและใจ  ที่สำคัญอยู่ด้วยความหวาดระแวง
ไม่สามารถไว้ใจใครได้อย่างสนิทใจ  ไม่มีรอยยิ้ม  ไม่มีเสียงหัวเราะ
มีแต่ความเครียด
ไม่อยากให้เป็นแบบนี้เลยคนไทย....

PS.  การรอคอย...หาใช่สิ่งที่ใจข้าปรารถนาไม่... มันเจ็บปวดอยู่ทุกครั้งเมื่อรู้ว่าท่านไม่กลับมา... ฝากคอมเม้นท์นิยายเราด้วยน้าคะ รักมากมาย^^
1
Fz41 23 ก.ค. 61 เวลา 01:03 น. 20-1

เห้นด้วยนะค้ะ แต่อย่างนั้นจะมีศรุศาสตร์ไว้ทำไมค้ะ ไม่มีก้เหมือนกันใครก้เป็นครูได้แล้วจะมีวิชาชีพนี้เพื่อไร ?

0