Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

เพลงนี้ถวายเป็นสังฆะบูชาแด่ "หลวงตาพระมหาบัว"

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่


เพลงตามรอยบัว
โดยคุณโจโฉ

PS.  ทันโต เสฏโฐ มนุสเสสุ แปลว่า ในหมู่มนุษย์ผู้ที่ฝึกแล้วประเสริฐ

แสดงความคิดเห็น

>

17 ความคิดเห็น

นทพ.มนวีร์ สุนทรโกมล 15 ก.ย. 53 เวลา 21:55 น. 1
  ทำไมต้องทำเป็นเพลงด้วย..อ่าครับ มันบาป ลองเข้าไปดูในอาทิตตปริยายสูตรสิครับ ฟังเพลงแล้วถ้าเกิดมีคนติดเสียงว่าเพราะ ก็ตกนรกไปให้เขาเอาเหล็กแดงแทงหู อีก แล้วคนทำก็จะบาปตาม รักและเคารพหลวงตา ทำไมไม่ศึกษาธรรมจากพระไตรปิฎกแล้วนำไปปฏิบัติเพื่อให้พ้นทุกข์เล่า...
www.samyaek.com 

PS.  ใครอยากสมหวังทุกอย่างที่อยากได้ ใครอยากพ้นทุกข์หรือทำอะไรก็ได้ทุกอย่างแต่ต้องใช้เวลา พระพุทธเจ้าท่านบอกทางไว้แล้ว www.samyaek.com
0
นายแสนดี 16 ก.ย. 53 เวลา 02:55 น. 2
สวัสดีครับ

อย่าเข้าใจผิดนะครับ
ในประเด็นที่ว่า "ฟังเพลงธรรมะจะทำให้ตกนรก"

ดูง่ายๆจากเรื่องพื้นๆเป็นเบื้องต้นก่อนนะครับ เรื่องศีลห้านี้แหละ
สำหรับศีลห้า พระพุทธเจ้าไม่ได้ห้ามอุบาสก  อุบาสิกาฟังเพลงนะครับ (แต่ศีลแปดห้าม)

แล้วที่สำคัญเพลงพวกนี้เป็นเพลงธรรมะด้วย
แน่นอนฟังแล้วทำให้เกิดจิตที่เป็นกุศล สร้างศรัทธา สร้างวิริยะ ฯลฯ
เกิดความเพียรในการศึกษา การปฏิบัติ ฟังแล้วยิ่งมีกำลังใจในการปฏิบัติธรรม
จิตพวกนี้เป็นจิตกุศลนะครับ เป็นต้นทางของการปฏิบัติ
เป็นไปไม่ได้ที่จะลงสู่อบาย

ส่วนเรื่องจะปาบหรือไม่ปาบเอาอะไรมาวัดกันล่ะครับ
ฆารวาสฟังเพลงธรรมะมันผิดร้ายแรงขนาดนั้นเชียวหรือ?


เรามาดูเรื่องราวในสมัยพุทธกาลกันดีกว่าชัดเจนดี

รู้ไหมครับว่าการสวดมนต์ สาธยายพระสูตรนี้ก็ถือว่าเป็นเพลงนะ
(โดยเฉพาะของมหายานจะชัดเจนกว่าเถรวาทมาก)


เคยได้ยินบทสวดทำนองสรภัณญะไหมครับ นี้ก็ถือว่าเป็นเพลงนะ

ในพุทธกาลมีสาวกไปทูลถามพระพุทธเจ้าว่าสวดพุทธวจนะเป็น
ทำนองสรภัณญะได้ไหม เพราะพุทธเจ้าทรงตอบว่าสวดได้

อีกที่หนึ่งก็ในพระวินัยปิฎกนั้นแหละครับเล่าไว้ว่า
พระโสณกุฏิกัณณะ
ลัทธิวิหาริกของพระมหากัจจายนะถูกพระอุปัชฌายะส่งไปเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อทูล
ขอให้พระองค์ทรงลดหย่อนสิกขาบทบางข้อ พระโสณกุฏิกัณณะพักอยู่ที่เดียวกับพระพุทธเจ้า
ได้สวดพระพุทธวจนะส่วนที่เรียกว่า "อัฏฐกวรรค" โดยทำนองสรภัญญะ ให้พระพุทธเจ้าฟัง

ผมขอถามคุณบ้าง......พระพุทธเจ้าร้องเพลงไหม?..

ให้เวลาคิด (ตามลมหายใจตั้งสติ ๕ วินาที)






















ตอบนะครับว่า ร้องครับ เวลาพระพุทธเจ้าท่องสาย ปฏิจจสมุปบาท ท่านสวดเป็นทำนองนะครับ

ส่วนในอาทิตตปริยายสูตร นั้นก็ไม่ได้บอกเลยว่าห้ามฟังเพลงนะครับ
เพียงแต่พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมว่า
อายตนะทั้ง ๖ และสิ่งที่อายตนะทั้งได้รับรู้นั้น
เมื่อเจือด้วยราคะ โทสะ โมหะ จะทำให้ร้อนรุ่ม(เป็นของร้อน)

คำว่า "โสตเป็นของร้อน" ในที่นี้ (ในพระสูตร)
ไม่ได้หมายถึงเฉพาะเสียงเพลงอย่างเดียวนะครับอย่าเข้าใจผิด
เสียงทุกชนิตที่มากระทบหู หากเจือด้วยราคะ โมหะ โทสะ ล้วนเป็นของร้อนทั้งสิ้น
ต้องยังไงล่ะทีนี้ ถ้าเสียงทุกเสียงเป็นของร้อนหมด
ทำให้หูเราหนวกหรอ? เพื่อจะได้ไม่ได้ยินเสียงหรอ จะไม่ร้อน?
ก็ไม่ใช่อีกนั้นแหละครับ

แต่พระพุทธเจ้าได้กล่าวต่อไปว่า

ผู้เป็นอริยะบุคคลที่หมดสิ้นซึ่งอาสวะกิเลส หมดแล้วซึ่งความกำหนัด
จะไม่ยินดี ยินร้าย ในสิ่งที่มากระทบ เพราะหมดเชื่อแห่งราคะ โมหะ โทสะแล้ว
ความร้อนย่อมดับไป

นี้ครับคือเนื้อหาของอาทิตตปริยาสูตร


แล้วก็อย่าได้ตำหนิผมเลยครับที่เอาเพลงธรรมะเพลงนี้มาแบ่งปัน
เพราะผมถือว่ามันเป็นการสร้าง สัมมาทิฏฐิ ชั้นต้น
อาจทำให้ผู้ที่ได้ยินได้ฟังสนใจในธรรมะเมื่อมันเพลงนี้จบ

นี้มันไม่ใช่เพลงรักๆใคร่ๆ คงไม่มีใครหลงสิเนหาจนถึงขั้น
ที่เมื่อได้ฟังเพลงนี้แล้วต้องไปก่อเวรก่อกรรมอะไร
ที่ไม่ดีเพราะฟังเพลงธรรมะหรอกนะครับ

----------------------------------------------------------------------------------
ปัจฉิมลิขิต

การปฏิบัตินั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวนะครับ
การปรามาสคนโน้นคนนี้บ่อยๆมันไม่ดีนะครับ
ไม่เกิดประโยชน์หรอก หากสนใจพระไตรปิฏก
หรืออยากจะรักษาพระพุทธศาสนา
ก็ให้น้อมนำเอามาไว้ที่กาย ที่ใจ ประพฤติ ปฏิบัติให้ดี
ศึกษาพระไตรปิฏกแล้วก็ต้องเอามาใช้ได้

เช่น ถ้าโกรธก็ต้องรู้ทั้นว่าตอนนี้โกรธแล้วนะ
ดีดมันออกไปซะ ภาษาพระเรียกว่า "ละนันทิ" (ละความหลงเพลินในอารมณ์)
อันนี้สำคัญนะ

ผมเองก็พอจะศึกษาพุทธวจนะมาบ้าง
ก็ไม่ได้คิดว่าตนเองวิเศษกว่าคนอื่นเท่าไรหรอก
ศึกษาเพื่อจะรู้ รู้แล้วก็วาง อย่าเอาพระไตรปิฏกมาค้ำคอไว้
เป็นคนธรรมดาๆนี้แหละ อย่าไปคิดว่าเราเหนื่อกว่าใคร
เพราะมันเป็น
มิฉาทิฐิ (มานะ ๖) ตัวอัตตา (ตัวกู-ของกู) มันจะพอง
อ่านแล้วรู้แล้ว ต้องมีสติด้วย เพราะถ้าสติตามไม่ทันมันจะพลิกกลายเป็นมิจฉาทิฐิ

ผมเอาธรรมะมาพูดนะครับ
ถ้าทำให้คุณไม่สบายใจก็ขออภัยจริงๆ


แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 16 กันยายน 2553 / 03:03
แก้ไขครั้งที่ 2 เมื่อ 16 กันยายน 2553 / 03:19
แก้ไขครั้งที่ 3 เมื่อ 16 กันยายน 2553 / 03:10

PS.  ทันโต เสฏโฐ มนุสเสสุ แปลว่า ในหมู่มนุษย์ผู้ที่ฝึกแล้วประเสริฐ
0
นทพ.มนวีร์ สุนทรโกมล 16 ก.ย. 53 เวลา 19:21 น. 3

1.พระไตรปิฎก ไม่มีบันทึกไว้ว่าให้สวดเป็นสรภัญญะได้ ใครบอกคุณมา ฝากไปบอกว่า มั่วแล้ว
2.อันตรายของการบันเทิง ก็ปรากฏอยู่มากมาย ตามพระไตรปิฎก ติดเสียงบาปอยู่แล้ว แน่นอน ไม่เกี่ยวกับเนื้อหา อันนั้นยกไว้ก่อน แต่ถ้าติดเสียงว่าเพราะ ตกนรกโดนเหล็กแหลมติดไฟแทงหู....
อันตรายของวงการบันเทิง     เล่ม   29    หน้า   181

......นักเต้นรำย่อมรวบรวมไว้ซึ่งธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ (ความหลง)   
ในท่ามกลางสถานเต้นรำ   ในท่ามกลางสถานมหรสพแก่สัตว์เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น   
นักเต้นรำนั้น ตนเองก็มัวเมาประมาท  ตั้งอยู่ในความประมาท   เมื่อแตกกายตายไป  ย่อมบังเกิดในนรกชื่อปหาสะ....   

อาทิตตปริยายสูตร  เล่ม 28 หน้า 357
 3.

๘.  อาทิตตปริยายสูตร
ว่าด้วยอาทิตตปริยายและธรรมปริยาย
[๓๐๓]  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอาทิตตปริยายและธรรม
ปริยายแก่เธอทั้งหลาย   เธอทั้งหลายจงฟัง   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   อาทิตต-
ปริยายและธรรมปริยายเป็นไฉน.     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    บุคคลแทงจัก-
ขุนทรีย์(แทงตา)ด้วยหลาวเหล็กอันร้อนไฟติดลุกโพลงแล้ว    ยังดีกว่า    การถือนิมิต
โดยอนุพยัญชนะในรูป    อันจักขุวิญญาณพึงรู้แจ้ง    จะดีอะไร    วิญญาณ
อันตะกรามด้วยความยินดีในนิมิต      หรือตะกรามด้วยความยินดีใน
อนุ
พยัญชนะ  เมื่อตั้งอยู่ก็พึงตั้งอยู่ได้  ถ้าบุคคลพึงทำกาลกิริยาเสียในสมัยนั้น
ไซร้  ข้อที่บุคคลจะพึงเข้าถึงคติ  ๒  อย่าง  คือ  นรกหรือกำเนิดสัตว์
เดียรฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง  ก็เป็นฐานะที่จะมีได้  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเห็นโทษอันนี้  จึงกล่าวอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  บุคคลเกี่ยวโสตินทรีย์(หู)ด้วยขอเหล็กอันคม ไฟติดลุกโพลงแล้ว  ยังดีกว่า  การถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในเสียงอัน
โสตวิญญาณ(หู)พึงรู้แจ้ง  จะดีอะไร  วิญญาณนิมิตโดยอนุพยัญชนะในเสียงอัน นิมิตหรือตะกรามด้วยความยินดีในอนุพยัญชนะเมื่อตั้งอยู่ก็พึงตั้งอยู่ได้ ถ้าบุคคลพึงทำกาลกิริยาเสียในสมัยนั้นไซร้  ข้อที่บุคคลจะพึงเข้าถึงคติ
๒  อย่าง  คือ  นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง  ก็เป็นฐานะ จะมีได้   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   เราเห็นโทษอันนี้    จึงได้กล่าวอย่างนี้.



PS.  ใครอยากสมหวังทุกอย่างที่อยากได้ ใครอยากพ้นทุกข์หรือทำอะไรก็ได้ทุกอย่างแต่ต้องใช้เวลา พระพุทธเจ้าท่านบอกทางไว้แล้ว www.samyaek.com
0
นทพ.มนวีร์ สุนทรโกมล 16 ก.ย. 53 เวลา 19:23 น. 4
ส่วนที่คุณอ้างมานั้น คนที่เป็นต้นความคิดเป็นข้ออ้างที่บิดเบือนพระไตรปิฎก อย่างสิ้นเชิง ท้าให้ไปหาเลยครับไม่มีหรอกว่าพระพุทธเจ้าทรงอนุญาต พระธรรมของพระพุทธเจ้า ไม่ขัดกันเองอยู่แล้ว  คนแบบนี้นรกอเวจี รออยู่

แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 16 กันยายน 2553 / 19:43

PS.  ใครอยากสมหวังทุกอย่างที่อยากได้ ใครอยากพ้นทุกข์หรือทำอะไรก็ได้ทุกอย่างแต่ต้องใช้เวลา พระพุทธเจ้าท่านบอกทางไว้แล้ว www.samyaek.com
0
นทพ.มนวีร์ สุนทรโกมล 16 ก.ย. 53 เวลา 19:27 น. 5
ธรรมก็ส่วนธรรม เสียงที่เป็นโทษก็ส่วนเสียงที่เป็นโทษ ควรหรือ เอาของประเสริฐ ไปใส่ในสิ่งที่เป็นโทษ....  คนที่ฟังแล้วติดเสียงว่าเพราะเยอะแยะไป พาคนลงนรกได้เยอะอยู่หรอกครับ แบบนี้...
PS.  ใครอยากสมหวังทุกอย่างที่อยากได้ ใครอยากพ้นทุกข์หรือทำอะไรก็ได้ทุกอย่างแต่ต้องใช้เวลา พระพุทธเจ้าท่านบอกทางไว้แล้ว www.samyaek.com
0
นทพ.มนวีร์ สุนทรโกมล 16 ก.ย. 53 เวลา 21:32 น. 6

 หวังดีหรอกนะครับ....ถึงเตือน ไม่ได้ เจตนาร้ายแต่อย่างใด


PS.  ใครอยากสมหวังทุกอย่างที่อยากได้ ใครอยากพ้นทุกข์หรือทำอะไรก็ได้ทุกอย่างแต่ต้องใช้เวลา พระพุทธเจ้าท่านบอกทางไว้แล้ว www.samyaek.com
0
นายแสนดี 16 ก.ย. 53 เวลา 21:39 น. 7
คำสองของพระพุทธเจ้าไม่ขัดกันแน่นอนอยู่แล้ว
แต่ที่มันดูจะขัดเพราะผู้ศึกษาเข้าใจผิด


ประเด็นที่ ๑
ที่ผมบอกว่าพระพุทธเจ้าอนุญาติให้
สามารถสวดเป็นทำนองสรภัณญะได้นี้
ผมไม่ได้กล่าวลอยๆแต่มีในพุทธวจน.


1.พระไตรปิฎก ไม่มีบันทึกไว้ว่าให้สวดเป็นสรภัญญะได้ ใครบอกคุณมา ฝากไปบอกว่า มั่วแล้ว

เรื่องที่พระภิกษุมาทูลถามพระพุทธเจ้าว่าสวดสรภัณญะได้หรือเปล่า
ผมฟังมาจากพระอาจารย์คึกฤทธิ์ (วัดนาป่าพง)
พอดีไปวัดนาป่าพงมาเมื่อวันเสาร์



ประเด็นที่ ๒
คุณยกเอาพระสูตรมาอ่านความว่า

อันตรายของวงการบันเทิง     เล่ม   29    หน้า   181

......นักเต้นรำย่อมรวบรวมไว้ซึ่งธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ (ความหลง)   
ในท่ามกลางสถานเต้นรำ   
ในท่ามกลางสถานมหรสพแก่สัตว์เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น   
นักเต้นรำนั้น ตนเองก็มัวเมาประมาท  ตั้งอยู่ในความประมาท   
เมื่อแตกกายตายไป  ย่อมบังเกิดในนรกชื่อปหาสะ....   


ดูในบริบทแล้วในการที่อ้างพระสูตรนี้ กับประเด็นเรื่องเพลงธรรมะ
มันเป็นคนละเรื่องกันนะครับ ถ้าแจกแจงคือ
๑ ในที่นี้ท่านพูดถึงนักเต้นรำ มันคนละเรื่องกับเพลงธรรมะ
(แต่ก็พอจะเหมารวมกันได้ เพราะเป็นศิลปะที่สัมพันธ์กันเป็นดนตรีเหมือนกัน
แต่ถึงกระนั้นถ้าดูในวัตถุประสงค์แล้วไม่เหมือนกัน อันหนึ่งฉุดขึ้น อันหนึ่งฉุดลง)
๒ ในที่นี้ที่กล่าวว่า
"นักเต้นรำนั้น ตนเองก็มัวเมาประมาท  ตั้งอยู่ในความประมาท   เมื่อแตกกายตายไป  ย่อมบังเกิดในนรกชื่อปหาสะ...."
 
แน่นอนถ้ามาเทียงกับเพลงธรรมะต้องดูว่าผู้ร้องประมาทหรือเปล่า (ผู้ประมาทคืออะไร)
๓ ในที่นี้ที่พระสูตรกล่าวว่า
"นักเต้นรำย่อมรวบรวมไว้ซึ่งธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ (ความหลง)ในท่ามกลางสถาน เต้นรำในท่ามกลางสถานมหรสพแก่สัตว์เหล่านั้น"  เพลงธรรมะจะไปร้องในโรงมหรสพที่ไหนได้ครับ ผับ บาร์
เขาไม่ร้องเพลงธรรมะหรอก
พิจารณาดูแล้วมันเป็นคนละเรื่องกับเพลงธรรมะ

ประเด็นที่ ๓
ที่คุณยกเอาพระสูตมาอ้างว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  บุคคลเกี่ยวโสตินทรีย์(หู)ด้วยขอเหล็กอันคม
ไฟติดลุกโพลงแล้ว  ยังดีกว่า  การถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในเสียงอัน
โสตวิญญาณ(หู)พึงรู้แจ้ง  จะดีอะไร  วิญญาณนิมิตโดยอนุพยัญชนะในเสียงอัน
นิมิตหรือตะกรามด้วยความยินดีในอนุพยัญชนะเมื่อตั้งอยู่ก็พึงตั้งอยู่ได้
ถ้าบุคคลพึงทำกาลกิริยาเสียในสมัยนั้นไซร้  ข้อที่บุคคลจะพึงเข้าถึงคติ
๒  อย่าง  คือ  นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง  ก็เป็นฐานะ จะมีได้  
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   เราเห็นโทษอันนี้    จึงได้กล่าวอย่างนี้.

นี้เป็นหลักธรรมระดับพระสงฆ์นะครับ
พระพุทธองค์ท่านตรัสกับภิกษุ

ผมขอเน้นให้ดูที่ระดับศีล ๕ นะครับ
เพราะเป็นเบื้องต้นสำหรับคนทั่วๆไป
ก็ไม่ได้ห้ามไว้ อย่าว่าแต่เพลงธรรมะเลย
แม้มหรสพ ฟ้อนรำ ก็ไม่ได้ห้ามชม
(ลองพิจารณาง่ายๆ ว่าถ้า ฟังเพลงธรรมะ
กับฟังเพลงทางโลก ควรจะสนับสนุนส่งเสริมให้คนธรรมดาฟังอะไร)

และสำหรับเพลงธรรมะกับฆารวาส
ยังเป็นตัวเสริมพละ๕ด้วย ในเรื่องของ "ศรัทธา"
เป็นการส่งเสริมให้คนมีกำลังใจที่
พัฒนาตัวเองต่อไปในด้านการศึกษาธรรมะ


มันน่าส่งเสริมมิใช่หรือ
(ส่วนต่อไปถ้าเขาจะพัฒนาตนเองในระดับที่สูงขึ้นก็อีกเรื่องหนึ่ง เช่นศีล ๘ นี้ก็ฟังไม่ได้แล้ว
นี้ชัดเจนนะครับ พระพุทธเจ้าพระองค์จำแนกเป็นระดับ ระดับ)

ประเด็นที่ ๔ (สุดท้าย)
คุณบอกว่า
ธรรม ก็ส่วนธรรม เสียงที่เป็นโทษ
ก็ส่วนเสียงที่เป็นโทษ ควรหรือ
เอาของประเสริฐ ไปใส่ในสิ่งที่เป็นโทษ.... 
คนที่ฟังแล้วติดเสียงว่าเพราะเยอะแยะไป
พาคนลงนรกได้เยอะอยู่หรอกครับ แบบนี้...


ถ้าจะกล่าวอย่างที่คุณบอกมา

ก็แสดงว่าพุทธศิลป์ทั้งหมดเป็นการลากพาคนไปอบายเช่นกัน
เพราะผู้คนจะรับรู้งานศิลป์เหล่านี้ได้โดยผ่านการรับรู้ทาง ตา หู แทบทั้งสิ้น
ไม่ว่าจะเป็นภาพวาดจิตรกรรมฝ่าผนังโบสถ์
สถาปัตยกรรมวัดวาอาราม หรือกระทั่งองค์พระปฏิมา
สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นงานศิลปะทั้งสิ้น
เฉกเช่นเดียวกับบทเพลงธรรมะ

นอกจากนี้ก็ยังมีบทสวดมนต์ทำนองสรภัณญะ
การเทศน์์มหาชาติ

ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงนี้ก็ผิดหมดสิครับ


มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้แนบมาด้วย
เพื่อจะพอศึกษาเป็นแนวทาง
เป็นธรรมเทศนาของท่าน ป.อ.ปยุตโต
เรื่อง
ดนตรีสื่อธรรม ถ้างานวัดยังดี วัฒนธรรมก็ยังมี เพิ่มทวีศีลสมาธิปัญญา
พูดคุยกับพระนวกะ ๓ พ.ค. ๒๕๕๑
ศึกษาเป็นความรู้ประกอบได้
ท่านอ้างพระไตรปิฏกเช่นกัน


http://www.dhammathai.org/sounds/pa_payutto/2551/27.wma

**ขอเน้นย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า พุทธวจน. ไม่ขัดแย้งกันครับ
แต่การเข้าใจนั้นคลาดเคลื่อนได้


แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 16 กันยายน 2553 / 21:49
แก้ไขครั้งที่ 2 เมื่อ 17 กันยายน 2553 / 00:41
แก้ไขครั้งที่ 3 เมื่อ 17 กันยายน 2553 / 01:17
แก้ไขครั้งที่ 4 เมื่อ 17 กันยายน 2553 / 01:40
แก้ไขครั้งที่ 5 เมื่อ 17 กันยายน 2553 / 01:26
แก้ไขครั้งที่ 6 เมื่อ 17 กันยายน 2553 / 12:05

PS.  ทันโต เสฏโฐ มนุสเสสุ แปลว่า ในหมู่มนุษย์ผู้ที่ฝึกแล้วประเสริฐ
0
นทพ.มนวีร์ สุนทรโกมล 17 ก.ย. 53 เวลา 12:14 น. 8
  งั้น วัดนาป่าพงษ์ ก็มีพระพูดมั่วแล้วล่ะ....อืม...  ถ้ามีหลักฐานจริงก็ว่ามาว่า อยู่เล่มไหน? หน้าไหน ? ไม่ใช่พูดมาลอยๆ และก็ไปบอกท่าน ป.อ.ด้วยว่า ไม่ควรทำเช่นนั้น รูป รส กลิ่นเสียง ที่จะทำให้คนติดมันเป็นโทษภัย... ไม่ควรเอาไปรวมกับธรรม 
  พุทธศิลป์ บาป ไปนรกแน่นอนครับ ทั้งคนที่กราบ หรือติดในรูป เสียงก็ไปนรกแน่นอนครับ ก็จะบอกว่า บาปที่อยู่ นอกเหนือศีล 5 มีอยู่ครับ 
  พระพุทธรูป เป็นวัตถุ นอกศาสนา และพระพุทธเจ้าท่านก็ปฏิเสธรูปมาโดยตลอด  อ้างอิงจากพระไตรปิฎก ลองเข้าไปอ่านดู
http://www.samyaek.com/board2/index.php?topic=1175.msg10565#msg10565
 
อยากทำ ก็ทำต่อไป ไม่ได้ห้าม แค่บอกว่ามีนรกรออยู่ และ นรกก็ไม่ได้ยกเว้นว่าคนที่ทำบาปเป็นโยม หรือ ภิกษุ ผู้ทำบาป ถ้าไม่ใช่พระอริยะ ต้องตกนรกแน่นอน หากบาปส่งผล  
  ไม่แปลกหรอกที่พระสอนผิด ก็ขนาด พระสารีบุตรผู้เลิศทางด้านปัญญา ที่สุดในบรรดาสาวกทั้งหลาย ยังเคยสอนผิด และโดยพระพุทธเจ้าตำหนิ จนเกิดมโนทุจริต ว่าจะไม่สอนใครอีกแล้ว อย่าไปเชื่อสาวกมากกว่าพระพุทธเจ้า อันตรายมาก พระอรหันต์ยังสอนผิดได้ ลองไปอ่านดู
http://www.samyaek.com/board2/index.php?topic=921.0

PS.  ใครอยากสมหวังทุกอย่างที่อยากได้ ใครอยากพ้นทุกข์หรือทำอะไรก็ได้ทุกอย่างแต่ต้องใช้เวลา พระพุทธเจ้าท่านบอกทางไว้แล้ว www.samyaek.com
0
นทพ.มนวีร์ สุนทรโกมล 17 ก.ย. 53 เวลา 12:24 น. 9
เล่ม   17    หน้า   128
 
ถามว่า       อรหัตตมรรคของพระสาวกทั้งหลายจัดเป็นโพธิญาณอันยอดเยี่ยมหรือไม่ ?
ตอบว่า      ไม่จัด.
ถามว่า       เพราะเหตุไร ?
ตอบว่า       เพราะให้คุณไม่ได้ทุกอย่าง.
เป็นความจริง  บรรดาพระสาวกเหล่านั้น 
อรหัตตมรรคของบางท่านให้ได้เฉพาะอรหัตตผลเท่านั้น (หมายถึง  พระสุขวิปัสสโก)
ของบางท่านให้วิชชา  ๓   
ของบางท่านให้อภิญญา  ๖ 
ของบางท่านให้ปฏิสัมภิทา  ๔ 
ของบางท่านให้สาวกบารมีญาณ.
แม้ของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย    ก็ให้เฉพาะปัจเจกโพธิญาณเท่านั้น

ส่วนอรหัตตมรรคของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย   ย่อมให้คุณสมบัติทุกอย่าง 
เปรียบเหมือนการอภิเษก  (ในราชสมบัติ)  ของพระราชา    ย่อมให้ความเป็นใหญ่ในโลกทั้งหมด   
เพราะฉะนั้น    โพธิญาณของใครๆ อื่นจึงไม่จัดว่ายอดเยี่ยม.
เล่ม   17    หน้า    122

ก็ในบทว่า   ปริญฺญาตนฺตํ     ตถาคตสฺส  นี้   
พึงทราบอธิบายว่า    วัตถุ (ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่ง)  การสำคัญยึดถือนั้น  พระตถาคต    กำหนดรู้แล้ว   ดังนี้ก็ได้.   
วัตถุนั้นชื่อว่า  ตถาคตกำหนดรู้แล้ว   คือมีวาระอันพระองค์ทรงรู้อย่างรอบคอบแล้ว   
มีที่สุดอันพระองค์ทรงรู้อย่างรอบคอบแล้ว     อธิบายว่า     ทรงรอบรู้อย่างไม่มีอะไรเหลือ


อันที่จริง   พระพุทธเจ้าทั้งหลายกับเหล่าพระสาวกไม่มีความแตกต่างกันในการละกิเลสด้วยมรรคนั้นๆ ก็จริง   
ถึงกระนั้นก็ยังมีความแตกต่างกันอยู่ในเรื่องปริญญา (ความรอบรู้)  เพราะว่า  เหล่าพระสาวกพิจารณาธาตุ  ๔
เพียงบางส่วนเท่านั้นก็สามารถบรรลุนิพพานได้     แต่สำหรับพระพุทธเจ้าทั้งหลาย    สังขารแม้มีประมาณน้อย   
ที่ยังมิได้เห็น     ยังมิได้ไตร่ตรอง   ยังมิได้พิจารณา    ยังมิได้ทำให้แจ้งด้วยพระญาณ    ย่อมไม่มี
.
เล่ม   34    หน้า   437
 
พระผู้มีพระภาคเจ้า    ตรัสคำนี้ว่า     สาวโก      โส    อานนฺท     อปฺปเมยฺยา     ตถาคตา   

โดยมีพระพุทธประสงค์ดังนี้ว่า    ดูก่อนอานนท์   เธอพูดอะไรอย่างนี้    พระสาวกดำรงอยู่ในญาณเฉพาะส่วน
แต่พระตถาคตเจ้าทรงบำเพ็ญบารมี   ๑๐  ทัศ    แล้วทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ     มีพระญาณหาประมาณมิได้.


เธอนั้น   พูดอะไรอย่างนี้   เหมือนเอาปลายเล็บช้อนฝุ่น     ขึ้นมาเปรียบกับฝุ่นในพื้นมหาปฐพี 
เพราะวิสัยของพระสาวกทั้งหลายก็เป็นอย่างหนึ่ง       ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็เป็นอย่างหนึ่ง
ธรรมเป็นโคจรของพระสาวกทั้งหลายก็เป็นอย่างหนึ่ง        ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็เป็นอย่างหนึ่ง 
พลังของพระสาวกทั้งหลายก็เป็นอย่างหนึ่ง         ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็เป็นอย่างหนึ่ง.   
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นตรัสความที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย       มีอานุภาพหาประมาณมิได้
ด้วยมีพระพุทธประสงค์ดังพรรณนามานี้     แล้วทรงดุษณีภาพ.   

แม้พระเถระก็ทูลถามเป็นครั้งที่     ๒   พระบรมศาสดาเมื่อจะทรงแสดงว่า    อานนท์   เธอพูดอะไรอย่างนี้   
เหมือนกับเอาโพรงของต้นตาล       ไปเทียบกับอากาศที่เวิ้งว้างหาที่สุดมิได้     
เหมือนกับเอานกนางแอ่น      ไปเทียบกับพญาครุฑตัวผู้บินได้วันละ   ๑๕๐   โยชน์   
เหมือนกับเอาน้ำในงวงช้าง        ไปเทียบกับน้ำในแม่น้ำมหาคงคา
เหมือนกับเอาน้ำในหลุมกว้างยาว   ๘   ศอก       ไปเทียบกับสระทั้ง    ๗   
เหมือนกับเอาคนที่มีรายได้เพียงข้าว   ๑  ทะนาน      ไปเทียบกับพระเจ้าจักรพรรดิ
เหมือนกับเอาปีศาจคลุกฝุ่น       ไปเทียบกับท้าวสักกเทวราช   
และเหมือนกับเอาแสงสว่างของหิ่งห้อย        ไปเทียบกับแสงสว่างพระอาทิตย์    ดังนี้แล้ว   
ตรัสความที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีอานุภาพหาประมาณมิได้     เป็นครั้งที่     ๒     แล้วทรงดุษณีภาพ.

เล่ม  16    หน้า   303

อีกประการหนึ่ง      พึงทราบความไม่มีทุจริต (ชั่ว)
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ด้วยอำนาจแห่งพุทธธรรม  ๑๘  ประการอันว่าพุทธธรรม    ๑๘    ประการ   ดังนี้   
พระตถาคตไม่มีกายทุจริต  ๑ 
ไม่มีวจีทุจริต  ๑   
ไม่มีมโนทุจริต  ๑ 
พุทธญาณไม่มีอะไรติดขัดในอดีต  ๑
พุทธญาณไม่มีอะไรติดขัดในอนาคต  ๑
พุทธญาณไม่มีอะไรติดขัดในปัจจุบัน  ๑ 
กายกรรมทั้งปวงของพระผู้มีพระภาคเจ้า      คล้อยตามพระญาณ   ๑   
วจีกรรมทั้งปวงของพระผู้มีพระภาคเจ้า        คล้อยตามพระญาณ   ๑     
มโนกรรมทั้งปวงของพระผู้มีพระภาคเจ้า      คล้อยตามพระญาณ  ๑   
ไม่มีความเสื่อมฉันทะ (ความพอใจ)   ๑ 
ไม่มีความเสื่อมวิริยะ (ความเพียร)  ๑   
ไม่มีความเสื่อมสติ  ๑   
ไม่มีการเล่น   ๑   
ไม่มีการวิ่ง ๑
ไม่มีความพลาดพลั้ง ๑
ไม่มีพระทัยที่ไม่ขวนขวาย  ๑
ไม่มีอกุศลจิต ๑.



PS.  ใครอยากสมหวังทุกอย่างที่อยากได้ ใครอยากพ้นทุกข์หรือทำอะไรก็ได้ทุกอย่างแต่ต้องใช้เวลา พระพุทธเจ้าท่านบอกทางไว้แล้ว www.samyaek.com
0
นทพ.มนวีร์ สุนทรโกมล 17 ก.ย. 53 เวลา 12:32 น. 10
เล่ม   44    หน้า   247
 
...ก็ในขณะที่พระองค์ประสูติ (เกิด)   ปรากฏบุรพนิมิต    ๓๒    ประการ  เหมือนในขณะทรงถือปฏิสนธิ. 
จริงอยู่   หมื่นโลกธาตุนี้   หวั่นไหว   สะเทือนเลื่อนลั่น     รัศมีหาประมาณมิได้    แผ่ไปในหมื่นจักรวาล,   
คนตาบอดแต่กำเนิด    กลับได้จักษุ  (ดวงตา)   เหมือนคนปรารถนาจะชมพระโฉมของพระองค์,
คนหูหนวก     ก็ได้ยินเสียง,  คนใบ้   ก็เจรจาได้,  คนค่อม    ก็เดินตรงได้,  คนง่อย    ก็เดินไปได้,   
สัตว์ทั้งปวงที่ถูกจองจำ     ก็พ้นจากเครื่องจองจำมีขื่อคา เป็นต้น    ไฟในนรกทั้งหมดก็ดับ,   
ความหิวกระหายในเปรตวิสัยก็สงบ,   พวกสัตว์เดรัจฉานก็ไม่มีภัย,    โรคของสรรพสัตว์ก็สงบไป,     
สรรพสัตว์พากันกล่าววาจาที่น่ารัก,   ม้าร้องด้วยอาการไพเราะ,   พวกช้างพากันกระหึ่ม,   
ดนตรีทั้งปวง   ก็เปล่งเสียงบันลือลั่นเฉพาะอย่าง ๆ,  เครื่องอาภรณ์ที่สวมใส่ในมือ เป็นต้น  ของพวกมนุษย์ 
ไม่กระทบกระทั่งกันเลย   ก็มีเสียงด้วยอาการไพเราะ,   ทิศทั้งหมดแจ่มใส,   ลมเย็นพัดอ่อนๆ  กระพือพัด
ให้ปวงสัตว์ได้รับความสุข,    ฝนตกในเวลาไม่ใช่ฤดูกาล,    น้ำพุ่งขึ้นจากแผ่นดินไหลไป,  ฝูงปักษี (นก) งดการบิน
ไปในอากาศ     แม่น้ำก็หยุดไหล,   น้ำในมหาสมุทรได้มีรสอร่อย,   เมื่อพระอาทิตย์ปราศจากความมัว   
ยังปรากฏอยู่นั่นแหละ    ความโชติช่วงทั้งปวงในอากาศก็สว่างไสว,   เทวดาทั้งปวงที่เหลือและสัตว์นรกทั้งปวงนอกนั้น   
เว้นเทพชั้นอรูปาวจร    ได้ปรากฏรูปร่าง,   ต้นไม้  ฝาเรือน  บานประตู   และเขาศิลาเป็นต้นเป็นต้น   ไม่มีการปิดกั้น.   
เหล่าสัตว์ไม่มีการจุติ (ตาย) และอุปบัติ (เกิด) ,   กลิ่นทิพย์ฟุ้งขจร   กลบกลิ่นที่ไม่น่าปรารถนาทั้งหมดเสียได้,   
ต้นไม้ที่ผลิดอกออกผลทั้งหมด     ก็ติดผลสะพรั่ง,    มหาสมุทรได้มีพื้นดาดาษด้วยดอกปทุมเบญจวรรณ     
มีประโยชน์ในที่ทุกสถานทีเดียว,   บุปผชาติ (ดอกไม้) ทั้งหมด    ทั้งที่เกิดบนบกและในน้ำเป็นต้นบานสะพรั่ง,   
บรรดาต้นไม้ทั้งหลายขันธปทุมก็บานสะพรั่ง    ที่ต้นสาขาปทุมก็บานสะพรั่งที่กิ่ง    ลดาปทุมก็บานสะพรั่งที่เถา,   
แทรกพื้นหินบนพื้นแผ่นดิน    แตกออกเบื้องบนเป็นชั้นๆ  ๗  ชั้น   ชื่อว่า  ทัณฑปทุม,
ในอากาศก็บังเกิดดอกปทุมห้อยย้อยลงมา,   ฝนดอกไม้ตกโดยทั่วไป,   ในอากาศมีดนตรีทิพย์บรรเลง,   
หมื่นโลกธาตุทั้งสิ้น     มีระเบียบเป็นอันเดียว    มีวาลวีชนีพัดผัน     ตลบด้วยกลิ่นดอกไม้และธูป 
ถึงความเลิศด้วยความงามอย่างยิ่งเหมือนกลุ่มมาลาที่เขาคลี่แวดวงไว้     เหมือนกองมาลาที่เขาห่อมัดไว้
และเหมือนอาสนะดอกไม้ที่เขาประดับตกแต่งไว้.    ก็บุรพนิมิตเหล่านั้นได้เป็นนิมิต     ของผู้บรรลุธรรมพิเศษเป็นอเนก
ที่บรรลุธรรมชั้นสูง.  การเกิดเฉพาะนี้     ประดับด้วยความปรากฏอันน่าอัศจรรย์มากมายอย่างนี้แหละ
อันเป็นประโยชน์ที่พระองค์ทรงดำรงอยู่โดยเฉพาะ    ได้ชื่อว่าถ่องแท้    ไม่ผิด    ไม่กลายเป็นอย่างอื่น   
เพราะสำเร็จอย่างแท้จริงแห่งอภิสัมโพธิญาณนั้น.
               
อนึ่ง   สัตว์เหล่าใด   เป็นพุทธเวไนย  (บุคคลที่พระพุทธเจ้าจะต้องสั่งสอนเอง)   เป็นเผ่าพันธุ์แห่งสัตว์ผู้จะตรัสรู้   
ทั้งหมดนั้น    พระผู้มีพระภาคเจ้า    ทรงแนะนำด้วยพระองค์เองอย่างสิ้นเชิง.   
ส่วนสัตว์เหล่าใด   เป็นสาวกเวไนย   และเป็นธรรมเวไนย    สัตว์แม้เหล่านั้น   อันสาวกเป็นต้นแนะนำแล้ว 
ย่อมถึงและจักถึงซึ่งการนำไปให้วิเศษได้.  เพื่อประโยชน์ใด   พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารถนาเฉพาะอภิสัมโพธิญาณ   
เพราะให้ประโยชน์นั้นสำเร็จโดยแท้จริง     พระอภิสัมโพธิญาณจึงเป็นคุณถ่องแท้    ไม่ผิด    ไม่กลายเป็นอื่น.

คุณของพระตถาคตไม่มีประมาณ     เล่ม  21   หน้า   367  

สมจริง  ดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า                           
แม้พระพุทธเจ้าจะพึงกล่าวคุณของพระพุทธเจ้า     หากกล่าวคุณของกันและกันไปตลอดทั้งกัป   
กัปพึงสิ้นไปในระหว่างเป็นเวลาช้านาน     แต่พระคุณของพระตถาคตหาสิ้นไม่     ดังนี้.

PS.  ใครอยากสมหวังทุกอย่างที่อยากได้ ใครอยากพ้นทุกข์หรือทำอะไรก็ได้ทุกอย่างแต่ต้องใช้เวลา พระพุทธเจ้าท่านบอกทางไว้แล้ว www.samyaek.com
0
นทพ.มนวีร์ สุนทรโกมล 17 ก.ย. 53 เวลา 12:39 น. 11

แล้วเรื่องของพระสารีบุตร ลองเข้าไปหาดูได้ใน
เล่ม 16 หน้า  302
เล่ม 20 หน้า 380
เล่ม  58 หน้า  751
http://www.samyaek.com/pratripidok/   หรือ
http://www.dhammahome.com/front/tipitaka/



แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 17 กันยายน 2553 / 12:49

PS.  ใครอยากสมหวังทุกอย่างที่อยากได้ ใครอยากพ้นทุกข์หรือทำอะไรก็ได้ทุกอย่างแต่ต้องใช้เวลา พระพุทธเจ้าท่านบอกทางไว้แล้ว www.samyaek.com
0
นายแสนดี 17 ก.ย. 53 เวลา 17:46 น. 12
อัตตาตัวโตจัง 


เดี๋ยวขออนุญาติแสดงที่มานะครับ

เรื่องพระสงฆ์สวดพระธรรมด้วย
การขับร้องแบบชาวบ้านนั้น
พระพุทธเจ้าไม่อนุญาติ


             [๒๐] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์สวดพระธรรมด้วยทำนองยาวคล้าย
เพลงขับ ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากย-
*บุตรเหล่านี้ สวดพระธรรมด้วยทำนองยาวคล้ายเพลงขับ เหมือนพวกเราขับ ภิกษุ
ทั้งหลายได้ยินพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ...
ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้สวดพระธรรม
ด้วยทำนองยาวคล้ายเพลงขับ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
             พระผู้มีพระภาค ... ทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า ... จริงหรือ
             ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
             พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่ง
กะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสวดพระธรรมด้วยทำนองยาวคล้ายเพลง
ขับ มีโทษ ๕ ประการนี้ คือ:-
                          ๑. ตนยินดีในเสียงนั้น
                          ๒. คนอื่นก็ยินดีในเสียงนั้น
                          ๓. ชาวบ้านติเตียน
                          ๔. สมาธิของผู้พอใจการทำเสียงย่อมเสียไป
                          ๕. ภิกษุชั้นหลังจะถือเป็นเยี่ยงอย่าง
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้แล ของภิกษุผู้สวดพระธรรมด้วย
ทำนองยาวคล้ายเพลงขับ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดพระธรรมด้วยทำนองยาวคล้ายเพลงขับ
รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ


ส่วนเรื่องการสวดสรภัญญะ
             [๒๑] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายรังเกียจในการสวดสรภัญญะ จึงกราบ
ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
             พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวดเป็น
ทำนองสรภัญญะได้ ฯ


             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ บรรทัดที่ ๑๕๒ - ๑๗๘. หน้าที่ ๗ - ๘.


------------------------------------------------------------------------------------------------------
ขอให้ลองพิจารณานะครับ
การไปปรามาสพระสงฆ์อย่างนั้นมันสมควรหรือเปล่าครับ
เอาหลักการมาคุยกันนะ
เพราะถ้าคุยด้วยอารมณ์มันก็ไม่รู้เรื่องนะครับ

ตรงไหนมันไม่ถูก ตรงไหนมันไม่ใช่
ก็เอาหลักการมาคุยกันไม่ดีกว่าหรอ
เราต้องแสดงออกถึงความเป็นผู้ที่มีความเมตตานะ
เพราะเมตตาเป็นพื้นฐานของชาวพุทธ
มีความรู้ความเข้าใจแล้ว
ต้องน้อมนำเอามาประพฤติปฏิบัติด้วย
ใจต้องเย็น ใจต้องดี ต้องมีเมตตา
อย่าพึ่งไปพิพากษาคนอื่น

แล้วก็ต้องขอกราบอโหสิกรรม
ต่อครูบาอาจารย์ทั้ง ๒ ท่าน
คือพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) 
และท่านพระอาจารย์ คึกฤทธิ์




พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) 


ท่านพระอาจารย์ คึกฤทธิ์

ที่ผมได้ยกขึ้นมาอ้างนี้
เพียงแค่อยากจะให้มีเป็นแนวทางศึกษาประกอบกับประเด็นนี้
ท่านทั้งสองเป็นพหูสูตรศึกษาพุทธพจน์ เยอะกว่าเรามาก ท่านแตกฉานกว่าเราเยอะ
เราต้องยอมรับข้อนี้นะครับ การไปจ้วงจาบล่วงเกินอย่างนี้ไม่เหมาะสม

http://group.dek-d.com/young-buddha/myboard/view.php?id=404

และผมก้ไม่ได้มีประสงค์จะบิดเบือนพุทธพจน์แต่อย่างใดครับ

ทั้งหมดนี้ก็คงจะเพียงพอ
สำหรับเป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้า
เพิ่มเติมสำหรับผู้สนใจ
คงยุติไว้เพียงเท่านี้

--------------------------------------------------------------------------------
แต่ขอสรุปสาระประเด็นสำคัญอีกครั้งหนึ่งครับ
ประเด็นคือ "เพลงธรรมะ"

๑.เรื่องเพลงธรรมะนี้ สำหรับชาวพุทธในระดับศีล ๕ นั้นพระพุทธเจ้าไม่ได้ห้าม(ห้ามร้อง.ห้ามฟัง)

๒.เรื่องเพลงธรรมะนี้ ในระดับที่สูงขึ้นไปนั้น พระพุทธเจ้าห้ามผู้ถือศีล ๘ ขึ้นไป (เพลงทุกชนิด)

๓.เรื่องการอนุญาติให้พระสงฆ์สวดทำนองสรภัณญะได้ ผมได้ยกมาแสดงไว้ด้านบนแล้ว

๔.
อาทิตตปริยาสูตรที่ยกเอามากล่าวถึงกันด้านบนๆนั้น สรุปใจความว่า "เมื่อหูกระทบเสียง ต้องมีสติระลึกรู้เท่าทัน
ไม่ให้เจือไปด้วยโมหะ โทสะ และโลภะ(อันจะทำให้จิตใจร้อนรุ่ม) "
อันนี้ไม่ใช่แค่เพลงธรรมะหรอกครับ แต่หมายถึงเสียงทุกๆเสียง
ทั้งเสียก่นด่า เสียงสรรญเสริญ เสียงเพลง เสียงพูด ฯลฯ

สรุปรวมความได้ดังนี้
ผิดพลาดประการ
กราบขอขมาต่อพระรัตนตรัย
ด้วยเพราะความรู้มีจำกัด

ขอยุติกระทู้ไว้ดังนี้ครับ




แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 17 กันยายน 2553 / 18:09
แก้ไขครั้งที่ 2 เมื่อ 17 กันยายน 2553 / 23:17
แก้ไขครั้งที่ 3 เมื่อ 17 กันยายน 2553 / 23:41
แก้ไขครั้งที่ 4 เมื่อ 18 กันยายน 2553 / 14:01

PS.  ทันโต เสฏโฐ มนุสเสสุ แปลว่า ในหมู่มนุษย์ผู้ที่ฝึกแล้วประเสริฐ
0
นทพ.มนวีร์ สุนทรโกมล 17 ก.ย. 53 เวลา 18:15 น. 13
พระที่เทศน์แหล่ – เทศน์ร้อง – เทศน์รำ…ผิด   เล่ม  9  หน้า  8

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน.... 
ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   
ภิกษุสวดพระธรรมด้วยทำนองยาวคล้ายเพลงขับ    มีโทษ  ๕   ประการนี้    คือ
         
           ๑.  ตนยินดีในเสียงนั้น
           ๒.  คนอื่นก็ยินดีในเสียงนั้น
           ๓.  ชาวบ้านติเตียน
           ๔.  สมาธิของผู้พอใจการทำเสียงย่อมเสียไป
           ๕.  ภิกษุชั้นหลังจะถือเป็นเยี่ยงอย่าง.
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  โทษ  ๕  ประการนี้แล  ของภิกษุผู้สวดพระธรรมด้วยทำนองยาวคล้ายเพลงขับ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    ภิกษุไม่พึงสวดพระธรรมด้วยทำนองยาวคล้ายเพลงขับ 
รูปใดสวด  ต้องอาบัติทุกกฏ.


PS.  ใครอยากสมหวังทุกอย่างที่อยากได้ ใครอยากพ้นทุกข์หรือทำอะไรก็ได้ทุกอย่างแต่ต้องใช้เวลา พระพุทธเจ้าท่านบอกทางไว้แล้ว www.samyaek.com
0
นายแสนดี 17 ก.ย. 53 เวลา 23:12 น. 14
เอาล่ะครับ
สำหรับในประเด็นเรื่อง

"เพลงธรรมะ" กับฆารวาส

ผมคงได้แลกเปลี่ยนพอสมควรแล้วล่ะ
หากสงสัยอะไรก็ขอให้ไปศึกษาเพิ่มเติม
ส่วนสิ่งที่ได้ถ่ายทอดออกมานี้คงเป็นแนวทาง
ในการศึกษาต่อไป

ขอให้เจริญในธรรมนะครับ


แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 17 กันยายน 2553 / 23:24

PS.  ทันโต เสฏโฐ มนุสเสสุ แปลว่า ในหมู่มนุษย์ผู้ที่ฝึกแล้วประเสริฐ
0
ขุนกำแหง 18 ก.ย. 53 เวลา 13:16 น. 15

สรุปแล้ว

เวลาฟังมหรสพ

แยกกับ ธรรมะแล้วกัน

อยากฟังเพลงก็ฟังเพลงไป

ผิดไม่ผิดผมเองก็ไม่ทราบ

แต่คิดว่าคงไม่เหมาะนักเท่าไร


PS.  หญิงพรหมจารีหายากยิ่ง ขออุทิศทั้งชีวิตเพื่อหาสาวพรหมจารีมาเคียงกาย
0