Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

แนะแนว และไขข้อข้องใจ อักษรศาสตร์ ภูมิศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
 

เป็นคำถามที่พี่ว่าขับข้องใจสำหรับหลายๆคน ว่า อักษรศาสตร์ ภูมิศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เรียนอะไรบ้าง แล้วจบมาทำอะไรได้บ้าง วันนี้จะมาแนะแนว และไขข้อข้องใจกัน มีคำถามอะไรก็ถามได้เลยนะจ้ะ

นับวันโลกก็ร้อนยิ่งขึ้น โลกก็เปลี่ยนแปลงไปตลอด ความสำคัญทางด้านภูมิศาสตร์ก็เพิ่มขึ้นทุกวันๆ  แต่ก็ขาดแคลนบุคลากรทางด้านนี้มากเป็นสาขาที่ใช้ต่อการพัฒนาและแก้ไข ประเทศเป็นอย่างมาก เช่น กรณีเขาพระวิหาร แม่น้ำโขง ฯลฯ ก็ลองศึกษากันดูได้นะจ้ะ

ประวัติ

ในปี พ.ศ. 2478 ได้มีการก่อตั้ง "แผนกวิชาภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์" ขึ้นเป็นครั้งแรกของประเทศไทยสังกัดคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีพุทธศักราช 2477 จึงอาจกล่าวได้ว่า ภูมิศาสตร์ได้รับการยอมรับว่าเป็นสาขาวิชาที่มีการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาอย่างเป็นทางการตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาถึงแม้ว่าในเชิงการบริหารยังสังกัดหน่วยงานเดียวกับสาขาวิชาประวัติศาสตร์ก็ตาม

ต่อมาปริมาณงานของแผนกวิชาภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ได้เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ โดยได้ให้บริการการสอนแก่นิสิตในคณะอักษรศาสตร์และคณะอื่นๆในมหาวิทยาลัยจำนวนมากกว่า 1,500 คนต่อปี นอกจากนี้ไม่ว่าจะเป็นสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยหรือในต่างประเทศ การสอนและการค้นคว้าวิชาภูมิศาสตร์และวิชาประวัติศาสตร์จะแยกแผนกวิชาออกจากกัน อีกทั้งแต่ละสาขาวิชายังมีปรัชญา เนื้อหา เทคนิคหรือวิธีการศึกษาและแนวการวิจัยที่แตกต่างกันอีกด้วย ดังนั้นแผนกวิชาภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ จึงได้แยกออกจากกันเป็น 2 แผนกวิชา คือ "แผนกวิชาภูมิศาสตร์" และ"แผนกวิชาประวัติศาสตร์" โดยแผนกวิชาภูมิศาสตร์ได้ถือเอาวันที่ 18 พฤษภาคม พศ. 2515 เป็นวันกำเนิดหรือวันก่อตั้งแผนกวิชา

ในปี พ.ศ.2522 ได้เปลี่ยนชื่อจาก "แผนกวิชาภูมิศาสตร์" เป็น "ภาควิชาภูมิศาสตร์" ตามพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.2522 บุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการดำเนินการแยกแผนกวิชาทั้งสองออกจากกัน ได้แก่ ศาสตราจารย์รอง ศยามานนท์ ศาสตราจารย์ไพฑูรย์ พงศะบุตร และศาสตราจารย์รัชนีกร บุญหลง โดยศาสตราจารย์ไพฑูรย์ พงศะบุตรได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกวิชาภูมิศาสตร์เป็นคนแรก และในขณะเดียวกันก็ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะอักษรศาสตร์ในระยะเวลาเดียวกันด้วย (พ.ศ.2515-2519)

การเรียนการสอน
หลักสูตรปริญญาตรี (อักษรศาสตรบัณฑิต สาขาภูมิศาสตร์)

ภูมิศาสตร์นับได้ว่าเป็นพื้นฐานของทุกๆสิ่ง เป็นศาสตร์ที่ได้รับการขนานนามว่า mother of science เมื่อน้องๆได้เข้ามาเรียน ในปีที่1น้องๆจะได้เรียนพื้นฐานของนักอักษรศาสตร์ร่วมกับสาขาอื่นๆทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นภาษา ปรัชญา ประวัติศาสตร์ สารนิเทศ การละคร วรรณคดี  ปีที่2-3-4 จะเก็บรายวิชาเอก วิชาบังคับพื้นฐานของมหาวิทยาลัย วิชาเลือกเสรี ในส่วนของสาขาวิชาภูมิศาสตร์ น้องจะได้เรียน เน้นทางด้านสังคม ปรัชญา การเมือง เศรษฐกิจ  ประชากรศาสตร์ การทำแผนที่ เทคโนโลยีด้านภูมิศาสตร์ไม่ว่าจะเป็น gps ที่น้องๆคงรู้จักกันดี gis , remote sensing ฯลฯ ร่วมถึงเรียนทางด้านกายภาพแนวธรณีวิทยา และแคลคูลัสสำหรับนักภูมิศาสตร์(เป็นตัวพื้นฐานเบื้องต้น) โดยอาศัยภูมิศาสตร์เป็นพื้นฐาน ซึ่งน้องเรียนในคณะอักษรศาสตร์ จะได้ภาษาที่ค่อนข้างดีเป็นปัจจัยที่ได้เปรียบในการทำงานเป็นอย่างยิ่ง โดยน้องๆอาจเลือกภาษาที่3ที่คณะเปิดสอนด้วยก็ได้ การเรียนภูมิศาตร์ เป็นการเรียนที่น้องๆ จะค่อนข้างใช้คอมพิวเตอร์ ด้านเทนิค และต้องออกทริตปลอด ไปตามสถานที่ต่างๆเพื่อศึกษา ซึ่งพี่ว่าเป็นการเรียนที่สนุกนะ ซึ่งสังคมในคณะก็สนุก และเพื่อนๆเป็นกันเองมากๆ  พี่มีโครงสร้างการเรียนให้น้องๆศึกษากัน ซึ่งภูมิศาสตร์ ของจุฬาฯ จะจบมาได้อักษรศาสตร์บัณฑิต จะต่างจากที่อื่นนอกจากมหาวิทยาลัยศิลปากร และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งจะเป็นวิทยาศาสตร์บัณฑิต โดยน้องๆจะได้เปรียบในทางด้านภาษา แต่อาจจะเสียเปรียบในด้านเชิงเทคนิค ซึ่งสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมกันได้ และเมื่อน้องเลือกเข้าสาขานี้โดยตรงน้องไม่สามารถขอย้ายสาขาได้นะจ้ะ


ภาควิชาภูมิศาสตร์เปิดสอนวิชาเฉพาะสาขาภูมิศาสตร์แบบ วิชาเอกเดี่ยว สำหรับนิสิตที่เลือกเรียนเป็นวิชาเอก และเปิดสอนเป็น วิชาโท สำหรับนิสิตที่เรียนวิชาเอกสาขาอื่นทั้งในคณะและนอกคณะ

วิชาพื้นฐานอักษรศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ วิชาการศึกษาทั่วไป และวิชาเลือกเสรี รวม 76 หน่วยกิต

วิชาเฉพาะสาขาภูมิศาสตร์ รวม 71 หน่วยกิต แบ่งเป็น วิชาบังคับ 33 หน่วยกิต และวิชาเลือกไม่น้อยกว่า 38 หน่วยกิต ดังนี้

ตัวอย่างวิชาที่ได้เรียน
2205221 ภูมิศาสตร์มนุษย์เบื้องต้น

บทบาท ขอบเขตและความหมายของภูมิศาสตร์มนุษย์
เนื้อหาแบบผสมผสานบนพื้นฐานของความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านมนุษย์

2205231 ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว

องค์ประกอบการท่องเที่ยว ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่ส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยว
พฤติกรรมการท่องเที่ยว ความสำคัญและผลกระทบจากการท่องเที่ยวที่มีต่อ
สภาพเศรษฐกิจสังคม ตลอดจนสภาพแวดล้อมในภูมิภาคต่างๆ โดยเน้นถึง
การท่องเที่ยวในประเทศไทย

2205332 ภูมิศาสตร์การเมืองความสัมพันธ์ระหว่างสภาพภูมิศาสตร์กับสภาพการเมือง ปัญหาทางการเมือง กิจกรรมทางการเมือง
2205352 หลักการทำแผนที่ แผนที่ประเภทต่าง ๆ การใช้อุปกรณ์ช่วยทำแผนที่ การวางรูปแบบ เส้นโครงแผนที่ ขนาด มาตราส่วน การใช้สัญลักษณ์ ตัวอักษร เพื่อประกอบแผนที่ให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์

2205376 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

เทคโนโลยีสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ การนำเขัา การทำบรรณาธิกร การวิเคราะห์ข้อมูลและการแสดงด้วยแผนที่ การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การใช้ซอฟต์แวร์ด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

2205423 ภูมิศาสตร์การตลาด

แนวคิดและทฤษฏีเกี่ยวกับการกระจายทางพื้นที่ของกิจกรรมตติยภูมิ การกระจายของบริเวณธุรกิจในเมืองและพฤติกรรมของผู้บริโภคเชิงพื้นที่โลกาภิวัตน์และผลกระทบต่อกิจกรรมตติยภูมิในบริเวณต่างๆของโลก โดยเน้นประเทศไทย

 

2205424 ภูมิศาสตร์กับการวางผัง

อิทธิพลของสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ทั้งทางด้านกายภาพและด้านวัฒนธรรมที่มีต่อการวางผัง รวมทั้งบทบาทของนักภูมิศาสตร์ในการวางแผนพัฒนาพื้นที่

2205438 ปัญหาการใช้ที่ดินในเมือง

ส่วนการใช้ที่ดินในเมืองเพื่อกิจกรรมประเภทต่าง ๆ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ และไม่ใช่เศรษฐกิจ ความสำคัญของที่ตั้ง ระยะทาง และขนาดพื้นที่ในการกำหนดรูปแบบการใช้ที่ดินชนิดต่างๆ การนำเทคนิคและวิธีการแก้ปัญหาการใช้ที่ดินแบบใหม่มาประยุกต์ใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของปฏิสัมพันธ์ทางพื้นที่ภายในเมือง

2205446 ภูมิศาสตร์อเมริกาเหนือ

องค์ประกอบทางกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศต่างๆในอเมริกาเหนือ โดยเน้นถึงความสำคัญของการกระจายในทางพื้นที่ขององค์ประกอบเหล่านี้ ตลอดจนความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆที่เกี่ยวข้อง

2205470 จีพีเอสสำหรับนักภูมิศาสตร์

 

จบมาทำงานอะไร?จะตกงานไหม?

                จบมาน้องๆทำได้มากมายถ้าตรงสาขาเลยก็ดังนี้ อาจารย์ คุณครู นักวิชาการ นักเขียนด้านการท่องเที่ยว นักอุตุนิยมวิทยา ผู้ประกาศข่าวช่วงการพยากรณ์ นักออกแบบแผนที่ นักวิเคราะห์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เจ้าหน้าที่แผนที่ภาพถ่าย ที่ปรึกษาด้านภูมิสารสนเทศ นักวางแผนการขนส่ง  นักพัฒนาโปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์ เจ้าหน้าที่แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ ฯลฯ และน้องสามารถเรียนต่อได้ๆเกือบทุกสาขา ซึ่งน้องสามารถศึกษาต่อที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ ด้านภูมิสารสนเทศวิศวกรรม จุฬาฯ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ การออกแบบ วางผังเมือง จุฬาฯได้อีกด้วย

                ภาควิชาภูมิศาสตร์ มีเปิดที่

ภาควิชาภูมิศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยภาควิชาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ภาควิชาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ภาควิชาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามภาควิชาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาภาควิชาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร The Remote Sensing & Geographic Information Systems สถาบันเอไอที

 

คะแนนสูง-ต่ำ  3ปีล่าสุด

51 ใช้คณิต  7313.7500 – 6787.500  ใช้วิทย์ 7144.95 – 6772.5

52ใช้คณิต 7557.500-6653.75 ใช้วิทย์ 7147.45 – 6518.800

53 พื้นฐานวิทย์ 22331.400 – 18556.100 (พี่ งง กับคะแนนฐานเต็ม3หมื่นมาก - - คิดยังไงบอกพี่ที)

พูดถึงแนวโน้ม พี่ว่าปี53มันเปลี่ยนรูปแบบ คะแนนค่อนข้างไม่แน่นอน ถ้าจะอิงจริงๆพี่ว่าควรอิงเปอเซนต์จากปีก่อนๆที่นิ่งๆมาตลอดจะดีกว่านะ คะแนนเท่าไรก็เลือกมานะจ้ะไม่ต้องกลัวว่าคะแนนจะต่ำกว่าเยอะ หรือสูงกว่าเยอะ ( > <”)

 

 

                น้องๆจบออกมาไม่ตกงานแน่นอน (ถ้าไม่เบือกงาน) อาจารย์พี่เคยบอกด้วยว่ามีบริษัทต่างๆส่งใบสมัครมาให้อาจารย์มากมาย เพราะฉะนั้นน้องๆไม่ต้องกลัวเลยจ้ะ ซึ่งรุ่นของพี่ที่จบไป มีทั้งไปทำงาน esso ptt  chevron กรมแผนที่ esri กระทรวงต่างประเทศ  un วิทยุการบิน ฯลฯ

น้องๆคงทราบรายละเอียดกันแล้วพี่หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับน้อง และขอให้น้องๆที่อยากเข้าจริงๆ ได้เข้าเรียนมาเป็นน้องๆของพวกพี่ๆนะจ้ะ

 

ศึกษาได้เพิ่มเติม

http://www.arts.chula.ac.th/~geography/Geo_Know.htm

 

 

 

แสดงความคิดเห็น

>

7 ความคิดเห็น

นิสิตนนทรี 24 ก.ย. 53 เวลา 20:38 น. 1

คือผมอยากเข้าอะพี่เพราะ ชอบเกี่ยวกับพวกสิ่งเเวดล้อมเเล้วก็พวก เเผนที่อะ อยากเข้ามาก เเต่ไม่รู้คะเเนนจะสูงอะป่าว พี่ๆ คนใหนอยู่ทิ้งเมลล์ไว้หน่อยสิจะปรึกษา

0
ArtistDisplay 24 ก.ย. 53 เวลา 23:18 น. 2

นี่คือวิธีคิด นะครับพี่ เต็ม30000 อะ

การคิดคะแนน GPAX
ในการคัดเลือกกำหนดได้ใช้ผลการเรียนเฉลี่ยตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย (GPAX) ร้อยละ 20 การคิด
คะแนนส่วนนี้ ให้คิดเทียบคะแนนเต็มเป็น 300 คะแนน
วิธีคิด
1. ให้นำผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) คูณกับ 75 เพื่อแปลงค่าผลการเรียนเฉลี่ยเป็นคะแนนเต็ม 300 คะแนน
2. ให้นำคะแนน GPAX ที่แปลงค่าเป็นคะแนนแล้วคูณกับค่าน้ำหนักที่กำหนด จะได้เป็นคะแนน GPAX
ตัวอย่าง ผู้สมัครมีผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) = 2.93
วิธีคิด
ขั้นที่ 1 ให้นำ GPAX คูณด้วย 75 จะได้คะแนนดังนี้
คะแนน GPAX (2.93 × 75) = 219.75 คะแนน
ขั้นที่ 2 นำคะแนน GPAX คูณด้วยค่าน้ำหนักที่กำหนดไว้ คือ 20%
คะแนน GPAX (219.75 × 20) = 4,395 คะแนน จากคะแนนเต็ม 6,000 คะแนน
วิธีการคิดคะแนน O-NET
1. ให้นำคะแนนสอบวิชา O-NET แต่ละวิชาของผู้สมัครคูณกับ 3 (ยกเว้นวิชา 06 ไม่ต้องคูณ) (กำหนดให้คะแนนเต็ม
แต่ละวิชาเท่ากับ 300)
2. นำคะแนนในข้อ 1 คูณกับค่าน้ำหนักที่กำหนด
3. นำคะแนนแต่ละวิชาในข้อ 2 มารวมกันจะได้คะแนนรวมของ O-NET
ตัวอย่าง ผู้สมัครมีคะแนน O-NET ดังนี้
วิชา 01 = 63.00, 02 = 75.00, 03 = 71.00, 04 = 81.00
05 = 87.00, 06 = 240.00 (เฉพาะวิชา 06 คะแนนเต็ม 300)
ขั้นที่ 1 นำคะแนนแต่ละวิชาของผู้สมัครคูณด้วย 3(ยกเว้นวิชา 06 ไม่ต้องคูณ) ดังนี้
คะแนน O-NET วิชา 01 (63.00 × 3) = 189
วิชา 02 (75.00 × 3) = 225
วิชา 03 (71.00 × 3) = 213
วิชา 04 (81.00 × 3) = 243
วิชา 05 (87.00 × 3) = 261
วิชา 06 (240.00 × 1) = 240
ขั้นที่ 2 นำคะแนนที่คูณด้วย 3 คูณด้วยค่าน้ำหนัก ดังนี้
คะแนน O-NET วิชา 01 (189 × 5) = 945
วิชา 02 (225 × 5) = 1,125
วิชา 03 (213 × 5) = 1,045
วิชา 04 (261 × 5) = 1,215
วิชา 05 (261 × 5) = 1,305
วิชา 06 (240 × 5) = 1,200
ขั้นที่ 3 นำคะแนน O-NET ที่คูณด้วยค่าน้ำหนักแล้ว มารวมกันดังนี้
คะแนน O-NET (945 + 1,125 + 1,045 + 1,215 + 1,305 + 1,200)
คะแนนรวม O-NET = 6,855 คะแนน (จากคะแนน 9,000 คะแนน)
วิธีการคิดคะแนน GAT, PAT
1. นำคะแนนสอบ GAT และ PAT ของผู้สมัครคูณกับค่าน้ำหนักที่กำหนด
2. นำคะแนนแต่ละวิชาจากข้อ 1 มารวมกันจะได้คะแนนรวมของ GAT และ/ PAT
ตัวอย่าง วิธีการคิดคะแนน GAT และ PAT ของผู้สมัครเข้าศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ต้องการเลือกคณะวิศวกรรมศาสตร์
กำหนดให้สอบ O-NET 8 กลุ่มสาระฯ คือ รหัส 01,02,03,04,05 และ 06 แต่ละวิชาให้ค่าน้ำหนักร้อยละ 5 วิชา GAT (รหัส
85) ให้ค่าน้ำหนักร้อยละ 15 วิชา PAT 2 (รหัส 72) ให้ค่าน้ำหนักร้อยละ 15 วิชา PAT 3 (รหัส 73) ให้ค่าน้ำหนักร้อยละ 20
ผู้สมัครมีคะแนนแต่ละวิชาดังนี้
วิธีคิด
ขั้นที่ 1 นำคะแนน GAT และ PAT ของผู้สมัครคูณกับค่าน้ำหนัก
คะแนน GAT (265 × 15) = 3,975 คะแนน
คะแนน PAT 2 (210 × 15) = 3,150 คะแนน
คะแนน PAT 3 (250 × 20) = 5,000 คะแนน
คะแนนรวม GAT และ PAT (3,975 + 3,150 + 5,000) = 12,125 คะแนน
การคิดคะแนนรวม
คะแนนรวม = คะแนน GPAX + คะแนน O-NET + คะแนน GAT และ/หรือ คะแนน PAT
ตัวอย่าง ผู้สมัครมีผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) = 2.93
คะแนน O-NET 01 = 63.00, 02 = 75.00, 03 = 71.00, 04 = 81.00
05 = 87.00, 06 = 240.00
คะแนน GAT = 265
คะแนน PAT 2 = 210
คะแนน PAT 3 = 250

...
0
นิสิตนนทรี 24 ก.ย. 53 เวลา 23:35 น. 4

ขอบคุณมากนะ เเต่ไม่ได้ถามการคิดคะเเนนอะ เรามีโปรเเกรมคิดเป็น ที่ถามคืออยากรู้ว่า คะเเนนเท่าใหร่ถึง ok

0
tmmm 22 ต.ค. 59 เวลา 14:21 น. 7

ไม่ค่อยเก่งทางด้านคอมกะคณิต แต่อยากเข้าเพราะชอบสิ่งแวดล้อม จะเข้าได้ไหมค้ะ

0