Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

นักจิตวิทยากับจิตแพทย์ต่างกันยังไงอ่า?

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
 คือ ตอนนี้อยากรู้ว่า จิตแพทย์กับนักจิตวิทยา ต่างกันยังไงอ่า?

 จะศึกษาเกี่ยวกับอะไรบ้าง?????

ในแต่ละอัน  ใครรู้ช่วยบอกทีๆๆๆ

แสดงความคิดเห็น

>

11 ความคิดเห็น

♥ ทูเกเตอร์ ,. ๖๘ 9 ต.ค. 53 เวลา 20:48 น. 1

จากที่เคยๆ หามานะ
จิตเพทย์ นี่สามารถให้คำปรึกษาเเละสั่งให้ยาผู้ป่วยได้
เเต่จิตวิทยา ให้คำปรึกษา รับฟัง ฯ เฉย ๆ ไม่สามารถสั่งยาให้ได้อ่ะ


PS.  เมื่อ'ไม่เคยมีใครมากรัก' ! .. .ผมก็จะค้นหาคนที่ใช่หากรู้ตัวว่า'ชอบก็(จะ)จีบ'ผมไม่ปล่อยเขาไปหรอก :D
0
—★EmoMelody™ϟHP 9 ต.ค. 53 เวลา 21:02 น. 2

ตาม คห. 1 เลยค่ะ
แบบว่า จิตแพทย์สามารถวินิจฉัยชี้ชัดได้เลย
แล้วก็สั่งยาได้ แล้วก็จะเกี่ยวกับทางระบบประสาทไรงี้ด้วย
แต่นักจิตวิทยา แค่ให้คำปรึกษา ให้ทำแบบทดสอบทางจิตวิทยา
ไม่สามารถินิจฉัยและสั่งยาได้ค่ะ

: )
(พูดง่ายๆว่า จิตแพทย์ก็คือ หมอ ที่คอยรักษาเน้นด้านกายภาพ แต่นักจิตวิทยาจะค่อนข้างเป็นเรื่องจิตใจ)

อ่า
ถ้าบอกผืดพลาดประการใด ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้นะคะ
เพราะเราเองก็เข้าใจแบบนี้
แล้วก็มีความฝันที่จะได้ประกอบอาชีพแนวนี้อะค่ะ


PS.  ก็เป็นแบบนี้อะ!! จะให้ทำยังไงได้? : ;; : Retrorian ' เดอะ แฮร์รี่ พอตเตอร์ เอฟซี
0
รหัสลับเจ้าหญิงปีศาจ 9 ต.ค. 53 เวลา 22:32 น. 3

    จิตแพทย์  (Psychiatrist) คือบุคคลที่จบการศึกษาแพทยศาสตร์ แล้วเข้ารับการฝึกอบรมเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชศาสตร์ เมื่อจบออกมาเป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาจิตเวชศาสตร์ เรียกว่าจิตแพทย์ เป็นศาสตร์ว่าด้วยความผิดปรกติ หรือโรคภัยไข้เจ็บทางด้านอารมณ์และจิตใจเนื้อหาครอบคลุมทั้งทางด้านชีวภาพ จิตใจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของแต่ละบุคคล  ตั้งแต่ระยะก่อนเกิด อยู่ในครรภ์ การเลี้ยงดูในระยะต่าง ๆ ตามอายุ เพื่อเข้าใจถึงสาเหตุการเกิดความผิดปรกติด้านจิตใจ บุคลิกภาพ การปรับตัวของคน การวินิจฉัยโรค การรักษา และการป้องกันด้วย
    นักจิตวิทยา (Psychologist) นั้นไม่ใช่แพทย์ แต่เป็นบุคลากรที่มีความรู้ทางจิตวิทยา (Psychology) ซึ่งเป็นศาสตร์หรือวิชาการที่มุ่งอธิบายความเป็นไปในคนปรกติตั้งแต่เกิดและมีพัฒนาการอย่างไรไปตามวัย วัฒนธรรม และสังคม นักจิตวิทยามีหลายสาขา เช่น นักจิตวิทยาคลินิก จะทำงานในคลินิกจิตเวชกับจิตแพทย์ ทำหน้าที่ทดสอบด้วยเครื่องมือ (test)  ต่าง ๆ ทางด้านบุคลิกภาพ อารมณ์ จิตใจ
อ้างอิง :"ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม / สำนักพิมพ์สารคดี"

แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 9 ตุลาคม 2553 / 22:44

0
vinreeves_girl 10 ต.ค. 53 เวลา 02:54 น. 4
จิตแพทย์  จะรักษาโดยการใช้ยา ซึ่งจะส่งผลต่อระบบประสาทหรือสารเคมีต่างๆในร่างกาย(โดยเฉพาะในสมอง) ให้ทำงานอย่างปกติ ผู้ป่วยจะได้มีการรับรู้แบบปกติเหมือนคนทั่วไป  และจิตแพทย์มีหน้าที่ในการวินิจฉัยแยกโรคของผู้ป่วย เพื่อเป็นแนวทางในการรักษา ซึ่งการรักษาจะรักษาโรคทางกายก่อนค่ะ จึงจะรักษาโรคทางจิต เพราะบางครั้งอาการทางกายจะส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางจิตได้ เช่น ได้รับการกระทบกระเทือนทางสมอง การทำงานของสารเคมีในสมองก้อจะผิดปกติ เกิดอาการทางจิตได้ ถ้าอาการทางกายหาย อาการทางจิตก้อจะหายไปด้วยค่ะ หรือผู้ป่วยยาเสพติดที่เสพมานานจนสมองเริ่มถูกทำลาย ก้อจะมีอาการทางจิตตามมาแน่นอน

นักจิตวิทยา ถ้าจะทำงานกับจิตแพทย์ ส่วนใหญ่เป็นนักจิตวิทยาคลินิคค่ะ(คนเขียนจบจิตคลินิคมาค่ะ) จะมีแบบทดสอบทางจิตวิทยาเป็นเครื่องมือ ซึ่งจะได้รับการส่งตรวจจากจิตแพทย์อีกที เพื่อเป็นแนวทางการวินิจฉัยของแพทย์ หลักๆแล้วแพทย์จะอยากทราบว่าผู้ป่วยมีไอคิวระดับไหน การรับรู้ความเป็นจริงดีมั้ย อยู่ในลักษณะไหน การทำงานของมอเตอร์ดีมั้ย ผิดปกติตรงไหนบ้าง ลักษณะบุคลิกภาพเป็นแบบไหน และอื่นๆอีก108ที่จะแสดงออกมาในแบบทดสอบ ไม่ต้องกลัวถ้าโดนทดสอบ โกหกยังไงก้อรู้ พยายามปกติยังไงก้อดูออก (อิอิ) หรือแกล้งป่วยก้อรู้นะ  นอกจากนี้ การรักษาของนักจิตวิทยาจะใช้วิธีการพูดคุยค่ะ ซึ่งจะเรียกว่าการบำบัด มีหลายรูปแบบ เป้าหมายหลักของการบำบัดคือให้ผู้ป่วยสามารถอยู่ในสังคมปัจจุบันได้อย่างปกติสุข จะใช้ทั้งวิธีการให้กำลังใจ ระบายความรู้สึก สะท้อนความรู้สึก ให้คำปรึกษาแนะนำต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย แล้วแต่ว่านักจิตฯจะหยิบทฤษฎีของใครมาใช้บ้าง อ๊อะ ยังช่วยเปิดคอร์สปรับพฤติกรรมที่ผิดปกติต่างๆได้ด้วยค่ะ

แต่ก้อใช่ว่านักจิตจะวินิจฉัยโรคไม่เป็นนะคะ เรียนมาเหมือนกัน แต่ไม่ใช่หน้าที่เรา และไม่ได้ละเอียดเหมือนแพทย์เรียน เอาแค่เนื้อๆพอ แล้วเดี๋ยวนี้นักจิตฯต้องมีใบประกอบโรคศิลปะด้วยค่ะ และเดี๋ยวนี้ ไม่ได้ทำงานกันเฉพาะจิตแพทย์กับนักจิตวิทยา2คนนะคะ ต้องทำงานกันเป็นทีมสหวิชาชีพ เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ป่วยแบบเต็มขั้น
0
amp 9 มิ.ย. 55 เวลา 22:48 น. 5

แล้วจิตแพทย์ กับ นักจิตวิทยา&nbsp 
2 อย่างนี้จบคณะจิตวิทยาเหมือนกันหรอคะ ???

2
มิมิ 31 ธ.ค. 61 เวลา 16:43 น. 5-1

ตอบตอนนี้ทันมั้ย 55 จิตแพทย์คอแพทย์ ต้องเรียนแพทย์แล้วค่อยต่อเฉพาะทาง ส่วนนักจิตวิทยาเรียนแค่ 4 ปี ค่ะ

0
korrnun12345 6 ม.ค. 62 เวลา 08:37 น. 5-2

จิตแพทย์ได้ให้คำปรึกษาเหมือนจิตวิทยาไหมคะ?

แล้วจบจิตแพทย์แล้วสามารถเรียนจิตวิทยาต่อได้ไหมคะ?

แล้วถ้าเรียนจบทั้ง2อาชีพจะทำงานแนวไหนหรอคะ?


0
ฟลุ๊ค 14 ก.ค. 56 เวลา 20:40 น. 6

นักจิตวิทยาน่ะ เป็นแบบว่า เป็นจิตวิทยาเฉพาะทาง เช่น จิตวิทยาการสอน จิตวิทยาการขาย เป็นต้น ส่วนจิตแพทย์เป็น จิตวิทยาเกี่ยวกับการรักษาโดยเฉพาะ ประมาณนี้แหละครับ

0
ท่านปิ่น 24 ก.ค. 60 เวลา 11:19 น. 9-1

อาจจะเป็นคณะจิตวิทยา หรือสาขาจิตวิทยาในคณะมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ครุศาตร์ หรือสาขาอื่นๆ แล้วแต่มหาวิทยาลัยอ่ะ

0
paagan 30 ก.ค. 60 เวลา 20:22 น. 11

จิตวิทยามีหลายสาขา

ขออธิบายโดยยึดสาขาจิตวิทยาคลินิกเป็นหลัก เพราะเป็นวิชาชีพทางจิตเวชเช่นเดียวกับจิตแพทย์


ด้านการเรียนและการรับอนุญาตประกอบวิชาชีพ

จิตแพทย์ - เรียนจบแพทย์ก่อน (6ปี) แล้วจึงมาศึกษาต่อเฉพาะทาง ด้านจิตเวชอีก 1-2 ปี เข้ากระบวนการสอบบอร์ดวิชาชีพเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นจิตแพทย์ (ปี)

นักจิตวิทยาคลินิก - เรียนจบจิตวิทยาปริญญาตรีสาขาจิตวิิทยาคลินิก (4ปี) หรือปริญญาโทจิตคลินิก (บวก 3-4ปี) แล้วจึงมาเข้ากระบวนการสอบรับใบประกอบโรคศิลปะ (1ปี)


บทบาทการทำงาน

จิตแพทย์ - วินิจฉัยโรค(จากการซักประวัติ สัมภาษณ์) และบำบัดรักษา (ส่วนใหญ่จะเป็นยา แต่จิตแพทย์บางท่านมีการรักษาแบบจิตบำบัดร่วมด้วย เน้นปรับวิธีการคิดและประคับประคอง)

นักจิตวิทยาคลินิก - วินิจฉัยโรค (จากการซักประวัติ สัมภาษณ์ และประเมินด้วยแบบทดสอบทางจิตวิทยาคลินิก) และบำบัดรักษา (เป็นการทำจิตบำบัดและการให้การปรึกษา แนวทางหลากหลาย ทั้งปรับวิธีคิด อารมณ์ ปรับพฤติกรรม และสร้างกำลังใจ)


บางท่านทำได้บางท่านทำไม่ได้

ทุกวิชาชีพมีทั้งคนเก่งมากเก่งน้อยและคนที่ไม่เก่ง

- ดังนั้นเมื่อเจอจิตแพทย์ที่ใช้ยาเป็นหลัก ไม่ได้แปลว่าท่านอื่นจะใช้ยาเป็นอย่างเดียว

- ถ้าเจอจิตแพทย์ที่คุยน้อย ไม่ได้แปลว่าท่านอื่นจะไม่คุยบำบัด(จิตบำบัด) มีจิตแพทย์หลายท่านที่ชอบการพูดคุยบำบัดร่วมกับการรักษาด้วยยา

- ถ้าเจอนักจิตวิทยาคลินิกที่วินิจฉัยโรคไม่เก่ง ทำทดสอบอย่างเดียว ไม่ได้แปลว่า ท่านอื่นจะวิินิจฉัยไม่ได้

- ถ้าเจอนักจิตวิทยาคลิินิกที่พูดไม่เก่ง ไม่ได้แปลว่าท่านอื่นจะไม่ทำจิตบำบัด นักจิตวิทยาคลินิกหลายท่านมากที่เน้นการทำจิตบำบัด

- บุคลิกภาพของแต่ละบุคคลก็มีผลต่อการทำงาน ดังนั้นโปรดอย่าตัดสินเพียงมีข้อมูลจากคนไม่กี่คน


การเรียนทั้งสองสาขา ยาก ทั้งสองสาขา

ในประเทศไทย คะแนนสอบเข้าของแพทย์สูงกว่าแน่นอน

แต่ในต่างประเทศ(โดยเฉพาะอเมริกา) คะแนนสูง ไม่แตกต่างกัน


ดังนั้น ไม่ว่าจะเลือกเรียนอะไรสาขาใด ก็ยากทั้งสิ้น ไม่ใช่ใครก็เป็นจิตแพทย์ได้ ไม่ใช่ใครก็เป็นนักจิตวิทยาคลินิกได้

ดังนั้นหากเลือกมาสายทางนี้แล้ว ขอให้ตั้งใจเรียน มุ่งมั่น

เพราะประเทศเรายังต้องการวิชาชีพทั้งสองอีกมาก มีตำแหน่งรองรับมากมายที่ไม่มีคนมาทำงานบรรจุ

0