Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

หลักการวิจารณ์งานศิลปะ นักวิจารณ์และที่อยากเป็นจงเข้ามา!!!(1)

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ขออารัมภบทหน่อยหนึ่ง

เนื่องจากว่าตัวกระผมเองก็เป็นหนึ่งในพวกชอบวิจารณ์งานชาวบ้านไปเรื่อย
ประกอบกับเห็นว่าในบอร์ดนี้มีนักวิจารณ์อยู่หลายคนอยู่
ก็เลยนำมาฝากเผื่อเป็นความรู้ให้ได้นำไปใช้กันต่อไป(?)
ไม่มีการตัดตอนหรือย่อให้สั้นลง= =เอามาให้อ่านเต็มๆ แหละสนุกสุดๆ แล้ว(?)

การวิเคราะห์วิจารณ์งานศิลปะ 

ความหมาย

            การวิเคราะห์งานศิลปะ หมายถึง การพิจารณาแยกแยะศึกษาองค์รวมของงานศิลปะออกเป็นส่วนๆ ทีละประเด็น ทั้งในด้านทัศนธาตุ องค์ประกอบศิลป์ และความสัมพันธ์ต่างๆ  ในด้านเทคนิคกรรมวิธีการแสดงออก เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาประเมินผลงานศิลปะว่ามีคุณค่าทางด้านความงาม ทางด้านสาระ และทางด้านอารมณ์ความรู้สึกอย่างไร

             การวิจารณ์งานศิลปะ  หมายถึง การแสดงออกทางด้านความคิดเห็นต่อผลงานทางศิลปะที่ศิลปินสร้างสรรค์ขึ้นไว้ โดยผู้วิจารณ์ให้ความคิดเห็นตามหลักเกณฑ์และหลักการของศิลปะ ทั้งในด้านสุนทรียศาสตร์และสาระอื่นๆ ด้วยการติชมเพื่อให้ได้ข้อคิดนำไปปรับปรุงพัฒนาผลงานศิลปะ หรือใช้เป็นข้อมูลในการประเมินตัดสินผลงาน และเป็นการฝึกวิธีดู วิธีวิเคราะห์ คิดเปรียบเทียบให้เห็นคุณค่าในผลงานศิลปะชิ้นนั้น ๆ

คุณสมบัติของนักวิจารณ์
1. ควรมีความรู้เกี่ยวกับศิลปะทั้งศิลปะประจำชาติและศิลปะสากล
2. ควรมีความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ศิลปะ
3. ควรมีความรู้เกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ ช่วยให้รู้แง่มุมของความงาม
4. ต้องมีวิสัยทัศน์กว้างขวาง และไม่คล้อยตามคนอื่น
5. กล้าที่จะแสดงออกทั้งที่เป็นไปตามหลักวิชาการและตามความรู้สึกและประสบการณ์

ทฤษฎีการสร้างงานศิลปะ จัดเป็น 4 ลักษณะ  ดังนี้

1. นิยมการเลียนแบบ (Imitationalism Theory)
เป็นการเห็นความงามในธรรมชาติแล้วเลียนแบบไว้ให้เหมือนทั้งรูปร่าง รูปทรง สีสัน ฯลฯ

2. นิยมสร้างรูปทรงที่สวยงาม (Formalism Theory)
เป็นการสร้างสรรค์รูปทรงใหม่ให้สวยงามด้วยทัศนธาตุ (เส้น รูปร่าง รูปทรง สี น้ำหนัก พื้นผิว บริเวณว่าง) และเทคนิควิธีการต่างๆ

3. นิยมแสดงอารมณ์ (Emotional Theory)
เป็นการสร้างงานให้ดูมีความรู้สึกต่างๆ ทั้งที่เป็นอารมณ์อันเนื่องมาจากเรื่องราวและอารมณ์ของศิลปินที่ถ่ายทอดลงไปในชิ้นงาน

4. นิยมแสดงจินตนาการ (Imagination Theory)
เป็นงานที่แสดงภาพจินตนาการ แสดงความคิดฝันที่แตกต่างไปจากธรรมชาติและสิ่งที่พบเห็นอยู่เป็นประจำ

แนวทางการวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของงานศิลปะ

            การวิเคราะห์และการประเมินคุณค่าของงานศิลปะโดยทั่วไปจะพิจารณาจาก 3 ด้าน  ได้แก่

1. ด้านความงาม

       เป็นการวิเคราะห์และประเมินคุณค่าในด้านทักษะฝีมือ การใช้ทัศนธาตุทางศิลปะ และการจัดองค์ประกอบศิลป์ว่าผลงานชิ้นนี้แสดงออกทางความงามของศิลปะได้อย่างเหมาะสมสวยงามและส่งผลต่อผู้ดูให้เกิดความชื่นชมในสุนทรียภาพเพียงใด ลักษณะการแสดงออกทางความงามของศิลปะจะมีหลากหลายแตกต่างกันออกไปตามรูปแบบของยุคสมัย ผู้วิเคราะห์และประเมินคุณค่าจึงต้องศึกษาให้เกิดความรู้ ความเข้าใจด้วย เช่น

ภาพแม่พระมาดอนนา พระเยซู และเซนต์จอห์น
(The Madonna and Child with The infant St. John)
เทคนิคสีน้ำมันบนแผ่นไม้
ผลงานของราฟาเอล (Raphael)
แสดงรูปแบบความงามของภาพโดยใช้รูปคนเป็นจุดเด่น
มีความเวิ้งว้างของธรรมชาติเป็นฉากหลังแสดงความตื้นลึกใกล้ไกล
โดยใช้แนวทางของทัศนียวิทยาและการจัดองค์ประกอบภาพในแนวกรอบสามเหลี่ยม
ซึ่งเป็นลักษณะความงามในการจัดองค์ประกอบศิลป์ที่ศิลปินในสมัย
ฟื้นฟูศิลปวิทยานิยมทำกัน


ภาพองค์ประกอบศิลป์ (Composition) 
เทคนิคสีน้ำมันบนผ้าใบ (พ.ศ.2472)
ผลงานของ พีต  มอนดรีอัน (Piet  Mondrian)
เน้นการออกแบบโดยเส้นที่ตัดกันเป็นมุมฉากระหว่างเส้นนอนกับเส้นตั้ง
เกิดเป็นบริเวณว่างให้มีความสัมพันธ์กันภายในกรอบสี่เหลี่ยม
ด้วยการใช้สีแดง เหลือง น้ำเงินที่สดใส รวมทั้งสีขาว ดำ และเทา
ในแบบนามธรรมที่ใช้เส้นเรขาคณิตเป็นหลัก

       สรุปการวิเคราะห์และการประเมินคุณค่าของงานศิลปะในด้านความงามจะตัดสินกันที่รูปแบบการจัดองค์ประกอบศิลป์ให้เกิดคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์ หรือการเห็นคุณค่าทางความงามนั่นเอง

2. ด้านสาระ

       เป็นการวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของผลงานศิลปะแต่ละชิ้นว่ามีลักษณะส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนจุดประสงค์ต่างๆ ทางจิตวิทยาว่าให้สาระอะไรกับผู้ชมบ้าง ซึ่งอาจเป็นสาระเกี่ยวกับธรรมชาติ สังคม ศาสนา การเมือง ปัญญา ความคิด จินตนาการ และความฝัน เช่น



ภาพวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2351 (The Third of May 1808)
ผลงานของฟรันซิสโก โจเซ เด โกยา (Francisco Jose de Goya) จิตรกรชาวสเปน
แสดงคุณค่าด้านสาระให้เห็นถึงความเจ็บปวดจากการถูกย่ำยีและเข้ายึดครองประเทศสเปนของทหารฝรั่งเศส ในสมัยนโปเลียนที่มีการสังหารประชาชนผู้แสวงหาอิสรภาพอย่างเลือด็น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความไม่มีคุณธรรมในการปกครองบ้านเมือง

3. ด้านอารมณ์ความรู้สึก

        เป็นการคิดวิเคราะห์และประเมินคุณค่าในด้านคุณสมบัติที่สามารถกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกและสื่อความหมายได้อย่างลึกซึ้งของวัสดุ ซึ่งเป็นผลของการใช้เทคนิคแสดงออกถึงความคิด พลัง ความรู้สึกที่ปรากฏอยู่ในผลงาน เช่น

ภาพฝูงกาเหนือทุ่งข้าวสาลี (Wheatfield with Crows)
เทคนิคสีน้ำมันบนผ้าใบ
ผลงานของ ฟินเซนต์ ฟาน ก็อก (Vincent Van Gogh)
แสดงพลังความรู้สึกของศิลปินแทรกอยู่ในรอยฝีแปรงของเส้นสี ซึ่งบ่งบอกถึงความรู้สึกภายในได้อย่างชัดเจน เป็นภาพเขียนชิ้นสุดท้ายในชีวิตที่อาภัพและรันทดของ ฟินเซนต์ ฟาน ก็อก ซึ่งเขียนภาพนี้ขึ้นก่อนยิงตัวตาย

ประติมากรรมชื่อ ปิเอตา ( Pieta )
ผลงานของ มิเคลันเจโล (Michelongelo Buonarroti)
แสดงคุณค่าด้านความงามขององค์ประกอบศิลป์ที่จัดไว้ในแนวกรอบของรูปสามเหลี่ยม
ซึ่งเป็นการจัดองค์ประกอบศิลป์ที่นิยมกันมากในผลงาน ศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา
(Renaissance) นอกจากนั้นยังแสดงความงามของแนวเส้นโค้งของพระเศียรพระแม่มาเรีย
ที่ก้มพระพักตร์ลงกับแนวเส้นโค้งของพระวรกายองค์พระเยซูที่นอนพาดอยู่บนตัก
อย่างงดงามกลมกลืน ได้คุณค่าทางอารมณ์ความรู้สึกเป็นอย่างดี ทำให้มองเห็นถึงความรู้สึกของแม่
ผู้มีความรักความผูกพันต่อลูก รวมทั้งยังได้คุณค่าสาระทางด้านศาสนาอีกด้วย

      กระบวนการวิจารณ์งานศิลปะตามหลักการและวิธีการ

1. ขั้นระบุข้อมูลของผลงาน
         
เป็นข้อมูลรายละเอียดสังเขปเกี่ยวกับประเภทของงาน ชื่อผลงาน ชื่อศิลปิน ขนาด วัสดุ เทคนิค วิธีการ สร้างเมื่อ พ.ศ.ใด ปัจจุบันติดตั้งอยู่ที่ไหน รูปแบบการสร้างสรรค์เป็นแบบใด

2. ขั้นตอนการพรรณนาผลงาน
     
         เป็นการบันทึกข้อมูลจากการมองเห็นภาพผลงานในขั้นต้นว่าเป็นภาพอะไร เช่น ภาพคน ภาพสัตว์ ภาพทิวทัศน์ ภาพหุ่นนิ่ง เป็นต้น มีเทคนิคในการสร้างสรรค์แบบใด     

3. ขั้นวิเคราะห์
          
เป็นการดูลักษณะภาพรวมของผลงานว่าจัดอยู่ในประเภทใด พิจารณารูปแบบการถ่ายทอดเป็นแบบใด จำแนกทัศนธาตุและองค์ประกอบศิลป์ออกจากภาพรวมเป็นส่วนย่อยให้เห็นว้มีหลักการจัดภาพที่กลมกลืนหรือขัดแย้งอย่างไร

4. ขั้นตีความ
                เป็นการค้นหาความหมายของผลงานว่า ศิลปินหรือผู้สร้างสรค์ต้องการสื่อให้ผู้ชมผลงานได้รับรู้เกี่ยวกับอะไร เช่น สภาพปัญหาในชุมชน สังคม และภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น

5. ขั้นประเมินผล
                เป็นการประเมินคุณค่าของผลงานศิลปะชิ้นนั้นจากการพิจารณาทุกข้อในเบื้องต้น สรุปให้เห็นข้อดีและข้อด้อยในด้านเนื้อหาและเรื่องราว หลักทัศนธาตุและหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ ทักษะ ฝีมือ และการถ่ายทอดความงาม เพื่อการพัฒนาหรือตัดสินผลงานชิ้นนั้น


อันที่2:: http://www.dek-d.com/board/view.php?id=1951626

เครดิต:: http://cheeranan.exteen.com/20071216/entry


แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 17 ตุลาคม 2553 / 18:37

แสดงความคิดเห็น

>

7 ความคิดเห็น

SARU-kumi 17 ต.ค. 53 เวลา 21:27 น. 2

 เราคงไม่สามารถตีความเป็นทางการได้ขนาดนี้(ฮา)
แต่เวลาเราติ ก็มีหลักการคล้ายๆกันล่ะนะ คือใช้ความรู้ตัวเอง บวกสายตาสอดส่องหาจุดพลาด(ฮา) แล้วค่อยเขียนแนะนำ


PS.  SARU-Kumi : http://saru-kumi.exteen.com/ <<ใครเล่นเหมือนกัน เชิญค่ะ =W=//
0
★[l'ittlepat]★ 18 ต.ค. 53 เวลา 00:56 น. 3

อืม มันก็ต้องประมาณนี้แหละ ถ้าอยากจะเป็นนักวิจารณ์งานศิลป์จริงๆ =w=
ตอนนี้ก็ได้แต่ดูแค่ว่ามันสวย หรือไม่สวย น่าประทับใจหรือไม่ในความรู้สึกของเราน่ะแหละ อาจมีด้านทฤษฎีที่เคยเรียนมาปนอยู่หน่อยๆ (หน่อยเดียวจริงๆ =_=") 
เพราะในความคิดของแพ็ต ถึงงานมันจะมีความหมายแฝงอยู่ขนาดไหน หรือมีเทคนิคอลังการงานสร้างเท่าใด ถ้าทำให้คนประทับใจไม่ได้ มันก็เป็นเพียงงานศิลปะที่มีไว้ให้ผู้สร้างดูเท่านั้นเอง

แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 18 ตุลาคม 2553 / 00:57


PS.  แพ็ตเองจ้า
0
[ Pee ] 18 ต.ค. 53 เวลา 05:12 น. 4

ขอบคุณท่านปันมากเลยนะ
ได้ความรู้เยอะจริงๆ

ปล.ตอนนี้เรากำลังเรียนศิลปะที่โรงเรียนเรื่องนี้พอดีเลย
การบ้านบาน - -


PS.  ทุกสิ่งทุกอย่างต้อง "ทำใจ" 555+
0
MinnaM 8 ก.ค. 54 เวลา 00:29 น. 6

ขอบคุณทีมงานเว็ปไซต์เด็กดี.คอม นะคะ ที่นำข้อมูลเรื่องการวิจารณ์งานศิลปะ จากblogของอาจารย์มาลิงค์ให้น้องๆ นักเรียนได้มำความรู้ไปใช้...ขอบคุณจริงๆค่ะ...อ.จีรนันทน์ (Cheeranan.exteen.com)


PS.  "มักเน่คยูชอบกดเกมส์ แต่อย่าลืมกดอีกสิ่งสำคัญ นั่นคือเมีย..."
0