Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ชิงหมาเถิด ความสุขจอมปลอมที่ควรค่าแก่การปกป้อง

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

ชิงหมาเถิด

ชิงหมาเถิด (The Dog) เป็นหนังโรงเรื่องที่ 3 ของผู้กำกับ พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง คนที่ขึ้นไปพูดปลุกใจในงานแจกรางวัลนาฏราชน่ะแหละ โดยก่อนหน้านี้เป็นหนังรัก Me.. Myself กับ Happy Birthday แต่ใน ชิงหมาเถิด นี้โปรโมทว่าเป็นหนังตลก และได้เรตติ้ง น18+ ซึ่งถือว่าแรงเอาเรื่องทีเดียว

** เนื้อหาต่อจากนี้ เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของหนัง **

ในเรื่อง ชิงหมาเถิด (ไม่ใช่ ชิงหมาเกิด)  เป็นเรื่องของ หนุ่มพ่อไม่รัก, พ่อที่รักลูกสาว แล้วก็วัยรุ่นรักพ่อแต่ไม่แสดงออก หาเรื่องมาขโมย “หมาหิมะ” สัตว์หายาก ขวัญใจของคนในประเทศอะไรสักอย่างที่ไม่บอกชื่อ รู้แค่ว่ามีสนามบินชื่อ “สุพรรณภูมิ”, มี 14 จังหวัด และมี “จังหวัดชายทะเล” ที่กำลังถูกคุกคามจากการก่อการร้าย

ในทีแรก เราอาจมองอย่างผิวเผินได้ว่า “หมาหิมะ” เป็นการจิกกัด เสียดสี กระแสแพนด้าฟีเวอร์ แต่ถ้าดูในเรื่องแล้วเหมือนจะไม่ได้เป็นอย่างงั้นซะทีเดียว เพราะการต้องเอาเงินภาษีประชาชนมาประเคนให้หมาหิมะ สร้างที่อยู่ใหญ่โต ระบบรักษาความปลอดภัยอย่างเว่อร์ รวมทั้งโปรโมทผ่านสื่อทุกชนิด  พอถึงวันเกิดยังมีการจัดงานวันเกิดให้อย่างยิ่งใหญ่ ไปที่ไหนในประเทศก็เห็นแต่หมาหิมะ ทั้งป้ายตามทางด่วน น่าจะเยอะกว่าแพนด้าแล้ว

ตัวเราเองไม่สามารถดู “ชิงหมาเถิด” ด้วยจิตใจที่ปราศจากอคติได้ เพราะในเมื่อรู้จุดยืนทางการเมืองของผู้กำกับแล้ว การมองประเด็นการเมืองในเรื่องโดยที่ไม่เอาไปโยงเข้ากับแนวคิดทางการเมืองของผู้กำกับ แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ประเด็นต่างๆ ที่เอามาคิดต่อ อาจจะใช่หรือไม่ใช่ความตั้งใจของผู้กำกับ หรืออาจจะเป็นแค่การตีความไปเองฝ่ายเดียว แต่หลายอย่างก็อดนำเอามาคิดไม่ได้ โดยเฉพาะประเด็นความสัมพันธ์แบบ พ่อ-ลูก (เป็นเรื่องบังเอิญหรือไม่ ที่ตัวผู้กำกับเองก็ดูจะสมาทานแนวคิดแบบนี้อยู่)

ในหนังมีความสัมพันธ์แบบ พ่อ-ลูก อยู่หลายคน หลายคู่ มีทั้งแบบ พ่อที่ไม่สนใจลูก (โกวิท), ลูกที่อยากได้ความรักจากพ่อ (บอย), พ่อที่รักลูก (โก๊ะตี๋), ลูกที่ (มาริโอ)

ตัวเอกที่รับ บทโดย บอย มีชื่อในเรื่องว่า “แบงค์” เหมือนจะบอกคนดูเป็นนัยๆ ว่าเป็นตัวละครที่เป็นตัวแทนทุนนิยม การใช้เงินในการแก้ปัญหา แต่สิ่งหนึ่งที่แบงค์ไม่เคยได้รับ คือการใส่ใจจากคนที่เป็นพ่อของตัวเอง ซึ่งหากเรามองตัวละครของโกวิทที่เล่นเป็นพ่อ เป็นฝ่ายที่อิงแอบหาผลประโยชน์กับความนิยมของหมาหิมะ ตัวแบงค์เองก็เป็นอีกฝ่ายที่ต้องการเปลี่ยนเกมนี้ ต้องการ “ส่วนแบ่ง” ที่ตัวเองไม่เคยได้ จนต้องไปจับมือกับ รากหญ้าอย่างโก๊ะตี๋ และปัญญาชนอย่างมาริโอ ขึ้นมาเพื่อทำลายอำนาจเดิม

ตัวละครของ โก๊ะตี๋ ที่ในเรื่องพ่นคำว่า “เ้ย” ออกมานับครั้งไม่ถ้วน, ยอมกลืนน้ำลายตัวเองทุกครั้งที่ได้เงิน ไม่ต่างกับภาพของชาวบ้านรากหญ้าทั่วไปในสายตา “ชนชั้นกลาง” ที่ดูไร้อารยะและตกเป็นทาสเงินตรา เป็นตัวตลกหยาบคาย เป็นตัวละครที่ “เจ็บ” ก่อนคนอื่นเสมอ แต่ในที่สุดแล้ว สามารถกลับตัวกลับใจกลายเป็นรากหญ้าในอุดมคติขึ้นมาทันทีได้ ด้วยการแสดงออกถึงคุณค่าในแบบชนชั้นกลาง อย่างความเป็นพ่อที่รักลูก หรือความรักเมียแบบ “ยอมเจ็บเพื่อเธอ”

ชิงหมาเถิด

เราอาจแทนตัวละครของ มาริโอ ได้ด้วยภาพของปัญญาชนที่ไม่สามารถหาที่ทางของตัวเองในสังคมได้ เป็นคนที่ “ไม่มีปากมีเสียง” ในสังคม น่าเสียดายที่ว่า ตั้งแต่ ท่าทางที่ดูฉลาดตอนต้นเรื่องก็ดูจะหายไปหมด ไม่ได้ทำอะไรนอกจาก “ร้องหาพ่อ”

แต่ในที่สุดแล้ว ความพ่ายแพ้ของกลุ่มตัวเอก คือการกลับตัวเป็นรากหญ้าที่อยู่ในโอวาท, การรู้จักหน้าที่ของตัวเอง, สุดท้ายคือ การยอมสยบต่อเหตุผลที่ว่า “หมาหิมะทำให้คนในประเทศมีความสุข” เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องรักษาไว้ และทนดูละครตบตา หลอกคนทั้งประเทศกันต่อไปว่า หมาหิมะที่เห่อๆ กันอยู่นี้เป็นของปา่ แค่มีผู้มีวิชาชีพที่ดูน่าเชื่อถือมายืนยันก็พอแล้ว

จะตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจก็ตาม การที่ตัวเอกล้มเลิกการแฉความจริงเรื่องหมาหิมะ ด้วยเหตุผลที่ว่า เป็นการยืนยันแนวคิดทางการเมืองของผู้กำกับได้ชัดเจนยิ่ง ว่าความสุขนี้เป็นสิ่งที่สมควรต้องรักษาไว้ ส่วนมันจะเป็น “ความสุขจอมปลอม” หรือเปล่าก็แล้วแต่คนดูจะตัดสินใจ

การทำหน้าที่ของสัตวแพทย์หญิง ไม่ต่างอะไรกับการเป็นตรายางของสังคม ผูกขาดเรื่องทาง “เทคนิค” ที่คนทั่วไปไม่รู้ เปลี่ยนความไม่จริงให้เป็นความจริงได้อย่างเนียนๆ

ส่วนตัว ละครนักฆ่าที่ดูเหมือนจะทำหน้าที่ของตัวเองเพื่อเงิน และรับใช้อำนาจที่อยู่เบื้องหลัง ส่วนตัวแล้วก็เป็นผู้จงรักภักดีต่อ “หมา” ละเว้นโทษถึงตายให้กับคนที่ “รักหมา” เหมือนกัน (แต่กับตัวละครที่กล้าขโมยหมา ท้าทายต่อ “ความจริงแท้” ของหมา โทษตายไม่สามารถยกเว้นได้)

ในแง่ของการอธิบายว่า หมาหิมะ เป็นแค่หุ่นเชิด เป็นผู้บริสุทธิ์ เป็นการใช้ประโยชน์ของบุคคลที่อยู่เบื้องหลังที่ต้องการอำนาจสามารถทำได้ทุก อย่าง แม้กระทั่งสั่งฆ่าคน สามารถนำมาซ้อนทับกับภาพจินตนาการการเมืองไทยของคนบางกลุ่มได้อย่างแนบเนียน และยังคงรักษาความบริสุทธิ์ ปราศจากมลทินของหมาหิมะเอาไว้ได้ ว่าเรื่องรายวุ่นวายทั้งหลาย (ที่กลายเป็นปัญหาระดับชาติ) มันเป็นเรื่องผลประโยชน์ทั้งนั้น “หมา” น่ะ ลอยตัว ไม่ได้เกี่ยวอะไรด้วยเลย

บางทีสิ่งที่หนังต้องการบอกคนดูอย่างจริงจัง อาจจะเป็นว่า “ใครๆ ก็รักหมากันทั้งนั้น ทำไมเอ็งไม่รักล่ะ”

.

โดย รักสาวแว่น ไม่รักหมา

ทางบ้านส่งมานะครับ
http://movie.mthai.com/movie-review/80289.html/comment-page-2#comment-128954

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น