Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ความหมายของบ้าน

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ความหมายของบ้าน
               บ้านเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ให้ความรัก ความอบอุ่น ความปลอดภัย เป็นศูนย์รวมของสมาชิกทุกคนในครอบครัวที่จะใช้ชีวิตร่วมกันอย่างมีความสุขและมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน  
               ครอบครัว หมายถึง หน่วยหนึ่งของสังคม ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไปอยู่ร่วมบ้านเดียวกัน ให้การศึกษา อบรมเลี้ยงดู
ความหมายของคำว่า บ้าน ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน บ้าน ความหมาย ที่อยู่อาศัย สิ่งปลูกสร้างสำหรับเป็นที่อาศัย เช่น บ้านพักตากอากาศ บ้านเช่า โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างสำหรับใช้เป็นที่อาศัยซึ่งมีเจ้าบ้านครอบครอง และหมายรวมถึง แพ หรือ เรือ ซึ่งจอดเป็นประจำ
                ความสำคัญของครอบครัว ให้การศึกษา อบรมเลี้ยงดู ถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆและสร้างเสริมประสบการณ์ต่างๆ ให้กับสมาชิกที่อาศัยอยู่ร่วมกัน ตั้งแต่เกิดจนเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ให้ความรัก ความเมตตา การเอาใจใส่ ห่วงใย อาทร สร้างความเข้าใจ พยายามเข้าใจ และสร้างสมาชิกในครอบครัวให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สังคมต้องการ
ปัญหาครอบครัว
   ปัญหาครอบครัวหมายถึงปัญหาที่เกิดขึ้นภายในครอบครัว  ได้แก่ปัญหาระหว่างสามีภรรยา ความขัดแย้งระหว่างพ่อกับแม่ พี่กับน้อง  พ่อกับลูกหรือแม่กับลูก  ปัญหาการติดต่อสื่อสารระหว่างสมาชิกภายในครอบครัว  ปัญหาความสัมพันธ์  ความไม่เข้าใจกัน  
อาการ
   ปัญหาในครอบครัวอาจแสดงอาการออกได้หลากหลายรูปแบบ เช่น บางคนมีความเครียด ปวดหัว ปวดท้องไม่ทราบสาเหตุ  หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า เบื่อหน่ายท้อแท้ชีวิต จนอาจถึงคิดอยากตาย  อาจมีการขัดแย้ง ทะเลาะเบาะแว้งกันบ่อยๆ  ปัญหาอาจลุกลามใหญ่โต หรือเรื้อรัง จนอาจทำให้สมาชิกครอบครัวเกิดอาการทางจิตเวช  หรือป่วยทางจิตเวชกันได้หลายคน เช่น โรคจิต โรคประสาท โรคซึมเศร้า โรคติดสารเสพติด โรคบุคลิกภาพแปรปรวน ดังนั้นการแก้ไขปัญหาครอบครัวตั้งแต่ต้น จึงช่วยป้องกันปัญหาทางจิตเวช และความเจ็บป่วยทางกายได้
การรักษา
การแก้ไขปัญหาครอบครัว สามารถให้การรักษาได้หลายระดับ  ตั้งแต่การให้คำปรึกษาครอบครัว  ไปจนถึงการรักษาแบบครอบครัวบำบัด  ซึ่งมีหลักการรักษา คือ สมาชิกครอบครัวทุกคนมีส่วนร่วมในการเข้าใจปัญหา  หาทางคลี่คลายหรือแก้ไขปัญหาร่วมกัน ช่วยกันปรับเปลี่ยนตนเอง โดยไม่ต้องรอให้อีกฝ่ายหนึ่งแก้ไขก่อน
  การรักษาวิธีนี้ แพทย์จะไม่ค้นหาตัวปัญหา หรือ คนผิด ไม่ตัดสินว่าใครผิดถูก  การช่วยกันปรับความสัมพันธ์ระหว่างกัน การวางตัวต่อกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจกัน บนพื้นฐานของความรัก ความอบอุ่นความห่วงใย ความปรารถนาดีต่อกัน
   ในกรณีที่ความขัดแย้งมีสะสมมานาน  การรักษาจะไม่ขุดคุ้ยความขัดแย้งเก่าๆขึ้นมาอีก  แต่จะวิเคราะห์เฉพาะปัญหาในปัจจุบัน หากลยุทธ หรือวิธีการใหม่ๆ เพื่อคลี่คลายปัญหาหรือความขัดแย้ง สร้างคุณภาพชีวิตครอบครัวเพื่อให้ทุกคนมีความสุข
การป้องกัน
   ครอบครัวที่อบอุ่น เป็นภูมิต้านทานต่อความเจ็บป่วยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โรคทางกาย โรคทางจิต และ โรคติดสารเสพติด  การสร้างครอบครัวที่อบอุ่น ทำได้ดังนี้
1.มีการติดต่อสื่อสารที่ดี เมื่อมีคนพูด ควรมีคนรับฟัง พยายามทำความเข้าใจกัน บอกความต้องการด้วยความสงบ ไม่ต่อว่า ส่อเสียดคุกคามกัน ไม่ควรเริ่มต้นด้วยการตำหนิ ว่ากล่าว หรือจี้จุดอ่อนของอีกฝ่ายหนึ่ง
2. มีการเคารพสิทธิส่วนตัวของกันและกัน ในพื้นฐานของกติกาที่ดี ไม่มีการละเมิดสิทธิส่วนตัวซึ่งกันและกัน แต่ละคนอาจมีความคิดเห็นแตกต่างกันได้
3. พ่อแม่ควรมีความร่วมมือกันในการดูแลครอบครัว   การแก้ไขปัญหาต่างๆ และปัญหาพฤติกรรมเด็ก
4. การมีเวลาที่มีคุณภาพร่วมกัน แม้เวลาเพียงเล็กน้อย แต่คุณภาพที่ดีจะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดี  เป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาครอบครัวที่มีคุณภาพ
บทบาทและหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัว
เมื่อเราอยู่ร่วมกันในครอบครัว ทุกคนต่างก็มีบทบาทหน้าที่ที่ต้องทำในฐานะสมาชิกคนหนึ่งของครอบครัว เช่น หน้าที่ของพ่อแม่ที่มีต่อลูก หน้าที่ของลูกที่มีต่อพ่อแม่ หน้าที่ของพี่ที่มีต่อน้อง เป็นต้น


หน้าที่ของพ่อ
ในฐานะที่พ่อเป็นหัวหน้าครอบครัว พ่อมีหน้าที่สำคัญดังนี้
๑. ทำงานหาเงินมาเลี้ยงสมาชิกในครอบครัว
๒. อบรมสั่งสอนให้ลูกเป็นคนดี
๓. ดูแลคุ้มครองลูก
๔. ให้การศึกษาเล่าเรียนแก่ลูก

หน้าที่ของแม่
ในฐานะที่แม่เป็นแม่บ้านแม่มีหน้าที่สำคัญดังนี้

ดูแลความเป็นอยู่ของสมาชิกในครอบครัว ในเรื่องอาหารการกิน ความสะอาดของบ้าน
อบรมสั่งสอนให้ลูกเป็นคนดี
ดูแลทุกข์สุขของลูก
ให้ความรัก ความเมตตา และความอบอุ่นแก่ลูก
หน้าที่ของลูก
ในฐานะที่ฉันเป็นลูกฉันมีหน้าที่สำคัญ ดังนี้
๑. เคารพเชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่
๒. ช่วยเหลือรับผิดชอบตนเอง
๓. ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
๔. ตั้งใจเรียนหนังสือ
๕. ประพฤติตนเป็นเด็กดี

หน้าที่ของพี่/น้อง
พี่หรือน้องมีหน้าที่ที่ปฏิบัติต่อกัน ดังนี้

รักใคร่ ห่วงใยซึ่งกันและกัน
มีความสามัคคีกัน ไม่ทะเลาะเบาะแว้งกัน
ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
คอยตักเตือนกัน ไม่ให้อีกฝ่ายประพฤติตนไม่ดี


สิทธิและเสรีภาพของสมาชิกในครอบครัว
การอยู่ร่วมกันในครอบครัวนอกจากสมาชิกทุกคนจะมีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบในฐานะสมาชิกของครอบครัวแล้ว สมาชิกแต่ละคนยังมีกิจกรรมส่วนตัวที่แตกต่างกัน เช่น กิจกรรมส่วนตัวของแต่ละคนนี้ เป็นกิจกรรมที่สมาชิกมีเสรีภาพในการเลือกกระทำได้ตามความสนใจของตนเอง แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับว่า กิจกรรมส่วนตัวของเรา ต้องไม่ก่อให้เกิดความเดือนร้อนแก่ตนเองและผู้อื่น
บางเวลาเมื่อสมาชิกทุกคนในครอบครัวได้มาพบปะกันพร้อมหน้าในโอกาสต่างๆ เช่น ในเทศกาลปีใหม่ ก็จะมีการทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น กินข้าวด้วยกัน ไปทำบุญด้วยกัน เป็นต้น ทำให้สมาชิกพูดคุยกัน ซึ่งสมาชิกทุกคนในครอบครัวมีสิทธิเสรีภาพในการพูด ซักถาม หรือแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆได้ และเมื่อมีความคิดเห็นที่ขัดแย้งกันเกิดขึ้น ก็ต้องรู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และแก้ไขข้อขัดแย้งด้วยเหตุผล

สิทธิเด็ก
นักเรียนจำได้หรือไม่ว่า เมื่อตอนที่เรายังเป็นเด็กเล็กๆ ยังไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ใครเป็นผู้ดูแลเรา คอยป้อนข้าว ป้อนนม อาบน้ำให้
เมื่อเราเติบโตขึ้ึนมา สามารถช่วยเหลือตนเองได้บางเรื่อง แต่พ่อแม่ก็ยังต้องคอยดูแลเรา และคุ้มครองป้องกันไม่ให้ผู้อื่นมาทำร้ายร่างกายเรา
การที่พ่อแม่คอยดูแลเรา ให้ความรัก และให้ความอบอุ่นแก่เรานั้นเป็นไปตามธรรมชาติิ เพราะพ่อแม่ย่อมต้องรักลูกของตนเองแต่บางครั้งก็มีเด็กบางคนที่โชคร้้ายไม่ได้รับการเลี้ยงดูเอาใจใส่จากพ่อแม่ทำให้เด็กขาดที่พึ่ง และอาจได้รับอันตรายได้
ดังนั้น รัฐจึงมีการรับรองและคุ้มครองสิทธิของเด็ก เพราะเด็กยังอ่อนเยาว์อ่อนแอ ไร้เดียงสา และขาดประสบการณ์ ยังไม่สามารถคุ้มครองตนเองได้เต็มที่จึงอาจถูกทำร้ายหรือถูกทำทารุณได้ง่าย
            กฏหมายเกี่ยวกับ การเกิด การตาย

การสร้างสัมพันธภาพและบรรยากาศที่อบอุ่นในครอบครัว  เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจ และสังคมในปัจจุบันทั้งสังคมชนบทและสังคมเมืองที่มีการเปลี่ยนแปลง  จากสังคมเกษตรมาเป็น สังคมอุตสาหกรรมที่มีผลทำให้สมาชิกแต่ละคนของครอบครัวมีบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ มากขึ้นและแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล  ความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัวก็มีการเปลี่ยนแปลง ตามไปด้วย  ดังนั้นเพื่อให้สมาชิกในครอบครัวมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน  สมาชิกในครอบครัวควรรู้ บทบาทหน้าที่การงานและร่วมกันสร้างสัมพันธ์ในครอบครัว โดยปฏิบัติดังต่อไปนี้
1.    เปิดโอกาสให้สมาชิกมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น  และร่วมตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหา ต่างๆ ในครอบครัว
2.    สร้างกิจกรรมฝึกสมาชิกให้เป็นผู้นำ  และผู้ตามที่ดี  ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
3.    ให้สมาชิกแต่ละคนในครอบครัวได้รับผิดชอบงานในครอบครัวตามความเหมาะสม  และหากิจกรรมทำร่วมกัน  เป็นการฝึกการช่วยเหลือเอื้ออาทร  และมีน้ำใจอันดีต่อกัน  ไม่นิ่งดูดาย  และเพื่อเรียนรู้อุปนิสัยซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังเป็นการสร้างความสามัคคีระหว่างสมาชิกในครอบครัวที่ดี
4.    ฝึกให้สมาชิกในครอบครัวรู้จักลดและหลีกเลี่ยงการขัดแย้งระหว่างสมาชิก  โดยให้ พยายามทำความเข้าใจ  และรู้จักให้อภัยซึ่งกันและกัน
5.    ฝึกให้สมาชิกมีสัมมาคารวะ  เคารพนับถือผู้อาวุโส  ประพฤติตนให้เหมาะสมกับวัย  และกาละเทศะ  มีความอ่อนน้อมถ่อมตน  และรู้จักเสียสละตามควรแก่โอกาส
การจัดและดูแลรักษาบ้าน
บ้านเป็นสถานที่ให้สมาชิกได้อยู่อาศัย  พักผ่อนนอนหลับให้ปลอดภัย  ดังนั้นควรจัดและ ดูแลรักษาบ้านให้น่าอยู่

แสดงความคิดเห็น

18 ความคิดเห็น

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

มีข้อความหยาบคาย ใช้ภาษาไม่เหมาะสม