Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

“GooGle” ทำไมต้องตั้งชื่อนี้ด้วยน่ะ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

เฮนรี่ก็เป็นคนหนึ่งที่ชอบใช้ GooGle หาข้อมูลใหม่ๆเพื่ออัพเดทข่าวสารตลอด แต่รู้มั้ยว่า GooGle ชื่อนี้มาจากอะไรกัน เพราะชื่อนี้แท้ๆจึงรวยแบบทุกวันนี้ แถมท้ายเฮนรี่นำเรื่องราวกว่าจะเป็น GooGle ในทุกวันนี้มาฝากครับ

 



 

ชื่อ "Google" มาจากคำว่า "googol" ซึ่งหมายถึงจำนวนทางคณิตศาสตร์ที่หมายถึงเลข แล้วตามด้วยเลข อีกหนึ่งร้อยตัว หรือ 10100 เพื่อเป็นการแสดงถึงเป้าหมายของบริษัทที่จะจัดการกับข้อมูลจำนวนมหาศาล อีกกระแสหนึ่งบอกว่าชื่อ Google มาจากความผิดพลาดในการจดโดเมนเนมในช่วงก่อตั้ง

วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 กูเกิลชนะความในศาล ในคดีที่มีบริษัทอื่นตั้งชื่อใกล้เคียง ได้แก่ googkle.com ghoogle.com และ gooigle.com เพื่อเรียกให้คนอื่นเข้าเว็บไซต์ของตน ทำให้เกิดความเสียหายกับชื่อเสียงของกูเกิล

 

เฮนรี่ขอแถมเนื้อหา “กว่าจะมาเป็น GOOGLE” ด้วยคับ

 




ในปี 1996 แลร์รี เพจ (Larry Page) หนุ่มชามมิชิแกนวัย 24 ปี เพิ่งเข้าไปเป็นนักศึกษาปี 1 ระดับปริญญาเอกสาขาคอมพิวเตอร์ที่สแตนฟอร์ดสุดยอดมหาวิทยาลัยด้านไอทีที่ตั้งอยู่ใจกลางอาณาจักรซิลิคอนแวลลีย์ หรือย่านที่มีบริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์อยู่รวมกันมากที่สุด ในโลกในรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐเพจเพิ่งจบปริญญาตรีจากมหาลัยมิชิแกน และได้เกียรติยมด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

 

หลังจากเลือกศาสตราจารย์เทอร์รี วิโนกราด ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว ภารกิจแรกของเขาคือการหา หัวข้อทำวิทยานิพนธ์  และเนื่องจากคุณพ่อเคยสอนไว้ว่า หัวข้อวิทยานิพนธ์มีความสำคัญต่อชีวิตในอนาคต

 


           เพจจึงต้องเลือกเฟ้นเป็นพิเศษ แต่หัวข้อที่เขาคิดได้สิบกว่าเรื่องวนเวียนอยู่กับเวิร์ลไวด์เว็บ เขาจึงรู้ว่า จิตใจเขาฝักใฝ่อยู่กับเรื่องนี้  จึงตัดสินใจจะค้นคว้าอะไรสักอย่างเกี่ยวกับเวิลด์ไวด์เว็บนี่แหละ

 

           เมื่อเขาไปขอความเห็นจากอาจารย์ ที่ปรึกษา อาจารย์กับเขาได้ข้อสรุปร่วมกันว่า โครงสร้างความสัมพันธ์ในเว็บเป็นสิ่งที่น่าสนใจที่สุด โดยเฉพาะการหาวิธีตรวจสอบและรวบรวมเว็บไซด์จำนวนมหาศาลที่เชื่อมโยงกันเป็นทอด ๆ  หรือที่เรียกว่า ลิงค์ (Link) มาให้ได้ทั้งหมด จากนั้นนำมาวิเคราะห์ แล้วก็ทำอะไรสักอย่างเพื่อให้โลกอันซับซ้อนยุ่งเหยิง และใหญ่โตมโหฬารของเวิร์ลไวด์เว็บมีความน่าสนใจมากกว่าที่เป็นอยู่

 

 



เพจเป็นคนช่างคิดมาตั้งแต่เด็ก ๆ เขาชอบนักประดิษฐ์และชื่นชมผลงานแปลกใหม่ของคนเหล่านี้ แต่คนที่เขาชอบมากที่สุดคือ นิโคลา เทสลา เพจเล่าว่า หลังจากได้อ่านประวัติแล้ว คนนี้ “โดนใจ” มากที่สุด คงเป็นเพราะเพจมีวิญญาณนักประดิษฐ์ฝังอยู่ในใจนี่เอง เขาจึงไม่ได้คิดถึงอะไรเลย นอกจากสนุกกับการค้นคิดเพื่อสนองความอยากรู้อยากเห็น  และสร้างผลงานอันน่าภาคภูมิใจ 

 

เพจตั้งชื่อโครงการทำวิทยานิพนธ์ของเขาเล่าว่า BackRub เขาคิดว่าควรจะ “แกะรอย” ลิงค์เหล่านี้ด้วยวิธีไล่ความสัมพันธ์ย้อนหลังเป็นทอดๆ จากเว็บเพจหน้าหนึ่งไปยังอีกหน้าหนึ่ง เขาสร้างโปรแกรมค้นหาลิงค์ ที่ภาษาเทคนิคเรียกว่า Spider หรือ Web Crawler หรือปัจจุบันเรามักจะเรียกสั้นๆว่า “บอต”  ซึ่งมาจากคำว่า Robot เพื่อให้มันไต่ไปตามลิงค์ต่างๆ แล้วเก็บข้อมูลกลับมา

เขาคิดว่า เว็บไซต์น่าจะมีคุณค่ามากขื้น ถ้ามีการจัดอันดับความสำคัญ ด้วยการพิจารณาจากลิงค์ที่มาเชื่อมโยง เช่นเว็บที่มีลิงค์มาก ย่อมมีค่าหรือมีความสำคัญมากกว่าเว็บที่มีลิงค์น้อย เพราะใครก็ตามที่มีคนอ้างถึงบ่อยๆ คนคนนั้นย่อมมีความสำคัญมากกว่า



          พอมาถึงจุดนี้ เพจเริ่มรู้สึกว่าเขากำลังเดินมาถึงทางตัน เพราะการคำนวณจำนวนลิงค์ในเครือข่ายที่มีความซับซ้อนสูงและเติบโตขึ้นทุกวัน ๆ นั้น เป็นเรื่องที่เกินปัญญาของเขาจริงๆ

          ถ้าเพจไม่พบ “เซอร์เก บริน” (Surgrey Brin) กูเกิลอาจไม่ได้เกิด สองคนนี้เป็นคู่ที่เหมาะเจาะลงตัวที่สุด แม้ตอนเจอกันครั้งแรกจะทำตัวเป็นคู่กัด เถียงกันตลอดแถบทุกเรื่อง เพระต่างฝ่ายต่างยึดถือความเห็นตนเองเป็นใหญ่

            สองหนุ่มพบกันครั้งแรกในงานรับน้องใหม่ที่จัดขึ้นก่อนเปิดเทอมในปี 1995 บริน เป็นรุ่นพี่ปี 2 มีหน้าที่เป็นหัวหน้ากรุ๊ปทัวร์พาน้องๆ ไปแนะนำสถานที่ทั้งในมหาวิทยาลัยและสถานที่ใกล้เคียง ส่วนเพจเป็นน้องใหม่ที่บังเอิญถูกจัดให้ไปอยู่ในกลุ่มของบริน

 


เพจกับบรินเล่าถึงความหลังเมื่อตอนพบกันครั้งแรก  ว่าต่างฝ่ายต่างไม่ชอบหน้ากัน เพราะรู้สึกอีกฝ่ายหนึ่งเป็นคนน่ารังเกียจไม่น่าคบ แต่ก็ยอมรับว่าในวันนั้นเขาอยู่ด้วยกันตลอดทั้งวัน และคุยกันมากกว่าคนอื่น

          และหลังจากได้ทำโครงการ BackRub ด้วยกันตั้งแต่ต้นปี 1996 เพราะบรินยังไม่มีหัวข้อทำวิทยานิพนธ์และชอบโครงการนี้มาก ส่วนเพจต้องการให้บรินช่วยคิดสูตรคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของลิงค์ ปรากฏกว่าความสัมพันธ์ยิ่งแนบแน่น คู่กัดกลายเป็นคู่หูที่เข้ากันได้เป็นปี่เป็นขลุ่ย ไปไหนไปกัน ทำตัวติดกันเป็นปาท่องโก๋



          ในเดือนมีนาคมปีนั้น เพจเริ่มปล่อยบอตตัวแรกออกไปทดลองปฏิบัติภารกิจ โดยให้ไต่จากหน้าเว็บเพจของเขาที่อยู่ในเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด นี่คือจุดเริ่มต้นของบอตเวอร์ชั่นแรกที่ยังทำงานอย่างมีขีดจำกัด แต่ใครจะรู้บ้างว่า เจ้าบอตตัวนี้จะเป็นบรรพบุรุษ ของบอตรุ่นต่อ ๆ มา ที่สร้างปรากฏการณ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกต่อจากอินเตอร์เน็ต

          หลังจากเจ้าบอตจอมไต่ไปเก็บข้อมูลลิงค์มารวบรวมไว้แล้ว ต่อไปต้องมีการจัดอันดับตามความสำคัญ บรินจึงช่วยคิดสูตรให้คะแนนเรียกว่า PageRank

เมื่อผลงานของบอต เริ่มปรากฏ สองหนุ่มสังเกตเห็นทันทีว่า มันทำงานเหมือน Search Engine หรือเครื่องมือค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์ไม่มีผิด และทำได้ดีกว่าเครื่องมือค้นหาที่มีอยู่ในขณะนั้นด้วย เมื่อ BackRub กลายเป็นเครื่องมือในการค้นหาไปแล้ว



ทั้งสองเห็นตรงกันว่า ควรตั้งชื่อใหม่ให้ดูดี หลังจากใช้เวลาคิดอยู่นานหลายวันแต่ไม่ชอบสักชื่อ เพื่อนคนหนึ่งจงเสนอคำว่าgoogolplex  ซึ่งหมายถึง เลข 1 ตามด้วยเลข 0 หนึ่งร้อยตัว เพื่อแสดงถึงข้อมูลมหาศาล ที่มีอยู่ในเวิลด์ไวด์เว็บ เพจกับบรินฟังแล้วรู้สึกเข้าท่าดี  แต่ควรตัดให้สั่นเหลือแค่ Googol ก็พอ ครั้นถึงเวลาพิมพ์จดโดเมนเนม  เขากลับพิมพ์ผิด เป็น Google.com ทั้งสอง เพิ่งมารู้ทีหลังว่าพิมพ์ผิด แต่ก็เลยตามเลย เพราะคิดว่าน้อยคนที่รู้ศัพท์ googol และคิดว่า google เป็นศัพท์ใหม่ ตั้งแต่นั้นมาตำนานเว็บที่ยิ่งใหญ่ก็ชื่อว่า Google.com

 



 สองหนุ่มทดลองให้บริการกูเกิลเวอร์ชั่นแรกในเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดในเดือนสิงหาคม 1996 ชาวสแตนฟอร์ดชอบกูเกิลและฮิตกันมาก กูเกิลกลายเป็นเรื่องเล่าขาน ปากต่อปากภายในรั้วมหาวิทยาลัย และมีชื่อเสียงในฐานะเครื่องมือค้นหาข้อมูลที่มีเอกลักษณ์ และประสิทธิภาพมากที่สุดในยุคนั้น

ในปี 1997 เพจกับบรินยังถือว่า Google.com ของเขาเป็นเพียงโครงการวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก จึงให้บริการฟรีไปทั่วมหาวิทยาลัย ช่วงนี้สองหนุ่มช่วยกันออกแบบโฮมเพจของกูเกิลเอง เพราะไม่มีเงินจ้างนักออกแบบโอมเพจ กูเกิลจึงมีหน้าตาเรียบง่ายสุด ๆ คือมีแต่ชื่อGoogle กับช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆ สำหรับกรอกคำสั่งค้นหา

         เพจกับบรินไม่ได้ตั้งใจให้มันแตกต่าง แต่ทันทีที่ออกไปสู่สายตาผู้ใช้ หน้าตาสะอาดเกลี้ยงเกลาของกูเกิลกลับได้รับคำชมในฐานะความแปลกใหม่ที่ดูดี สบายตา น่าใช้ ไม่มีภาพเคลื่อนไหว หรือแสงเสียงมารบกวนให้เกิดอาการหงุดหงิดรำคาญใจ หลายคนบอกว่า ถ้าไปจ้างบริษัทออกแบบคงไม่ได้อย่างนี้หรอก เพราะพวกนั้นชอบทำอะไรให้ดูหวือหวาละลานตา ตื่นเต้น เร้าใจ เพราะคิดว่าคนชอบ ...




 

สารภาพว่าบางทีแอบนอกใจ Google แอบไปใช้ Bing แทน เหอๆๆ

 

 

ขอขอบคุณ

ms.thaicyberu.go.th

คุณ Pro.Trainer จาก BLOG ONATION

หนังสือ “เจาะตำนาน รวยฟ้าผ่า google” เขียนโดย สุขนิตย์ เทพอนันต์ และพงษ์ระพี เตชพาหพงษ์ 

ภาพประกอบ

GooGle ล้วนๆๆๆ

สำหรับข้อมูลดีๆค้าบ

 







 

เฮนรี่ขอฝากเวปไซต์ที่รวบรวมเนื้อหาสาระไว้มากมาย

เข้าไปอ่านกันได้ฟรีๆค้าบผม.......

 

จิ้ม>>คลับของคนมีคลาส

จิ้ม>>Facebook ของ คลับคนมีคลาส

และ คลับสำหรับคำศัพท์ภาษาอังกฤษ

จิ้ม >>> English Fit Fit

ไว้ในอ้อมใจด้วยนะค้าบผม ^_^ 

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น

DarkSideSystem 24 พ.ย. 53 เวลา 23:54 น. 1

 ไม่ได้ใช้ bing นะ
ผมชอบกูเกิ้ล เพราะกูเกิ้ลโหลดไวอีกด้วย
เวลาที่คิดว่า เน็ตต่อได้ดีหรือไม่ 
ใช้กูเกิ้ลนี่แหละ เป็นตัวทดสอบประสิทธิภาพของระบบ


PS.  การให้เป็นคุณสมบัติที่ยิ่งใหญ่ก่อให้เกิดความสุขใจทั้งผู้ให้และผู้รับ
0