Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

วิศวะเคมี บางมด vs วิศวเคมี ลาดกระบัง vs ปิโตรฯ มศก.

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ที่ไหนดีกว่ากัน  ???

สาขาไหนดีกว่ากัน ???

ใครรู้ช่วยบอกทีนะคับ

^^

แสดงความคิดเห็น

>

5 ความคิดเห็น

[v]apor 3 ธ.ค. 53 เวลา 20:32 น. 1

 จะบอกว่า วิศวะ ปิโตรเคมีมันเป็นซับเซตของวิศวะเคมีอ่ะ
มีให้เรียนเป็นวิชาเลือก เรียนวิศวะเคมีไปก็ทำงานวิศวะปิโตรเคมีได้
เรียนวิศวะสายหลักอย่างวิศวะเคมีจะได้เปรียบกว่าเยอะเลย
เรื่องสถาบัน มีผลแค่ 30% ที่เหลือ 70%ขึ้นกับคนเรียนเอง
เข้าสถาบันที่ชอบดีกว่า พระจอมเกล้าเหมือนกัน ชื่อชั้นไม่หนีกันหรอก

0
Thak-a-NAP!!! 3 ธ.ค. 53 เวลา 21:40 น. 2
น้องๆต้อง ทำความเข้าใจก่อนนะคับว่า รายวิชาต่องๆของทั้ง ChemEn กับ Petro นั้นเกือบเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็น จุฬาฯ เกษตร ศิลปาร ลาดกระบัง บางมด หรือแม้แต่ที่อื่นๆ แม้บางวิชาจะใช้คนละชื่อ แต่ก็รู้ๆกันอยู่วามันคือวิชาเดียวกัน เช่น

วิชาดุลมวลและพลังงาน (material and energy balance) ของบางมด

ที่เกษตร และลาดกระบังจะเรียนว่า  Principles and calculation in chemical engineering

ที่ศิลปากร เรียก Chemical process engineering principles and calculations)

ดัง นั้นในด้านเนือหาที่จะได้รับนั้นจะเหมือนกันทุกวิชา แต่ของศิลปากร จะมีวิชาทางด้านวัสดุศาสตร์เพิ่มเข้าไปด้วย แล้วลดบางวิชาของวิศวะเคมีลง

วิชาหลักที่ปิโตร-ศิลปากรเรียน แต่ วิศวะเคมี อื่นๆ ไม่ได้เรียนเป็นวิชาหลัก(อาจมีเปิดสอน แต่เป็นวิชาเลือกเสรี)
-หลักเบื้องต้นของวิทยาการพอลิเมอร์ และ lab
-การพิสูจน์เอกลักษณ์ของพอลิเมอร์ 1และ2 และ lab1 และlab2
-สารเติมแต่งพลาสติก
-การสังเคราะห์พอลิเมอร์ 1
-รีโอโลจีและกระบวนการขึ้นรูปพอลิเมอร์
-เทคโนโลยียางและสิ่งทอ
-สมบัติของพอลิเมอร์
-กระบวนการเคมีในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

วิชาหลักที่วิศวะเคมีของทุกสถาบันเรียน แต่ปิโตร-ศิลปากร ไม่เรียนเป็นวิชาหลัก(อาจมีเปิดสอน แต่เป็นวิชาเลือกเสรี)
-เคมีอินทรีย์ และ lab (Org Chem)
-เคมีฟิสิกัล(Phys Chem)
-เคมีวิเคราะห์(Anal Chem)
-สมการเชิงอนุพันธ์(diff equa)
-การถ่ายโอนโมเมนตัม
-คณิตศาสตร์ประยุกต์ในทางวิศวกรรมเคมี
-เทคโนโลยีการจัดการระบบ
ปล.ชื่อวิชาเหล่านนี้ ผมขอใช้ตามของจุฬาฯนะคับ บางที่อาจใช้ชื่ออื่นในหลายวิชา แต่ผมดูเนื่อหาแล้ว มันคือวิชาเดียวกันคับ

ส่วนพวกวิชาที่หลายคนคิดว่า ปิโตร-ศิลปากรต้องเรียน แต่วิศวะเคมีอื่นๆไม่ต้องเรียนอย่างเช่น
วิชาพวก ปิโตรเคมี นั้น ก้อย่างที่เห็นกันว่า มีแค่1ตัว
(แต่เค้าก็มีเป็นวิชาเลือกให้เลือกเรียนกันทุกที่นะคับ อยู่ที่ว่าจะเลือกเรียนกันหรือเปล่า เท่านั้นเอง)

ส่วนวิชาจำพวก ปิโตรเลียม เชื้อเพลิง การเผาไหม้ หรือ พลังงาน
อันนี้มีบังคับเป็นวิชาหลักก็คือที่ เคมเทค-จุฬาฯ สาขาเทคโนโลยีเชื้อเพลิง คับ

ส่วนวิชาจำพวก การสำรวจ ขุดเจาะ และผลิตปิโตรเลียม
อันนี้ก็มีเปิดเป็นวิชาบังคับก็คือที่ วิศวะปิโตรเลียม-จุฬาฯ นะคับ

ปล.วิชาต่างที่เอามาลของวิศวะเคมียึดตาม วิชาหลักๆ ที่ ส่วนใหญ่ จะเรียนเหมือนกันนะคับ บางที่อาจมีบางวิชา2วิชาเล็กๆน้อยๆที่อาจจะเรียนหรือไม่เรียน ไม่ได้เอามาลงนะคับ


PS.  "...ความฝัน ถ้าเราตั้งใจแรงกล้า มันจะต้องเป็นจริง..."
0
เด็กปิโตร SU 15 ก.พ. 54 เวลา 21:07 น. 4

ต้องขอชี้แจง คห. 3 ด้วยนะครับ ว่ามีบางส่วนยังไม่ถูกต้องนัก

ขอชมที่หาข้อมูลมาดีครับ แต่วิชาหลักหลาย ๆ ตัวเกือบทั้งหมด ปิโตรเคมีและวัสดุพอลิเมอร์ ก็มีเรียนเหมือน chem en ครับ เป็นตัวหลักด้วยสิ

-  Organic chem ใช้ชื่อวิชาว่า chemical reaction in chemical process industries
-สมการเชิงอนุพันธ์(diff equa) อยู่ในวิชา INTRODUCTION TO ENGINEERING FOR CHEMICAL PROCESS ENGINEERS
- การถ่ายโอนโมเมนตัม อยู่ในวิชา MOMENTUM, HEAT AND MASS TRANSFER II (MOMENTUM, HEAT AND MASS TRANSFER I จะเรียน heat and mass transfer และ fluid)
-คณิตศาสตร์ประยุกต์ในทางวิศวกรรมเคมี อยู่ใน INTRODUCTION TO ENGINEERING FOR CHEMICAL PROCESS ENGINEERS
-เทคโนโลยีการจัดการระบบ อยู่ในวิชา ORGANIZATION AND MANAGEMENT IN CHEMICAL PROCESS INDUSTRIES
- plant design (การออกแบบ plant) ได้คำนวณ ประเมินค่าใช้จ่ายของ plant ด้วย เหมือนอาจารย์ให้คิดสร้างโรงงานผลิตเลย เหอๆๆ

จะมีก็แต่วิชา chemical process industries ที่เป็นตัวเลือก
แล้วก็ unit and operation I, II, IIIที่รวมเนื้อหาอยู่ในวิชา heat, mass and momentum transfer I และ II (ประมาณว่าเรียนทฤษฎี การคำนวณต่าง ๆ แล้วก็เรียนการ apply ไปยังเครื่องมือในการกระบวนการเลย)

วิชาที่พวก chem en ที่อื่นไม่มีทางได้เรียนเยอะเท่า (เพราะเป็น selective) ได้แก่ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ซึ่งเป็นตัวหลักทั้งหมด

หลักเบื้องต้นของวิทยาการพอลิเมอร์ และ lab
-การพิสูจน์เอกลักษณ์ของพอลิเมอร์ 1และ2 และ lab1 และlab2 (polymer characterization)
-สารเติมแต่งพลาสติก (plastic additives)
-การสังเคราะห์พอลิเมอร์ 1 (polymer synthesis)
-รีโอโลจีและกระบวนการขึ้นรูปพอลิเมอร์ (rheology)
-เทคโนโลยียางและสิ่งทอ (rubber and textile)
-สมบัติของพอลิเมอร์ (properties of polymer)
-กระบวนการเคมีในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี (petrochemical process industries)

นอกจากนี้ยังมีวิชาเลือกที่พวก chem en น้อยที่นักจะมีเปิด
เช่น colloid and interface, biopolymer, composite material, functional polymer, introduction to packaging, color chemistry and measurement, materials selection and engineering design, mold design and simulation แล้วก็พวก selected topic in petrochemistry and polymer technology

เรียกได้ว่าเป็นการรวมศาสตร์ของ chem en กับ material science & engineering ไว้ด้วยกัน เหมือนลูกผสมครับ จบไปสามารถต่อปริญญาโท chem en (ปัจจุบันที่จุฬายอมรับว่า compatible แล้วครับ เนื่องจากก็เรียนๆตัว chem en มา แต่บางมดอาจจะยัง)ได้ ส่วนพวกโทสาย material ก็แน่นอนอยู่แล้ว
แล้ว ต่อพวกพลังงานก็ได้

จึงขอชี้แจงมาเพื่อทราบ...

0