Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่


อยากรู้ว่าเพื่อน ๆ ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไรบ้างคะ

และเพื่อน ๆ รู้ความหมายของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงรึเปล่า
มาลงความเห็นกันนะคะ จะได้แชร์ข้อมูลกันคะ


แสดงความคิดเห็น

>

8 ความคิดเห็น

chocobanana :") 10 ม.ค. 54 เวลา 11:28 น. 1
วิธีการนำปรัชญาเศรษฐกิจมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

1. ปิดไฟทุกดวงเมื่อไม่ใช้ จะได้ประหยัดค่าไฟ และช่วยพ่อแม่ได้อีกทางหนึ่งนะ
2. ถ้าเดินทางในระยะใกล้ ก็ควรจะเดินไป ดีกว่าขึ้นรถ ประหยัดทั้งน้ำมัน ทั้งเงิน และยังได้ออกกกำลังกายไปในตัวอีกตัว ได้หลายต่อเลยละคะ
3. ปิดน้ำเมื่อไม่ใช้แล้ว ประหยัดทั้งเงิน และประหยัดพลังงาน
4. นำของที่ไม่ใช้แล้วนำมาประยุกษ์ใช้ให้เกิดประโยชน์เพิ่มผลผลิต ยกตัวอย่างเช่น ขวดน้ำก็นำมาตกแต่งทำเป็นที่ใส่ต้นไม้ได้ เป็นการเพิ่มรายได้ ด้วย เป็นต้น


ความหมายของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงชีวิต ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา และถูกพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ

เศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทต่อการกำหนดอุดมการณ์การพัฒนาของประเทศ โดยปัญญาชนในสังคมไทยหลายท่านได้ร่วมแสดงความคิดเห็น อย่างเช่น ศ.นพ.ประเวศ วะสี, ศ.เสน่ห์ จามริก, ศ.อภิชัย พันธเสน, และศ.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา โดยเชื่อมโยงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับวัฒนธรรมชุมชน ซึ่งเคยถูกเสนอมาก่อนหน้าโดยองค์กรพัฒนาเอกชนจำนวนหนึ่งนับตั้งแต่พุทธทศวรรษ 2520 และได้ช่วยให้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในสังคมไทย

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจและสาขาอื่น ๆ มาร่วมกันประมวลและกลั่นกรองพระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9[3][4] และได้จัดทำเป็นบทความเรื่อง "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" และได้นำความกราบบังคลทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2542 โดยทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทานและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำบทความที่ทรงแก้ไขแล้วไปเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ได้รับการเชิดชูเป็นอย่างสูงจากองค์การสหประชาชาติ ว่าเป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศและสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน



0
ร.2 พัน.2 รอ. 11 ม.ค. 54 เวลา 10:36 น. 2

สรุปปรัชญาของเศรษบกิจพอเพียง
ทางสายกลาง&nbsp (สองห่วง&nbsp สามเงื่อน)
สามห่วง
พอประมาณ&nbsp มีเหตุผล&nbsp มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

สองเงื่อน
เงื่อนไขความรู้ (รอบรู้ รอบคอบ&nbsp ระวัดระวัง)
เงื่อนไขคุณธรรม
(ซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน&nbsp อดทน&nbsp สติปัญญา แบ่งปัน)

นำสู่
ชีวิต/เศรษฐกิจ/สังคม/สิ่งแวดล้อม
สมดุล/มั่นคง/ยั่งยืน

0
ร.2 พัน.2 รอ. 11 ม.ค. 54 เวลา 10:37 น. 3

สรุปปรัชญาของเศรษบกิจพอเพียง
ทางสายกลาง&nbsp (สามห่วง&nbsp สามเงื่อน)
สามห่วง
พอประมาณ&nbsp มีเหตุผล&nbsp มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

0
ร.2 พัน.2 รอ. 11 ม.ค. 54 เวลา 10:40 น. 5

3 ห่วง หมายถึง องค์ประกอบหลัก 3 ประการ ของความหมายเศรษฐกิจพอเพียง&nbsp ได้แก่
1. ความพอประมาณ&nbsp หมายถึง&nbsp ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไป&nbsp  โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น&nbsp เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
2. ความมีเหตุผล&nbsp หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น&nbsp จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล&nbsp โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง&nbsp ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
3. การมีภูมิคุ้นกันที่ดีในตัว&nbsp หมายถึง&nbsp การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ&nbsp ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้ และไกล

2 เงื่อน&nbsp หมายถึง&nbsp  เงื่อนไขอันเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจทำกิจกรรมต่าง ๆ&nbsp ให้อยู่ในระดับพอเพียง&nbsp ประกอบด้วย
1. คุณธรรม&nbsp ประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม&nbsp มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน&nbsp มีความเพียร&nbsp ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
2. ความรู้ ประกอบด้วย&nbsp ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ&nbsp ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน&nbsp ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน&nbsp เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฎิบัติ

0
ann 15 ม.ค. 54 เวลา 20:06 น. 6

1. ใช้กระดาษให้คุ้มทั้ง 2 ด้าน หรือนำกลับมารีไซเคิล
2. นำกระดาษาหนังสือพิมพ์ที่อ่านเสร็จเเล้วนั้น นำมาชั่งกิโลขาย
3. ปรับอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศให้อยู่ใน 25 องศาเซลเซียส
4. ใช้เงินอย่างประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย พอเหลือจากการใช้เเล้วก็นำเงินมาเก็บออม
5. อาบน้ำโดยการใช้การตักอาบ ดีกว่าการใช้ฝากบัว เพราะเป้นการประหยัด
6. รีดผ้าในปริมาณมากๆ เพื่อประหยัดไฟ


เเล้ว&nbsp 2 เงื่อนไข คือการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ระดับพอ
เพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน&nbsp &nbsp (ใช่ หรือเปล่าคะ)

0
เชอร์รี่ 15 ม.ค. 54 เวลา 20:22 น. 7

ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในการดําเนินชีวิต เเล้วก็บอกครอบครัวด้วยว่าให้ใช้จ่าย กิน อยู่ อย่างพอประมาณ ตามฐานะของตนเอง

0
นศท. 24 ม.ค. 56 เวลา 10:01 น. 8

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐานของชีวิต&nbsp รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน&nbsp เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง&nbsp  สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม&nbsp แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็มและลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว&nbsp จากวารสารชัยพัฒนา

“เศรษฐกิจพอเพียง... จะทำความเจริญให้แก่ประเทศได้&nbsp  แต่ต้องมีความเพียร&nbsp  แล้วต้องอดทน&nbsp ต้องไม่ใจร้อน&nbsp ต้องไม่พูดมาก&nbsp ต้องไม่ทะเลาะกัน&nbsp ถ้าทำโดยเข้าใจกัน&nbsp เชื่อว่าทุกคนจะมีความพอใจได้...”
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว&nbsp พระราชทาน&nbsp ณ&nbsp วันที่&nbsp ๔ ธันวาคม&nbsp ๒๕๔๑

0