Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

Aviation Careers Information -- งานด้านการบิน

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

เนื่องจาก จขกท เรียน ณ สถาบันการบินพลเรือน ซึ่งยังไม่เคยคิดอย่างจริงๆ จังๆ

เลยว่าตัวเอง จบงานแล้วจะทำอาชีพอะไรกันแน่ คิดว่าคงจะทำพวกสายการบิน แอร์ไลน์

อะไรก็ได้ที่มันได้เงินเยอะๆหน่อย ก็เราชอบด้านนี่นิเนอะ แต่ก็ไม่รู้นะว่ามันมีอาชีพไรบ้าง

ที่นอกจากเป็น แอร์ - - จนกระทั่งได้ทำการบ้านวิชานึงเข้า และsearchเข้า ดูมันจะเป็นประโยชน์

มากกว่าการบ้านอีกแหะ เลยอยากเอามาเผื่อแพร่เพื่อนๆ ที่สนใจอยากเรียนด้านการบิน หรืออาชีพ

ด้านนี้บ้างคะ^^


Aviation Careers Information -- งานด้านการบิน
 
 
  • General Information
    เนื้อหาที่ผู้เขียน เขียนขึ้นมาก็เพื่อให้ความเข้าใจกับพวกเราที่สนใจในอาชีพด้าน Aviation จะได้ทราบว่าเขามีอะไรบ้างและเขาทำอะไรกัน แต่แน่นอนข้อมูลที่ให้ไม่ใช่สิ่งที่ตายตัวว่าแต่ละบริษัทจะต้องเป็นเช่นนี้ ไม่จำเป็นเลย มันขึ้นอยู่กับบริษัทนั้นๆจะแบ่งงานกันอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของบริษัทเช่นกัน แต่ข้อมูลที่ให้สามารถนำไปเป็นแนวทางได้แน่นอน บางตำแหน่งผู้เขียนก็จะไม่กล่าวถึงเนื่องจากการรับพนักงานเข้าทำงานในหน้าที่นั้นๆ จะต้องเป็นผู้มีประสบการและมีความชำนาญ และก็มักจะเป็นการคัดเลือกจากบุคคลภายใน จึงไม่ค่อยเห็นการเปิดรับสมัคร ท่านสามารถดูตัวอย่างการประกาศรับสมัครในบางตำแหน่งได้ เพื่อจะได้ทราบว่าท่านจะต้องเตรียมตัวด้านใด และต้องไม่ลืมว่า การทำงานที่เกี่ยวกับเครื่องบิน และผู้โดยสารนั้น ภาษามีความจำเป็น
 
  • Airline Pilot
    นักบินเครื่องบินพาณิชย์ นั้นเกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบอย่างสูงทั้งตัวเครื่องบิน และความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ รวมทั้งผู้โดยสารทุกคน นักบินจะต้องเป็นคนที่สุขุม รอบคอบ ไว้วางใจได้ ที่จะสามารถแก้ปัญหาในยามฉุกเฉิน มีความชำนาญในการ ใช้ภาษา การพูดจาที่กระจ่างชัดเจน กับทั้งทีมงานบนเครื่องและหอควบคุมการจราจรทางอากาศ นักบินจะต้องทำงานในห้องนักบินที่ไม่กว้างขวางนัก โดยเฉพาะเมื่อบินเป็นระยะเวลานานๆ การบินที่อาจจะเป็นเวลากลางคืน อันเนื่องมาจาก สายการบินพาณิชย์ต้องบินตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งไม่ใช่เวลาทำงานปกติทั่วไป นอกจากนั้นยังมีกฏเกณฑ์ที่ค่อนข้างจะเข้มงวด เกี่ยวกับชั่วโมงการทำงาน กับเวลาในการพักผ่อน ถึงแม้ว่าผู้โดยสารจะไม่ค่อยได้เห็นหน้านักบิน แต่ระหว่างทำการบินนักบินก็ติดต่อกับผู้โดยสาร โดยการแจ้ง ข่าวสารที่เกี่ยวกับ อากาศ ระยะทำการบินไปถึงปลายทาง เครื่องบินจะช้ากว่ากำหนดหรือไม่ ถึงเวลาเท่าไร และอื่นๆ เป็นต้น นักบินก็เป็นตัวแทนของบริษัทสายการบินที่ต้องสร้างความเชื่อมั่น ความเป็นมืออาชีพ ตลอดเวลา
         ++  การเปิดรับสมัครนักบินนั้นบางบริษัทก็อาจจะรับนักบินที่มี CPL (Commercial Pilot's Licence) หรือ PPL (private Pilot's Licence) ซึ่งก็ต้องนำไปฝึกฝนต่อซึ่งเรียกตำแหน่งนี้ว่า Qualified Pilot บางแห่งก็อาจจะรับผู้ที่ไม่เคยบินเลยเข้าไปเรียนตั้งแต่เริ่มแรก ซึ่งเรียกตำแหน่งนี้ว่า Student Pilot

    • Qualifications required
      นักบินพาณิชย์จะต้องได้รับใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ CPL (commercial pilot's licence) ซึ่งต้องได้รับใบอนุญาตการบินแบบใช้เครื่องวัดประกอบการบิน หรือ instrument rating จาก Aviation Authority หรือ CAA (Civil Aviation Authority) โดยทั่วไปแล้วเกือบทุกประเทศจะบินเครื่องบินพาณิชย์ได้นั้นจะต้องมีใบอนุญาตที่มากกว่า CPL คือต้องมีใบอนุญาต ATPL (Airline Transport Pilot's Licence)
 
++++++++++++++++++++++++++++
 
  • Aircraft Maintenance Engineer
    Aircraft Maintenance Engineers ก็คือวิศวกรซ่อมบำรุงอากาศยานนั่นเอง มีหน้าที่ ดูแล ควบคุม ให้คำแนะนำในการซ่อมบำรุงแก่ช่าง หรือ Mechanics ในการ service, repair and overhaul อุปกรณ์ของเครื่องบิน ลำตัวเครื่องบิน และเครื่องยนต์ เขาเหล่านี้มีความรู้ ความชำนาญด้าน เครื่องบินโดยเฉพาะ หรือ ด้าน Mechanical , Avionics, Electrical ทั้งระบบ หรือโครงสร้างไม่ว่าจะเป็น Airframe หรือ Power Plant (เครื่องยนต์) Airframe ก็จะรวมถึง โครงสร้างลำตัว ล้อ ประตู ระบบ Hydraulic ระบบ Pneumatic และ Avionics ซึ่งรวมถึงระบบของ Electrical , Electronics และ Instrument รวมถึงวิทยุระบบสื่อสารและ Auto-pilot เครื่องยนต์ การทำงาน โครงสร้างและระบบของเครื่องยนต์หรืออาจจะกล่าวได้ว่าเครื่องบินทั้งลำนั่นเองให้เป็นไปตามกฏข้อบังคับ Procedure ของการบินและ Manufacturer แต่ผู้ได้รับการคัดเลือก ส่วนมากก็จะต้องได้รับการฝึกอบรมให้มีความรู้ด้านเครื่องบินที่จะต้องรับผิดชอบก่อนที่จะได้รับมอบหมาย
 
  • Aircraft Maintenance Planning Engineer
    Aircraft Maintenance Planning Engineers ก็คือวิศวกรวางแผนการซ่อมบำรุงอากาศยานนั่นเอง มีหน้าที่ ดูแล ควบคุมระยะเวลาของ เครื่องบิน เครื่องยนต์ และอุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเครื่องบิน และใน Store ให้ได้รับการ service, repair and overhaul ตามระยะเวลา ที่กำหนดโดย บริษัทผู้ผลิต Authority ที่ควบคุมการบินของประเทศ และ Aircraft Maintenance Engineer ของบริษัท Planning Engineer ต้องจัดเตรียมเอกสาร ขั้นตอนการทำงาน และจำนวนงานที่ต้องทำกับ เครื่องบิน เครื่องยนต์ และอุปกรณ์ทั้งหมด ให้เป็นไปตาม Procedures ที่กำหนดโดยบริษัทผู้ผลิต Authority และ Engineers Planning Engineer ควรต้องเป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับเครื่องบิน เครื่องยนต์ และระบบต่างๆของเครื่องบิน รวมถึงความสามารถในการใช้ Computer ได้เป็นอย่างดี แต่ผู้ได้รับการคัดเลือก ส่วนมากก็จะต้องได้รับการฝึกอบรมให้มีความรู้ด้านเครื่องบินที่จะต้องรับผิดชอบก่อนที่จะได้รับมอบหมาย
 
++++++++++++++++++++++++++++
 
  • Aircraft Mechanics
    คือช่างมีหน้าที่ทำการซ่อมบำรุง ตรวจสอบ เครื่องบิน เครื่องยนต์ และอุปกรณ์ต่างๆของเครื่องบิน ให้เป็นไปตามกฏระเบียบ การซ่อมบำรุงอากาศยานที่ออกโดย บริษัทผู้ผลิต เครื่องบิน เครื่องยนต์ และอุปกรณ์อากาศยาน หรือองค์กรที่ควบคุมอากาศยาน ของประเทศต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการบินของอากาศยาน และ เป็นไปตามที่วิศวกรผู้ดูแลและควบคุมวิธีการซ่อมบำรุงอากาศยานนั้นๆ รู้วิธีการใช้เครื่องมือทดสอบและเครื่องมือที่ระบุไว้ในคู่มือ ช่างจะต้องลงลายมือชื่อเมื่อทำงานเสร็จสิ้นตามลำดับการทำงาน รวมถึงการแก้ปัญหาก่อนที่เครื่องจะทำการบิน เมื่อมีรายงานข้อบกพร่อง การบินจากนักบิน โดยปกติในบางประเทศ ช่างเครื่องบินนั้นจะต้องมี ใบอนุญาตการซ่อมเครื่องบินเช่น FAA  A&P Licence (Airframe and Powerplant) หรือ CAA Licence ช่างเหล่านี้เมื่อมีความชำนาญ มีความรู้ความสามารถ ได้รับการอรมเพิ่มเติมจนเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะแบบเช่น แบบ B737 หรือแบบ B747 เป็นต้น เมื่อผ่านการทดสอบก็จะได้เลื่อนเป็น LAE (Licence Aircraft Engineer) มีหน้าที่ลงนามอนุญาตให้เครื่องบินสามารถทำการบินได้ หรือเรียกว่าเครื่องมี Airworthy ถ้า LAE ไม่ลงนาม นักบินก็ไม่สามารถนำเครื่องออกไปทำการบินได้ ก่อนที่ LAE จะลงนาม LAE จะต้องแน่ใจว่าเครื่องบิน รวมทั้งระบบทุกระบบของเครื่องบิน ทำงานได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ เพราะ LAE เป็นคนแรกที่จะต้องรับผิดชอบในสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น เพราะเป็นความรับผิดชอบทางกฏหมายด้วย
  • Shop Mechanics
    มีหน้าที่ในการซ่อมบำรุง และ Overhaul อุปกรณ์ต่างๆของเครื่องบิน รวมทั้งเครื่องยนต์ และชิ้นส่วนของโครงสร้างอากาศยาน ช่างจะต้องมีความรู้ความสามารถ ในการซ่อมบำรุงอุปกรณ์แต่ละชิ้น แต่ละอุปกรณ์ จะต้องรู้ซึ้งถึงการทำงานของอุปกรณ์ที่ตัวเองทำการซ่อมอยู่ เมื่อทำการซ่อมเสร็จตาม Procedures ที่กำหนดแล้ว ช่างจะต้องทำการทดสอบอุปกรณ์ทุกชิ้นซึ่งเหมือนที่อุปกรณ์นั้นๆทำงานอยู่บนอากาศยานทุกประการ ก่อนที่จะส่งเก็บที่ Store เพื่อนำกลับไปติดตั้งบนอากาศยานอีกครั้งหนึ่ง การทำงานของ Shop Mechanics ก็เช่นเดียวกับ Aircraft Mechanics ทุกขั้นตอนจะมี Inspector คอยตรวจสอบให้เป็นไปตาม Procedures ที่กำหนด ก่อนที่จะมีการลงนามรับรองว่า อุปกรณ์นั้นๆ Airworthy
 
++++++++++++++++++++++++++++
 
  • Flight Attendant
    พนักงานต้อนรับบนเครื่อง หรือที่เราเรียกกันว่า แอร์ หน้าที่หลักของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน คือความรับผิดชอบต่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร ให้ความมั่นใจได้ว่าผู้โดยสารจะได้รับการดูแลด้านความปลอดภัยเป็นอย่างดี หน้าที่รองลงมาคือการให้การบริการผู้โดยสารอย่างดีที่สุด โดยทั่วไปพนักงานต้อนรับจะมีมากถึงประมาณ 20 % ของพนักงานทั้งหมดของบริษัท ถ้าคุณชอบการเดินทาง และคุณชอบการบริการ หน้าที่นี้ก็จะเหมาะกับคุณ แต่โดยทั่วไปผู้ที่จะเข้ามาในอาชีพนี้จะต้องมี รูปร่าง หน้าตาที่มองแล้วประทับใจ สวย สง่า มีสติปัญญา ไหวพริบ คล่องตัว พร้อมที่จะช่วยผู้โดยสารได้เมื่อเกิดเหตุการฉุกเฉินที่ไม่คาดคิด พนักงานต้อนรับจะเรียนรู้เรื่องเครื่องบินแบบที่ตัวเองทำหน้าที่อยู่เป็นอย่างดี ว่าเมื่อเกิดเหตุการ Emergency ต้องปฏิบัติอย่างไร ตรงไหน เมื่อไร ดังนั้นพนักงานต้อนรับ เครื่องบินแบบหนึ่งจะไปทำงานกับเครื่องบินอีกแบบหนึ่งไม่ได้ เช่นพนักงานต้อนรับเครื่อง A340 จะไปทำงานบนเครื่องบิน B777 ก็ไม่ได้ เพราะระบบ Emergency ไม่เหมือนกัน ดังนั้นถ้ามีการเปลี่ยนแบบเครื่องบิน อันเนื่องมาจากเครื่องที่กำหนดให้บินเกิดเสีย ก็ต้องเปลี่ยนพนักงานต้อนรับยกชุดเช่นกัน
 
++++++++++++++++++++++++++++
 
  • Ground Services / Ground Attendant / Airport Station Attendant
    พนักงานต้อนรับภาคพื้น หรือพนักงานบริการภาคพื้น อาจจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับพนักงานนั้นเป็นของสายการบิน หรือเป็นพนักงานของสนามบิน ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร หน้าที่รับผิดชอบคือการให้บริการผู้โดยสารที่บริเวณ Terminals อาจจะเป็นการตอบคำถามทั่วไป พาผู้โดยสารไปส่ง บริการผู้โดยสารป่วย, ผู้โดยสารที่ต้องนั่งรถเข็น, เด็กเล็กเดินทางคนเดียว, ผู้โดยสารที่พูดภาษาอังกฤษไม่ได้. ผู้โดยสารเดินทางครั้งแรก(ในชีวิต),ผู้โดยสารแม่และเด็ก, ผู้โดยสารที่เป็นคนพิการ, เด็กเล็กเดินทางคนเดียว,และอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีกรณีพิเศษที่เราต้องดูแลด้วย เช่น กรณีเครื่องบินมาถึงล่าช้า, เครื่องบินตก, เครื่องบินบินกลับจนถึงการให้บริการ wheelchair
 
++++++++++++++++++++++++++++
 
  • Ground Equipment Services / ฝ่ายบริการลานจอดและอุปกรณ์ภาคพื้น
    เป็นหน่วยงานที่ดูแลอุปกรณ์ภาคพื้นต่างๆที่ให้บริการแก่อากาศยานและผู้โดยสาร หรือพูดง่ายๆก็คือยานพาหนะที่บริการผู้โดยสาร และอุปกรณ์ต่างๆที่อากาศยานใช้เช่น รถบริการน้ำ รถบริการไฟใช้ในเครื่อง รถบริการเครื่องทำความเย็น รถบริการเพื่อ start เครื่องยนต์ รถลากเครื่องบิน เป็นต้น
 
++++++++++++++++++++++++++++
 
  • Cargo Services / ฝ่ายการพาณิชย์สินค้าและไปรษณียภัณฑ์
    เป็นหน่วยงานที่ดูแล และรับผิดชอบการ ควบคุมและขนส่งสินค้าทางอากาศ ให้เป็นไปตามหลักสากล และรวดเร็ว
ดูตัวอย่างการประกาศรับสมัครบางตำแหน่งของหน่วยงาน Cargo Services
 
++++++++++++++++++++++++++++
 
  • Catering / ฝ่ายครัวการบิน
    เป็นหน่วยงานที่ดูแลด้านอาหารที่บริการให้ผู้โดยสารบนเครื่องบิน และภาคพื้น ด้วยความสะอาดถูกหลักอนามัย และเป็นไปตามหลักสากล รวมไปถึงกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับด้านบริการด้านอาหาร
 
++++++++++++++++++++++++++++
 
  • Information Technology
    งานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ หรืองานสนับสนุนด้าน Computer ให้แก่สายการบิน ซึ่งปัจจุบันเป็นหัวใจของธุรกิจไปแล้ว ดังนั้นทุกสายการบินจำเป็นต้องมีหน่วยงานด้านนี้เพื่อให้งานต่างๆของการบินดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ การแบ่งงานหรือ Organization ของหน่วยงานด้านนี้ก็จะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความสลับซับซ้อนของงาน หรือของบริษัทว่าหน่วยงานต่างๆสัมพันธ์กันมากน้อยเพียงไร
 
++++++++++++++++++++++++++++
 
  • Airline Administrative Support
    สายการบินทุกสายการบิน ไม่ว่าจะเป็นสายการบินเล็ก หรือสายการบินใหญ่ ก็ต้องมีหน่วย บริหาร และหน่วยสนับสนุน Support การทำงานของบริษัทโดยรวมให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตำแหน่งต่างๆนี้ก็จะประกอบไปด้วย เลขา หน่วยซ่อมบำรุงอาคารดูแลน้ำไฟ หน่วยงานที่ดูแลและปรับปรุงระบบ Information Technologies พนักงานต้อนรับที่สำนักงาน หน่วยการเงิน การบัญชี หน่วยกฏหมาย หน่วย Human Resources ที่ทำหน้าที่ดูแลการรับพนักงาน ความเป็นอยู่ของพนักงาน การฝึกอบรม การปลดพนักงาน หน่วยงานด้านกฏหมาย
 
++++++++++++++++++++++++++++
 
  • Reservation Sales Agent
    มีหน้าที่ทำการจองที่ให้ผู้โดยสาร ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเดินทางแก่ผู้โดยสารจะเป็นทางทางโทรศัพท์หรือไม่ก็ตาม ข้อมูลนั้นรวมถึงการวางแผนการเดินทาง ที่ว่างบนเครื่อง ค่าโดยสาร ตารางการบิน การท่องเที่ยว อาหารการกิน การเช่ารถยนต์ และข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวกับแผนการบินของผู้โดยสาร
 
  • Airline Ticket Agent
    มีหน้าที่ที่จะพบกับผู้โดยสารเมื่อผู้โดยสารมาถึงสนามบิน อาจจะเป็นพนักงานของสายการบิน หรือพนักงานของสนามบินก็ได้ มีหน้าที่ Check-in ผู้โดยสาร ให้ที่นั่งบนเครื่องแก่ผู้โดยสาร Check-in กระเป๋าของผู้โดยสาร นอกจากนั้นอาจจะมีการขายตั๋วให้ผู้โดยสาร หรือการเปลี่ยนแปลงเที่ยวบินการเดินทางให้ผู้โดยสารตามที่ผู้โดยสารต้องการด้วย ให้ข้อมูลแก่ผู้โดยสารในการไปขึ้นเครื่องตาม flight ที่กำหนด
 
  • Flight Operations / Flight Dispatcher / Load Controller
    มีหน้าที่รับผิดชอบ และเตรียมข้อมูลที่ทำให้แน่ใจว่าเครื่องบินที่จะทำการบินใน flight นั้นๆจะปลอดภัย ด้วยการเตรียมแผนการบิน แผนที่การบิน ต่างๆอย่างละเอียด แสดงให้เห็นซึ่งรายละเอียดของกำหนดเวลา และจุดหมายปลายทาง ระยะทาง การใช้ และจำนวนเชื้อเพลิงที่คาดว่าจะใช้ ดูแลให้แน่ใจว่า ข้อมูล Weight and Balance ของเครื่องถูกต้อง รวมถึงรายงานน้ำหนัก maximum takeoff และ landing ของเครื่องด้วย ลักษณะของภูมิอากาศตามเส้นทางที่ทำการบิน ความสูงที่ทำการบิน ทิศที่ทำการบินแต่ละช่วง และจุดหมายพร้อมระยะทางที่อาจจะต้องเปลี่ยนออกนอกเส้นทางที่กำหนดเมื่อเกิดความจำเป็น
 
  • Aviation Meteorologist
    นักอุตุนิยมวิทยาด้านการบิน มีหน้าที่ให้ข้อมูลด้านภูมิอากาศด้านการบินแก่ Flight Dispacher และนักบิน เกี่ยวกับลักษณะของอากาศปัจจุบัน และการคาดการณ์ล่วงหน้า เกี่ยวกับอากาศในทุกระดับความสูง เมฆและฝน รวมถึงทิศทางและความเร็วของกระแสลมด้วย
 
  • Ramp Planner
    An airline ramp planner มีหน้าที่รับผิดชอบและเป็นผู้ทราบเวลาที่เครื่องบินจะมาถึงเข้าจอด และเวลาที่เครื่องจะทำการออกไปบิน ของสายการบินเป็นอย่างดี เขาจะต้องสามารถติดต่อประสานงานกับหลายๆหน่วยงาน หรือหลายๆบริษัท ในสนามบิน ที่ต้องทำงานกับเครื่องบินเพื่อให้เครื่องบินสามารถออกไปบินได้ตามกำหนดเวลาใน Flight ต่อไป เพราะเครื่องที่เข้ามาอาจจะมีข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข และมีเวลาจำกัดที่จะทำให้เครื่องพร้อมที่จะบินได้ตามกำหนดเวลาหรือไม่อย่างไร
 
++++++++++++++++++++++++++++
 
  • บริษัทวิทยุการบิน AEROTHAI (AERONAUTICAL RADIO OF THAILAND LTD.)
    มีหน้าที่ ให้บริการการควบคุมการจราจรทางอากาศ เช่น :
          ++ การควบคุมจราจรทางอากาศบริเวณท่าอากาศยาน (Aerodrome Control Service)
               - Ground Control
               - Local Control หรือ Tower Control
          ++ การควบคุมจราจรทางอากาศ เขตประชิดท่าอากาศยาน (Approach Control Service)
          ++ การควบคุมจราจรทางอากาศตามเส้นทางบิน (Area Control Service)
    ให้บริการสื่อสารสายการบิน เป็นศูนย์สื่อสารการบินระหว่างประเทศ (International Aeronautical Fixed Telecommunications Network: AFTN Center) ของประเทศไทย









    *ถ้าสนใจดูตัวอย่างประกาศรับสมัครแต่ละอาชีพ ก็ดูได้ตามเครดิตนะจ่ะ

    credit: http://www.thaitechnics.com/careers/career_info.html

แสดงความคิดเห็น

>

2 ความคิดเห็น

Mindy 26 พ.ย. 56 เวลา 19:57 น. 2

หากอยากสอบถามรายละเอียด ทำอย่างไรถึงจะเข้า สถาบันการบินพลเรือนได้
ติดต่อมาที่นี่ค่ะ monthathipleesakul@yahoo.com

0