Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

โครงการบำบัดน้ำเสีย

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
....ปัญหาสำคัญคือเรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องน้ำเสียกับขยะได้ศึกษามาแล้วเหมือนกันทำไม่ยากนัก ในทางเทคโนโลยีทำได้แล้วในเมืองไทยเองก็ทำได้หาเทคโนโลยีจากต่างประเทศมา แล้วทำในเมืองไทยก็ทำได้หรือจะจ้างบริษัทต่างประเทศมาทำก็ได้นี่แหละปัญหา เดียวกันเดี๋ยวนี้กำลังคิดจะทำแต่ติดอยู่ที่ที่จะทำ""

        พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่อัญเชิญมานี้คือ ที่มาของ"โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ" ด้วยทรงตระหนักดีว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมมีผลกระทบเป็นอย่างมากและนับวันปัญหา นี้ได้ทับถมทวีคูณมากยิ่งขึ้นส่งผลต่อการดำรงชีพของประชาชนทั้งหลายที่ต้อง ประสบกับภาวะวิกฤตที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมอย่างรุนแรงและรวดเร็ว

        หลังจากนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่มูลนิธิชัยพัฒนาและสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อ ประสานงานโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ(สำนักงาน กปร.)และกรมชลประทานไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับการบำบัดน้ำเสียและการกำจัดขยะมูล ฝอยที่ประเทศออสเตรเลียเพื่อนำรูปแบบและ วิธีการมาปรับปรุงใช้ให้เหมาะสมในประเทศไทย

        พื้นที่ที่ถูกคัดเลือกให้เป็นพื้นที่ดำเนินการโครงการเพื่อ สนองพระราชดำริคือพื้นที่สาธารณประโยชน์ของจังหวัดเพชรบุรีประมาณ 642 ไร่ ตั้งอยู่ในบริเวณตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยมูลนิธิชัยพัฒนาสำนักงานกปร. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กรมชลประทานกรมป่าไม้ กรมประมงสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์สำนักงาน ปรมาณูเพื่อสันติสถาบันราชภัฏเพชรบุรี และจังหวัดเพชรบุรี

        วัตถุประสงค์ของโครงการในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการกำจัด ขยะและการบำบัดน้ำเสียชุมชนได้กำหนดแผนการดำเนินงานไว้ดังนี้         ระยะที่หนึ่ง : การทดลองศึกษาความเป็นไปได้ (พ.ศ. 2535-2536)

        ระยะที่สอง : การหารูปแบบการทดลอง ภาคปฏิบัติ (พ.ศ.2537-2539)

        ระยะที่สาม : การทดลองประสิทธิภาพ และสร้างแบบจำลองระบบ บำบัดน้ำเสียและการกำจัดขยะ (พ.ศ.2540-2542)

        ระยะที่สี่ : การสร้างคู่มือสำหรับการประยุกต์ใช้ (พ.ศ.2543-2544)

        ปัจจุบันการดำเนินงานศึกษาวิจัยตามแผนที่กำหนดไว้ได้ ดำเนินการเรียบร้อยแล้วและสามารถสร้างคู่มือสำหรับประยุกต์ใช้เพื่อเผยแพร่ การศึกษาวิจัยคือ         1. การบำบัดน้ำเสียด้วยระบบพื้นที่ชุ่มน้ำเทียมเป็นการบำบัดน้ำเสียโดยการทำ แปลงหรือทำบ่อเพื่อกักเก็บน้ำเสียที่รวบรวมได้จากชุมชน และปลูกพืชน้ำที่ผ่านการคัดเลือกแล้ว ว่าเหมาะสมที่สุด 2 ชนิด คือกกกลม(กกจันทบูรณ์) (Cyperus Corymbosus Rottb.) และ ธูปฤาษี (Typha angustifolia Linn.) ช่วยในการบำบัดน้ำเสียโดยมีลักษณะ การให้น้ำเสีย 2 ระบบ คือระบบปิดเป็นระบบที่ให้น้ำเสียขังได้ในระดับหนึ่งและมีการระบายน้ำเสีย เติมลงในระบบทุกวันและระบบเปิดเป็นระบบที่ให้น้ำเสียลงสู่ระบบบำบัดอย่างต่อ เนื่องน้ำเสียใหม่เข้าไปดันน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดออกจากระบบให้ไหลล้นทาง ระบายน้ำหรือทางระบบท่อใต้ดินสู่แหล่งน้ำ ธรรมชาติซึ่งมีระยะเวลาในการพักน้ำเสีย 1 วัน และพืชที่ปลูกสามารถตัดออกเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้

        2. การบำบัดน้ำเสียด้วยระบบพืชกรองน้ำเสียเป็นการบำบัดน้ำเสียโดยการทำแปลงหรือ ทำบ่อเพื่อกักเก็บน้ำเสียที่รวบรวมได้จากชุมชนและ ปลูกพืชที่ผ่านการคัดเลือกว่า เหมาะสม 3 ชนิด คือ ธูปฤาษีกกกลม (กกจันทบูรณ์) และหญ้าแฝก อินโดนีเซียช่วยในการบำบัดน้ำเสียโดยมีลักษณะการให้น้ำเสียคือระบบที่ให้น้ำ เสียขังไว้ 5 วันและปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง 2 วันและระบายน้ำที่ผ่านการบำบัดออกจากระบบโดยปล่อยระบายน้ำสู่แหล่งน้ำ ธรรมชาติและพืชที่ปลูกสามารถตัดออกเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้

        3. การบำบัดน้ำเสียด้วยระบบบำบัดน้ำเสียเป็นระบบบำบัดแบบพึ่งพาธรรมชาติโดย อาศัยจุลินทรีย์ย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียและการเติมออกซิเจนจากการ สังเคราะห์แสงของแพลงตอนในน้ำเสีย ซึ่งในการออกแบบสามารถรองรับน้ำเสียได้ 4,500-10,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน โดยมีบ่อบำบัดน้ำเสียจำนวน 5 บ่อ ประกอบด้วยบ่อตกตะกอน 1 บ่อ บ่อผึ่ง 3 บ่อ และบ่อปรับสภาพจำนวน 1 บ่อ ซึ่งคุณภาพน้ำที่ผ่านการบำบัด อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้งชุมชน

        4. การบำบัดน้ำเสียด้วยระบบหญ้ากรองน้ำเสียเป็นการบำบัดโดยการทำแปลงหรือทำบ่อ เพื่อกักเก็บน้ำเสียที่รวบรวมได้จากชุมชนและปลูกหญ้าอาหารสัตว์ที่ผ่านการ คัดเลือกว่าเหมาะสม 3 ชนิดช่วยในการบำบัดคือหญ้าสตาร์(Cynodon plectostachyus) หญ้าคาลลา (Letpochloa fusca) และหญ้าโคสครอส (Sporobolus virginicus) มีลักษณะการให้น้ำเสีย คือระบบที่ให้น้ำเสียขังไว้ 5 วัน และ ปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง 2 วัน และระบายน้ำที่ผ่านการบำบัดออกจากระบบโดยปล่อยระบายน้ำสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ และหญ้าเหล่านี้ สามารถตัดออกนำไปใช้เลี้ยงสัตว์ได้

        5. การบำบัดน้ำเสียด้วยระบบแปลงพืชป่าชายเลนเป็นการบำบัดโดยการทำแปลงเพื่อกัก เก็บน้ำทะเลและน้ำเสียที่รวบรวมได้จากชุมชนและ ปลูกป่าชายเลนด้วยพันธุ์ไม้ 2 ชนิด คือ ต้นโกงกางและ ต้นแสมเพื่อช่วย ในการบำบัดอาศัยการเจือจางระหว่างน้ำทะเลกับน้ำเสียสามารถนำไปประยุกต์ใช้ กับชุมชนหรือกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งที่มีพื้นที่ติดอยู่กับป่าชายเลนได้โดยไม่ จำเป็นต้องมีการก่อสร้างแปลงพืชป่าชายเลนแต่จะต้องมีบ่อพักน้ำเสียไว้ระยะ หนึ่งและทำการระบายน้ำเสียเหล่านั้นสู่พื้นที่ป่าชายเลนที่มีอยู่ในขณะที่ น้ำทะเลขึ้นสูงสุดซึ่งจะเป็นการบำบัดน้ำเสียได้ในระดับหนึ่ง

        6. การทำปุ๋ยหมักจากขยะโดยการฝังกลบในกล่องคอนกรีตจากการศึกษาวิจัยและพัฒนาใน พื้นที่โครงการได้เทคโนโลยีการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนโดยวิธีการทำปุ๋ยหมักจาก ขยะด้วยการใช้กล่องและบ่อคอนกรีตโดยอาศัยหลักการ ธรรมชาติช่วยธรรมชาติและเหมาะสมกับการนำไปประยุกต์ใช้ได้กับชุมชนและตามครัว เรือนกล่อง หรือบ่อคอนกรีตที่ใช้ในการหมักขยะสามารถรองรับขยะได้ดังนี้ คือ

                1) กล่องคอนกรีตขนาดกว้าง 2.00 เมตร ยาว 3.00 เมตร สูง 1.50 เมตร สามารถหมักปุ๋ยจากขยะได้สูงสุดเท่ากับ 6 ลูกบาศก์เมตร หรือ 2,000 กิโลกรัม (2 ตัน)

                2) บ่อคอนกรีตขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.00 เมตร สูง 1.50 เมตร สามารถหมักปุ๋ยจากขยะ ได้สูงสุด 1 ลูกบาศเมตร หรือ 330 กิโลกรัม

        7. แนวทางการจำแนกรูปแบบทางสังคม การประชาสัมพันธ์และสิ่งแวดล้อมศึกษาเทคโนโลยีตามแนวพระราชดำริ ซึ่งจากการศึกษาวิจัย สามารถแบ่งลักษณะของชุมชนเป็น 5 กลุ่ม คือชุมชนเกษตรกรรมชุมชนพานิชยกรรมชุมชนอุตสาหกรรมชุมชนท่องเที่ยวและ นันทนาการ และชุมชนผสมโดยจะทำให้นักประชาสัมพันธ์และนักสิ่งแวดล้อมศึกษาสามารถวางแผน ในการประชาสัมพันธ์และการให้ความรู้เทคโนโลยีการกำจัดขยะ และบำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ

        จากวันที่มีพระราชดำริให้หน่วยงานต่างๆ ร่วมกันดำเนินงานจวบจนวันนี้ความก้าวหน้าของโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่ง แวดล้อม แหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริได้เป็นที่ประจักแจ้งว่าบัดนี้สามารถ บำบัดน้ำเสียในเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรีได้และมีกระบวนการสร้างองค์ความรู้ พัฒนารูปแบบการกำจัดน้ำเสียและขยะ โดยวิธีธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมโดยโครงการได้เผย แพร่ผลการศึกษาวิจัยพร้อมคู่มือสำหรับประยุกต์ใช้และแนวทางการปฏิบัติที่ เหมาะสมตามหลักวิชาการในการจัดการแก้ปัญหาสภาพแวดล้อมจากน้ำเสียและขยะมูล ฝอยดังพระราชดำรัสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีที่พระราชทานในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดการสัมมนา วิชาการของโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2542 ความว่า

        "เพื่อหารูปแบบเทคโนโลยีที่เหมาะสม ประหยัดไม่สลับซับซ้อนและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชุมชนต่างๆ ได้ผลการดำเนินงานวิจัยของโครงการ ศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมควรจะ นำไปเผยแพร่ให้แก่ประชาชนอันจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและประเทศชาติต่อไป""

แสดงความคิดเห็น

>

2 ความคิดเห็น