Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ทวีปแอนตาร์กติกา

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
  ทวีปแอนตาร์กติกา
ลักษณะภูมิประเทศของทวีปแอนตาร์กติกา


ทวีแอนตาร์กติกาเป็นทวีปที่อยู่ทางทิศใต้สุดของโลก ตั้งอยู่บนเส้นละติจูดที่ 60 องศาใต้ ทวีปแอนตาร์กติกามีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 5 รองจากเอเชีย แอฟริกา อเมริกาเหนือ และอเมริกา ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1819 โดยตั้งอยู่ในเขตแอนตาร์กติกเซอร์เคิล รอบขั้วโลกใต้ ล้อมโดยมหาสมุทรใต้ มีพื้นที่มากกว่า 14 ล้านตารางกิโลเมตร เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับที่ห้าของโลก มีชายฝั่งยาว 17,968 กิโลเมตร ประมาณร้อยละ 98 ของแอนตาร์กติกาถูกปกคลุมด้วยแผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติกาซึ่งหนาเฉลี่ย 2,160 เมตร เรียกว่า พืดน้ำแข็ง ( Ice sheet ) ทวีปนี้มีน้ำแข็งถึงราวร้อยละ 90 ของน้ำแข็งทั้งหมดบนโลก ทำให้มีน้ำจืดประมาณร้อยละ 70 ของโลก ถ้าน้ำแข็งทั้งหมดละลายแล้ว ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นประมาณ 61 เมตร จุดที่สูงที่สุดของทวีปคือยอดเขาวินสันแมสซีฟ มีความสูง 4892 เมตร ตั้งอยู่ในเทือกเขาเอลส์เวิร์ท ถึงแม้ว่าแอนตาร์กติกาจะมีภูเขาไฟจำนวนมาก แต่มีเพียงแห่งเดียวที่ทราบแน่ชัดว่ายังคงคุกรุ่นอยู่คือภูเขาไฟเอเรบัส บนเกาะรอสส์ ในปีพ.ศ. 2547 นักสำรวจชาวอเมริกันและแคนาดาค้นพบภูเขาไฟใต้น้ำในคาบสมุทรแอนตาร์กติก โดยหลักฐานแสดงให้เห็นว่าภูเขาไฟนี้อาจยังคุกรุ่นอยู่เช่นกัน
นอกจากนี้ยังเป็นทวีปที่อยู่รอบขั้วโลกใต้ของโลกล้อมรอบด้วยมหาสมุทร มีตำแหน่งอยู่ตรงข้ามกับเขตอาร์กติก ที่อยู่ใกล้ขั้วโลกเหนือ ตัวทวีปถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนโดย เทือกเขาทรานส์แอนตาร์กติก (transantarctic mountains) ถือว่าเป็นดินแดนที่มีอากาศหนาวเย็นที่สุดในโลก โดยพื้นที่เกือบทั้งหมดปกคลุมด้วยน้ำแข็ง และยังนับเป็นดินแดนร้างแล้ง (desert) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยไม่มีมนุษย์ตั้งรกรากอยู่อาศัยถาวร จึงยังเป็นบริเวณที่บริสุทธิ์ไม่มีมลภาวะซึ่งเกิดจากมนุษย์ จึงเหมาะที่จะใช้เป็นสถานที่ค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับสภาพอากาศของโลกและความเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ


 


การศึกษาวิจัยในขั้วโลกใต้

             เพื่อให้การศึกษาวิจัยด้านทางวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อมในทวีปแอนตาร์กติกา ประเทศต่างๆ จึงได้ตกลงร่วมมือสร้างศูนย์วิจัย โดยเริ่มเมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1957 ทำให้สามารถวัดความหนาและปริมาณของน้ำแข็งที่ปกคลุมทวีปแอนตาร์กติกาได้ และยังค้นพบว่าภายในน้ำแข็งที่หนากว่า 2000 เมตรนั้น ยังมีแผ่นดินที่กว้างใหญ่อยู่ หลังจากนั้นการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับทวีปแอนตาร์กติกาก็ได้รับความสนใจมากขึ้นทีเดียว และในปี ค.ศ. 1959 หลายประเทศได้ร่วมลงนามก่อตั้งสนธิสัญญาสำหรับทวีปแอนตาร์กติกาขึ้น โดยให้ทุกประเทศสามารถเข้าทำการศึกษาวิจัยได้ ยกเว้นแต่การทำกิจกรรมด้านทหาร

           ดินแดนหลายส่วนในทวีปแอนตาร์กติกาถูกประเทศต่างๆ อ้างสิทธิ์ครอบครองดังเช่น ประเทศอาร์เจนตินา ชิลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อังกฤษ เป็นต้น และในดินแดนเหล่านี้ก็จะมีศูนย์วิจัยของประเทศต่างๆ ตั้งอยู่ ทั้งทวีปแอนตาร์กติกามีศูนย์วิจัยของประเทศต่างๆมากกว่า 20 ประเทศ จำนวน 60 แห่ง ในช่วงฤดูหนาวจะมีนักวิจัยทำงานอยู่ที่นี่ประมาณ 1000 คน และจะเพิ่มเป็น 4000 คนในฤดูร้อน ในศูนย์วิจัยแมคเมอร์โดที่อยู่ในเขตของประเทศนิวซีแลนด์ เป็นศูนย์วิจัยและชุมชนที่ใหญ่ที่สุดในแอนตาร์กติกา สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้มากถึง 1000 คน

ลักษณะภูมิอากาศของทวีปแอนตาร์กติกา

          ทวีปแอนตาร์กติกามีลักษณะภูมิอากาศแบบขั้วโลก คือ มีอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีต่ำกว่า  -23 องศาเซลเซียส  ซึ่งอุณหภูมิต่ำสุดที่มนุษย์จะอยู่ได้ คือ -15 องศาเซลเซียส  อุณหภูมิที่ต่ำที่สุดเท่าที่เคยบันทึกได้ -89.6 องศาเซลเซียส  ที่สถานีวอสต็อกของประเทศรัสเซีย เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2526 ( ความสูง 3,488 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ) อากาศที่ทวีปแอนตาร์กติกามีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำมาก ( อากาศแห้งมาก ) มีฝนตกน้อยมาก  บางบริเวณมามีฝนตกมานาน 200 ปีแล้ว เรียกว่า หุบเขาแห้งแล้ง บริเวณนี้จะไม่มีน้ำแข็งปกคลุม จึงเห็นเป็นพื้นดินและหินคล้ายทะเลทราย มีลมแรง เกิดจากการที่เปลือกโลกบริเวณนี้เคลื่อนตัวขึ้นมาเร็วกว่าบริเวณอื่น ทำให้ไม่ทันเป็นพืดน้ำแข็ง ลมที่ทวีปแอนตาร์กติกามีความเร็วสูงสุดที่วัดได้ถึง 300 กิโลเมตร/ชั่วโมง บริเวณที่ลมแรงที่สุดคือ อ่าวปาฮามา ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปแอนตาร์กติกา

พายุหิมะ ( Blizzard )

เป็นปัญหาที่รับมือยากที่สุดที่นักสำรวจขั้วโลกใต้ทุกคนอาจจะเจอ เนื่องจากพายุหิมะที่นี่มีความเร็วลมที่สูงกว่า 14 เมตร
/วินาที ( 50 กิโลเมตร/ชั่วโมง ) และอาจสูงถึง 72  กิโลเมตร/ชั่วโมง ก็ได้ ทำให้ทัศนวิสัยต่ำกว่า 150 เมตร แทบจะมองไม่เห็นอะไรเลย นอกจากนี้แผ่นน้ำแข็งคมกริบที่ลอยมากับลม ถ้าเราไม่ใส่แว่นป้องกันก็อาจทำให้ตาบอดได้
  

ภาพลวงตาที่ขั้วโลกใต้

         โดยปกติแล้วแสงเดินทางเป็นเส้นตรง แต่จะหักเหเมื่อผ่านตัวกลางที่มีความหนาแน่นต่างกัน บริเวณใกล้ๆพื้นผิวขั้วโลกใต้จะมีอุณหภูมิต่ำมาก เนื่องจากมีหิมะอยู่มาก ในขณะที่อากาศที่อยู่สูงขึ้นไปจะอุ่นกว่าเนื่องจากความร้อนจากพื้นผิวลอยขึ้นไป  ทำให้ความหนาแน่นของอากาศไม่เท่ากัน เมื่อแสงเดินทางจากอากาศที่อยู่สูงมาใกล้พื้นผิวก็จะเกิดการหักเห ทำให้เกิดภาพลวงตา
ประเภทของภาพลวงตา
1.ภาพลวงตาที่เกิดขึ้นใต้วัตถุจริง ( Inferior image )
2.ภาพลวงตาที่เกิดขึ้นเหนือวัตถุจริง ( Superior image )
3.ภาพลวงตาที่เกิดขึ้นเหนือวัตถุจริงแต่เป็นภาพกลับหัว ( Lateral mirage )

ปรากฏการณ์ไวท์เอาท์

        เมื่ออยู่บริเวณขั้วโลกใต้ อาจเกิดปรากฏการณ์ไวท์เอาท์ ( Whiteout ) ซึ่งอยู่ดีๆภาพข้างหน้าเราก็จะหายไป ทุกอย่างมีแต่ความขาวโพลน ปรากฏการณ์ไวท์เอาท์มักเกิดในวันที่ท้องฟ้าเต็มไปด้วยเมฆ บริเวณที่พื้นเต็มไปด้วยหิมะ เมื่อแสงอาทิตย์ส่องผ่านเมฆลงมาจะสะท้อนแสงไปมาระหว่างพื้นหิมะและก้อนเมฆ ทำให้บริเวณนั้นสว่างจ้า ทุกสิ่งเป็นสีขาว จนมองอะไรไม่เห็น ถ้าเกิดเหตุการณ์นี้ นักบินที่ขับเครื่องบินจะไม่สามารถแยกแยะทิศทางและมักขับชนภูเขาน้ำแข็งเสมอ นักสำรวจที่กำลังเดินทางอาจหลงทางได้ ถ้าไม่ระมัดระวัง ไม่เพียงแต่มนุษย์ที่หลงทาง แม้แต่นกก็อาจบินชนน้ำแข็งได้ ดังนั้น ถ้าอยู่ในเหตุการณ์นี้ควรจะอยู่กับที่จนกว่าทัศนวิสัยจะดีขึ้นจึงเดินทางต่อ และควรทำใจให้สงบ อย่าตื่นกลัว เพราะอาจทำให้เราหลงทางไปไกลได้

ระบบนิเวศในทวีปแอนตาร์กติกา

สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทวีปแอนตาร์กติกา ได้แก่

1. นกเพนกวิน (Penguins)

       
นกเพนกวินเป็นนกที่บินไม่ได้ มีการดัดแปลงอวัยวะสำหรับใช้ในการบินเป็นใช้เพื่อการว่ายน้ำ นกเพนกวินสามารถเดิน วิ่ง กระโดดและปีนป่ายได้เป็นอย่างดีบนก้อนน้ำแข็ง นิ้วเท้ามีพังพืดและมีเล็บที่แข็งแรงใช้สำหรับว่ายน้ำ มีหางไว้ใช้เป็นหางเสือ และใช้ทำให้ก้อนน้ำแข็งแตกได้ง่าย นกเพนกวินมีขนสั้น ๆ ปกคลุมตัว ปลายขนจะคลุมทับกันแน่นคล้ายกระเบื้องมุงหลังคา ทำให้ป้องกันน้ำเข้าถึงผิวหนังและทำให้ร่างกายอบอุ่น

นกเพนกวินเป็นนกที่อาศัยอยู่ในทะเล มหาสมุทร เฉพาะทางซีกโลกใต้เท่านั้น นกเพนกวินเป็นสัตว์สังคม พบอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นฝูง ส่งเสียงดังเพื่อช่วยในการติดต่อสื่อสาร นกเพนกวินว่ายน้ำได้เร็ว 8-16 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
อาหารของนกเพนกวิน ได้แก่ ปลา ปลาหมึกขนาดเล็ก หอยและกุ้ง

3. วาฬ

     3.1 วาฬเพชฌฆาต  ( Orca Whale)

รู้จักกันอีกชื่อว่า ออก้า เป็นสปีชี่ส์ที่ใหญ่ที่สุดในในวงศ์ Delphinidae ของโลมา สามารถพบเห็นได้ในมหาสมุทรทั่วโลก ตั้งแต่แถบอาร์กติกและแอนตาร์กติกา จนถึงทะเลในแถบเขตร้อน  วาฬเพชฌฆาตเป็นนักล่าที่ชาญฉลาด ส่วนมากล่าปลาเป็นอาหาร ในบางสายพันธุ์จะล่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอย่างแมวน้ำสิงโตทะเล หรือแม้กระทั่งวาฬขนาดใหญ่ วาฬเพชฌฆาตเป็นสัตว์สังคม โดยสัณนิษฐานได้จากพฤติกรรมทางสังคมที่ซับซ้อนของมัน อย่างเช่น เทคนิคการล่า การส่งเสียงที่สามารถสื่อความหมายระหว่างกันได้

3.2 วาฬสีน้ำเงิน (Blue whale)

โดยทั่วไปจะยาวประมาณ 27-29เมตร แต่ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยเจอคือ 33 เมตร และใหญ่ที่สุดในโลกในตอนนี้ อาศัยอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ กินกุ้งตัวเล็ก (krill) เป็นอาหาร แต่บางทีมันก็เผลอกิน สัตว์ที่ตัวเล็กกว่าเข้าไปด้วย ปัจจุบัน วาฬสีน้ำเงินเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์จึงมีการอนุรักษ์วาฬ นอกจากนี้ ยังมีวาฬสีน้ำเงินพันธุ์แคระ (pigmy blue whale) ที่ยาว 24-26 เมตรอีกด้วย

4. กุ้งคริลล์ ( Krill )

          คริลล์ ( Krill ) มีรูปร่างคล้ายกุ้ง มีขนาดเล็กกว่ากุ้ง ไม่มีกรี มีสีแดง แม้คริลล์และกุ้งจะเป็นสัตว์กลุ่มกุ้งกั้งปู ( crustacean ) เหมือนกัน แต่มีรูปร่างลักษณะต่างกัน เหงือกของกุ้งจะอยู่ภายในหัวซึ่งมีเปลือกหุ้ม แต่เหงือกของคริลล์อยู่ด้านนอกซึ่งมองเห็นได้ ในโซ่อาหารขั้วโลกใต้ คริลล์จะเป็นอาหารของหมึก นก แมวน้ำ เพนกวินและวาฬ นอกจากนี้ คริลล์ยังเป็นอาหารหลักของวาฬสีน้ำเงินซึ่งเป็นสัตว์ที่มีรูปร่างใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย  

5. หมึก ( Squid  )

เป็นสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลัง ที่มีขนาดใหญ่ เคลื่อนที่ได้รวดเร็ว และว่องไว มีหนวดรอบปาก 4-5 คู่ บนหนวดมีปุ่มดูดเรียงเป็นแถว มีหน้าที่จับเหยื่อป้อนเข้าปากเคลื่อนที่โดยใช้ท่อไซฟอนพ่นน้ำออกมา หมึกที่พบในขั้วโลกใต้โดยมากเป็นปลาหมึกสาย ที่มีขนาดตั้งแต่ 3 เซนติเมตรจนถึง 10 เมตร

6. นกทะเล

    6.1 นกอัลบาทรอส

    6.2 นกเพลเทรล

2.3 แมวน้ำรอสส์
 
2.4 แมวน้ำลายเสือดาว 
     

2. แมวน้ำ 
2.1 แมวน้ำแอนตาร์กติกเฟอร์ 
                          
2.2 แมวน้ำกินปู

         
      ผลกระทบของภาวะโลกร้อนที่มีผลต่อทวีปแอนตาร์กติกา  
 
ภาวะโลกร้อน (
Global Warming) หรือ ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกเราในปัจจุบัน สังเกตได้จาก อุณหภูมิ ของโลกที่สูงขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุหลักของปัญหานี้ มาจาก ก๊าซเรือนกระจก  (Greenhouse gases)

                  ปรากฏการณ์เรือนกระจก มีความสำคัญกับโลก เพราะก๊าซจำพวก คาร์บอนไดออกไซด์ หรือ มีเทน จะกักเก็บความร้อนบางส่วนไว้ในในโลก ไม่ให้สะท้อนกลับสู่บรรยากาศทั้งหมด มิฉะนั้น โลกจะกลายเป็นแบบดวงจันทร์ ที่ตอนกลางคืนหนาวจัด (และ ตอนกลางวันร้อนจัด เพราะไม่มีบรรยากาศ กรองพลังงาน จาก ดวงอาทิตย์) ซึ่งการทำให้โลกอุ่นขึ้นเช่นนี้ คล้ายกับหลักการของ เรือนกระจก (ที่ใช้ปลูกพืช) จึงเรียกว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect)

                  แต่การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ออกมาจาก โรงงานอุตสาหกรรม รถยนต์ หรือการกระทำใดๆที่เผา เชื้อเพลิงฟอสซิล (เช่น ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ) ส่งผลให้ระดับปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ ในปัจจุบันสูงเกิน 300 ppm (300 ส่วน ใน ล้านส่วน) เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 6 แสนปีซึ่งคาร์บอนไดออกไซด์ ที่มากขึ้นนี้ ได้เพิ่มการกักเก็บความร้อนไว้ในโลกของเรามากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็น ภาวะโลกร้อน ดังเช่นปัจจุบัน เมื่ออุณหภูมิของโลกสูงขึ้น ทำให้น้ำแข็งที่ทวีปแอนตาร์กติกาละลายลงด้วย                                                   


 



แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2554 / 20:57
แก้ไขครั้งที่ 2 เมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2554 / 21:00
แก้ไขครั้งที่ 3 เมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2554 / 11:22
แก้ไขครั้งที่ 4 เมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2554 / 15:44
แก้ไขครั้งที่ 5 เมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2554 / 15:49
แก้ไขครั้งที่ 6 เมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2554 / 18:45

แสดงความคิดเห็น

>

23 ความคิดเห็น

..miran.. 31 ธ.ค. 54 เวลา 14:35 น. 8

ขอบคุณมากเลยค่ะสำหรับข้อมูล  ข้อมูลบางอย่างหายากมาก  ขออ้างอิงไปทำรายงานด้วยนะค่ะ ^^


PS.  หนังสือบางเล่มต้องลิ้มชิมดู บางเล่มเขมือบเข้าไป และอีกน้อยเล่มนักที่ต้องเคี้ยวและย่อยให้หมด !!!
0
oom 22 พ.ค. 55 เวลา 20:51 น. 12

ไม่มีคนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับโลกร้อนเลยหรอ

แล้วสัตว์พวกนั้นจะอยู่ยังไงTT น่าสงสาร

ขอบคุณจขกทมากค่ะที่ให้ความรู้

0
sPB'spd 18 ธ.ค. 55 เวลา 22:25 น. 17

คืออยากรู้จังเลยค่ะ ว่าคนในแอนตาร์กติกนี้มีเชื้อชาติอะไรบ้างอ่ะค่ะ เช่น พวกนิกรอยด์ ในแอฟริกาอ่ะค่ะ อยากรู้มากๆเลย ถ้าเป็นไปได้ช่วยตอบคำถามนี้หน่อยนะคะ ขอบคุณค่ะ ><

1
Musiicxyz 13 ก.ย. 62 เวลา 22:03 น. 17-1

ตามภูมิลักษณ์แล้ว ทวีปนี้ไม่มีคนอาศัยอยู่น้า เพราะว่าอยู่ตรงขั้วโลกใต้ที่หนาวมากก ถ้ามีก็คงเป็นนักสำรวจจากชาติต่างๆแหละค่า

0