Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

<<สงสารเด็กรุ่นต่อไป>> เล็งเพิ่มค่าโอเน็ต สอบตก ต้องซ้ำชั้น

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่




เล็งเพิ่มค่าโอเน็ต "สอบตก" ต้องซ้ำชั้น (ไทยโพสต์)

          สพฐ.เตรียมจัดเสวนาระหว่าง สทศ.-สกศ. หาทางเพิ่มแรงจูงใจสอบโอเน็ต ในวันที่ 10 พ.ค. "ชินภัทร" เล็งนำมาใช้ประโยชน์อย่างเข้มข้น โดย เฉพาะการประเมินเลื่อนช่วงชั้นจาก ป.6 ขึ้น ม.1 และการจบ  ป.6 ถ้าผลคะแนนโอเน็ตออกมาสอบตก นักเรียนอาจต้องเรียนซ้ำชั้น ชี้อาจนำวิชาภาษาไทยมาเป็นตัวชี้วัดก่อน แนะ สทศ.ควรลดความซับซ้อนข้อสอบเด็ก ป.6 และควรใช้ข้อสอบฉบับยาวมากกว่าฉบับสั้น

          นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  (กพฐ.) เปิดเผยภายหลังประชุมผู้บริหารคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  (สพฐ.) ว่า ที่ ประชุมได้หารือเรื่องผลสัมฤทธิ์การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) เพื่อจะปรับเปลี่ยนให้การสอบโอเน็ตมีแรงจูงใจกับนักเรียนมากขึ้น หลังในปีการศึกษาที่ผ่านมามีคะแนนเฉลี่ยต่ำ ซึ่งเบื้องต้นได้มีการจัดเสวนาร่วมเรื่อง "การใช้โอเน็ตเป็นเครื่องมือยกคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ" โดย เป็นการเสวนาระหว่าง สพฐ. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ  (สทศ.) และสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ในวันที่ 10 พ.ค. ทั้งนี้  จะนำจุดอ่อนและปัญหาการดำเนินการสอบโอเน็ตที่ผ่านมาสะท้อนและหารือกัน เพื่อให้ สทศ.ไปปรับเพื่อใช้ในปีการศึกษา 54 ต่อไป และให้เป็นระบบที่เชื่อถือได้และพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างแท้จริง

          เลขาธิการ กพฐ. กล่าวอีกว่า ตนก็จะมีข้อเสนอในที่เสวนา อาทิ การ นำผลสอบโอเน็ตไปเชื่อมโยงกับการเลื่อนผ่านช่วงชั้นเรียน โดยเฉพาะช่วงชั้นที่ 2 ไปสู่ช่วงชั้นที่ 3 (ป.6 เรียนต่อ ม.1) ตลอดจนการจบการศึกษาภาคบังคับ เป็นต้น พร้อมทั้งมีข้อเสนอในหลายส่วน ที่เสนอให้นำผลสอบโอเน็ตมีส่วนต่อการประเมินการเลื่อนชั้นหรือซ้ำชั้นด้วย โดยเฉพาะนักเรียนชั้น ป.6 ที่ สพฐ.จะให้ความสำคัญมาก เพราะคือด่านแรกที่จะเข้าสู่ระดับมัธยมศึกษา และคิดว่าจะนำกลุ่มสาระวิชาภาษาไทยเป็นตัวชี้วัดหลักต่อการเลื่อนชั้นใน อนาคตอีกด้วย

          นายชินภัทร กล่าวอีกว่า ก่อนหน้านี้ตนได้หารือกับ สทศ.ในเรื่องของการกำหนดความชัดเจนของข้อสอบโอเน็ต อาทิ การ ออกข้อสอบโอเน็ตในระดับประถมศึกษาไม่อยากให้มีความซับซ้อนในเรื่องของตัว เลือกและโจทย์มากนัก การไม่ใช้ข้อสอบฉบับสั้น และการสอบครั้งหนึ่งให้กำหนดกลุ่มสาระวิชาต่อหนึ่งชุด เพราะการสอบโอเน็ตในปีการศึกษาที่ผ่านมาได้รวมทุกกลุ่มสาระวิชามารวมในชุด เดียวกัน ทำให้นักเรียนกำหนดเวลาไม่ได้ มีผลให้บางกลุ่มสาระวิชามีคะแนนเป็นศูนย์ พร้อมกันนี้ สพฐ.ยังได้ส่งตัวแทนครูกลุ่มสาระจำนวน 30 คน ทั้งหมด 8 กลุ่ม ไปเป็นทีมที่จะออกข้อสอบร่วมกับ สทศ.เพื่อให้การออกข้อสอบสอดคล้องกับการเรียนการสอน

เครดิต ไทยโพส

แสดงความคิดเห็น

4 ความคิดเห็น

.......... 4 พ.ค. 54 เวลา 11:38 น. 2

ถ้าให้ซ้ำชั้น ผมว่ากำหนดดีกว่าว่า&nbsp ว่ารวมคะแนนทุกวิชาแล้วต่ำกว่า 30% ซ้ำชั้นไรงี้ เพราะถ้าให้รวมทุกวิชาแล้วเกินครึ่งนี่ ก็คงโหดไปเหมือนกัน..

0