Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

10 อันดับโรคที่พบบ่อย......(โดยToptenthailand.com )

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
 10 อันดับโรคที่พบบ่อย
10โรคต่อมทอนซิลอักเสบ
ต่อมทอนซิลเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอยู่ในคอ จัดเป็นเนื้อเยื่อชนิดลิมฟอยด์ในระบบน้ำเหลืองที่ปกคลุมด้วยเซลล์เยื่อบุทางเดินหายใจ มีหน้าที่กำจัดเชื้อโรค แต่บ่อยครั้งที่ตัวมันเองถูกเชื้อโรคเล่นงาน จนเกิดการอักเสบของต่อมเอง ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บคอมีไข้ กลืนลำบาก เบื่ออาหารร่วมกับต่อมน้ำเหลืองที่คอโต
 
 
 
9โรคผื่นคัน
อาการ ผื่นเป็นตุ่มน้ำขนาดเล็กเท่าๆกัน รวมกันเป็นกลุ่ม เป็นผื่นแดงรูปกลม ขอบชัด นูนจากผิวปกติ อาจเป็นวงเดียวหรือหลายวง มีอาการคันมาก รายที่เป็นเฉียบพลันจะมีน้ำเหลืองไหล รายที่เป็นมานานอาจจะมีขุย บริเวณที่เป็นได้แก่ หลังมือ แขน ขา
 
 
 
8โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง
โรคนักบริหารนี้ ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคใดๆ แต่เป็นโรคเพราะพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตที่ผิดๆ อาจเรียกได้ว่าเป็นโรคร่วมสมัยที่เรียกว่า โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง หรือ Chronic Fatigue Syndrome (CFS) ซึ่งดร.สาทิส อินทรกำแหง อธิบายว่าเป็นอาการที่เกิดหลังจากร่างกายเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือ ไฮโปไกลซีเมีย (Hypoglycemia) สาเหตุสำคัญมาจากพฤติกรรมการบริโภคที่นิยมน้ำตาล และของหวานมากเกินไป เมื่อกินอาหารเหล่านี้เข้าไป ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นสูง ตับอ่อนก็จะผลิตอินซูลินออกมาเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลให้ลดต่ำลง อีกครู่หนึ่งเราก็กินอาหารที่มีน้ำตาลมากเข้าไปอีก น้ำตาลในเลือดก็สูงขึ้น อินซูลินต้องถูกส่งมาลดน้ำตาลอีก เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นแล้วลงต่ำสลับกันไปตลอดเวลา หมายถึงตับอ่อนต้องทำงานตลอดเวลาด้วยเช่นกัน เมื่อรวมกับพฤติกรรมในชีวิตที่ผิดเพี้ยนไป ทำงานมากเกิน พักผ่อนไม่เพียงพอ และมีความเครียดเป็นพื้นฐาน ก็กลายเป็นตัวซ้ำเติมที่ทำให้อาการเจ็บป่วยธรรมดากลายเป็นหนักขึ้น ผู้ที่โดน ไฮโปไกลซีเมีย เล่นงานจะมีอาการผิดปกติดังนี้ 1.อ่อนเพลีย ไม่มีแรง 2.รู้สึกเบื่อหน่าย ซึมเศร้า 3.นอนไม่หลับ 4.มีอาการทางประสาท 5.เวียนหัว ปวดหัว 6.เหงื่อแตกบ่อยๆ 7.มือสั่น 8.หัวใจเต้นผิดปกติ 9.ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง 10.เบื่ออาหาร 11.จิตใจฟุ้งซ่าน ขาดสมาธิ 12.เนื้อตัวชาเป็นบางครั้ง 13.ท้องอืด ท้องขึ้น 14.มือเย็น เท้าเย็น 15.รู้สึกสับสนปั่นป่วน 16.เป็นตะคริวบ่อย 17.เบื่อการพบปะผู้คน 18.อ้วน น้ำหนักเกิน 19.การทรงตัวไม่ดี 20.อยากฆ่าตัวตาย 21.เกิดการชักกระตุก 22.เป็นลมบ่อยๆ 23.ความจำเสื่อม 24.วิตกกังวลง่าย 25.หิวอย่างรุนแรงก่อนถึงเวลา 26.ลังเล ตัดสินใจไม่ได้ 27.อยากกินของหวานๆ 28.กามตายด้าน 29.มีอาการภูมิแพ้ 30.การประสานงานส่วนต่างๆ ของร่างกายเลวลง 31.คันตามผิวหนัง 32.หายใจไม่ออกบ่อยๆ 33.ฝันร้ายบ่อยๆ 34.ปากแห้ง-คอแห้ง 35.ลมหายใจและปากมีกลิ่นแปลกๆ 36.โมโหร้าย 37.ถ่ายอุจจาระผิดปกติ 38.ถ่ายปัสสาวะผิดปกติ 39.หน้าร้อนผ่าวบ่อยๆ 40.ทนเสียงอึกทึก แสงจ้าๆ ไม่ได้ อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน อาจเกิดขึ้นแล้วหายไปแล้วก็กลับมาเป็นอีก แต่อาการสำคัญคือ เหนื่อยเพลีย ไม่มีแรง นอนไม่หลับ สมองมึนซึม ปวดเนื้อปวดตัวเรื้อรัง และระบบขับถ่ายมีปัญหาอยู่ตลอดเวลา จะเป็นอยู่ตลอดเวลา หากคุณมีอาการดังนี้ไม่ควรนิ่งนอนใจ ต้องรีบปรับปรุงแก้ไขพฤติกรรมการกินโดยด่วน ด้วยการงดเติมน้ำตาลในอาหาร เลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลมาก รวมทั้งฟาสต์ฟู้ดที่มีไขมันและโปรตีนมากเกินไป ปรับเปลี่ยนเรื่องอาหารแล้วต้องดูแลอารมณ์ด้วย งานของนักบริหารมักมาพร้อมความเครียด แต่เมื่อใดที่คุณเครียด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีน ซึ่งจะกระตุ้นให้ผนังลำไส้ขับกรดออกมามากกว่าปกติ เป็นสาเหตุให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ ความดันโลหิตสูง หัวใจทำงานหนักขึ้น ประสาทถูกกระตุ้นให้ตื่นตัว จึงนอนไม่หลับ พักผ่อนไม่เพียงพอ ร่างกายจึงขาดโอกาสซ่อมแซมตัวเอง สมาธิสับสน ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายตกต่ำลง จนอาจติดเชื้อต่างๆ ได้อีก อย่าลืมเพิ่มความยืดหยุ่นให้เงื่อนไขในการทำงานของคุณด้วย ทีนี้จะได้ทำงานอย่างสนุกและมีสุขภาพดีไปพร้อมๆ กัน
 
 
 
7โรคปวดศีรษะ
ประมาณร้อยละ 90 ของผู้ใหญ่เคยปวดศรีษะมาแล้วไม่มากก็น้อย หากเป็นมาก จะมีผลกระทบต่อการทำงาน ต้องหยุดงานเพื่อเข้าโรงพยาบาลให้แพทย์ตรวจ อาการที่ตรวจพบก็ขึ้นอยู่กับชนิดของอาการที่เป็น สำหรับผู้หญิงมักจะปวดศีรษะ ก่อนมีประจำเดือน หรืออาจจะปวดไปพร้อมกับการมีประจำเดือน อาการที่ปวด ศรีษะจะปวดข้างเดียวหรืออาจจะปวดทั้งสองข้างก็ได้การปวดศรีษะมีหลายชนิด ชนิดที่พบบ่อย คือ 1. ปวดแบบเทนชั่น (tension headaches) เกิดจากกล้ามเนื้อหนังศรีษะและกล้ามเนื้อ โดยรอบมีอาการเกร็ง การปวดนี้จะปวดอยู่รอบนอก ไม่ปวดไปถึงภายในสมองร้อยละ 90 ของการปวด tension headaches จะปวด 2ข้าง ระยะเวลาที่ปวดประมาณ 2-3 นาที บางรายอาจปวดเป็นสัปดาห์ และมีอาการแทรกซ้อนอย่างอื่น เช่น ทางเดินอาหาร อาหารไม่ย่อย คลื่นไส้อาเจียน สาเหตุ อาจมาจากหลายปัจจัย ส่วนมากจะมีปัจจัยมาจากความ เครียด กังวลเรื่องงาน และความแปรปรวนทางอารมณ์ต่างๆ คนไข้จะรู้สึกว่าปวดแบบสม่ำเสมอ 2 ข้างของศรีษะ อาจมีการปวดต้นคอร่วม ด้วยก็ได้อาการที่ปวดจะเกิดขึ้นเวลาใดก็ได้ และสัปดาห์หนึ่งอาจเกิดหลายครั้ง ได้ 2. ปวดศรีษะเนื่องจากหลอดเลือด มีคนไข้จำนวนหนึ่งมีอาการปวดศรีษะที่เป็นผลมาจากหลอดเลือดที่มาเลี้ยงสมอง หรือประสาทส่วนกลางไม่เพียงพอ 2.1 ปวดศรีษะแบบไมเกรน (migraines) จะปวดรุนแรง ปวดแบบตุ๊บๆ (throbbing pain) ของศรีษะข้างใดข้างหนึ่ง คนไข้บางคนมีอาการคลื่นไส้ และมีความรู้สึกไวต่อแสง ตาสู้แสงไม่ได้ ปวดแบบไมเกรนนี้จะปวดนาน เป็นชั่วโมงหรือนานเป็นหลายวันปวดแบบไมเกรนมักจะมีอาการนำก่อน คือจะมีอาการปวดเตือนก่อนล่วงหน้าก่อนที่จะมีการปวดศรีษะจริง เช่น มีอาการร้อนแปล๊บๆ ที่หน้าผาก มีอาการแปล๊บๆ ที่ตาคล้ายฟ้าแลบ ปัจจัย ที่ทำให้เป็นไมเกรน คือ พักผ่อนน้อย นอนดึก น้ำตาลในเลือดต่ำ รับประ ทานอาหารไม่เป็นเวลา ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มาก อารมณ์ หงุดหงิดบ่อยหรือร่างกายอ่อนเพลียหลัวจากตรากตรำทำงานมาก ปวดแบบไมเกรนมักเกิดกับผู้หญิงเป็นส่วนใหญ่ มักปวดในขณะที่มี ประจำเดือนหรือก่อนมีประจำเดือน และมักจะมาตามสายพันธุ์ (กรรมพันธุ์) 2.2 ปวดศรีษะแบบคลัสเตอร์ (cluster headaches) ปวดศรีษะข้างเดียว และปวดตุ๊บๆ เช่นเดียวกับปวดแบบไมเกรน แตกต่างจากไมเกรนตรงที่ คนไข้จะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนและมีอาการผิดปกติต่อสายตา ปวดศรีษะแบบคลัสเตอร์อาจจะมีร้อนแปล๊บๆ ที่หน้าผาก น้ำตาไหล หรือมีคัดจมูก ม่านตาแคบลง บางคนมีเหงื่อออกมากตรงใบหน้าข้างกับ ที่ปวด การปวดแต่ละครั้งอาจนานถึง 10 นาที หรือ อาจจะเป็นชั่วโมงปวด รุนแรง ปวดตรงเวลากันทุกวัน วันหนึ่งอาจปวด 3 เวลา และยาวนานเป็น สัปดาห์หรือเป็นเดือน 2.3 ปวดศรีษะเนื่องจากความดันโลหิตสูง (hypertensive headaches) จะเกิดในนักบริหารที่มีความเครียด แล้วความดันโลหิตจะสูงขึ้นทันที ทำให้ปวดศรีษะการปวดศรีษะนี้เนื่องจากความดันโลหิตของเส้นเลือด ของศรีษะสูงขึ้นทำให้ปวดแบบตื้อๆ (dull) และปวดทั่วบริเวณศรีษะ การเคลื่อนไหวใบหน้า คอ ทำให้ปวดศรีษะมากขึ้น ปวดตอนเช้า เมื่อ สายอาการก็จะดีขึ้น 2.4 ปวดศรีษะจากท๊อกสิค (toxic headaches) มักเกิดจากจากแพ้ อากาศ แพ้สารเคมี และควัน บางครั้งอากาศเปลี่ยนแปลงก็เป็นเหตุ ให้ปวดศรีษะแบบท็อกสิคได้ 3. สาเหตุอื่นๆ อาการปวดศรีษะอาจเป็นสิ่งแสดงออกของการได้ยาในการรักษาโรค และโรค บางโรคอาจมีอาการปวดศรีษะร่วมด้วย แพทย์ผู้ดูแลจะเป็นผู้บอกให้คนไข้ทราบ สัญญาณอันตรายที่ต้องไปพบแพทย์ 1. เมื่อมีอาการปวดศรีษะอย่างเฉียบพลันและรุนแรง 2. ปวดศรีษะพร้อมกับมีอาการชักกระตุก 3. ปวดศรีษะพร้อมกับสับสน และความรู้สึก (consciousness) เสียไป 4. ปวดศรีษะพร้อมกับปวดตาและหู 5. ปวดศรีษะติดต่อกันนานๆ (persistent headache) ในคนไข้ที่ไม่เคยมีการ ปวดศรีษะมาก่อน 6. ปวดศรีษะพร้อมกับมีไข้ การที่แพทย์สรุปว่าปวดศรีษะมีต้นเหตุมาจากอะไร นั้น มักจะเกิดซักประวัติ เช่น ไม่ได้รับประทานอาหารแล้วปวดศรีษะ อาจเป็น เพราะน้ำตาลในเลือดต่ำ ถามประวัติต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว พร้อมกับประวัติ เกี่ยวกับการบาดเจ็บของศรีษะ การตรวจทางรังสีเอกซเรย์จะช่วยดูว่า มีมะเร็ง ในสมอง หรือมีเลือดจับเป็นก้อนภายในสมองหรือไม่ บางครั้งอาจจะต้องตรวจ คลื่นสมองด้วยไฟฟ้า (electroencephalogram-EEG) ซึ่งจะบอกความผิด ปกติของคลื่นสมอง แต่ไม่อาจจะไปสรุปได้ว่าปวดศรีษะมีสาเหตุมาจากอะไร เพราะคลื่นสมองจะบอกแค่หน้าที่ของเซลล์เท่านั้น
 
 
 
6โรคแผลผิวหนังอักเสบ
โรคผิวหนังอักเสบ (Eczema หรือ Dermatitis) คือ โรคผิวหนังที่เกิดการอักเสบของผิวหนัง ซึ่งแสดงออกมาได้หลายรูปแบบแล้วแต่ระยะของโรค สามารถแบ่งตามสาเหตุที่เกิดขึ้นคือ สาเหตุจากภายนอกร่างกาย(Exogenous หรือ Contact Dermatitis) เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างผิวหนังกับสารเคมีที่สัมผัสผิวหนัง สามารถแบ่งออกเป็น ผื่นระคายสัมผัส( Irritant contact dermatitis) พบได้ประมาณ 70-80% ผื่นแพ้สัมผัส (Allergic contact dermatitis)พบ ได้ประมาณ20-30% การวินิจฉัยอาศัยการทดสอบภูมิแพ้ โดยวิธี Patch test ผื่นสัมผัสนับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญมาก เพราะสารที่เป็นสาเหตุอาจมาจากการประกอบอาชีพ (เช่น โลหะ,ผลิตภัณฑ์ยาง,กาว) เครื่องสำอาง(เช่น น้ำหอม,สารกันบูด,น้ำยาย้อมหรือดัดผม) ซึ่งทำให้เกิดโอกาสที่จะสัมผัสง่าย และ หลีกเลี่ยงได้ลำบาก สาเหตุจากภายในร่างกาย( Endogenous Eczema) เกิดเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย อาจเกี่ยวข้องกับ พันธุกรรม โรคในกลุ่มนี้ เรียกชื่อตามลักษณะผื่น และ บริเวณที่เป็น เช่น Atopic dermatitis,Seborrheic dermatitisDiscoid หรือ Nummular dermatitis เป็นต้น
 
 



ผมว่าตอนนี้โรคที่คนไทยเป็นเยอะ.....คงเป็นโรคนํ้ากัดเท้า,ฉี่หนูมากกว่า

ก็ขอเป็นกำลังใจให้สำหรับคนที่บ้านนํ้าท่วมนะครับ
(ปล.บ้านผมยังไม่ท่วมอยู่ตากสินนะ)

PS.  ฉันจะเป็นเจ้าแห่งโจรสลัดให้ใด้

แสดงความคิดเห็น

5 ความคิดเห็น

Themaninthemirror 8 พ.ย. 54 เวลา 11:36 น. 1

 

5โรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูง (อังกฤษ: Hypertension) เป็นภาวะทางการแพทย์อย่างหนึ่ง โดยจะตรวจพบความดันโลหิต อยู่ในระดับที่สูงกว่าปรกติเรื้อรังอยู่เป็นเวลานาน ทั้งนี้องค์การอนามัยโลก กำหนดไว้ในปี 1999 ว่า ผู้ใดก็ตามที่มีความดันโลหิตวัดได้มากกว่า 140 /90 มม.ปรอทถือว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง และ การที่ความดันโลหิตสูงอยู่เป็นเวลานาน เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหลอดเลือดในสมองตีบ โรคหัวใจ โรคไตวาย เส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง อัมพาต ฯลฯ โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่ที่มีความดันโลหิตสูงมักจะไม่รู้ตัวว่าเป็น เมื่อรู้ตัวว่าเป็นส่วนมากจะไม่ได้รับการดูแลรักษา ส่วนหนึ่งอาจจะเนื่องจากไม่มีอาการทำให้คนส่วนใหญ่ ไม่ได้ให้ความสนใจ เมื่อเริ่มมีอาการหรือภาวะแทรกซ้อนแล้วจึงจะเริ่มสนใจและรักษา ซึ่งบางครั้งก็อาจจะทำให้ผลการรักษาไม่ดีเท่าที่ควร การควบคุมความดันโลหิตให้ปกติอย่างสม่ำเสมอ สามารถลดโอกาสเกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เป็นข้อเท็จจริงทางการแพทย์ที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป
 
 
 
4โรควิงเวียนมึน
อาการวิงเวียนศีรษะดูจะเป็นโรคยอดนิยมของผู้สูงอายุเลยทีเดียว บางคนก็เป็นเพียงชั่วขณะแต่บางรายก็เป็นต่อเนื่องกัน ทำให้รบกวนต่อการทำกิจกรรมต่างๆ จะเป็นเที่ยว ขึ้นรถ ลงเรือ ก็ดูจะขาดความมั่นใจ ทำให้ขาดความสนุกสบายในชีวิตไปหลายอย่าง คุณทวีก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่ถูกอาการวิงเวียนศีรษะเล่นงาน จนไม่อยากไปไหน มาไหน ด้วยกลัวว่าจะไปเดี้ยงกลางทาง จะกินยาแก้เมารถ เมาเรือ ก็ได้ผลบ้าง แต่ผลข้างเคียงก็คือ ความง่วงนี่สิ ทำให้กินบ่อยๆ ไม่ได้พอดีช่วงนี้นอนไม่หลับขึ้นมาอีก ก็เลยมาปรึกษากับแพทย์ ทางการแพทย์แบ่งประเภทของอาการวิงเวียน ออกเป็น 2 ประเภทคือ กลุ่มแรกที่รู้สึกมีอาการหมุน มักเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบทรงตัว โดยเฉพาะของโรคหูอย่างเช่น ขี้หูมาก หูน้ำหนวก หูส่วนในอักเสบ (จากยาบางชนิด เช่น ยาแก้อักเสบ ยาแก้ปวด สุรา) ซึ่งมักมีคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย นอกจากนี้ ก็อาจเกิดจากระบบไหลเวียนเลือดในบริเวณก้านสมองไม่ดี มีเนื้องอกในกระโหลกศีรษะ ฯลฯ กลุ่มที่สองเป็นพวกที่ไม่มีอาการหมุน กลุ่มนี้มักเกี่ยวข้องกับระบบไหลเวียนเลือด เช่น อาจเกิดความดันต่ำเกินไป เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติ หรืออาจเป็นจากอารมณ์ และความตึงเครียดก็ได้ ส่วนใหญ่แล้วผู้สูงอายุที่มีอาการวิงเวียนมักเป็นแบบชั่วคราว ไม่ค่อยมีสาเหตุที่ร้ายแรง แต่ก็ควรมีการตรวจร่างกาย และเจาะเลือดตรวจกันบ้าง โดยเฉพาะรายที่เป็นครั้งแรก หรือมีโรคอื่นอยู่แล้ว หรือเป็นผู้สูงอายุ ซึ่งต้องตรวจร่างกายประจำปี ระบบหลอดเลือดสาเหตุสำคัญในผู้สูงอายุ หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง โดยเฉพาะบริเวณก้านสมอง อาจมีการตีบตันเนื่องจากหลายสาเหตุ ตั้งแต่ความเสื่อมตามปกติ มีไขมันเกาะที่ผนังหลอดเลือด มีการอักเสบหรือตีบตันของหลอดเลือด ซึ่งพบได้ในผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง รวมไปถึงผู้ที่มีหัวใจเต้นผิดปกติ ผู้สูบบุหรี่จัด นอกจากนี้ยังอาจพบได้ในการเปลี่ยนท่าทางของคอ และศีรษะที่ไม่เหมาะสม เช่น แหงนคอนานๆ อย่างการไปสระผม ตัดผมตามร้านกลับมาอาจได้เวียนศีรษะเป็นของแถม ปัจจุบันมียาหลายชนิดที่ออกฤทธิ์กับระบบหลอดเลือด ถูกผลิตออกมาเพื่อช่วยผู้สูงอายุที่มีปัญหาการไหลเวียนโลหิตส่วนย่อย (Microcirculation) ถ้าผู้สูงอายุ (หรือไม่สูงอายุ) ไปหาหมอตามโรงพยาบาล ก็มักจะได้มาเป็นประจำ ซึ่งส่วนใหญ่ก็ได้ผลดี ในรายของคุณทวี ผมก็แนะนำให้ไปซื้อใบแป๊ะก้วยมาต้มดื่มแบบชา (ซึ่งหาซื้อได้ ตามร้านขายสมุนไพรทั่วไป) ก็ปรากฏว่าได้ผลดีมีอาการดีขึ้นมาก หลังจากลองกินไปได้เพียงสองสามสัปดาห์ แถมยังได้อานิสงค์คือ หลับสบายยิ่งขึ้น ยานอนหลับที่เคยได้รับ ก็เลิกได้ในคราวนี้เอง การดูแลตนเอง สิ่งสำคัญอยู่ที่การป้องกันครับ แน่นอนผู้สูงอายุ ควรดูแลสุขภาพทั่วไป (อยู่เสมอ) ตั้งแต่ออกกำลังกายเป็นประจำ ซึ่งจะช่วยในการไหลเวียนโลหิตเพิ่มขึ้น แต่ก็ต้องเป็นการออกกำลังกาย ที่นุ่มนวล ไม่หักโหม หรือการออกกำลังกายควรเหนื่อยเพียงเล็กน้อย มือและเท้าไม่ควรเย็นจนซีด ซึ่งแตกต่างไปจากการออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มการทำงานของหัวใจ กระดูกและกล้ามเนื้อ แบบหลังนี้จะมีความรุนแรงมากกว่า ผมสังเกตดูในผู้ป่วยหลายรายก็พบว่า การไหลเวียนของเลือดจะดี ในรายที่มือเท้าอุ่น ซึ่งแสดงว่าระบบหลอดเลือดฝอยทำงานเป็นปกติ ลักษณะเช่นนี้จะชัดเจนในผู้ที่มีความเครียด เมื่อเกิดอาการวิงเวียนศีรษะ ทำไมเวลาเครียดถึงเกิดอาการเวียนศีรษะได้ เรื่องนี้เป็นเพราะระบบประสาทอัตโนมัติ คือ ซิมพาเธติก อันเป็นตัวที่ตอบสนองต่อความเครียดนั่นเอง ผลของซิมพาเธติก จะทำให้ระบบไหลเวียนเลือดฝอยลดลง รวมถึงในระบบประสาทส่วนกลางด้วย อาการมึนเวียนศีรษะจึงเกิดขึ้น ที่โรงพยาบาลนั้น นอกจากใช้ยาแก้ไอในอาการวิงเวียนศีรษะแล้ว ยังมีการใช้การฝึกหายใจด้วยท้อง (Abdominal Respiration) ซึ่งเป็นการหายใจเข้าท้องพอง หรือหายใจออกท้องยุบ มีการเลื่อนตัวของกล้ามเนื้อกระบังลม อันจะเป็นการกระตุ้น ระบบประสาทผ่อนคลายอย่างได้ผล
 
 
 
3โรคแผลในกระเพาะอาหาร
โรคกระเพาะอาหารหมายถึงภาวะที่มีแผลเยื่อบุกระเพาะ และลำไส้ถูกทำลายถึงแม้ว่าจะเรียกว่าโรคกระเพาะ แต่สามารถเป็นได้ทั้งที่กระเพาะและลำไส้ ว่า ถ้าเป็นเฉพาะเยื่อบุกระเพาะเรียก gastritis แต่ถ้าเป็นแผลถึงชั้นลึกmuscularis mucosa เรียก ulcerถ้าแผลอยู่ที่กระเพาะเรียก gastric ulcerถ้าแผลอยู่ที่ลำไส้เล็กเรียกduodenal ulcer โรคกระเพาะพบได้ทุกวัย สาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร สาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะมีมากมายแต่เชื่อกันว่าสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากมีกรดในกระเพาะอาหารมาก และเยื่อบุกระเพาะอาหารอ่อนแอลง เชื่อโรค Helicobacter pylori เป็นเชื้อรูปแท่งติดสีน้ำเงิน มีความสามรถอยู่ในสภาวะกรดได้ดี สาเหตุที่กระเพาะอาหารมีกรดมากขึ้น เกิดขึ้นเนื่องจากสิ่งต่อไปนี้กระตุ้นให้กรดหลั่งมาก กระตุ้นของปลายประสาท เกิดจากความเครียด วิตกกังวลและอารมณ์ การดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ เหล้า เบียร์ ยาดอง ชา กาแฟ และน้ำดื่มที่มี Caffeine จะทำให้กรดหลั่งออกมามาก การสูบบุหรี่ เนื่องจากบุหรี่ทำให้เกิดการหลั่งกรดออกมามาก การกินอาหารไม่เป็นเวลา ภาวะที่มีกรดหลั่งออกมามาก เช่นโรค Zollinger-Ellisson syndrome กรดที่หลั่งออกมามากจะทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร มีการทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร เกิดจาก การกินยาแก้ปวด ลดไข้ แก้ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ ยาชุดที่มีแอสไพริน และยาสเตียรอยด์ ยาลูกกลอนต่างๆโดยเฉพาะสารที่ระคายกระเพาะ เช่น ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID แม้วว่าจะให้ยาโดยการฉีดหรืออมใต้ลิ้นก็มีโอกาสเกิดแผลที่กระเพาะ เนื่องจากนี้จะไปกระตุ้นให้เกิด cyclooxigenase II (Cox II) ซึ่งจะทำให้เกิดการอักเสบที่กระเพาะ การกินอาหารเผ็ดจัด และเปรี้ยวจัดจากน้ำสมสายชู การดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ เหล้า เบียร์ ยาดอง ประวัติเป็นโรคกระเพาะในครอบครัวหากครอบครัวไหนมีโรคกระเพาะ คนในครอบครัวนั้นก็จะมีโอกาสเกิดโรคกระสูง Helicobacter pylori (H. pylori) คืออะไร เป็นเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุที่สำคัญของผู้ป่วยโรคกระเพาะ เชื่อว่าติดต่อโดยการรับประทานอาหาร และน้ำ เชื้อจะทำลายเยื่อบุ และฝังตัวที่กระเพาะอาหาร กรดจากกระเพาะอาหารจะช่วยทำลายเยื่อบุทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร
 
 
 
2โรคปวดกล้ามเนื้อ
เกือบทุกคนคงต้องเคยเผชิญกับการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เช่นปวดคอ บ่า ไหล่ สะบัก หรือหลัง ถ้าอาการดังกล่าวสามารถหายได้ภายใน 2-3 วัน เมื่อพักผ่อน ทายา หรือทานยา อาการปวดดังกล่าว ก็ไม่เป็นปัญหา แต่ถ้าอาการปวดเป็นไปอย่างต่อเนื่อง มีการเพิ่มความรุนแรงและความถี่ขึ้นเรื่อยๆ คุณได้มีอาการ ของ ”โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง หรือ Myofascial Pain” แล้ว ซึ่งหากปล่อยไว้นานโดยไม่รักษาให้ถูกวิธี จะทำให้มี อาการมากขึ้น จนเกิดโรคอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น โรคความดันโลหิตสูง อาการนอนไม่หลับ กล้ามเนื้ออ่อนแรง โครงสร้างร่างกายผิดปกติ เป็นต้น และในกรณีที่ Trigger Point กดทับเส้นเลือดที่ขึ้นไปเลี้ยง บริเวณศีรษะ จะทำให้เกิดโรคไมเกรน และโรคปวด ศีรษะเรื้อรัง TRIGGER POINT: ต้นเหตุของการปวดเรื้อรัง แพทย์อายุรเวท วิภาพร สายศรี แพทย์อายุรเวทประจำคลินิกรักษาไมเกรน และโรคปวดเรื้อรัง Doctor Care ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง หรือ Myofascial Pain ว่า ปัจจุบันมีประชากรกว่า ร้อยละ 30 มีปัญหาเรื่องโรคปวดเรื้อรัง โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ทำงานในสำนักงาน ที่ต้องนั่งทำงาน และใช้คอมพิวเตอร์ นานๆ โดยสาเหตุที่ทำให้การปวดมีอาการเรื้อรัง เกิดจากการหดเกร็ง สะสมของกล้ามเนื้อ จนเป็นก้อนเล็กๆ ขนาด 0.5-1 ซม. ที่เรียกว่า Trigger Point หรือจุดกดเจ็บจำนวนมากซ่อนอยู่ในกล้ามเนื้อ และเยื่อพังผืด การเกิด Trigger Point ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นขาดเลือดและออกซิเจน และทำให้การถ่ายเทของเสียทำได้ ไม่เป็นปกติ จนทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นเกิดการอักเสบ และเกิดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อที่อยู่ เหนือตำแหน่ง ที่เกิด Trigger Point โดยผลของการอักเสบจะส่งอาการปวดไปที่กล้ามเนื้อบริเวณ Trigger Point และบริเวณ ใกล้เคียง
 
 
 
1โรคไข้หวัด
ไข้หวัดเป็นการติดเชื้อของจมูก และคอ บางครั้งเรียก upper respiratory tract infection URI เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งรวมเรียกว่า Coryza viruses ประกอบด้วย Rhino-viruses เป็นสำคัญ เชื้อชนิดอื่นๆมี Adenoviruses, Respiratory syncytial virus เมื่อเชื้อเข้าสู่จมูก และคอจะทำให้เยื่อจมูกบวม และแดง มีการหลังของเมือกออกมาแม้ว่าจะเป็นโรคที่หายเองใน 1 สัปดาห์แต่เป็นโรคที่นำผู้ป่วยไปพบแพทย์มากที่สุดโดยเฉลี่ยเด็กจะเป็นไข้หวัด 6-12 ครั้งต่อปี ผู้ใหญ่จะเป็น 2-4 ครั้ง ผู้หญิงเป็นบ่อยกว่าผู้ชายเนื่องจากใกล้ชิดกับเด็ก คนสูงอายุอาจจะเป็นปีละครั้ง อาการ ผู้ใหญ่ มีอาการจาม และน้ำมูกไหลจะนำมาก่อน อ่อนเพลีย ปวดศีรษะเล็กน้อย แต่มักไม่ค่อยมีไข้ เชื้อจะออกจากทางเดินหายใจของผู้ป่วย 2-3 ชั่วโมงและหมดใน 2 สัปดาห์ บางรายอาจมีอาการปวดหู เยื่อแก้วหูมีเลือดคั่ง บางรายเยื่อบุตาอักเสบ เจ็บคอกลืนลำบาก โรคมักเป็นไม่เกิน 2-5 วัน แต่อาจมีน้ำมูกไหลนานถึง 2 สัปดาห์ ในเด็กอาจจะรุนแรง และมักมีการแพร่ไปเป็นหลอดลมอักเสบ ปอดบวมเป็นต้น การติดต่อ โรคนี้มักจะระบาดฤดูหนาวเนื่งจากความชื้นต่ำและอากาศเย็น เราสามารถติดต่อจากน้ำลาย และเสมหะผู้ป่วย นอกจากนั้นมือที่เปื้อนเชื้อโรคก็สามารถทำให้เกิดโรคได้โดยผ่านทางจมูกและตา ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้ก่อนเกิดอาการและ 1-2 วันหลังเกิดอาการ ผู้ที่มีโอกาสเป็นไข้หวัดง่ายคือ เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปีเด็กที่ขาดอาหาร เด็กที่เลี้ยงในสถานเลี้ยงเด็ก
 

PS.  ฉันจะเป็นเจ้าแห่งโจรสลัดให้ใด้
0

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

มีเนื้อหาไม่เหมาะสม

U-DONG dongwoon 8 พ.ย. 54 เวลา 17:00 น. 4

ต่อมทอมซิลอักเสบ เราเป็นบ่อย
โรคกระเพาะเรา้เป็นอยู่T T
ไข้หวัด กำลังจะคลืบคลาน  


PS.  รัก เธอ ~ So B2ST !!! "Midnight Snack Buddies"
0
Jackie Chan 9 พ.ย. 54 เวลา 07:28 น. 5
 
7โรคปวดศีรษะ
ประมาณร้อยละ 90 ของผู้ใหญ่เคยปวดศรีษะมาแล้วไม่มากก็น้อย หากเป็นมาก จะมีผลกระทบต่อการทำงาน ต้องหยุดงานเพื่อเข้าโรงพยาบาลให้แพทย์ตรวจ อาการที่ตรวจพบก็ขึ้นอยู่กับชนิดของอาการที่เป็น สำหรับผู้หญิงมักจะปวดศีรษะ ก่อนมีประจำเดือน หรืออาจจะปวดไปพร้อมกับการมีประจำเดือน อาการที่ปวด ศรีษะจะปวดข้างเดียวหรืออาจจะปวดทั้งสองข้างก็ได้การปวดศรีษะมีหลายชนิด ชนิดที่พบบ่อย คือ 1. ปวดแบบเทนชั่น (tension headaches) เกิดจากกล้ามเนื้อหนังศรีษะและกล้ามเนื้อ โดยรอบมีอาการเกร็ง การปวดนี้จะปวดอยู่รอบนอก ไม่ปวดไปถึงภายในสมองร้อยละ 90 ของการปวด tension headaches จะปวด 2ข้าง ระยะเวลาที่ปวดประมาณ 2-3 นาที บางรายอาจปวดเป็นสัปดาห์ และมีอาการแทรกซ้อนอย่างอื่น เช่น ทางเดินอาหาร อาหารไม่ย่อย คลื่นไส้อาเจียน สาเหตุ อาจมาจากหลายปัจจัย ส่วนมากจะมีปัจจัยมาจากความ เครียด กังวลเรื่องงาน และความแปรปรวนทางอารมณ์ต่างๆ คนไข้จะรู้สึกว่าปวดแบบสม่ำเสมอ 2 ข้างของศรีษะ อาจมีการปวดต้นคอร่วม ด้วยก็ได้อาการที่ปวดจะเกิดขึ้นเวลาใดก็ได้ และสัปดาห์หนึ่งอาจเกิดหลายครั้ง ได้ 2. ปวดศรีษะเนื่องจากหลอดเลือด มีคนไข้จำนวนหนึ่งมีอาการปวดศรีษะที่เป็นผลมาจากหลอดเลือดที่มาเลี้ยงสมอง หรือประสาทส่วนกลางไม่เพียงพอ 2.1 ปวดศรีษะแบบไมเกรน (migraines) จะปวดรุนแรง ปวดแบบตุ๊บๆ (throbbing pain) ของศรีษะข้างใดข้างหนึ่ง คนไข้บางคนมีอาการคลื่นไส้ และมีความรู้สึกไวต่อแสง ตาสู้แสงไม่ได้ ปวดแบบไมเกรนนี้จะปวดนาน เป็นชั่วโมงหรือนานเป็นหลายวันปวดแบบไมเกรนมักจะมีอาการนำก่อน คือจะมีอาการปวดเตือนก่อนล่วงหน้าก่อนที่จะมีการปวดศรีษะจริง เช่น มีอาการร้อนแปล๊บๆ ที่หน้าผาก มีอาการแปล๊บๆ ที่ตาคล้ายฟ้าแลบ ปัจจัย ที่ทำให้เป็นไมเกรน คือ พักผ่อนน้อย นอนดึก น้ำตาลในเลือดต่ำ รับประ ทานอาหารไม่เป็นเวลา ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มาก อารมณ์ หงุดหงิดบ่อยหรือร่างกายอ่อนเพลียหลัวจากตรากตรำทำงานมาก ปวดแบบไมเกรนมักเกิดกับผู้หญิงเป็นส่วนใหญ่ มักปวดในขณะที่มี ประจำเดือนหรือก่อนมีประจำเดือน และมักจะมาตามสายพันธุ์ (กรรมพันธุ์) 2.2 ปวดศรีษะแบบคลัสเตอร์ (cluster headaches) ปวดศรีษะข้างเดียว และปวดตุ๊บๆ เช่นเดียวกับปวดแบบไมเกรน แตกต่างจากไมเกรนตรงที่ คนไข้จะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนและมีอาการผิดปกติต่อสายตา ปวดศรีษะแบบคลัสเตอร์อาจจะมีร้อนแปล๊บๆ ที่หน้าผาก น้ำตาไหล หรือมีคัดจมูก ม่านตาแคบลง บางคนมีเหงื่อออกมากตรงใบหน้าข้างกับ ที่ปวด การปวดแต่ละครั้งอาจนานถึง 10 นาที หรือ อาจจะเป็นชั่วโมงปวด รุนแรง ปวดตรงเวลากันทุกวัน วันหนึ่งอาจปวด 3 เวลา และยาวนานเป็น สัปดาห์หรือเป็นเดือน 2.3 ปวดศรีษะเนื่องจากความดันโลหิตสูง (hypertensive headaches) จะเกิดในนักบริหารที่มีความเครียด แล้วความดันโลหิตจะสูงขึ้นทันที ทำให้ปวดศรีษะการปวดศรีษะนี้เนื่องจากความดันโลหิตของเส้นเลือด ของศรีษะสูงขึ้นทำให้ปวดแบบตื้อๆ (dull) และปวดทั่วบริเวณศรีษะ การเคลื่อนไหวใบหน้า คอ ทำให้ปวดศรีษะมากขึ้น ปวดตอนเช้า เมื่อ สายอาการก็จะดีขึ้น 2.4 ปวดศรีษะจากท๊อกสิค (toxic headaches) มักเกิดจากจากแพ้ อากาศ แพ้สารเคมี และควัน บางครั้งอากาศเปลี่ยนแปลงก็เป็นเหตุ ให้ปวดศรีษะแบบท็อกสิคได้ 3. สาเหตุอื่นๆ อาการปวดศรีษะอาจเป็นสิ่งแสดงออกของการได้ยาในการรักษาโรค และโรค บางโรคอาจมีอาการปวดศรีษะร่วมด้วย แพทย์ผู้ดูแลจะเป็นผู้บอกให้คนไข้ทราบ สัญญาณอันตรายที่ต้องไปพบแพทย์ 1. เมื่อมีอาการปวดศรีษะอย่างเฉียบพลันและรุนแรง 2. ปวดศรีษะพร้อมกับมีอาการชักกระตุก 3. ปวดศรีษะพร้อมกับสับสน และความรู้สึก (consciousness) เสียไป 4. ปวดศรีษะพร้อมกับปวดตาและหู 5. ปวดศรีษะติดต่อกันนานๆ (persistent headache) ในคนไข้ที่ไม่เคยมีการ ปวดศรีษะมาก่อน 6. ปวดศรีษะพร้อมกับมีไข้ การที่แพทย์สรุปว่าปวดศรีษะมีต้นเหตุมาจากอะไร นั้น มักจะเกิดซักประวัติ เช่น ไม่ได้รับประทานอาหารแล้วปวดศรีษะ อาจเป็น เพราะน้ำตาลในเลือดต่ำ ถามประวัติต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว พร้อมกับประวัติ เกี่ยวกับการบาดเจ็บของศรีษะ การตรวจทางรังสีเอกซเรย์จะช่วยดูว่า มีมะเร็ง ในสมอง หรือมีเลือดจับเป็นก้อนภายในสมองหรือไม่ บางครั้งอาจจะต้องตรวจ คลื่นสมองด้วยไฟฟ้า (electroencephalogram-EEG) ซึ่งจะบอกความผิด ปกติของคลื่นสมอง แต่ไม่อาจจะไปสรุปได้ว่าปวดศรีษะมีสาเหตุมาจากอะไร เพราะคลื่นสมองจะบอกแค่หน้าที่ของเซลล์เท่านั้น
 
 
โรคปวดศีรษะ.....ใช่ มักพบบ่อยจะพยายามจะไม่ให้เป็น

PS.  time and tide wait for no man
0