Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

อาชีพโปรแกรมเมอร์ , นักเขียนโปรแกรม

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
 อยากรู้่าพวกโปรแกรมเมอร์ , พวกที่เขียนโปรแกรม จะต้องเรียนคณะอะไรคะ?

เพราะเท่าที่ลองหาข้อมูลจากในเน็ต บางคนก็บอกคณะวิทยาศาตร์สาขาการคอมฯ
หาไปๆเรื่อยๆ อกีคนก็บอกว่า วิศวะ-คอม ซึ่งพี่สาวกับแม่ก็บอกว่าวิศวะ
แต่ถ้าพวกวิศวะ-คอมนี่ ไม่ใช่ว่าซ่อมคอมหรอคะ หรือว่ามีแยกออกไปอีก

ใครที่ทราบ รบกวนบอกด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

PS.  =:+:= WaterM3LoN =:+:= CosPlay =] =:+:=

แสดงความคิดเห็น

>

7 ความคิดเห็น

karin<f>e Community Master 6 เม.ย. 55 เวลา 19:16 น. 1

ลองอ่านดูจ้า

เทรนด์อาชีพคนไอที อีกสองสามปีก็ยังไม่ล้าสมัย

- ใครคิดว่าตัวเองชอบคอมพิวเตอร์ โปรดฟังทางนี้!!

หวังว่าจะมีประโยชน์ค่ะ


PS.  1of Community Master Team @ Dek-D.com เยาวชนก้าวไกล อนาคตสดใส ประเทศไทยรุ่งเรือง
0
oon 6 เม.ย. 55 เวลา 22:26 น. 2

วิศวะคอม&nbsp จะเรียนทางด้านกายภาพ&nbsp ซ่อมคอมประกอบคอม&nbsp ด้านโปรแกรมก้เป็นแนว&nbsp โปรแกรมเคลื่อนย้าย C#&nbsp 

ส่วนวิทยาการคอมพิวเตอร์ก้จะเน้นแนวเขียนโปรแกรม&nbsp ภาษาซี จาวา แอสเซมบี้ PHP ประมาณนี้

ส่วนไอที&nbsp หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ&nbsp ก้จะเหมือนกับวิทยาการคอม&nbsp แต่จะมีสาขาแยกออกไป&nbsp ถ้าเรียน

จบมา&nbsp ไอทีจะใหญ่กว่าพวกวิทยาการคอมนะ&nbsp เหมือนวิทยาการคอมเขียนโปรแกรมมา&nbsp แล้วไอทีจะเอา
มาพัฒนาอีกขั้นนึง

ถ้าเปรียบเทียบกันก้ วิทยการคอมเรียนเป็นอย่างๆและลงลึก&nbsp แต่ไอทีเรียนทุกอย่างแต่แบบผิวเผินจ้าา

0
เอ็ม 6 เม.ย. 55 เวลา 22:29 น. 3

อาชีพโปรแกรมเมอร์&nbsp  นักเขียนโปรแกรม&nbsp  เรียน&nbsp  สาขาคอมพิวเตอร์&nbsp  คอมพิวเตอร์&nbsp  ทุกสาขา&nbsp  หนีการเขียนโปรแกรม&nbsp  ไม่พ้นครับ&nbsp  แต่ถ้าจะให้แนะนำ&nbsp  แนะนำ&nbsp  1.สาขาวิศวกรรมซอต์แวร์ 2.สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ 3.สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร&nbsp  คอมพิวเตอร์&nbsp  บางมหาวิทยาลัย&nbsp  บางสาขา&nbsp  จะอยู่ใน&nbsp  คณะ&nbsp  อื่น&nbsp  เพราะแบ่งตามหลักสูตร&nbsp  คอมพิวเตอร์&nbsp  มี&nbsp  3&nbsp  หลักสูตร 1.หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต 2.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต 3.หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
&nbsp&nbsp&nbsp ข้อแตกต่างระหว่างสาขาและอาชีพ
คณะสารสนเทศศาสตร์&nbsp หรือ&nbsp เทคโนโลยีสารสนเทศ&nbsp ได้รับวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนจากท่านอธิการบดี&nbsp ให้ดำเนินการพัฒนาคณะ&nbsp สารสนเทศศาสตร์&nbsp หรือ&nbsp เทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นคณะชั้นนำด้าน&nbsp ICT&nbsp ในประเทศไทยโดยมุ่งเน้นการ
พัฒนานักศึกษาที่มีคุณภาพสูงสุด&nbsp และสร้างงานวิจัยที่โดดเด่นที่ผลงานเป็นที่ประจักษ์และยอมรับในระดับสากล
.&nbsp สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
.&nbsp สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
.&nbsp สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
.&nbsp สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์
.&nbsp สาขาวิชาบริหารระบบ
. สาขาวิชาเทคโนโลยีเครือข่ายและโมไบล์
.&nbsp สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
.&nbsp สาขาวิชามัลติมีเดียแอนิเมชั่น
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
สาขาวิชาการนี้&nbsp เป็นการศึกษาการใช้สารสนเทศในธุรกิจอุตสาหกรรมและสังคม&nbsp สาขาวิชานี้เปิดกว้างสำหรับทุกคนที่สนใจการใช้สารสนเทศ&nbsp ดังนั้นนักศึกษาจะเรียนวิชาพื้น
ฐานด้านธุรกิจและบริหาร&nbsp และวิทยาการคอมพิวเตอร์จุดเด่นของหลักสูตรอยู่ที่นักศึกษาสามารถเลือกเน้นความสามารถที่เป็น&nbsp "ทักษะ"ที่เป็นจริงได้ในด้าน
.&nbsp Business Process and MIS
.&nbsp Programming Skill ใช้ภาษา&nbsp UML และ&nbsp ASP.NET
.&nbsp Web Design(ใช้&nbsp Dream Weaver และ&nbsp Flash ได้)
. Business System Analysis
.&nbsp e-Commerce
.&nbsp e-learning
. Microsoft office
. Multimedia in Business(ใช้&nbsp Flash และ&nbsp Photoshop ได้)
นักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ&nbsp จะมีทางเลือกในสายอาชีพในองค์กรต่าง&nbsp ๆ&nbsp เช่น&nbsp ธนาคาร รัฐวิสาหกิจ&nbsp บริษัทตลาดหลักทรัพย์&nbsp บริษัทระดับ&nbsp SME ฯลฯ&nbsp โดยสามารถ
ทำงานในตำแหน่งเลขานุการ&nbsp จนถึงโปรแกรมเมอร์&nbsp หรือเจ้าหน้าที่&nbsp End Use จนถึงเจ้าหน้าที่วิเคราะห์ระบบงาน&nbsp อาชีพหลักที่เป็นได้&nbsp มีดังนี้
.&nbsp เจ้าหน้าที่ฝ่าย End Use ในส่วนงาน&nbsp เช่น&nbsp ส่วนงานสินเชื่อของธนาคาร&nbsp ที่มีระบบซอฟต์แวร์สินเชื่อเบื้องต้น
.&nbsp เจ้าหน้าที่ฝ่ายคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานธุรกิจ
.&nbsp เจ้าหน้าที่ฝ่ายขาย
.&nbsp เจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุนด้านซอฟต์แวร์&nbsp (Support)
.&nbsp เจ้าหน้าที่ฝ่าย e-learning
.&nbsp เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารสำนักงาน
.&nbsp เลขานุการกรรมการผู้จัดการใหญ่
.&nbsp เจ้าหน้าที่ฝ่ายระบบงานสำนักงาน
.&nbsp เจ้าหน้าที่พัฒนาซอฟต์แวร์
.&nbsp เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม
.&nbsp เจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชีคอมพิวเตอร์&nbsp หรือระบบบริหารงานบุคคล
.&nbsp เจ้าหน้าที่ฝ่ายโฆษณา
.&nbsp เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารระบบ
.&nbsp และอื่น&nbsp ๆ
สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์&nbsp เน้นที่ความเข้าใจถึงศาสตร์และศิลป์ของการพัฒนาซอฟต์แวร์&nbsp โดยมีพื้นฐานอย่างดีในด้าน&nbsp Algorithm, Data Structure และ&nbsp Discrete
Mathematics นักศึกษาจะต้องมีความเชี่ยวชาญอย่างสูงในวิทยาการแบบ&nbsp Object โดยใช้ภาษา&nbsp Java และเทคโนโลยี .Netสามารถพัฒนาระบบ&nbsp Database ได้&nbsp สามารถเขียน
โปรแกรม&nbsp Web based ได้&nbsp สามารถออกแบบโดยใช้ภาษา&nbsp UML ได้&nbsp มีความเข้าใจในเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องด้านSecurity, Web Service และ&nbsp Computer Architecture
ทักษะที่นักศึกษาต้องมี&nbsp คือ
.&nbsp ออกแบบ Object-Oriented Software โดยใช้ภาษา&nbsp UML
.&nbsp สามารถใช้&nbsp CASE Tool ได้
.&nbsp สามารถเขียนภาษา&nbsp Java ในระดับ&nbsp J2EE ได้
.&nbsp สามารถใช้เทคโนโลยี.Net ในการสร้าง&nbsp Web Service ได้
.&nbsp สามารถออกแบบ&nbsp Database Application ที่เป็น&nbsp Web based ได้&nbsp โดยใช้&nbsp Oracle database หรือ&nbsp Microsoft SQL Server ได้
อาชีพที่เปิดกว้างสำหรับผู้ที่มีความสนใจที่จะทำงานที่น่าท้าทายยิ่งขึ้น สำหรับผู้ที่สำเร็จสาขานี้จะ สามารถทำงานเป็น
.&nbsp Software Developer
.&nbsp Programmer
.&nbsp Software Test Engineer
.&nbsp Network Engineer
.&nbsp Programmer
.&nbsp System Administrator
สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์เป็นสาขาที่เหมาะกับคนที่สนใจทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์&nbsp ผู้ที่มีพื้นฐานด้านไฟฟ้า&nbsp อิเลคทรอนิกส์&nbsp วิศวกรรมศาสตร์&nbsp วิทยาศาสตร์&nbsp จะสามารถเรียนใน
สาขานี้ได้ดี&nbsp การเรียนจะมุ่งเน้นทักษะการออกแบบระบบดิจิทัล&nbsp ระบบควบคุมที่ใช้ซอฟต์แวร์ระดับแก่นโดยใช้ภาษา&nbsp C และ&nbsp Visual C++ ตลอดจนภาษา&nbsp Java บางครั้งก็ต้อง
ใช้ภาษา&nbsp Assembly นักศึกษาจะสามารถออกแบบระบบ&nbsp Digital ได้&nbsp ซึ่งประกอบด้วย&nbsp อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟตแวร์ที่สร้างพิเศษสำหรับงานนั้น
ทักษะหลักที่จะได้รับการศึกษา
.&nbsp ออกแบบระบบควบคุมด้วยดิจิตอล&nbsp และซอฟตแวร์ควบคุม
.&nbsp ออกแบบซอฟต์แวร์ควบคุมโดยภาษา C
.&nbsp ออกแบบระบบเว็บบอร์ด&nbsp โดยใช้ภาษา HTML
.&nbsp ออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ระดับ&nbsp VLSI
อาชีพหลักที่นักศึกษาทำได้มีดังนี้
.&nbsp การบริการระบบ&nbsp Internet
.&nbsp วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
.&nbsp วิศวกรควบคุม
.&nbsp Software Developer
.&nbsp System Engineer
.&nbsp Multimedia System Engineer
สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์
การพัฒนาซอฟต์แวร์&nbsp เป็นกิจกรรมที่วับซ้อนที่สุดของมนุษยชาติ&nbsp เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์&nbsp ปัจจุบันมีวิทยาการที่เกิดขึ้นใหม่&nbsp ๆ&nbsp ที่เริ่มทำให้การพัฒนาซอฟต์แวร์&nbsp เกิดตามหลัก
"วิศวกรรมศาสตร์"&nbsp ซึ่งสามารถลดโอกาสล้มเหลวได้Oriented Technology, ภาษา&nbsp UML, การจัดทำ&nbsp Software Quality Assurance, กระบวนการบริหารโครงการ,&nbsp เรื่อง
CMM:(Capability Maturity Model)
นักศึกษาจะได้ทักษะดังนี้
.&nbsp สามารถออกแบบซอฟต์แวร์ที่มีโครงสร้างดี&nbsp โดยใช้ภาษา&nbsp UML
.&nbsp สามารถประยุกต์เทคโนโลยี&nbsp CMM:กับองค์กร
.&nbsp สามารถทดสอบซอฟต์แวร์โดยกรรมวิธีมาตรฐาน
.&nbsp สามารถใช้&nbsp Case Tool ได้
.&nbsp สามารถเขียนโปรแกรมโดยใช้เทคโนโลยี.Net หรือ&nbsp J2EE
อาชีพที่นักศึกษาทำได้&nbsp มีดังนี้
.&nbsp วิศวกรซอฟต์แวร์
.&nbsp นักพัฒนาซอฟต์แวร์
.&nbsp โปรแกรมเมอร์
.&nbsp ผู้เชี่ยวชาญ&nbsp Case Tool
.&nbsp Consultant(เมื่อมีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้ว)
สาขาวิชาบริหารระบบ
นักศึกษาในหลักสูตรนี้จะเรียนรู้ระบบปฏิบัติการหรือแบบ&nbsp Windless&nbsp และ&nbsp Unix ตลอดจน&nbsp Software ที่ใช้กับWeb Server และ&nbsp Protocol ต่าง&nbsp ๆ&nbsp ที่ใช้ในการสื่อสารในระบบ
แบบกระจาย&nbsp นอกจากนี้นักศึกษาจะต้องรู้หลักการบริหารระบบฐานข้อมูลและเครือข่าย&nbsp และการใช้เครื่องมือซอฟต์แวร์ในการปรับแต่งระบบ&nbsp นักศึกษาจะได้รับ&nbsp Certificate
จากบริษัทเทคโนโลยี&nbsp ชั้นนำเช่น&nbsp Cisco, Oracle หรือ&nbsp Microsoft เป็นทางเลือกในการแสดงตัวระบบภาพของทักษะและความรู้นักศึกษาจะมีทักษะ
.&nbsp สามารถบริหารระบบแม่ข่าย&nbsp Internet ได้
. สามารถจัดการกับ&nbsp Virus และ&nbsp Hacker ได้
.&nbsp สามารถติดตั้ง&nbsp Firewall ได้
.&nbsp สามารถติดตั้งระบบ&nbsp Linux และ&nbsp Windows ได้
.&nbsp สามารถทำงานระบบ&nbsp Network Management ได้
. สามารถบริหารความปลอดภัยของระบบได้
อาชีพที่สามารถทำได้คือ
.&nbsp ผู้บริหารระบบคอมพิวเตอร์
.&nbsp ผู้บริหารระบบเครือข่าย
.&nbsp Web Master
.&nbsp ผู้บริหารด้าน&nbsp Security ของระบบคอมพิวเตอร์
สาขาวิชาเทคโนโลยีเครือข่ายและโมไบล์
สาขาวิทยาการสำหรับผู้ที่สนใจ&nbsp ทำงานด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์&nbsp ตลอดจนการพัฒนาซอฟต์แวร์และงานมัลติมีเดียที่ใช้กับมือถือและอุปกรณ์พกพา&nbsp นักศึกษาจะสร้างทักษะ
จากโครงการต่าง ๆ&nbsp ในห้อง&nbsp ทดลองของคณะ&nbsp และจากโครงการวิจัยของอาจารย์&nbsp นักศึกษาสำเร็จหลักสูตรสามารถ
.&nbsp ออกแบบซอฟต์แวร์บนอุปกรณ์พกพา&nbsp โดยใช้.Net และ&nbsp Java
.&nbsp สามารถใช้&nbsp Flash ได้
.&nbsp สามารถออกแบบระบบเครือข่ายทั้งแบบ&nbsp Wired และ&nbsp Wireless
.&nbsp สามารถเข้าใจ&nbsp Protocol การสื่อสารข้อมูล&nbsp ๆ&nbsp ได้
อาชีพที่นักศึกษาทำได้
.&nbsp นักพัฒนาซอฟต์แวร์มือถือ
.&nbsp Network Engineer
.&nbsp Technical Staff ของบริษัท
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเศและการสื่อสารได้ร่างขึ้นโดยอาศัยเกณฑ์ที่ตั้งโดยสมาคม ACM (Association of Computing Machinery) แห่งประเทศสหรัฐอเมริกาจัดทำขึ้นและเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก การศึกษาเน้นการจัดเตรียมบัณฑิตให้รองรับงานเทคโนโลยีสารสนเทศในส่วนของธุรกิจ ภาครัฐ ความต้องการในวงการแพทย์ ความต้องการในวงการศึกษา และความต้องการในธุรกิจอื่น ๆ ที่ต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างบุคลากรที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและภาคปฏิบัติควบคู่กันไป ทั้งนี้เพื่อรองรับความต้องการขององค์กร และผู้ใช้งานในองค์กรในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งในและต่างประเทศ
อาชีพ
- นักวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศ
- นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงานสารสนเทศ
- นักพัฒนาโปรแกรมใช้ภาษา Java
- ผู้ดูแลระบบเครือข่ายและเครื่องแม่ข่าย
- ผู้จัดการโครงการสารสนเทศ
- นักพัฒนาเว็บไซต์
สาขาวิชามัลติมีเดียแอนิเมชัน
ศึกษาเกี่ยวกับการขั้นตอนการทำงานการผลิตมัลติมีเดียแอนิเมชันด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งในรูปแบบ 3 มิติและ 2 มิติ&nbsp เช่น การสร้างเรื่องราว การออกแบบตัวละครและฉาก&nbsp การเขียนสตอรี่บอร์ด การผลิตแอนิเมชันด้วยการใช้โปรแกรม3 มิติและ 2 มิติ&nbsp และการตัดต่อ เป็นต้น
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา สาขาวิชามัลติมีเดียแอนิเมชัน
3D Modeller
นักสร้างโมเดลสามมิติ ออกแบบและสร้างสรรค์โมเดลสามมิติประเภทต่างๆ เช่น ตัวละคร ฉาก และสิ่งของประกอบฉาก ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สามมิติ ทั้งในรูปแบบเหมือนจริงและแบบการ์ตูน เพื่อนำไปใช้การผลิตแอนิเมชันในขั้นตอนต่อไป
3D Animator
นักสร้างแอนิเมชันสามมิติ ออกแบบและสร้างสรรค์ผลงานแอนิเมชันในรูปแบบสามมิติ มีเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการสร้างตัวละครสามมิติให้เคลื่อนไหวได้อย่างมีชีวิตชีวาสมจริง
3D SLR&nbsp Artist
ศิลปินผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดแสง-เงาและ การสร้างพื้นผิวต่างๆให้กับวัตถุในโปรแกรมสามมิติ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานแอนิเมชันสามมิติให้ดูมีมิติสมจริง ได้บรรยากาศและอารมณ์ตามที่กำหนดไว้ในขั้นตอนการออกแบบเบื้องต้น
2D Animator
นักสร้างแอนิเมชันสองมิติ ออกแบบและสร้างสรรค์ผลงานแอนิเมชันในรูปแบบสองมิติ มีความชำนาญด้านการเขียนภาพตัวละครสองมิติให้เคลื่อนไหวได้อย่างมีชีวิตชีวา แสดงออกถึงออกถึงบุคลิกของตัวละครได้อย่างสมจริง
Storyboard Artist
ศิลปินผู้ชำนาญด้านการวาดภาพเล่าเรื่องราว โดยคำนึงถึงลำดับและความต่อเนื่องของการเล่าเรื่องเป็นหลัก เพื่อนำ Storyboard ไปใช้สำหรับการผลิตแอนิเมชันทั้งในรูปแบบสองมิติและสามมิติ
มหาวิทยาลัยศรีปทุม&nbsp  คณะสารสนเทศศาสตร์ หรือ เทคโนโลยีสารสนเทศ
1.สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ 2.สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสา 3.สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ 4.สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ 5.สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
http://web.spu.ac.th/informatics/courses
ถ้าน้อง&nbsp  อยากทราบ&nbsp  สาขาคอมพิวเตอร์&nbsp  ของ&nbsp  มหาวิทยาลัยรังสิต&nbsp  พี่มีFile video&nbsp  อยู่ในBlog&nbsp  ที่พี่เขียนขึ้น&nbsp  http://comrsu.blogspot.com/&nbsp  Website&nbsp  คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ&nbsp  http://it.rsu.ac.th/Pages/default.aspx&nbsp  ถ้าสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ&nbsp  มหาวิทยาลัยรังสิต&nbsp  จะอยู่ใน&nbsp  คณะบริหารธุรกิจ&nbsp  สาขาระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ http://www.rsu.ac.th/business/course.php?id=6&nbsp  ถ้า&nbsp  สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์&nbsp  มหาวิทยาลัยรังสิต&nbsp  จะอยู่ใน&nbsp  คณะวิศวกรรมศาสตร์&nbsp  สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์&nbsp  http://cpe.rsu.ac.th/&nbsp  สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขาระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ ปริญญาตรี เรียนจบ จะได้ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต หลักสูตร จับฉ่ายมาก คือ เรียน ทั้ง ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และ บริหาร&nbsp  ส่วน สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตร เรียนจับฉ่าย เหมือนกัน แต่จบออกมา จะได้ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต ครับ&nbsp 


&nbsp 
ที่มา: http://www.geocities.com/com2spu/diffirent.html

1
ปวริศร์ 25 มิ.ย. 58 เวลา 21:05 น. 3-1

ขอชื่อจริงหน่อยครับ
ผมจะเอาความเห็นนี้ ไปใช้ในวิชา Is ครับผม

0
mik11111 29 ก.ย. 56 เวลา 15:40 น. 6
เยี่ยมขอบคุณจริงๆครับ ผมอยากเป็นโปรแกรมเมอร์ ครับผมอยากสร้างนวัตกรรมเพื่อมนุษย์ชาติ
0