Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ตำนานรักอมตะ ไททานิค

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

ตำนานรักอมตะ ไททานิค




  

 

 

  ภาพยนตร์เรื่องไททานิค หรือชื่อแบบตรงท้องเรื่องก็คือ "ชู้รักเรือล่ม" ที่กำกับโดยเจมส์ คาเมรอน ผู้โด่งดังจาก คนเหล็ก แล้วจึงมาเป็นผู้กำกับและดาราคู่บุญของอาร์โนลด์ ชาวร์เซนเนกเกอร์ (ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นส่วนใหญ่ มีบ้างที่เจ๊งอย่างเรื่อง True line)

ไททานิค ได้เข้าฉายในประเทศไทย ในวันแรกคือวันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2540 (แต่ทุกโรงได้ฉายก่อนล่วงหน้าหนึ่งวัน คือวันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เว้นแต่ในโรงเครืออีจีวีที่ฉายตามกำหนดเดิม) โดยไม่มีชื่อเป็นภาษาไทย และเมื่อฉายแล้วก็ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ขึ้นในสังคม จนเป็นคำที่พูดติดปากกันว่า "แจ๊คกับโรส " และโดยเฉพาะในหมู่เด็กสาว ๆ ที่คลั่งไคล้ดารานำชาย คือ ลีโอนาร์โด ดิคาปริโอ เหมือนกับหลายประเทศที่ภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าฉาย โดยสื่อต่าง ๆ และสังคมมีการนำเสนอแง่มุมหรือเรื่องราวต่าง ๆ ของดารานำชายผู้นี้อย่างกว้างขวาง



เรือไททานิคขณะออกจากท่าเรือเมือง Southampton วันที่ 10 เมษายน 1912 (พ.ศ.2455)

เพลง My Heart Will Go On เพลงประกอบภาพยนตร์ ซึ่งประพันธ์โดยวิลล์ เจนนิ่ง อำนวยเพลงโดย เจมส์ ฮอร์เนอร์ และวอลเตอร์ เอฟฟานาซีฟ ขับร้องโดย เซลีน ดิออน ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง สถานีวิทยุพากันเปิดเพลงนี้ทุกวัน นานนับเดือน ความคลั่งไคล้ในเพลงนี้ยังส่งผลไปถึงเวอร์ชั่นอื่นๆ ของเพลงนี้ ทั้งฉบับบรรเลงโดย เคนนี จี หรือฉบับนักร้องชาวไทย จนมีผู้แปลงคำร้องเพลงนี้เป็นภาษาไทย บันทึกเสียงจำหน่าย

สำหรับเนื้อเรื่องย่อนั้น ผมคงไม่กล่าวถึงนะครับ เพราะเชื่อว่าหลายๆ คนคงทราบดีอยู่แล้ว แต่จะขอพูดถึงประเด็นที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์จากภาพยนตร์ดีกว่าครับ



จากซ้ายไปขวา Leonardo DiCaprio รับบท Jack, Kate Winslet รับบท Rose วัยสาว และ Gloria Stuart เป็น Rose วัยชรา

เนื้อหาของหนังนั้น ต้นเรื่องมาจนกลางเรื่องก่อนที่เรือไททานิคจะจมจะเป็นบทประพันธ์ที่แต่งเติมขึ้นมาเสียเป็นส่วนใหญ่ ทั้ง หนุ่มแจ๊ค สาวโรส เซลดอน นาธาน ฮ็อกลี่ย์ หรือแคลคู่หมั้นของโรส แม่ของโรส ตัวประกอบอื่นๆ รวมถึงเพชรที่ชื่อหัวใจมหาสมุทรล้วนเป็นเรื่องแต่งขึ้นทั้งสิ้น มีตัวละครที่มีตัวตนอยู่จริงปลากฎตัวประกอบเรื่องบ้าง เช่น กัปตันสมิท, วิศวกรแอนดรูว์, มอลลี่ บราวน์ ซึ่งขออธิบายถึงตัวจริงของคนเหล่านี้หน่อยนะครับ



มากาเร็ต โทบิน บราวน์ (Magaret Tobin Brown) หรือฉายามอลลี่ผู้ไม่มีวันจม จัดเป็นพวกเศรษฐีใหม่ในยุคนั้นได้ร่วมเดินทางไปกับเรือไททานิคครั้งนั้นด้วย (ในภาพยนตร์ เธอมีบทบาทในการช่วยหาชุดแต่งกายแบบชนชั้นสูงให้กับแจ็ค)



กัปตัน เอ็ดเวิร์ด เจ. สมิท (Edward J. Smith) กัปตันที่ถือว่าเก่งกาจ และมีค่าตัวแพงที่สุดในยุคนั้นเขาได้ มาเป็นกัปตัน เรือไททานิค เป็นครั้งแรกและครั้งสุดท้าย เขาได้ทำการเร่งเครื่องยนต์เรือไททานิกด้วยความเร็ว 21น้อต คือ ครึ่งๆ ของความเร็วเต็มที่ของไททานิค และพอตกเย็น เขาได้รับคำเตือนภูเขาน้ำแข็ง ขณะนั้น คุณบรูซ (เจ้าของเรือไททานิค) ได้สั่งให้เขา เร่งเครื่องยนต์ไททานิคให้เต็มที่ คือ 54 น้อต ตอนแรก กัปตันก็ไม่สนใจ เพราะไม่อยากจะ ฝืนกำลังเครื่องยนต์ แต่ ปีนี้เป็นปีสุดท้ายที่กัปตันจะเกษียณแล้ว เลยทำให้เขาชะล่าใจและตกลงเร่งเครื่องให้เต็มพิกัด



เจ. บรูซ อิสเมย์ (J. Bruce Ismay) หุ้นส่วนผู้หนึ่งของไวต์สตาร์ไลน์ สายการเดินเรือแห่งนี้จึงเริ่มสร้างเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่แบบ 3 ใบเถาขึ้น โดยสร้างขึ้นก่อน 2 ลำในปี ค.ศ. 1908 (พ.ศ.2451) นั่นคือเรือเดินสมุทรโอลิมปิก (Olimpic) และไททานิก (Titanic) และหลังจากนั้นจึงจะสร้างลำที่ 3 ซึ่งตั้งชื่อไว้แล้วว่าไจแกนติก (Gigantic) แต่ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นบริแทนนิก (Britannic)



โทมัส แอนดรูวส์ (Thomas Andrews) วิศวกรอาวุโสของอู่ต่อเรือฮาร์แลนด์และ "วูลฟฟ์" (Wolff) ผู้ออกแบบ และควบคุมการต่อเรือไททานิค แอนดรูวส์ชื่นชมเรือไททานิคว่าเป็นเรือที่สมบรูณแบบที่สุดเท่าที่สติปัญญาของมนุษย์จะทำได้

พอถึงตอนที่เรือปะทะภูเขาน้ำแข็งและเริ่มจม เนื้อหาของหนังจึงเริ่มเข้าสู่เหตุการณ์ประวัติศาสตร์จริงๆ แต่ยังคงความโดดเด่นในบทบาทของ แจ็ค โรส และตัวละครอื่นๆ ไว้อย่างแนบเนียน โดยขออธิบายเหตุการณ์ในหนังเทียบกับเหตุการณ์ที่แท้จริง ดังต่อไปนี้ครับ

การกักกันผู้โดยสารชั้นสามไว้ที่ใต้ท้องเรือ ไม่มีข้อยืนยันว่าได้มีการกักกันผู้โดยสารชั้นสามไว้ที่ใต้ท้องเรือ แต่มีการจัดระเบียบการอพยพผู้โดยสาร ซึ่งหมายถึงผู้โดยสารชั้นหนึ่งที่เป็นเด็กและผู้หญิงจะได้สิทธิลงเรือชูชีพไปก่อน ส่วนผู้โดยสารชั้นสามต้องรอทีหลัง แต่ในที่สุด ทุกอย่างก็เป็นไปตามระบบเอาตัวรอดกันแบบตัวใครตัวมัน



วงดนตรีได้บรรเลงจนถึงวาระสุดท้ายของเรือไททานิค มีข้อยืนยันว่า วอลเลส เฮนรี่ ฮาร์ตลีย์ (Wallace Henry Hartley) หัวหน้าวงดนตรีและเพื่อนๆ นักดนตรีได้บรรเลงเพลงเพื่อช่วยผ่อนคลายบรรยากาศที่ตึงเครียดในขณะนั้นจริง พวกเขาต่างทำหน้าที่อย่างแข็งขันและกล้าหาญจนถึงวาระสุดท้ายจนทุกคนจมไปกับเรือ โดยบรรเลงเพลง Nearer my god to thee หรือแปลว่า ใกล้ชิดพระเจ้า อย่างในหนัง ซึ่งเป็นเพลงที่คริสต์ศาสนิกชนใช้ร้องเพื่อแสดงความไว้อาลัย เนื้อเพลงมีเนื้อหาหนุนนำให้มีกำลังใจว่ากำลังจะได้ไปพบกับพระเจ้า



โดยธรรมเนียมของกัปตันเรือ กัปตันสมิทจะต้องอพยพจากเรือเป็นคนสุดท้าย ดังนั้น เขาจึงไม่ได้ลงเรือชูชีพ แต่ได้พยายามอำนวยการอพยพผู้โดยสารจนถึงสาระสุดท้ายอย่างเข้มแข็ง โดยที่ไม่ได้อยู่ในสภาพตกตะลึงจนทำอะไรไม่ถูกอย่างในหนัง



วิศวกรแอนดรูวส์ เป็นอีกคนหนึ่งที่ไม่ลงเรือชูชีพ เพราะไม่ต้องการเอาชีวิตรอดเพื่อไปพบกับคำวิพากษ์วิจารณ์จนถึงสาบแช่งในภายหลัง เขาเลือกที่จะจมไปกับเรือเพื่อแสดงความรับผิดชอบอย่างกล้าหาญ โดยเขาเลือกที่จะนั่งรอวาระสุดท้ายในห้องสูบบุหรี่ของผู้โดยสารชั้น 1



เจ บรูซ อิสเมย์ ได้พยายามเอาตัวรอดในขณะเรือจมจนถึงกับเอาผ้ามาคลุมศรีษะ เพื่อที่จะพรางตัวเป็นสตรี  เพื่อลงไปยังเรือชูชีพ เท่ากับว่าเขาได้แย่งที่นั่งของเด็กและผู้หญิงคนอื่นๆ (แต่อิสเมย์แก้ต่างว่าเขาได้ลงเรือชูชีพลำสุดท้ายในที่ว่างที่เหลืออยู่) และเขาต้องล้มละลายทางเกียรติยศไปตลอดชีวิตจากการประณามหยามเหยียดของผู้คนที่ทราบเรื่อง



การปฏิเสธการเอาตัวรอดของบรรดาผู้สูงศักดิ์และการเผชิญหน้ากับวาระสุดท้าย ไม่ว่าจะเป็นนายกุ๊กเกนไฮน์ หรือคนอื่นๆ ตามค่านิยมของสุภาพบุรุษตามอุดมคติในสมัยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด พวกเขาจะต้องให้เกียรติ และเสียสละต่อผู้หญิง เด็ก คนอ่อนแอ รวมทั้งจะต้องเผชิญหน้ากับเหตุการณ์คับขันจนถึงแก่ความตายด้วยความสงบและสง่างาม นอกจากนี้ ยังมีสตรีสูงศักดิ์บางคนได้ปฏิเสธที่จะทิ้งสามีไปลงเรือชูชีพเพื่อเอาตัวรอด แต่ตัดสินใจเผชิญหน้าวาระสุดท้ายร่วมกันซึ่งก็เป็นการพิสูจน์ความรัก ความผูกพันที่แท้จริงของบรรดาผู้สูงศักดิ์ในยุคนั้นด้วย (คงต่างจากไฮโซสมัยนี้ ที่อยู่ร่วมกันหม้อข้าวไม่ทันดำก็แยกทางกันแล้ว ในขณะที่ตอนแต่งก็บอกว่ารักกันสุดหัวใจ)

การยิงผู้โดยสารที่กำลังยื้อแย่งกันลงเรือชูชีพ มีผู้รอดชีวิตยืนยันว่าได้เห็นเจ้าหน้าที่นายหนึ่งยิงผู้โดยสารและเจ้าหน้าที่นายนั้นยิงตัวตายตาม แต่ไม่มีการยืนยันว่าเป็นวิลเลียม เมอร์ด็อก

สำหรับคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของไททานิคนั้นคงเป็นความตั้งใจของคาเมร่อนที่จะถ่ายทอดเรื่องราวการจมของไททานิคผ่านทางแผ่นฟิล์มโดยผ่านศิลปะการเล่าเรื่องด้วยภาพอย่างประณีต และใช้ตัวละครกับเรื่องราวที่สร้างขึ้นแทรกซึมเข้าไปกับการไหลลื่นของเรื่องราวในประวัติศาสตร์ได้อย่างกลมกลืนและแนบเนียน แล้วยังเสริมความโดดเด่นของพฤติกรรมและเรื่องราวของบรรดาผู้โดยสารตอนเรือล่มได้อย่างน่าประทับใจ จนไททานิคได้เป็นภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ที่มีเสน่ห์และมีชีวิตชีวาอย่างที่สุดเรื่องหนึ่ง ถึงแม้ว่าก่อนหน้านี้จะมีการสร้างภาพยนตร์เกี่ยวกับการจมของไททานิคมาหลายเรื่อง แต่ไม่มีเรื่องใดที่ได้รับความนิยมและอยู่ในความทรงจำได้ขนาดนี้



ฉากรักอมตะ

นับได้ว่า คาเมร่อนสามารถสร้างความสมดุลระหว่างเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ เรื่องราวที่แต่งเติม ความสนุกสนานตื่นเต้น โศกนาฏกรรม และความประทับใจแบบบรรยากาศของหนังฮอลลีวู้ดไว้ได้อย่างกลมกลืนและกระชับ โดยเฉพาะ ตอนที่แจ็คสิ้นลมในขณะที่ยังกุมมือของโรสไว้แน่น โดยที่โรสยังไม่รู้ตัว (ตรงกันข้ามกับตอนที่พี่โกโบเบิร์ดกำลังจะสิ้นใจ พี่แกรำพันกับหนูอังสุมากวางได้เป็นวรรคเป็นเวรหลายๆ ตอนเพื่อให้สปอนเซอร์ได้โฆษณากันอย่างเต็มที่)






ฉากจบอันแสนประทับใจ แต่เป็นเพียงจินตนาการ





แสดงความคิดเห็น

>

6 ความคิดเห็น

Jin_CLuB 12 เม.ย. 55 เวลา 20:32 น. 1

ไปดู 3D มาแล้ว
ก็สนุกนะ แต่มันไม่ค่อยมีฉากที่น่าตื่นเต้นเท่าไหร่

3 ชั่วโมง นานเข้าจะอ้วกกก 
ปวดตา ถอดแล้วดูก็ไม่ได้นานเพราะบางภาพมันก็มัวสุดๆ
ถ้าเหมือนแม่นากก็คงตกใจไม่น้อยเลยล่ะ


PS.  ''Super Junior'' My Only Boys รักพี่ๆ มากนะคะ <Love you Kyuhyun>
0
Sim&#039; Zaaa XD 12 เม.ย. 55 เวลา 21:01 น. 2
สนุกมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก :D
โครตรักเรื่องนี้เลยอ้ะ !   

PS.  I will happy ... if you near I will chear ... if you run I will fun ... if you share I will care ... if you sad I will mad ... if you cry I will die ... if you go ,*
0
I - MixZo&#039; Boyz 12 เม.ย. 55 เวลา 21:12 น. 3

 ผมชอบมากครับ
เคยดูเมื่อตอนเด็กๆมาแล้ว หลายครั้ง ซึ้งมากครับ

พรุ่งนี้กำลังจะไปดูที่โรงภาพยตร์ ^^


PS.  I-GuRuMixMach ปัญหาทุกอย่างย่อมมีทางแก้แค่คิดที่จะสู้ผมเชื่อว่าคุณทุกคน ทำได้
0