Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

DNA ช่วยอธิบายที สงสัยมากกกกก

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

คือว่าในขั้น DNA replication  DNAมันจะจำลองตัวเองขึ้นมา แล้วจากนั้นในขั้นTrascription จะมี RNA polymerase เข้ามาจับเกลียวDNAเพื่อถอดรหัสพันธุกรรมออกมาเป็นสาย mRNA เพื่อส่งรหัสพันธุกรรมออกไปที่cytoplasmแล้วแปลรหัสต่อไป

ทีนี้ เราสงสัยอยู่อย่างนึงซึ่งเราถามครูแล้ว ครูตอบเราไม่ได้อ่ะ
เราสงสัยว่า DNA มันจะจำลองตัวเองขึ้นมาเพื่ออะไร??? คือแบบไม่ต้องจำลองตัวเองแล้วถอดรหัสพันธุกรรมส่งออกไปแปลเลยไม่ได้หรือไง???

ใครรู้ช่วยบอกหน่อยนะ อยากรู้จริงๆ หรือว่าเราเข้าใจอะไรผิดก็บอกได้นะ 
ขอบคุณล่วงหน้านะคะ ^^



แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 10 กันยายน 2555 / 18:41

แสดงความคิดเห็น

>

13 ความคิดเห็น

ยpakpicha 10 ก.ย. 55 เวลา 19:16 น. 1

DNA ก็เหมือนเอกสารละมั้ง เวลาจะเอาเอกสารไปทำอะไรก็ต้องถ่ายจากต้นฉบับแล้วเราก็เอาที่เราCopy ไปไง ก็ต้องเหลือต้นฉบับไว้ไง 55 เราก็ไม่รู้เหมือนกันเพราะเราเรียนสายศิลป์มาอะ แต่เรามีเพื่อนเรียนวิทย์ครูนะ ถ้าอย่างไงเราจะถามมาให้ละกัน

0
Margaret Winser Glosan de. Maladia 10 ก.ย. 55 เวลา 20:32 น. 2

ในการจำลองของ DNA ....

DNA ต้องจำลองตัวเองเพื่อสร้างดีเอ็นตัวใหม่ไงคะ  ในการแบ่งเซลล์ ถ้าอีกเซลล์ไม่มีนิวเคลียส  ไม่มีสารพันธุกรรมอยู่  มันอยู่ไม่ได้ก็หรอกค่ะ


  ในการทำงานของร่างกาย เซลล์จะต้องถอดรหัสพันธุกรรม เพื่อนำข้อมูลข่าวสารจาก DNA ไปสู่ Ribosome เพื่อที่ในการสั่งให้สังเคราะห์โปรตีนชิมิล่ะิ 

ป.ล.  เราไม่ค่อยแน่ใจเหมือนกันน้าาา  เพิ่งเรียนม.4 เอง เผอิญได้เรียนเรื่องนี้พอดีง่ะ
PS.  จงยึดมั่นในพลังแห่งความดี
0
Gee 10 ก.ย. 55 เวลา 20:57 น. 3

จำลองเพื่อส่งไปแปลงัยค่ะ ถ้าส่งอันที่เป็นต้นฉบับออกไป แล้วจะเอาต้นฉบับที่ใหนทำงานไหนการส่งครั้งต่อๆไปล่ะ

0
cutlas 10 ก.ย. 55 เวลา 21:02 น. 4

ง่ายๆเลยนะ DNA มันมีโมเลกุลใหญ่ไง อยู่ในนิวเคลียส วันนึงเกิดมีธุระขึ้นมาอยากจะติดต่อกับโลกภายนอกไง แต่ตัวใหญ่ออกไปไม่ได้ เลยต้องส่งคนออกไปแทน ซึ่งก็คือ mRNA ที่มันก๊อปปี้รับสารจาก DNA แม่แแบบมาเรียบร้อยแล้ว ก๊อปแบบเหมือนเด๊ะข้อมูลไม่ขาดตกบกพร่อง เสร็จแล้ว mRNA ก็ออกมานอกนิวเคลียสไง แล้วทีนี้ rRNA (ไรโบโซม อีก้อนเล็กกับก้อนใหญ่นั่นแหละ) ก็เข้ามาจับเกาะ แล้ว tRNA ก็เข้ามาถอดรหัสข้อมูลจาก mRNA 
Transcription : กระบวนการตอนที่ mRNA จะลองข้อมูลจาก DNA แม่แแบบ
Translation : กระบวนการตอนที่ tRNA ถอดรหัสจาก mRNA

ปล. ไม่รู้ว่าเราเขียนไปจะเข้าใจหรือเปล่านะ แต่ถ้ามีคำถามเกี่ยวกับชีวะถามเราได้นะ 
vivian.white-flora@hotmail.com นี่เมลเราจะ 

0
Nawatbhrist, Prist 11 ก.ย. 55 เวลา 12:46 น. 5

เพื่อรักษา รหัสต้นแบบไว้ รึป่าวอ่ะ

คือลักษณะต่างๆ ที่แปลออกมาจากรหัสพันธุกรรม จะถ่ายทอดเป็นโปรตีน(ลำดับกรดอะมิโน) ใช่มะ
แล้ว...

ribosome มีหน้าที่สังเคราะห์โปรตีนและมันก็อยู่ใน cytoplasm
[แม่แบบอยู่ในนิวเคลียส...ตัวสร้างโปรตีนอยู่ในไซโตพลาสซึม มันก็เลยต้องเอาออกมาแปลข้างนอกไง]
เพราะข้างนอกมีสภาพที่เหมาะแก่การทำงานของ ribosome และ enzyme บางตัว

แต่ถ้าถามว่า.... ทำไม DNA ถึงไม่วิ่งออกมาแปลข้างนอกเลยล่ะ . . . อันนี้ไม่รู้แฮะ
มันกลัวมั้ง = = กลัวรหัสต้นแบบเสียสภาพ ....ใน nucleus DNA มันก็ happy ดีอยู่แล้ว 5555
พอออกมาข้างนอก มันจะเจอสภาพที่แตกต่างไปจากในนิวเคลียส ทั้ง pH ทั้ง enzyme
(ไม่รู้ถูกป่าวนะ เราก็แถเหมือนกัน)

ก็คงเหมือนกับเราอ่ะแหละ ถ้ายืมรายงานมาสักเล่ม.... เวลาเราต้องการข้อมูลในนั้นหรือจะแก้ไขหรือทำอะไรกับมันใหม่ เราก็ควรถ่ายเอกสาร แล้วเก็บต้นฉบับเอาไว้
เพราะถ้าเราร่างใส่ต้นฉบับเลยโดยที่ไม่มีสำรองไว้ แล้วเกิดพลาดขึ้นมา.....
เราคง unhappy

0
แบร่ๆ 11 ก.ย. 55 เวลา 14:19 น. 6

มันขี้เกียจมั้ง เลยส่งลูกน้องออกไปแปรรหัสแทน&nbsp ดีเอ็นเอต้นแบบก็เปรียบเหมือนพระราชาที่เห็นแกตัวนั้นเหละ อิ่มเอมความสุขมุดหัวอยู่แต่ในวัง ไม่ยอมออกไปเยี่ยมประชาชนจึงส่งเหล่าทหารไปแทน ฮ่าๆๆๆๆๆ น้องมะปรางเอ้ยยยยยย

0
cha-lida 11 ก.ย. 55 เวลา 20:30 น. 7

ขอบคุณทุกคนที่ช่วยตอบนะคะ แต่มีแค่ คห.1 มั้ง ที่เข้าใจคำถามของเรา 5555555

คือเราอยากรู้ว่า ทำไมต้อง DNA จำลองตัวเอง >> ได้ DNA อีกชุด >> ถอดรหัส
เป็นแบบนี้เลยไม่ได้หรือไง DNA ถอดรหัสเลย เงี้ย

เอ่อ เราคิดว่าเราคงถามอะไรงงๆ 5555555 ยังไงก็ขอบคุณทุกๆคำตอบที่บอกนะคะ ^/\^

0
DEW 12 ก.ย. 55 เวลา 00:12 น. 8

DNA มัน replication เพื่อการแบ่งเซลล์ค่ะ(ตรงระยะs ของ interphase) ถ้าไม่แบ่งเซลล์มันก็ไม่ replication เพิ่ม&nbsp ส่วน transcriptionกับ translation เป็นขั้นตอนการแสดงออกของยีน&nbsp ไม่ใช่ว่า transcription ทุกครั้ง ต้อง replication ใหม่ทุกรอบ มันจะreplication แค่ตอนจะแบ่งเซลล์เท่านั้นค่ะ

0
Oat Phusamsai 14 ส.ค. 57 เวลา 21:35 น. 9

เอาตามความรู้ที่มีนะครับ...อาจจะไม่ตรง!!^^
    การจำลอง DNA มีไว้เพื่อสร้าง DNA สายใหม่ไว้เพื่อเป็นต้นแบบให้เกิดการสังเคราะห์ DNA ขึ้นครับ เพราะว่า DNA จะทำการจำลองตัวเองในระยะ interphase เพื่อเพิ่มจำนวน DNA เป็น 2 เท่านะครับ สำหรับการจำลอง DNA จะเป็นการจำลองแบบกึ่งอนุรักษ์ เพราะ ตัวสายDNA หลังจากการจำลองมีทั้งสายDNAทั้งของใหม่และของเก่าอยู่บนสายเดียวกัน  ซึ่งการจำลองดังกล่าวนี้ทำให้เกิดกระบวนการสังเคราะห์ DNA ได้ต่อไปครับ

0
Chrd 14 ส.ค. 57 เวลา 22:01 น. 10

DNA เป็นโมเลกุลใหญ่อยู่ในนิวเคลียส ตัวมันใหญ่เลยออกไปไหนไม่ได้ ต้องส่งคนไปแทน ซึ่งมันก็คือ mRNA ที่มันได้รับสารมาจาก DNA เรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้น mRNA ก็ออกมานอกนิวเคลียส แล้วทีนี้ rRNA ก็เข้ามาเกาะจับ แล้ว tRNA ก็เข้ามาถอดรหัสข้อมูลจาก mRNA ค่ะ


นางสาวฉัตรฤดี ทองประศรี ม.6/3 เลขที่40

0
cccc 16 ส.ค. 57 เวลา 19:20 น. 11

DNA เป็นโมเลกุลใหญ่อยู่ในนิวเคลียส ตัวมันใหญ่เลยออกไปไหนไม่ได้ ต้องส่งคนไปแทน ซึ่งมันก็คือ mRNA ที่มันได้รับสารมาจาก DNA เรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้น mRNA ก็ออกมานอกนิวเคลียส แล้วทีนี้ rRNA ก็เข้ามาเกาะจับ แล้ว tRNA ก็เข้ามาถอดรหัสข้อมูลจาก mRNA ค่ะ

0
เชษฐา ช้างทอง 20 ส.ค. 57 เวลา 21:38 น. 12

กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (อังกฤษ: deoxyribonucleic acid) หรือย่อเป็น ดีเอ็นเอ เป็นกรดนิวคลีอิกที่มีคำสั่งพันธุกรรมซึ่งถูกใช้ในพัฒนาการและการทำหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดเท่าที่ทราบ (ยกเว้นอาร์เอ็นเอไวรัส) ส่วนของดีเอ็นเอซึ่งบรรจุข้อมูลพันธุกรรมนี้เรียกว่า ยีน ทำนองเดียวกัน ลำดับดีเอ็นเออื่น ๆ มีความมุ่งหมายด้านโครงสร้าง หรือเกี่ยวข้องกับการควบคุมการใช้ข้อมูลพันธุกรรมนี้ ดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอและโปรตีนเป็นหนึ่งในสามมหโมเลกุลหลักที่สำคัญในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่ทราบ

ดีเอ็นเอประกอบด้วยพอลิเมอร์สองสายยาวประกอบจากหน่วยย่อย เรียกว่า นิวคลีโอไทด์ โดยมีแกนกลางเป็นน้ำตาลและหมู่ฟอสเฟตเชื่อมต่อกันด้วยพันธะเอสเทอร์ ทั้งสองสายนี้จัดเรียงในทิศทางตรงกันข้าม จึงเป็น antiparallel น้ำตาลแต่ละตัวมีโมเลกุลหนึ่งในสี่ชนิดเกาะอยู่ คือ นิวคลีโอเบส หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เบส ลำดับของนิวคลีโอเบสทั้งสี่ชนิดนี้ตามแกนกลางที่เข้ารหัสข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลนี้อ่านโดยใช้รหัสพันธุกรรม ซึ่งกำหนดลำดับของกรดอะมิโนในโปรตีน รหัสนี้ถูกอ่านโดยการคัดลอกดีเอ็นเอเป็นกรดนิวคลีอิกอาร์เอ็นเอที่เกี่ยวข้องในขบวนการที่เรียกว่า การถอดรหัส

ดีเอ็นเอภายในเซลล์มีการจัดระเบียบเป็นโครงสร้างยาว เรียกว่า โครโมโซม ระหว่างการแบ่งเซลล์ โครโมโซมเหล่านี้ถูกคัดลอกในขบวนการการถ่ายแบบดีเอ็นเอ ทำให้แต่ละเซลล์มีชุดโครโมโซมที่สมบูรณ์ของตัวเอง สิ่งมีชีวิตยูคาริโอต (สัตว์ พืช ฟังไจและโพรทิสต์) เก็บดีเอ็นเอส่วนมากไว้ในนิวเคลียส และดีเอ็นเอบางส่วนอยู่ในออร์แกเนลล์ เช่น ไมโทคอนเดรียและคลอโรพลาสต์[1] ในทางตรงข้าม โปรคาริโอต (แบคทีเรียและอาร์เคีย) เก็บดีเอ็นเอไว้เฉพาะในไซโทพลาสซึม ในโครโมโซม โปรตีนโครมาติน เช่น ฮิสโตนบีบอัดและจัดรูปแบบของดีเอ็นเอ โครงสร้างบีบอัดเหล่านี้นำอันตรกิริยาระหว่างดีเอ็นเอกับโปรตีนอื่น ช่วยควบคุมส่วนของดีเอ็นเอที่จะถูกถอดรหัส

0
Prist 31 ส.ค. 57 เวลา 13:03 น. 13

ผมไปหาคำตอบมาให้แล้วครับ

คาดว่า DNA มีต้นกำเนิดมาหลังจาก RNA
ในสมัยเริ่มแรก การกำเนิดสิ่งมีชีวิตยุคนั้นจะอาศัยการแสดงลักษณะจาก RNA (ผมไม่ทราบว่าใช้ภาษาผิดรึเปล่านะ) เนื่องจาก RNA ตัวมันเองสามารถทำหน้าที่เป็น enzyme ก็ได้ สารพันธุกรรม ก็ได้

การแสดงลักษณะที่ออกมาเป็น โปรตีน จะมีความเสถียรและหลากหลาย เนื่องจากมีพันธะนู่น นี่ นั่น เชื่อมต่อภายในโมเลกุล ทำให้มีลักษณะต่างๆที่แสดงออกมามากมาย (มากกว่า ตัว RNA)

แต่คราวนี้ เนื่องจาก RNA มีความไม่ค่อยอยู่ตัว(ไม่ค่อยเสถียรเท่าที่ควร) สิ่งมีชีวิตบางชนิดจึงมีการวิวัฒนาการ พัฒนาไปเป็นโมเลกุลที่มีความเสถียรมากกว่าเพื่อที่จะคงสภาพปกติของตัวเองไว้ให้มีความเสถียร ซึ่งก็คือ DNA

เพราะฉะนั้น.... สารสังเคราะห์โปรตีน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องถอด DNA กลับมาเป็น RNA ให้เหมือนในสภาวะปกติก่อน แล้วจึงสามารถแสดงลักษณะออกมาทางโปรตีน โดยผ่านการแปล RNA อีกรอบนึง

หากมีข้อมูลใดผิดต้องขออภัยด้วยนะ ลองค้นๆดูอีกที

1
sanhapoj2012 23 ต.ค. 61 เวลา 16:04 น. 13-1

ที่ส่วนตัวคิดก็คือตัวDNA เป็นต้นแบบของการสร้างโปรตีนหลายชนิดในสายเดียวกัน ซึ่งเวลาใช้งานจริงจึงจำเป็นต้องเลือกถอดระหัสบางตัวออกมา เช่น

• กรดกลูตามิก (Glutamic acid)

• กรดแอสพาร์ติก (Aspartic acid)

• กลูตามีน (Glutamine)

• ไกลซีน (Glycine)

• ซิสเทอีน (Cysteine)

• เซรีน (Serine)

• ไทโรซีน (Tyrosine)

• โพรลีน (Proline)

• อะลานีน (Alanine

• อาร์จินีน (Arginine)

• แอสพาราจีน (Asparagine)

• ซิสทีน (Cystine)

• ทอรีน (Taurine)

• ออร์นิทีน (Ornitine)

ทั้งหมด14ตัวนี้RNAถอดรหัสเป็นตัวๆ เพราะบางจุดของร่างกายจำเป็นต้องการบางตัวเพราะตัวอื่นมีมากพอแล้วเลยไม่จำเป็นต้องสร้างอีก เวลาร่างกายสร้างโปรตีนไปซ่อมแซมอะไรระบบประสาทจะสั่งให้DNAเรียกRNA มาถอดรหัสบางช่วงของสายDNAครับตัวอย่างเช่นในขณะออกกำลังกายขาRnaของเซลทุกเซลที่บริเวณขาจะเน้นสร้างกรดกลูตามิกเพื่อสร้างกล้ามเนื้อบริเวณขา หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง หากเป็นแผลที่หัวเข่า สมองสั่งDNA แล้วDNAสั่งRNAเฉพาะที่สร้างกรดแอสพาติกเพื่อเป็นสารตั้งต้นในการสร้างเม็ดเลือดขาวมาช่วยทำลายฤทธิ์สิ่งแปลกปลอมที่แผลหัวเข่า อย่างเช่นแบคทีเรียและเชื้อไวรัสต่าง ๆ


0