Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ช่วยด้วยค่ะ!ปริมาณสารสัมพันธ์2

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ขอความช่วยเหลือด้วยค่ะ
หนูงงมากเวลาทำโจทย์

1. ความหนาแน่นของสาร มันบอกอะไรเราได้คะ มันเอาไปช่วยอะไรในโจทย์ได้คะ

1.1.ทำไมเรื่องสมบัติสารสารสะลายพวกจุดเยือกแข็ง การแทนปริมาณตัวทำละลายและตัวถูกละลายในสูตรต้องเป็นกรัมใช่มั้ยคะ ในหนังสือกวดวิชาที่จดมามันบอกว่าถ้าโจทย์ให้มาเป็นลูกบาศก์เซน ให้เอาความหนาแน่นไปคูณได้เลย
1.2.จากข้อ 1.1 ในโจทย์บางข้อ ำไมเราเอาวิธีความหนาแน่นคูณลูกบาศก์เซนไปเลยเพื่อจะได้เป็นกรัมออกมา ไม่ได้คะ

เช่นโจทย์2ข้อนี้
กรณี 1.1.ในการทดลองครั้งหนึ่งนำกำมะถันมา 16.8กรัม ไปละลายในเบนซีน 114ลูกเบศก์เซน ปรากฎว่าจุดเยือกแข็งลดต่ำลง 4.5 องศาเซลเซียส จงคำนวณมวลโมเลกุลและสูตรโมเลกุลของกำมะถัน( Kf = 6.9 ความหนาแน่นของเบนซีน = 0.88กรัม/ลูกบาศก์เซน) ...ตอบ 256 กับ S8

กรณี 1.2.ของเหลวชนิดหนึ่งมีสูตร A3B มีความถ่วงจำเพาะ 1.50 (มวลอะตอมของA=33 B=21) เมื่อนำ A3B 20 ลูกบาศก์เซนผสมกับน้ำให้มีปริมาตรสุดท้ายเท่ากับ 500 ลูกบาศก์เซน สารละลายที่ได้จะมีความเข้มข้นกี่โมลต่อลิตร

2. การที่โจทย์บอกคำว่า % โดยมวล หรือโดยอะไรก็แล้วแต่ มันหมายถึงในสารละลาย100 หรือหมาายถึงในน้ำคะ งงมาก


ขอบคุณนะคะ ขอบคุณจริงๆค่ะ

แสดงความคิดเห็น

>

3 ความคิดเห็น

Both. 26 ต.ค. 55 เวลา 01:07 น. 2
 ขอตอบ ประเด็น 2 แล้วกัน เพราะยังไม่ค่อยเข้าใจคำถามประเด็นแรก  55555555

ตอบ เปอร์เซ็นต์มันจะมี 3 ชนิดใช่มั้ย? มี เปอร์เซ็นต์โดยมวล (g/g) เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร (cm^3/cm^3) เปอร์เซ็นต์โดยมวลต่อปริมาตร (g/cm^3) สามตัวนี้มันจะเทียบระหว่าง ตัวถูกละลาย / สารละลาย  สารละลายในที่นี้หมายถึงเมื่อสารนั้นรวมกับน้ำแล้ว . แล้วก็เทียบกับสารละลายที่(เนื้อรวมน้ำ) 100 g หรือ 100 cm^3

ส่วนโมลาร์ กับโมแลล อ่ะ โมลาห์ก็เทียบระหว่าง ตัวถูกละลาย/สารละลาย เหมือน 3 ตัวแรกนั่นแหละ แต่มันจะเทียบในหน่วย mol/dm^3 แล้ว dm^3 เนี่ยมันคือสารละลาย 1 dm^3 หรือ 1 ลิตร หรือ 1,000 cm^3 น่ะแหละ

แล้วทีนี้โมแลลมันจะแตกต่างกับทุกตัว คือมันจะเทียบในหน่วย mol/kg คือมันเทียบระหว่าง ตัวถูกละลายกับน้ำ น้ำที่มันเพียวๆ ไม่มีอะไรเลย น้ำบริสุทธิ์ อ่ะ เช่น  น้ำเกลือ/น้ำ (mol/kg) เกลือ 1 โมลกับน้ำ 1 kg. อ่ะประมาณนี้..

ผิดถูกยังไง(?) ขอโทษด้วย เข้าใจประมาณนี้ . 555555555



แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 26 ตุลาคม 2555 / 01:08

PS.  NoRit Forever
0
KP_THESTAR 26 ต.ค. 55 เวลา 20:34 น. 3
ตอบประเด็นแรกนะครับ 
ความหนาแน่นของสารบอกอะไรเราได้บ้าง? 
ถ้าในกรณีโจทย์ข้อนี้ทำไมเอาปริมาตร(ลูกบาศก์เซนติเมตร)คูณกับความหนาแน่นได้เลย

เหตุผลเพราะ จากสูตรดั้งเดิมของเราคือ D = M/V 
ซึ่ง D = ความหนาแน่น 
M = มวล
V = ปริมาตร

เมื่อย้ายสมการแล้วจะได้ M = D x V
ก็จะสามารถหามวลหน่อยกรัมได้ครับ
หรือจะเทียบบัญญัติไตรยางค์ก็ได้ครับ 
เช่น      1 ลบซม. = 0.88 กรัม
แล้วถ้า 114 ลบซม =  114 x 0.88 = 100.32 กรัม
ซึ่งก็มีค่าเท่ากับเอาความหนาแน่นคูณปริมาตรนั่นเอง

แล้วก็จากโจทย์ที่ยกมานั้น 
ก็จะสามารถใช้สูตรนี้ได้ครับ

อุณหภูมิที่เปลี่ยนไป = (Kf x W1 X1000 )/ (W2 x mw)
ย้ายสมการ mw = (Kf x W1 x1000) / (W2 x อุณหภูมิที่เปลี่ยนไป) 
[w1 = มวลตัวถูกละลาย w2=มวลของตัวทำละลาย mw=มวลโมลกุล]
mw = (6.9x16.8x1000)/(100.32x4.5)
mw=256
ซึ่งกำมะถัน มวลโมเลกุลตัวละ 32 
8 ตัวก็ 256 พอดี จึงเป็น S8 ไงครับ

สงสัยถามได้ที่ zioolbs.burles@hotmail.com นะครับ ทาง email นะ
ถ้าผิดท้วงติงได้เลยนะครับ ^^

PS.  
0