Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

กลอน ในหลวง

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
พระผู้ทรงเป็นพลังคนทั้งชาติ
ทรงเปรื่องปราชญ์ปรีชามหาศาล
พระราชดำริมากมายหลายโครงการ
เป็นรากฐานความพอเพียงของชาวไทย
แปดสิบสี่พระพรรษา "ภูมิพลมหาราช"
ท่านทรงเป็นนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่
เป็นศูนย์ร่วมพลังแผ่นดินไทย
ถวายพระพรชัย "ขอพระองค์ทรงพระเจริญ"

แสดงความคิดเห็น

>

6 ความคิดเห็น

นพัธ 19 มี.ค. 56 เวลา 17:05 น. 1

เราโชคดีแค่ไหนในวันนี้
ที่ยังมีแผ่นดินถิ่นอาศัย
มีความงามแห่งผู้อยู่อย่างไทย
และกษัตริย์หัวใจประชาชน

ธ คือพ่อ คือครู คือผู้ให้
น้ำพระทัยใสสะอาดดั่งหยาดฝน
ทรงมีเพียงคำว่า “ให้” ในกมล
ที่ถั่งท้นเพื่อประชาทุกนาที

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  กธก.

0
กกร.กร.ทบ. 25 มิ.ย. 56 เวลา 11:56 น. 2

ความพอเพียง
คำว่า พอเพียง มีความหมายว่า พอมีกิน
เศรษฐกิจแบบพอเพียง หมายความว่า ผลิตอะไรมีพอที่จะใช้
ไม่ต้องขอยืมคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง
แปลจากภาษาฝรั่งได้ว่า ให้ยืนบนขาของตัวเอง
หมายความว่า สองขาของเรายืนบนพื้นให้อยู่ได้
ไม่หกล้ม ไม่ต้องไปขอยืมของคนอื่นเพื่อที่จะยืนอยู่
คำว่า พอ คนเราถ้าพอในความต้องการ มันก็มีความโลภน้อย
เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย
พอเพียง อาจมีมาก อาจมีของหรูหราก็ได้
แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น
พระราชดำรัสพระราชทานอในโอกาสที่คณะบุคคลเข้าเฝ้า
ถวายพระพรชัยมงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2541

0
กกร.กร.ทบ. 26 มิ.ย. 56 เวลา 11:36 น. 3

พ่อของแผ่นดิน
ชีวิตที่เพียงพอพ่อพร่ำสอน
ทั้งหลับนอนกินอยู่รู้ใช้จ่าย
ทรัพย์สมบัติเงินทองของนอกกาย
อย่างมงายยึดมั่นนั่นมายา
มีข้าวปลาอาหารทานเต็มอิ่ม
มีรอยยิ้มรายล้อมอยู่พร้อมหน้า
มีความรักเป็นทุนอุ่นกายา
แม้ไม่มีเงินตราใช่ว่าจน
ด้วยแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่
จึงมีกินมีใช้ไม่ขัดสน
พ่อสอนไว้ให้รู้สู้อดทน
จึงผ่านพ้นทุกข์เข็ญเห็นแนวทาง
ชีวิตที่พอเพียงเลี้ยงตัวได้
พ่อทำให้ได้เห็นเป็นแบบอย่าง
ทุกโครงการพ่อเน้นไม่เว้นวาง
พ่อผู้สร้างชีวิตใหม่ให้แผ่นดิน

0
กกร.กร.ทบ. 19 ก.ค. 56 เวลา 09:27 น. 4

ทฤษฎีว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรแหล่งน้ำในบรรยากาศ
ในปี พ.ศ. 2498 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเพื่อทรงเยี่ยม พสกนิกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ย่านบริเวณเทือกเขาภูพานทรงสังเกตว่า มีปริมาณเมฆมากปกคลุมเหนือพื้นที่ระหว่างเส้นทางบิน แต่ไมสามารถรวมตัวจนเกิดเป็นฝนตกได้ ทั้งที่เป็นช่วงฤดูฝน และทรงพบเห็นว่าหลายแห่งประสบปัญหา พื้นดินแห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค และการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูเพาะปลูก เกษตรกรมักประสบความเดือดร้อนจากภาวะฝนแล้ง หรือฝนทิ้งช่วง ในระยะวิกฤติของพืชผล ทำให้ผลผลิตต่ำ หรืออาจไม่มีผลผลิตเลย และอาจทำให้ ผลผลิตที่มีอยู่เสียหายได้ จึงเป็นความเดือดร้อนอย่างสาหัส และก่อให้เกิดความสูญเสีย ทางเศรษฐกิจ แก่เกษตรกรอย่างใหญ่หลวง นอกจากนี้ความต้องการใช้น้ำมีมากขึ้น เพราะการขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรมเกษตรกรรม และการเพิ่มขึ้นของประชากร ซึ่งมีผลให้ปริมาณน้ำต้นทุนจากทรัพยากรน้ำที่มีอยู่ ไม่เพียงพอ ซึ่งเห็นได้ชัดจากปริมาณ น้ำในเขื่อนภูมิพลที่ลดลงอย่างน่าตกใจ ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกล และทรงความอัจฉริยะของพระองค์ด้วยคุณลักษณะของนักวิทยาศาสตร์ ทรงสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลในขั้นต้น และได้มีพระราชดำริครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2498 แก่หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล ว่าจะทรงค้นหา วิธีการที่จะทำให้เกิดฝนตกนอกเหนือจากที่จะได้รับจากธรรมชาติโดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ กับทรัพยากร ที่มีอยู่ให้เกิดมีศักยภาพของการเป็นฝนให้ได้ "ฝนหลวง" หรือ "ฝนเทียม" จึงกำเนิดขึ้นโดยประยุกต์ผลการวิจัยค้นคว้าทางวิชาการด้านฝนเทียมของประเทศต่าง ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และอิสราเอล
พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ทรงวิเคราะห์การทำฝนหลวงว่ามี 3 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1 ก่อกวน เป็นการกระตุ้นให้เมฆรวมตัวเป็นกลุ่มแกน เพื่อใช้เป็น แกนกลางในการสร้างกลุ่มเมฆฝนในระยะต่อมา สารเคมีที่ใช้ ได้แก่ แคลเซียมคลอไรด์ แคลเซียมคาร์ไบด์ แคลเซียมออกไซด์ หรือสารผสมระหว่าง เกลือแกงกับสารยูเรีย หรือสารผสม
ขั้นตอนที่ 2 เลี้ยงให้อ้วน ขั้นตอนนี้ใช้สารเคมี คือ เกลือแกง สารประกอบสูตร ท.1 สารยูเรีย สารแอมโมเนียไนเตรท น้ำแข็งแห้ง และอาจใช้สารแคลเซียมคลอไรด์ร่วมด้วยเพื่อเป็นการเพิ่มแกนเม็ดไอน้ำ (Nuclii) ให้กลุ่มเมฆฝน มีความหนาแน่นมากขึ้น
ขั้นตอนที่ 3 โจมตี สารเคมีที่ใช้ในขั้นตอนนี้เป็นสารเย็นจัด คือซิลเวอร์ไอโอได น้ำแข็งแห้ง เพื่อทำให้เกิดภาวะความไม่สมดุลมากที่สุด ซึ่งจะเกิดเป็นเม็ดน้ำ ที่มีขนาดใหญ่มาก และตกกลายเป็นฝนในที่สุด อย่างไรก็ดี ทุกขั้นตอนจะต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ในการตัดสินใจที่จะเลือกใช้สารเคมีในปริมาณที่พอเหมาะ

0
กกร.กร.ทบ. 30 ส.ค. 56 เวลา 07:37 น. 5

พระราโชบายที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเน้นย้ำอยู่เสมอ คือการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนทรงรอบรู้เรื่องการจัดการน้ำทุกรูปแบบ และทรงสนพระทัยในเรื่องนี้อย่างจริงจัง จึงทรงมีพระราชดำริมากมายเรื่องโครงการแก้ปัญหาน้ำ โครงการน้ำพระราชดำริจึงปรากฏครอบคลุมปัญหาในทุกๆด้าน ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการเริ่มจากการสงวนรักษาแหล่งต้นน้ำต่างๆ การจัดการทรัพยากรน้ำที่มีอยู่แล้ว การแก้ปัญหาภัยแล้ง ภัยน้ำท่วม และภัยจากน้ำทะเลท่วมล้ำแผ่นดิน ตลอดถึงการบำบัดน้ำเสียเพื่อนำน้ำมาใช้ใหม่ ขอบข่ายกว้างขวางของโครงการช่วยให้เกิดการกินดีอยู่ดีขึ้นในหมู่ประชาชนทั้งหลาย ไม่ว่าจะอยู่กันในชุมชนเมือง ในท้องถิ่นชนบทใดหรือพื้นที่ห่างไกลที่หน่วยงานพัฒนาต่างๆของรัฐเข้าไปไม่ถึง พระมหากรุณาธิคุณและความใส่พระทัยดูแลของพระเจ้าอยู่หัวได้ปกเกล้าพวกเราโดยทั่ว

0