Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ฝันหมอสลาย สอบไม่ติดกสพท. เรามีทางแก้

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

ในที่สุด คะแนน7วิชาสามัญที่รอคอยก็ประกาศออกมาพร้อมกับน้ำตาที่ไหลรินของเพื่อนๆที่สอบไม่ติด เราก็เปนคนหนึ่งที่ชวด(เลข เคมี ==) เราว่าสอบของ สทศ ก็ไช่ว่าจะเป็นธรรมหากว่าจะเอามาวัดคนสอบหมอนะ ทางคณะกรรมการควรจะรู้ได้แล้วว่า ระบบ'เซ็ต' (เลข) เขาเลิกใช้ไปตั้งกะมะโว้นู่นน แล้ววว จะเอามาสอบทำ.....อะไร

สำหรับคนที่ชวดแต่ยังอยากเปนหมอนะครับ เรามีทางเลือกดีๆมาเสนอ คือการเรียนหมอต่างประเทศนั่นเองง
ระบบของการเรียนหมอในต่างประเทศสำหรับนักเรียนที่ไม่ไช่สัญชาติเขามีอยู่3ขั้นครับ
1. Foundation เรียนปรับพื้นฐานครับ ประมาน 8เดือน เนื้อหาเหมือน ม.ปลายบ้านเรา ถ้าหากว่าเรียนจบออกมามีคะแนนตามเกณฑ์ที่มหาลัยกำหนด ก้ไปขั้นที่2 ต่อได้เยยย
2. Bachelor of science(undergraduate) เนื่องจากประเทศที่มีหมอระดับป.ตรี นอกจากไทยแล้วก้แทบจะนับหัวได้เลย ส่วนใหญ่ก้เปน ป.โท หมดละ ผมจึงแนะนำให้เข้าคณะที่เกี่ยวกับหมอเช่น ชีวการแพทย์(biomedical science), เทคนิคการแพทย์(medical science), หรือ เภสัช(pharmacy)  ระยะเวลาคือ 3ปี เพราะฉะนั้น เราจะได้ ป. ตรี ในเวลา4 ปีเหมือนของไทยเป๊ะ
หากว่าเรียนจนหนำใจแล้วคิดว่าแพทย์อาจจะไม่ไช่ทางของเรา คณะเหล่านี้ก้มีเส้นทางอื่นๆให้เลือกมากมาย แต่หากว่ายังคงยืนยันว่า หมอ แน่นอนก้สมัครไปขั้นที่3กันเลยย
3. Doctor of medicine and surgery แพทย์เมืองนอกเขาเปนหลักสูตร 3 ปี ได้ทั้งหมอสามัญและหมอศัลย์ควบกันเลย การเข้าก้แค่ยื่นคะแนน ไม่ต้องผ่าน สทศ หรือองค์กรชุดดำอะไรให้ยุ่งยาก
รวมเฉลี่ยทั้งหมดแล้วก้ 7 ปี นานกว่าหมอไทยแค่ปีเดึยว แถมหากว่าจะต้องซิ่วปีนี้เพราะไม่ติดหมอแล้วด้วย สู้ไปตามทางนี้จะเปนการเอาเวลาชีวิตที่แสนสั้นของเรามาใช้ให้เปนประโยชน์มากกว่าการนั่งเกาพุงรอสอบปีหน้าเปนไหนๆ 
หากเพื่อนๆกำลังกังวลว่าจะเข้าได้ไหมหากว่าฟุดฟิตอังกิดไม่เก่ง ไม่ต้องห่วงครับ การเรียนปรับพื้นฐานจะสอนอังกฤษให้เราตลอดจนวิชาที่จำเปน ขอแค่พอฟุดฟิตให้เข้าไปได้ก่อนแค่นั้นพอ
ส่วนปัญหาหลักก็คงรู้ๆกันอยู่ $$$ เงินนั่นเอง เพราะไปเรียนนอก7ปีคงแพงมิไช่น้อย แต่หากว่าเพื่อนๆพอมีเงินอยู่ ผมแนะนำให้ลุยเลยครับ มันคุ้มค่าแน่นอน(หากเรียนจบอ่านะ) เพราะว่าหมอในอนาคตจะขาดแคลนแล้วยิ่งเป็นหมอที่ฟุดฟิดอังกฤษได้เนี่ย ไม่ว่าจะทำงานใน ปิยราชมหาการุณย์ บำรุงราษฏร หรือแม้กระทั่งในต่างประเทศ(จะเข้าเปนหมอกลุ่มอาเซียนก้ได้นะ) โอกาสในการงานมันสูงกว่า เงินเดือนดีกว่า แถมยังไม่มีข้อผูกมัดแบบหมอไทยอีกด้วย ใครที่มุ่งมั่นจะเปนหมอจริงๆไม่ควรพลาดครับ

แสดงความคิดเห็น

>

10 ความคิดเห็น

เนี่ยนะ 3 ก.พ. 56 เวลา 19:46 น. 1

อ่านแล้วสงสัยอ่าค่ะ
ถ้าหากจบ ชีวการแพทย์(biomedical science), เทคนิคการแพทย์(medical science), หรือ เภสัช(pharmacy) อยู่ไทยจะไปต่อหมอที่นู่นได้ไหมอ่า

0
So* cUte 3 ก.พ. 56 เวลา 19:57 น. 2
หากเรียนแพทย์ที่ต่างประเทศจบมาแล้ว และอยากกลับมาทำงานที่ถิ่นฐานบ้านเกิดเมืองนอนไทย
ต้องไปดูด้วยนะว่า คณะแพทยศาสตร์ ต่างประเทศที่จะไปเรียนนั้น ทางแพทยสภาไทยรองรับหรือเปล่า เพราะมันจะไปเกี่ยวเนื่องตอนสอบใบประกอบวิชาชีพในไทยอ่ะ

หมอทุกคนไม่ว่าจบที่ใดก็ตามทั้งในไทยและต่างประเทศ ถ้าจะทำงานในไทยก็ต้องผ่านการสอบใบประกอบวิชาชีพแพทย์ของไทยด้วยนะ ซึ้งจะสอบ 3 ขั้นตอน (ไม่งั้นจะผิดกฎหมายและเป็นหมอเถื่อน เพราะยังไม่ได้รับอนุญาติ แม้ว่าได้ปริญญา MD. มาแล้วก็ตาม)

ปกติ การสอบใบประกอบวิชาชีพแพทย์ คณะแพทย์ของไทย
ขั้นตอนที่ 1 สอบ basic science (ที่เรียนมา ชั้น pre clinic ทั้งหมด) จะสอบหลังจบ ปี 3
ขั้นตอนที่ 2 สอบ ชั้น Clinic สอบหลังจบปี 5
ขั้นตอนที่ 3 สอบ หลังจบปี 6
ต้องผ่านทั้งสามขั้นตอนถึงจะได้ใบประกอบวิชาชีพแพทย์


** อยากจะบอกว่า คนที่จบแพทย์ต่างประเทศมาแล้วมาสอบใบประกอบวิชาชีพไทย จะต้องมาเหนื่อยกับ การสอบขั้นตอนที่ 1 เป็นอย่างมาก เพราะเนื้อหาความรู้มันมหาศาล และพี่ไทยออกยากนะสำหรับขั้นตอนนี้
แล้วอีกอย่าง basic sci ก็เรียนมาตั้งแต่ชั้นพรีคลินิคแล้ว แพทย์ที่เรียนจบแล้วค่อยมาสอบคงจะหลงเหลือไม่มากพอสำหรับสอบ เพราะมันเรียนผ่านมาหลายปีแล้ว คงลืมไปเกือบหมดละ คงต้องรื้อฟื้นความรู้กันยกใหญ่เลยทีเดียว

แต่ถ้าไม่กลับมาทำงานที่ไทยก็ไม่เป็นไรนะ แต่อยู่ต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศพัฒนาแล้วทั้งหลาย เราก็ต้องเก่งมากๆด้วย ถึงเขาจะรับนะ ส่วนใหญ่ก็คงจะต้องเป็นแพทยเฉพาะทางแล้วด้วย ซึ่งนั่นหมายความว่าต้องเรียนต่อเฉพาะทางอีก อย่าง ศัลยกรรม ก็ต่ออีก 5 ปี แล้วมันก็ยังมีอนุสาขาหรือ เฟลโลอีก (กี่ปีไม่รุ้ น่าจะสองปีมั้ง)  ซึ่งจุดนี้ก้อเหมือนกันกับของไทย

ค่าเรียนแพงกว่าไทยแน่นอน ค่าอยู่อีก TT

พี่ว่า พยายามเอาของไทยให้ได้ดีกว่านะ สู้ๆ
เปนกำลังใจให้ครับ
0
leonydaz 3 ก.พ. 56 เวลา 22:22 น. 3

จขกท. จะขอตอบข้อข้องใจเองจร้าาา

คห1) หาก รปริญญาตรีในสาขาที่เกี่ยวข้องอยู่แล้วในไทยก้ไปสมัครหมอ ป โท ต่างประเทศได้เลยจ้าา แต่อาจจะมีการสอบหรือสัมภาษณ์เพิ่มเติมนะ แล้วแต่มหาลัย ขั้นตอนก้เหมือนจบเศรษฐศาสตร์ไทยแล้วไปต่อบัญชีหรือบริหารเมืองนอกแบบนั้นแหละ

คห2) ใบประกอบโรคศิลป์ไม่ไช่ปัญหาเลยจ้าา เพราะทั้งโลกเขามีใบประกอบวิชาชีพสากลอยู่ที่จะเอามาใช้ที่ไหนก้ได้ เจ๋งกว่าใบประกอบโรคศิลป์ไทยเยอะ แถมหากไทยเข้าอาเซียน แนวโน้มที่ไทยจะต้องหันมาใช้ใงประกอบวิชาชีพแพทย์สากลนั้นมีสูงมาก คนที่จะลำบากจริงๆน่าจะเปนคนที่เรียนหมอไทยมากกว่านะ
(ปล. หมอใน รพ ดังๆบางคนไม่มีใบประกอบโรคศิลป์เสียด้วยซ้ำ มีแต่ใบสากล บาง รพ พวกบำรุงราษฏร เขารับแต่ใบสากลด้วยนะ ถ้าจำไม่ผิด)

0
So* cUte 4 ก.พ. 56 เวลา 00:19 น. 4
ไม่น่าใช่อ่ะ ใบสากลที่ว่ามันคืออะไรอะ ไม่เคยได้ยินจริงๆ ขอชื่อเต็มๆ ชื่อสากล ได้มั้ยครับ


ขนาดของอเมริกาเอง เค้ายังต้องสอบ USMLE เลยครับ ต้องผ่านก่อนถึงจะมีสิทธิเข้าทำงานในประเทศเค้า


ตอนนี้นะ ค่อนข้างแน่ใจว่า แพทย์ที่จะทำงานในไทยต้องสอบใบประกอบวิชาชีพของไทยผ่าน
ตอนนี้ของไทย

ลองเข้าไปอ่านนะ http://www.baanjomyut.com/library/law/172.html  พรบ. วิชาชีพเวชกรรม

มาตรา 4 เขียนว่า
"ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม" หมายความว่า บุคคลซึ่งได้ขึ้นทะเบียน และรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากแพทยสภา
"ใบอนุญาต" หมายความว่า ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม จากแพทยสภา
มาตรา 26 เขียนว่า

มาตรา 26 ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือแสดงด้วย วิธีใด ๆ ว่าพร้อมที่จะประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพ เวชกรรมตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) การประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่กระทำต่อตนเอง
(2) การช่วยเหลือเยียวยาผู้ป่วยตามศีลธรรมโดยไม่รับสินจ้างรางวัล แต่การช่วยเหลือเยียวยาดังกล่าวต้องมิใช่เป็นการกระทำทางศัลยกรรม การใช้ รังสี การฉีดยาหรือสสารใด ๆ เข้าไปในร่างกายของผู้ป่วย การแทงเข็มหรือ การฝังเข็ม เพื่อบำบัดโรคหรือระงับความรู้สึก หรือการให้ยาอันตราย ยาควบคุม พิเศษ วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทหรือยาเสพติดให้โทษ ตามกฎหมายว่าด้วย การนั้น แล้วแต่กรณีแก่ผู้ป่วย
(3) นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรม ในความควบคุมของ สถาบันการศึกษาของรัฐบาล สถาบันการศึกษาที่รัฐบาลอนุมัติให้จัดตั้ง สถาบัน ทางการแพทย์ของรัฐบาล สถาบันการศึกษาหรือสถาบันทางการแพทย์อื่นที่ คณะกรรมการรับรอง ที่กระทำการฝึกหัดหรือฝึกอบรมวิชาชีพเวชกรรม หรือ การประกอบโรคศิลปะภายใต้ความควบคุมของเจ้าหน้าที่ผู้ฝึกหัด หรือผู้ให้การ ฝึกอบรม ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือผู้ประกอบโรคศิลปะ
(4) บุคคลซึ่งกระทรวง ทบวง กรม กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นอื่น ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือสภากาชาดไทยมอบหมายให้ ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือประกอบโรคศิลปะในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือผู้ประกอบโรคศิลปะในสาขานั้น ๆ ทั้งนี้ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(5) ผู้ประกอบโรคศิลปะซึ่งประกอบโรคศิลปะตามข้อจำกัด และ เงื่อนไขตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ
(6) การประกอบวิชาชีพเวชกรรมของที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญของ ทางราชการซึ่งมีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของต่างประเทศ ทั้งนี้ โดยอนุมัติของคณะกรรมการ
(7) การประกอบโรคศิลปะของที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญของทาง ราชการ ซึ่งมีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะของต่างประเทศ ทั้งนี้ โดยอนุมัติของคณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ
มาตรา 27 ห้ามมิให้ผู้ใดใช้คำว่า แพทย์ นายแพทย์ แพทย์หญิง หรือ นายแพทย์หญิง หรือใช้อักษรย่อของคำดังกล่าว หรือใช้คำแสดงวุฒิการศึกษาทาง แพทยศาสตร์ หรือใช้อักษรย่อของวุฒิดังกล่าวประกอบกับชื่อหรือนามสกุลของตน หรือใช้คำหรือข้อความอื่นใดที่แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ เวชกรรม ทั้งนี้ รวมถึงการใช้ จ้าง วาน หรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำดังกล่าว ให้แก่ตน เว้นแต่ผู้ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรในวิชาแพทยศาสตร์
มาตรา 28 ห้ามมิให้ผู้ใดใช้คำหรือข้อความที่แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตน เป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาต่าง ๆ ทั้งนี้ รวมถึงการใช้ จ้าง วาน หรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำดังกล่าวให้แก่ตน เว้นแต่ ผู้ได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ เวชกรรมสาขานั้น ๆ จากแพทยสภาหรือที่แพทยสภารับรองหรือผู้ประกอบวิชาชีพ เวชกรรมผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนดในข้อบังคับแพทยสภา

 มาตรา 43 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 26 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


ตอนนี้ของไทยนะ เห็นมีแค่เปลี่ยนกฎเกณฑ์ใช้ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งจะเริ่มใช้ปีนี้ปีแรกและอีกสองปีข้างหน้าจะปรับเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด
กรณีรพ บำรุงราษ (ซึ่งเป็นเครือของ รพ กรุงเทพ)ที่คห3 บอก ไม่น่าใช่มั้ง น่าจะเป็นแค่ที่ปรึกษาไม่ก็รับเชิญมาเป็นราย case มั้ง ไม่ทราบเหมือนกัน แต่ถ้าจะมาทำงานที่ไทยจริงๆ ยังคงต้องสอบใบประกอบของไทย


ไม่งั้นแพทยสภาจะปรับให้ข้อสอบเป็นภาษาอังกฤษทำไม ถ้าใบสากลอะไรนั้นมันใช้ได้จริง
ที่ปรับเป็นภาษาอังกฤษเนี่ยก็จะรองรับ AEC เพราะแพทย์เป็นหนึ่งในอาชีพที่จะมีการเคลื่อนย้ายได้



ครับ!



แต่จะว่าไปจิงๆนะ การสอบเข้ามาคณะแพทยศาสตร์เนี่ยเป็นการสอบที่เบาที่สุดในชีวิตแพทย์แล้วล่ะ
แพทย์ประเทศไทยแม้จะดูไม่เท่าแพทย์ของประเทศพัฒนาแล้ว แต่ก็ไม่ใช่สอบเข้าง่ายๆนะ  ถูกมั้ย????
ก็ตั้งใจและพยายามกันหน่อยละ


แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2556 / 00:10
แก้ไขครั้งที่ 2 เมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2556 / 00:21
0

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

มีเนื้อหาไม่เหมาะสม

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

มีเนื้อหาไม่เหมาะสม

NONAME 30 มี.ค. 56 เวลา 16:10 น. 7

ใบประกอบ สากล&nbsp สามรถใช้ได้ทั่วโลกครับ คือประมาณ U- smle นั้นเเหละมันสามารถใช้ได้ทั่วโลกจริง

เเต่โรงพยาบาลในไทยนะครับเค้าก็ไม่ใช่จะรับเเต่ใบประกอบสากลนะครับ&nbsp จหกท ลองคิดดู ว่าเค้าจะรับทำไมในเมื่อ คนไทยพูดภาษาไทย ไม่ใช่อังกฤษนะครับ จริงอยู่ว่าโรงพยาบาลที่จหกท กล่าวมา ค่ารักษาเเพงเเละเป็นอินเตอร์ เเต่หมอในประเทศไทยก็ไม่ใช่ว่าจะโง่อังกฤษนะครับ ส่วนใหญ่ขึ้นปีสูงๆก็อ่าน text เป็นอังกฤษหมดอยู่เเล้ว ดังนั้น การที่เค้าจะรับใบสากล เท่ากับรับต่างชาติถูกไหม มีคนไทยสักกี่คนที่จะจบ เเถมโรคที่เรียนจากต่างประเทศ กับโรคที่ไทยก็เเตกต่างกันอีก ยกเว้น สาขาเฉพาะทางนะครับ เเล้วไม่จริงเลยที่โรงพยาบาล ที่ จหกท กล่าวมาจะรับเเต่สากล เพราะในนั้นเเพทย์ รามา ศิริราช&nbsp เยอะมากครับเกือบ 80 % เลย

0

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

นำรูปถ่าย หรือข้อมูลของผู้อื่น ที่มิได้เป็นบุคคลสาธารณะมาลง โดยที่เจ้าตัวไม่ยินยอม หรือมีลงเบอร์โทรศัพท์/ที่อยู่จริง

Dr Suthipong 14 พ.ค. 56 เวลา 15:42 น. 9

กระทู้นี้ให้ข้อมูลที่ผิดพลาดมากๆ น้องๆที่มาอ่านคงต้องตรวจสอบมากๆ...ส่วนตัวไม่สนับสนุนการเรียนแพทย์เมืองนอกครับหากคิดทำงานในไทย โอกาสเสียเวลาและเสียเงินเปล่ากว่า 10&nbsp ปีสูงมาก..

0
Dr Suthipong 14 พ.ค. 56 เวลา 17:36 น. 10

สำหรับบาง รพ เอกชนเช่น บำรุงราษฎร์ จะจ้างแพทย์จบตปทนี้
มาทำงานประสานงานกับคนไข้ต่างชาติ แต่ออกตรวจไม่ได้ ที่เราเห็นบางครั้งเดินไปเดินมาใส่เสื้อกาวน์นั่น เอาไว้ให้ดูเรียบร้อยเท่านั้น

จะเรียนอะไรคิดยาวๆถึงเรื่องการทำงานด้วยว่าจะทำได้ไหม ไม่ใช่ว่าไปเรียนแล้วทำงานได้เลย

0