Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

สุภาษิตสำนวนไทย

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

สุภาษิตสำนวนไทย

         สุภาษิตสำนวนไทย เป็นเรื่องหนึ่งของภาษาไทย นั่นก็เพราะว่า เป็นคำพูดที่สละสลวยและมีความคมคายกว่าคำพุดธรรมดาๆทั่วไป โดยมักเป็นคำที่รวมคำพูดยาวๆไว้ให้สั้นลง และยังเป็นถ้อยคำที่เป็นคำกล่าวอันดีงามที่มุ่งไปในทางที่จะสั่งสอน แนะนำให้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ หรือละเว้นจากการทำความชั่ว โดยมักเป็นถ้อยคำสั้นๆ ที่กะทัดรัด โดยปรกติ ในชีวิตประจำวัน เรามักเจอกับสำนวนสุภาษิตอยู่ตลอดเวลา เช่น ที่บ้าน ที่วัด ที่โรงเรียน และในหนังสือ เป็นต้น
ความหมายของสุภาษิตสำนวนไทย
         สำนวน ตามความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานสถาน  หมายถึง คำกล่าวที่มีความคมคาย กะทัดรัดงดงาม ฟังดูไพเราะจับใจ เป็นคำที่รวมเนื้อหายาวๆให้สั้นลง เป็นคำที่ถ้อยคำสั้นแต่มีความหมายลึกซึ้ง
         สุภาษิต ตามความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานสถาน  หมายถึงคำกล่าวที่ดีงาม มักเป็นคำสั่งสอน แนะนำให้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ หรือละเว้นจากการทำความชั่ว เป็นต้น  ดังนั้น สุภาษิตสำนวนไทย สรุปก็ คือ คำที่มุ่งสั่งสอนให้ ปะพฤติดี โดยเป็น คำสั้นๆ มีความคมคาย ไพเราะ น่าฟัง
ความสำคัญของสุภาษิตสำนวนไทย
         สุภาษิตสำนวนไทย เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่า สะท้อนให้เห็นความคิด ความเชื่อ ค่านิยมของสังคมไทยที่สั่งสมสืบทอดกันมาในอดีต สมควรที่จะให้เยาวชนรุ่นหลังได้ทำการศึกษาค้นคว้า และใช้เป็นแนวทางในการประพฤติ ปฏิบัติ ตนเพื่อ การที่จะสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข ซึ่งในปัจจุบันได้มีการกล่าวถึงและนำสุภาษิตสำนวนไทยดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานต่างๆ อย่างกว้างขวาง ละสอดคล้องกับหลักธุรกิจและเศรษฐกิจ  สำหรับสุภาษิตสำนวนไทยนั้น มีรากฐานมาจากแนวคิดทางพระพุทธศาสนา และมีส่วนที่มาจากประสบการณ์ในการดำรงชีวิตประจำวันบ้าง ปรัชญาไทยที่ปรากฏผ่านสุภาษิตส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของการประกาศหลักการดำรงชีวิต คำพังเพย เป็นคำกลางๆ มิได้สอนโดยตรง แต่มีลักษณะการแสดงออกของความเป็นจริง เพื่อให้เหมาะสมแก่การนำไปใช้กับเรื่องหรือสถานการณ์นั้นๆ เช่น น้ำขึ้นให้รีบตัก,วัวหายล้อมคอก, ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ,ตีวัวกระทบคราด เป็นต้น และแม้กระทั่ง ”อริสโตเติล” นักปรัชญาผู้ยิ่งใหญ่ชาวกรีก(ในช่วง 322-384 ปีก่อนคริสตกาล )เชื่อว่า”สุภาษิตเป็นเศษที่ตกค้างของปรัชญาของคนในสมัยโบราณ และตกเหลือถึงเราได้ เพราะมันเป็นคำพูดที่มีเหตุผล มีเนื้อความกะทัดรัด และคมคาย” สุภาษิตสำนวนไทย ยังมีเสน่ห์ มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยการดึงเอาสิ่งที่อยู่รอบตัวมาเปรียบเทียบดังนั้น เราอาจพูดได้ว่า สุภาษิตสำนวนไทยมีความผูกพันกับเราอย่างใกล้ชิด และยังให้ข้อคิด คติสอนใจอีกด้วย
ลักษณะนิสัยของคนไทยกับการใช้สุภาษิตสำนวนไทย
         เป็นที่ทราบกันดีว่า”คนไทยนั้น เป็นพวกเจ้าบท เจ้ากลอน จะพูดจาสั่งสอนใคร ก็มักนำเอาสุภาษิตสำนวน หรือคำพังเพย ที่พูดกันต่อๆมาแต่โบร่ำ โบราณ มาเปรียบเทียบ เปรียบเปรยเสมอ” ซึ่งคำเหล่านี้มักจะเป็นคำพูดที่คล้องจองกัน ทำให้จดจำได้ง่าย และสามารถมองเห็นภาพได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น สมัยก่อนมีการนำเอาสุภาษิตสำนวนไทยมาใช้ในการสั่งสอนลูกศิษย์ ลูกหา หรือแม้แต่ที่จะนำมาใช้ในการเกี๊ยวพาราสีกัน ทำให้คนไทยเรานั้น ได้รู้สึกว่าคุ้นเคย และผูกพันกับสุภาษิตสำนวนไทยมาโดยตลอด อีกทั้งสุภาษิตสำนวนไทยยัง เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เราเห็นความคิด ความเชื่อ วิถีชีวิตของคนไทย และยังเป็นค่านิยมที่สั่งสมกันมาในอดีต แม้ว่าปัจจุบันสุภาษิตสำนวนไทย ก็ยังเป็นที่เห็นกันบ่อย เช่น ใน วัด จักจะสอนให้คนที่เข้าไปรู้จักบาป บุญ คุณโทษ รู้จักรักษาศีล หรือยามที่ผู้อาวุโสน้อยกว่าเข้าไปทักทายก็ยังมีคำตอบรับที่เป็นสำนวนอยู่เนื่องๆ เช่น ไหว้พระเถอะลูก 

         แม้ในคำที่ใช้ในการต่อว่าผู้อื่นก็ยังมีสุภาษิตสำนวนไทยเข้ามาปะปน หรือ สอดแทรกอยู่ด้วย เช่น”กินบนเรือน ขี้บนหลังคา  แปละว่า การที่เนรคุณต่อผู้มีพระคุณ เป็นต้น  ”โดยทั่วไปแล้วคนไทยตั้งแต่โบราณมาจนถึงปัจจุบัน มักจะไม่ชอบแสดงความคิด หรือโลกทัศน์ผ่านทางตัวหนังสือ หรือการถกเถียง แต่มักชอบแสดงออกผ่านทางคำพูดตามสถานการณ์ ที่เป็นไปในชีวิตประจำวัน และจะไม่มีรูปแบบที่ตายตัว รูปแบบของคำพูดจะเป็นไปตามความเหมาะสม มักเป็นคำพูดที่สละสลวย เป็นโวหารที่คมคาย มีความสนุกขบขัน สอดแทรกคำสอนที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน
การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

         ในการนำสำนวนสุภาษิตไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีหลายอย่างเพื่อความเหมาะสมต่อสถานการณ์ โดยควรเลือกจากความหมายที่คล้องจอง อาทิ 
ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง   แปลว่า  คนเราจะสวย,หล่อได้ก็ด้วยการรู้จักแต่งตัว
กินบนเรือน  ขี้บนหลังคา  แปลว่า  คนที่เนรคุณต่อผู้มีพระคุณ
กว่าถั่วจะสุก งาก็ไหม้  แปลว่า  การที่ทำอย่างใดเสร็จแล้วอย่างหนึ่ง แต่ก็เสียอย่างหนึ่ง
กินอยู่กับปาก อยากอยู่กับท้อง  แปลว่า  รู้ตัวเอง(ประชดประชัน)
กิ้งก่าได้ทอง  แปลว่า  คนที่ได้ดีแล้วลืมตัว
ไก่แก่ แม่ปลาช่อน  แปลว่า  หญิงสาวที่มีอายุแล้ว แต่มีเล่ห์เหลี่ยมแพรวพราว
ใกล้เกลือ กินด่าง   แปลว่า  อยู่ใกล้สิ่งที่ดีๆ แต่กลับไปนำสิ่งอื่นมาแทน,ใกล้ของดี แต่ไม่ได้กิน
กิ่งทอง ใบหยก  แปลว่า  มีฐานะที่เหมาะสมกัน ,ควรคู่กัน
ขิงก็รา ข่าก็แรง  แปลว่า  ต่างฝ่ายต่างไม่ยอมให้กัน
ไข่ในหิน  แปลว่า   ของที่ระมัดระวังอย่างมาก,ทะนุทะหนอมอย่างดี
คางคกขึ้นวอ  แปลว่า  คนถ่อย หรือต่ำช้า
คอตก  แปลว่า  ผิดหวังอย่างยิ่ง
คิดบัญชี  แปลว่า  การแก้แค้น การเอาคืน
งูกินหาง  แปลว่า   พัวพันกันนุงนัง ไม่จบสิ้น
เงาตามตัว  แปลว่า  ติดตามไปทุกที่ ทุกหนแห่ง
ใจปลาซิว  แปลว่า  ไม่อดทน ใจเสาะ ไม่กล้า
เจ้าชู้ ประตูดิน  แปลว่า  คนที่เจ้าชู้ไม่เลือกหน้า
เฉโก   แปลว่า  คนที่ฉลาดแกมโกง
ฉิบหาย ขายตน  แปลว่า  การล่มจม
ชักใบให้เรือเสีย  แปลว่า  ทำให้เสียงานเสียการ
ชักธงขาว  แปลว่า  ยอมแพ้
ชี้โพรงให้กระรอก  แปลว่า  การที่ชี้ชิองทางให้คนทำผิด
ซุ่มคม  แปลว่า  ซ่อนความฉลาดเอาไว้ไม่อวดดี
ซื่อตรง จงรัก  แปลว่า  ซื่อสัตย์ ภักดี
รักพี่ เสียดายน้อง  แปลว่า  การได้อย่างหนึ่งแล้วเสียดายอีกอย่างหนึ่ง
ดาวล้อมเดือน  แปลว่า   ผู้ที่มีบริวารมาก ดั่งดวงดาวที่ล้อมดวงจันทร์
ได้หน้า ได้ตา  แปลว่า  มีชื่อเสียง เกียรติยศ
เต่าใหญ่  ไข่กลบ  แปลว่า  การทำความผิดแล้วอำพราง
ตักน้ำรดหัวตอ  แปลว่า  การพูดไปโดยที่เปล่าประโยชน์
ตาบอดได้แว่น  แปลว่า  ได้สิ่งที่ไร้ประโยชน์มา
ถึงพริกถึงขิง  แปลว่า   ดุเดือด รุนแรง
ถอนรากถอนโคน  แปลว่า  การทำลายให้หมดสิ้น
ถึงลูกถึงคน  แปลว่า   รุนแรง
ทิ้งไพ่ ตัวเกร็ง  แปลว่า   หวังที่จะชนะแน่นอน
ทรัพย์ในดิน สินในน้ำ  แปลว่า  ความอุดมสมบูรณ์
ทุบหม้อข้าวตัวเอง  แปลว่า  ทำลายอาชีพ ของตนเอง
น้ำท่วมปาก  แปลว่า  พูดไม่ออก บอกไม่ถูก
น้ำนิ่งไหลลึก  แปลว่า  คนที่เงียบๆมักมีความคิดลึกซึ้ง
บ้านเมืองมีขื่อ มีแปร  แปลว่า  บ้านเมืองย่อมมีกฎหมายปกครอง
บุญทำ กรรม แต่ง  แปลว่า  โชค พรหมลิขิต
ปลูกเรือนค่อมตอ  แปลว่า  แต่งงานกับชายที่มีเจ้าของแล้ว
ปากร้าย ใจดี  แปลว่า  ดุด่า แต่มีเมตตา
ปากหอย ปากปู  แปลว่า  นินทาเรื่องเล็กๆน้อยๆ
ผงเข้าตา  แปลว่า   มีเรื่องเดือดร้อนเกิดขึ้นกับตนอง
ผีถึงป่าช้า  แปลว่า  จำต้องทำ ,ด้วยความจำใจ
พุ่งหอกเข้ารก  แปลว่า  ทำการโดยหาประโยชน์ อันใดมิได้
เพชรตัดเพชร  แปลว่า  คนเก่งกับคนเก่งมาแข่งขันกัน ,เผชิญหน้ากัน
เพชรร้าว  แปลว่า  หญิงสาวที่ไม่บริสุทธิ์ แล้ว
พูดจนลิงหลับ  แปลว่า  พูดเก่งจนผู้ฟังเคลิ้ม
ฟังความข้างเดียว  แปลว่า  รับรู้ข้อมูลจากฝ่ายเดียวแล้วจึงตัดสิน,ลำเอียง
มดแดงแฝงมะม่วง  แปลว่า  ไม่ได้ประโยชน์จากสิ่งที่อยู่
ยาจกเห็นใจเศรษฐี  แปลว่า   ทำอะไรก็เห็นว่าดี,ถูกต้อง
รักษาตัวรอด เป็นยอดดี  แปลว่า  รู้จักเอาตัวรอด ไม่อับจนง่ายๆ
เลือดย่อมเข้มกว่าน้ำ  แปลว่า  พี่น้องย่อมดีกว่าคนอื่น
สวยแต่รูป จูบไม่หอม  แปลว่า  รูปร่างดี แต่ขาดคุณสมบัติ
หาเหาใส่หัว  แปลว่า  ทำความเดือดร้อน หาความเดือดร้อนมาใส่ตัวเอง
งมเข็มในมหาสมุทร  แปลว่า  ทำในสิ่งที่สำเร็จได้ยาก
ชักแม่น้ำทั้งห้า  แปลว่า  พยายามพูดจาหว่านล้อม
ชุบมือเปิบ   แปลว่า  ฉกฉวยโอกาส ฉกเอาผลประโยชน์โดยที่ไม่ทำอะไรเลย
เฒ่าหัวงู   แปลว่า  คนมีอายุที่มักมากและมีเล่ห์เหลี่ยมในกาม
ได้ทีขี่แพะไล่  แปลว่า  ไล่ซ้ำเติมคนอื่น
ตัดไฟแต่ต้นลม  แปลว่า  จัดการเสียแต่เนิ่นๆ
เถรส่องบาตร แปลว่า  ทำอะไรตามผู้อื่นโดยที่ไม่รู้เรื่อง
ทำนาบนหลังคน  แปลว่า  หาผลประโยชน์ จากความยากลำบากของผู้อื่น
บัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น  แปลว่า  ไม่ให้กระทบกระเทือน
เบี้ยน้อย หอยน้อย  แปลว่า  มีเงินน้อย
ปลาใหญ่กินปลาเล็ก  แปลว่า  มีอำนาจแล้วข่มเหงผู้ที่อ่อนแอกว่า
ปอกกล้วยเข้าปาก  แปลว่า   ของง่ายๆ
เอามะพร้าวห้าวไปขายสวน  แปลว่า  แสดงความรู้ อวดเก่งต่อหน้าคนที่มีความรู้เรื่องนั้นๆมากกว่าตน
         นอกจากนี้ยังมีสุภาษิตสำนวนไทยอีกมากมาย ซึ่งสามารถค้นหาได้ทั่วไปทั้งจากทาง Internet
และหนังสือต่างๆ เป็นต้น
 
ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาค้นคว้า
         1.ทำให้เรียนรู้และเข้าใจความหมายของสุภาษิตสำนวนไทย และยังได้รู้จักสุภาษิตสำนวนไทยที่ยังไม่เคยพบหรือได้ยิน
         2.ทำให้ได้คติสอนใจในด้านต่างๆ เช่น
- การเรียน ตัวอย่าง “รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม”  หรือ “ฝนทั่งให้เป็นเข็ม”และ “ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด”
- การคบค้าสมาคม ตัวอย่าง “คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ” หรือ “คบเด็กสร้างบ้าน คบหัวล้านสร้างเมือง”
- การครองเรือน ตัวอย่าง “ ความในอย่านำออก ความนอกอย่านำเข้า” หรือ “ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่  ปลูกอู่ตามใจผู้นอน”
- ความรัก เช่น “รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ” หรือ “รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี”
         3.ทำให้ทราบความเป็นอยู่ของคนในสังคมสมัยนั้นๆว่า มีความเป็นอยู่อย่างไร เช่น “อัฐยายซื้อขนมยาย”  “แบ่งสันปันส่วน”  “หมู่ไปไก่มา”เป็นต้น
         4.เป็นการรักษามรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าไว้ให้ชนรุ่นหลังได้ภาคภูมิใจ 
ข้อเสนอแนะในการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
        1.ควรศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ สุภาษิตสำนวนไทยให้มากขึ้นจากแหล่งที่มาต่างๆ
         2.ควรนำสุภาษิตสำนวนไทยในวรรณคดีไทย มาเสริมเนื้อหาในส่วนต่างๆ เช่น สุภาษิตสอนหญิง และในวรรณคดีอื่นๆ
        3.ควรที่จะศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับสำนวนไทยที่มีอยู่ใน  โวหาร โคลง กาพย์ กลอน ที่เกี่ยวข้องควบคู่ไปด้วย

ค้นหาเพิ่มเติมได้จาก
 1.ไม่ทราบชื่อ.สำนวนไทย.(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก:
http://school.obec.go.th/thai_rajpracha30/supasit1.htm
2.ไม่ทราบชื่อ.สำนวน สุภาษิตไทยไทย.(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก: http://www.baanjomyut.com_2/thai_proverd_proverbial_aphorism/Index.html
3.ไม่ทราบชื่อ.”สุภาษิต คำพังเพย” .(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก:http://www.trirplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id =1245
4.กระปุก. “สุภาษิต สำนวนไทย”.(ออนไลน์).เข้าถึงได้จากhttp://hilight.kapook.com/view/68531
5.บ้านจอมยุทร. “สำนวนไทย”.(ออนไลน์).เข้าถึงได้จากhttp://www.baanjomyut.com/library_2/thai_proverb_proverbial_aphorism/index.html
 

 
 
 

 
       

แสดงความคิดเห็น

>

11 ความคิดเห็น

marv 12 ก.พ. 56 เวลา 21:44 น. 1

ดีจังนะ ขอไปท่องบ้างไว้ทำข้อสอบปลายภาค
บางสำนวนก็ยังไม่เคยได้ยิน แถมแปลยากอีกต่างหาก
ขอบคุณ
PS.  รักนิรันดร์
0
Pingtarn 10 มี.ค. 59 เวลา 12:32 น. 7
เนื้อหาดีมากกกก
ช่วยหาเรื่อง สำนวนไทยโบราณ เเละสำนวนไทยปัจจุบัน ให้หน่อยได้ป่าวค่ะ
0