Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ความเป็นมนุษย์นี้แล นับว่าเป็นการไปสุคติของเทพทั้งหลาย

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

ความเป็นมนุษย์นี้แล นับว่าเป็นการไปสุคติของเทพทั้งหลาย  ขุททกนิกาย อิตอวุตตก ๒๕/(๒๖๑-๒๖๒)

[๒๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด เทวดาเป็นผู้จะต้องจุติจากเทพนิกายเมื่อนั้น นิมิตร ๕ ประการ ย่อมปรากฏแก่เทวดานั้น คือ ดอกไม้ย่อมเ่ยวแห้ง ๑ผ้าย่อมเศร้าหมอง ๑

เหงื่อย่อมไหลออกจากรักแร้ ๑ ผิวพรรณเศร้าหมองย่อมปรากฏที่กาย ๑ เทวดาย่อมไม่ยินดีใน

ทิพอาสน์ของตน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายเทวดาทั้งหลายทราบว่า เทพบุตรนี้จะต้องเคลื่อนจาก

เทพนิกาย ย่อมพลอยยินดีกะเทพบุตรนั้นด้วยถ้อยคำ ๓ อย่างว่า แน่ะท่านผู้เจริญ ขอท่านจาก

เทวโลกนี้ไปสู่สุคติ ๑ ครั้นไปสู่สุคติแล้ว ขอจงได้ลาภที่ท่านได้ดีแล้ว ๑ ครั้นได้ลาภที่ท่าน

ได้ดีแล้ว ขอจงเป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยดี ๑ ฯ

พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐ-ธรรมบท-อุทาน-อิตอวุตตก-สุตตนิบาต - หน้าที่ 225

        [๒๖๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามว่าข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นส่วนแห่งการไปสู่สุคติของเทวดาทั้งหลายอะไรเป็นส่วนแห่ง

ลาภที่เทวดาทั้งหลายได้ดีแล้ว อนึ่ง อะไรเป็นส่วนแห่งการตั้งอยู่ด้วยดีของเทวดาทั้งหลาย

พระเจ้าข้า ฯ

        พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นมนุษย์แล เป็นส่วนแห่งการไปสู่

สุคติของเทวดาทั้งหลาย เทวดาเกิดเป็นมนุษย์แล้ว ย่อมได้ศรัทธาในธรรมวินัยที่พระตถาคต

ประกาศแล้ว นี้แลเป็นส่วนแห่งลาภที่เทวดาทั้งหลายได้ดีแล้ว ก็ศรัทธาของเทวดานั้นแล

เป็นคุณชาติตั้งลง มีมูลเกิดแล้วประดิษฐานมั่นคง อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม

หรือใครๆ ในโลก พึงนำไปไม่ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นส่วนแห่งการตั้งอยู่ด้วยดี

ของเทวดาทั้งหลาย ฯ

        เมื่อใด เทวดาจะต้องจุติจากเทพนิกายเพราะความสิ้นอายุเมื่อนั้น

        เสียง ๓ อย่างของเทวดาทั้งหลายผู้พลอยยินดีย่อมเปล่งออกไปว่า

        แน่ะท่านผู้เจริญ ท่านจากเทวโลกนี้ไปแล้วจงถึงสุคติ จงถึงความเป็น

        สหายแห่งมนุษย์ทั้งหลายเถิดท่านเป็นมนุษย์แล้ว จงได้ศรัทธาอย่างยิ่ง

        ในพระสัทธรรมศรัทธาของท่านนั้นพึงเป็นคุณชาติตั้งลงมั่น มีมูลเกิด

        แล้วมั่นคงในพระสัทธรรมที่พระตถาคตประกาศดีแล้ว อันใครๆพึงนำไป

        มิได้ตลอดชีพ ท่านจงละกายทุจริต วจีทุจริตมโนทุจริต และอย่า

        กระทำอกุศลกรรมอย่างอื่นที่ประกอบด้วยโทษ กระทำกุศลด้วยกาย

        ด้วยวาจาให้มาก กระทำกุศลด้วยใจหาประมาณมิได้ หาอุปธิมิได้

        แต่นั้นท่านจงกระทำบุญอันให้เกิดสมบัตินั้นให้มาก ด้วยทาน แล้วยัง

        สัตว์แม้เหล่าอื่นให้ตั้งอยู่ในพระสัทธรรม ในพรหมจรรย์ เมื่อใด

        เทวดาพึงรู้แจ้งซึ่งเทวดาผู้จะจุติ เมื่อนั้น ย่อมพลอยยินดีด้วยความ

        อนุเคราะห์นี้ว่า แน่ะเทวดา ท่านจงมาบ่อยๆ ฯ

         จบสูตรที่ ๔

การเกิดเป็นเทวดาที่มีอายุยืนยาว  ท่านถือว่าเป็นการเสียหรือพลาดโอกาสอย่างหนึ่งในการประพฤติพรหมณ์จรรย์

แสดงความคิดเห็น

>