Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ร้านหนังสือกาลครั้งหนึ่ง อุทัยธานี อุดมคตินักอ่านสู่เจ้าของร้านหนังสือเล็กๆ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

ร้านหนังสือกาลครั้งหนึ่ง อุทัยธานี

อุดมคตินักอ่านสู่เจ้าของร้านหนังสือเล็กๆ

แม่น้ำสะแกกรังไหลเอื่อยเฉื่อยในวันอากาศดี แดดไม่เริงร้อ

นจนแผดเผา ณ ใจกลางเมืองอันสุขสงบในทางภาคกลา

เยื้องไปทางตะวันตกของประเทศ อำเภอเมืองอุทัยธานี

กรุ่นกลิ่นกาแฟจากร้านหนังสือเล็กๆ ของที่นี่ดูจะหอมหวน

ชวนให้ดื่มเป็นพิเศษ แกล้มกับหนังสือดีๆ จากร้านนี้สักเล่ม

เพลิดเพลินกับการอ่านได้ไปครึ่งค่อนวัน

            นั่นอาจจะเป็นมุมมองของผู้มาเยือนหรือลูกค้าที่ผ่านมาจากเมืองหลวง ที่ชอบบรรยากาศของร้านหนังสืออิสระขนาดเล็กของ

จังหวัดเล็กๆ แต่ผู้ประกอบการตัวจริงที่วิ่งไล่ตามความฝันของตัวเอง ในฐานะเจ้าของร้านหนังสือขนาดกะทัดรัดจะเป็นอย่างไรในเชิงธุรกิจที่จะต้องทำ ให้ได้ดุลยภาพกับความฝัน

            ร้านหนังสือกาลครั้งหนึ่ง อุทัยธานี ซึ่งมีเจ้าของเป็นชายหนุ่มที่เป็นนักอ่าน นักเขียน และนักฝัน วุฐิศานติ์ จันทร์วิบูล จะมาบอกเล่าถึงร้านหนังสือของเขาที่เปิดมา 2 ปีกว่าๆ ตั้งแต่ปี 2553 จนถึงวันนี้ว่าเป็นอย่างไร เพื่อเป็นต้นทางความฝันให้กับคนตัวเล็กๆ ที่อยากเป็นเจ้าของร้านหนังสือ

อิสระเล็กๆ ในจังหวัดเล็กๆ ได้เรียนลัดเพื่อจะอยู่รอดในโลกธุรกิจที่ไม่สวยงามนักสำหรับคนทุนน้อย.

+ ร้านหนังสือเล็กๆ ที่อยู่ในจังหวัดเล็กๆ อย่างอุทัยธานี มีแนวคิดเริ่มต้นอย่างไร

ความคิดเริ่มแรกคือ ผมอยากทำร้านหนังสือที่มีส่วนผสมของเครื่องดื่มพวกชา กาแฟ และร้านขายของที่ระลึกอยู่ด้วยกัน แต่แน่นอนเราอยากให้มีหนังสือเป็นหลัก อย่างอื่นเป็นส่วนในการช่วยเติมสีสันให้กับร้าน ผมคิดเรื่องการทำร้านอยู่ 1 ปี ก่อนที่จะออกจากงานกองบรรณาธิการที่นิตยสารสานแสงอรุณ

ช่วงนั้นผมก็อาศัยวันว่างชวนนุช (นุชจรีย์ มณีจักร หุ้นส่วนชีวิตและหุ่นส่วนร้าน) ไปเที่ยวตามตลาดเก่า ตลาดน้ำ ตลาดโบราณ พร้อมๆ กับมองหาทำเลการทำร้านหนังสือไปด้วย เพราะผมคิดว่าการทำร้านหนังสืออย่างเดียว สำหรับตัวเองแล้วคงจะอยู่ค่อนข้างลำบาก เพราะเราไม่ใช่คนมีสะตุ้งสตางค์อะไรมากนัก ที่มีมากก็น่าจะเป็นความฝันที่เราอยากลองทำให้มันเป็นจริงขึ้นมาเท่านั้น จึงมองว่าหากร้านหนังสือของเราตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวด้วย ก็น่าจะเป็นการเพิ่มโอกาสรอดให้กับร้านมากขึ้น

กว่าจะมาถึงอุทัยธานี เราก็ไปดูไปเห็นหลายที่หลายแห่ง โดยเฉพาะช่วงหลังออกจากงานแล้ว ผมเตร็ดเตร่ไปตามเมืองริมฝั่งแม่น้ำ เพราะผมชอบแม่น้ำ เรียกได้ว่าเอาแผนที่ประเทศไทยออกมากางแล้วดูว่าจังหวัดไหนอยู่ติดแม่น้ำก็ เลือกที่จะไปดูไปหาที่ทำร้านในจังหวัดนั้น ตอนนั้นผมตั้งหมุดหมายไว้คือ เป็นเมืองเล็กๆ มีแม่น้ำไหลผ่าน อยากได้เป็นอาคารไม้ ประตูบานเฟี้ยมอะไรประมาณนี้แหละ ก็เดินทางเลาะไปตามเมืองริมฝั่งแม่น้ำโขงจากเขมราฐขึ้นไปจนถึงเชียงคาน รอบสองเลาะตามริมโขงจากเลย ผ่านหนองคาย โอ๊ย! เมืองนี้ผมโดนหมากัดแทบตาย แล้วมานครพนมจนถึงมุกดาหาร สายเหนือขึ้นไปน่าน ลำพูน สุโขทัย และอีกหลายจังหวัด เรียกได้ว่าไปจนทั่วร้อยเอ็ดเจ็ดย่านน้ำ จนมีน้องคนหนึ่งโทร.มาไถ่ถามว่าหาที่ทำร้านได้หรือยัง จากนั้นจึงแนะนำเมืองเล็กๆ ริมฝั่งแม่น้ำที่อุทัยธานี  พอมีโอกาสได้มาดูก็ โอ๊ะ! นี่มันเมืองในฝันของเราเลย

ครั้งแรกมาอุทัยธานี ผมใช้เวลาเดินทาง 4-5 ชั่วโมง เพราะไปขึ้นรถ บขส.จากสถานีหมอชิต มาลงที่สถานีขนส่งชั่วคราว พอมาถึงก็จับทิศจับทางเดินเข้าหาแม่น้ำทันที ทันทีที่แม่น้ำสะแกกรังปรากฏอยู่ตรงหน้า แสงแห่งยามเย็นสะท้อนประกายวิบวับกับผืนน้ำ เรือนแพจอดเงียบสงบริมฝั่ง ผมโคตรจะตื่นเต้นเลยว่ายังมีแม่น้ำอย่างนี้เหลืออยู่อีกหรือ พอมาถึงตลาดริมฝั่งแม่น้ำ มองเห็นวัดโบสถ์ทรงยุโรปตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่บนฝั่งตรงข้าม ผู้คนยิ้มแย้มทักทาย อาคารบ้านเรือนส่วนใหญ่เป็นห้องแถวไม้สองชั้น ประตูบานเฟี้ยม อะโห! ผมรู้สึกว่ามันน่าถูกใจไปเสียหมด อยากกดไลค์เป็นร้อยครั้ง ยิ่งตอนนั้นเขาเริ่มทำถนนคนเดินที่ตรอกโรงยา เราก็มองว่าที่นี่มีศักยภาพที่จะเป็นเมืองท่องเที่ยวได้สบาย และไม่ไกลจากกรุงเทพฯมากด้วย

แต่ตอนนั้นผมก็ยังไม่ตัดสินใจเสียทีเดียว เพราะมีตัวเลือกที่สุโขทัยอีกที่หนึ่งอยู่ติดเมืองเก่าเลย แต่พอคืนนั้นผมนอนที่โรงแรมในตัวเมือง ตกดึกได้ยินเสียง ก๊อง ก๊อง ก๊อง ก๊อง คนยามตีเกราะบอกเวลา เสียงแห่งวัยเยาว์ที่ผมไม่ได้ยินมาเกือบ 30 ปีแล้ว แต่กลับมาดังอยู่ที่นี่อีกครั้ง เพียงได้ยินเสียงคนยามตีเกราะ ผมก็เทใจให้อุทัยธานีเสียแล้ว หลงรักจนถอนตัวไม่ขึ้น และเลือกที่จะเปิดร้านหนังสือเล็กๆ ในเมืองเล็กๆ แห่งนี้ โดยที่ไม่รู้ว่าอุทัยธานีมีประชากรกี่คน มีมหาวิทยาลัยหรือไม่ เรียกได้ว่าไม่รู้อะไรเกี่ยวกับอุทัยธานีเลยจริงๆ

 ที่มา : สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น
 เว็บไซต์ : www.praphansarn.com
 อ่านต่อ : http://www.praphansarn.com/คนสร้างร้านหนังสือ/article/1101



แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 19 เมษายน 2556 / 08:50

แสดงความคิดเห็น

>