Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

P4P สังคมไทยคิดยังไง ทำร้ายหมอขนาดนี้ (ซ้ำขออภัยครับ)

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

ต้องออกตัวก่อนว่า จขกท. เป็นว่าที่นักศึกษาแพทย์ แล้วได้อ่าน http://drama-addict.com/2013/03/27/%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%94%E0%B8%B3/         แล้วรู้สึกแย่ อยากดร่าม่าขึ้นมาตงิดๆ เพราะเว็ปไซต์ดังกล่าวได้นำเสนอเนื้อหาในเชิงลบต่อวิชาชีพแพทย์อย่างรุนแรง เกี่ยวกับ P4P
 
ก่อนอื่นอยากให้เข้าใจก่อนว่า P4P คืออะไร
P4P (Pay for Performance) เป็นการจ่ายค่าตอบแทนแบบใหม่ของวิชาชีพวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยจะคิดค่าตอบแทนให้ตามปริมาณ และความยากของงานที่ทำ กล่าวคือ “ทำมากได้มาก ทำน้อยได้น้อย” จากการศึกษามาเล็กน้อยทำให้ทราบว่า ระบบนี้ทำให้ค่าตอบแทนของแพทย์ต่ำลงกว่าเดิม แม้จะขยันขนาดไหนก็ไม่อาจได้ค่าตอบแทนเท่าเดิมได้ (ไม่แน่ใจว่าจริงแค่ไหน)

 
จขกท. ได้อ่านเว็ปไซต์ดังกล่าวแล้วรู้สึกแย่กับตรรกะที่บางคนมองกับหมอ สำหรับบางคนแล้วอาจมองว่าหมอมีเงินเดือนสูงเว่อ ภาษีประชาชนทั้งนั้น เอาเปรียบวิชาชีพอื่น บลาๆ จะไม่ขอบอกว่ามันถูกหรือผิด แต่อยากจะให้ผู้อ่านได้ทำความเข้าใจในมุมมองของหมอบ้าง

 
-แพทย์ เป็นคณะที่สอบเข้ายากมากเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศไทย กว่าจะสอบเข้าได้ นักเรียนคนนั้นต้องผ่านสิ่งต่างๆ มามากมาย เมื่อสอบได้แล้ว ก็ต้องเจอกับการเรียนที่ทั้งยากและหนักกว่าหกปี มันไม่ใช่เรื่องง่าย กว่าคนๆ นึงจะเป็นหมอได้
-การทำงานของแพทย์ไม่ได้ต้องกังวลเฉพาะกับชีวิตคนไข้ แต่ชีวิตของแพทย์ก็น่าเป็นห่วง พวกเขาต้องรับผิดชอบชีวิตคนป่วย พวกเขามีโอกาสโดนฟ้องได้ทุกวัน มีคนกล่าวว่าเมื่อแพทย์รักษาคนไข้ “มือหนึ่งรักษาผู้ป่วย อีกมือจับซี่กรงคุก”
-แพทย์ได้รับเงินเดือนสูง (ระบบเดิม ไม่ใช่ P4P) แต่ก็ต้องทำงานมากกว่าชาวบ้านชาวช่อง จาก http://topicstock.pantip.com/lumpini/topicstock/2011/06/L10639069/L10639069.html  ถ้าเข้าไปอ่านจะทราบว่า ถ้าอาชีพอื่นทำงานหนักแบบแพทย์ก็จะได้เงินที่เยอะกว่าแพทย์ซะอีก (แพทย์ใน รพ. รัฐ) ยิ่งเป็นแพทย์จบใหม่ ยิ่งแล้วใหญ่
-แพทย์ใน รพ.รัฐ เงินเดือนประมาณ 40000-70000 แพทย์ใน รพ.เอก เงินเดือนประมาณ 100000-300000

 
เอาหล่ะ เกือบลืมประเด็น จขกท.ต้องการเสนอในประเด็นที่ว่า P4P ไม่เป็นผลดีเพราะ
-ทำให้ค่าตอบแทนของแพทย์ส่วนใหญ่ลดลง
-แพทย์ที่ทำงานใน รพ.รัฐ เพราะต้องการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ พวกเขาไม่เลือกทางที่ดีกว่าสำหรับตัวเอง (ทำงานใน รพ.เอก) แต่กลับถูกลดเงินค่าตอบแทน
-P4P เป็นการบังคับทางอ้อมให้แพทย์ทำงานโดยยึดหลัก ปริมาณมาก่อนประสิทธิภาพ โดยไม่รู้ตัว มันเป็นจิตวิทยา เป็นการทำให้คนดีๆ ที่ตอนแรกอยากทำงานช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์โดยทำงานใน รพ.รัฐ กลับกลายเป็นเห็นแก่เงิน แข่งขัน ปั่นงานมากๆ เพื่อเงิน
-P4P ส่งผลเสียต่อผู้ป่วยโดยตรง ระบบนี้สามารถทำให้จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาต่อวันเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งเป็นเรื่องดี แต่ไม่มีทางเป็นไปได้ว่าผู้ป่วยจะได้รับประสิทธิภาพในการรักษาที่เพิ่มขึ้นเลย นั่นคือ ถ้าหมอคนนั้นอยากได้เงินมากๆ ก็จะรักษาผู้ป่วยรีบๆ เพื่อเพิ่มยอด พอผ่าตัด ก็ทำให้เคสผ่าตัดยากขึ้นเพื่อเพิ่มเงิน ทำ PCR บ่อยๆ เพราะได้เงินดี เป็นต้น
-ในกรณีที่ดีที่สุดคือ แพทย์จะขยันขึ้น รักษาผู้ป่วยได้มากขึ้นโดยคงประสิทธิภาพได้เท่าเดิม แต่ในกรณีที่แย่ที่สุดคือ แพทย์รักษาผู้ป่วยเยอะขึ้นต่อวัน แต่ไม่สนใจว่าผู้ป่วยจะหายหรือไม่ สนใจแต่เพิ่มยอดผู้ป่วย วินิจฉัยให้คนละสองนาทีแล้วจัดยาเลย ส่งผลให้รักษาโรคผิดพลาดมากขึ้น เมื่อผ่าตัด ก็พยายามทำให้เคสยากขึ้น เช่น ถ้าใช้วิธี A จะรักษาหายและเร็ว แต่หมอได้ตังน้อย แต่ถ้าวิธี B มีโอกาสรักษาไม่หายมากกว่า A แต่หมอได้ตังมากกว่า ก็ใช้วิธี B ซะ เป็นต้น จากเดิมที่ตระหนักถึงประโยชน์ของผู้ป่วยที่สุด กลับกลายเป็นตระหนักถึงเงินมากที่สุดแทน

 
 
ทั้งนี้ขอชี้แจงเพิ่มว่า จขกท. ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญกับระบบ P4P อาจให้ข้อมูลผิดพลาดได้ และยังเป็นเพียง ว่าที่นักศึกษาแพทย์เท่านั้น 

แสดงความคิดเห็น

>

2 ความคิดเห็น

TTrat 12 มิ.ย. 56 เวลา 20:17 น. 1

ครูสอนนักเรียน เเล้วนักเรียนไม่เก่ง สอบตก ไม่มีใครฟ้องร้อง .....ลองหมอรักษาไม่หาย แถมตายอีกต่างหาก..ไม่โดนฟ้อง ถือว่าบุญเยอะ

0
มมhhhhhhhhhhhh 26 ส.ค. 56 เวลา 18:41 น. 2

p4p ไม่ดีจริงหรอก
เพราะที่เกิดขึ้นจริงในหน่วยงาน คนทำงานเยอะกลับได้เงินน้อยกว่า พวกที่นั่งเทียนเขียนข้อมูล

หาความยุติธรรมยากมาก พวกมาก สิทธิ์มาก กอบโกยเอาเงินไปเป็นกอบเป็นกำ
อนิจจา ข้าราชการไทย ถึงกาลอาวสานของผู้ปฏิบัติงานแท้จริง จริง ๆ เลย



0