Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

คิดผิดของสายอาชีพ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
สวัสดีคับ พี่ๆเพื่อนของเว็ปเด็กดีทุกคน ผมมีเรื่องจะมาระบาย เกี๋ยวกับการเรียนของผมครับ
ตอนนี้ผมจบ ม.3 แล้ว เกรด GPA ผมได้ 3.98 ตอนนั้นเรื่องวิชาคณิตและวิทย์เป็นอะไรที่ผมชอบมาก
ตอนนั้นผมอยากจะเรียนวิศวะไฟฟ้า กับอิเลกทรอนิกมากๆ   เลยจะเรียน สายสามัญ แต่คุณครูแนะแนวที่โรงเรียนผมท่านบอกว่า ถ้าจะเรียนวิศวจริงๆ ครูให้ผมเรียนสายช่างอุตสาหกรรม  ในสาขาไฟฟ้าและอิเลก ผมก็งงทำไมถึงเป็นอย่างงั้นครูเค้าก็อธิบายไปว่าถ้าอยากเป็นวิศวะที่มีีประสิทธิภาพจริงๆ ควรเรียนในสายอาชีพแล้วค่อยเรียนเข้าในสายวิศวะต่อเนื่อง  ผมจึงเชื่อครูนั้นเป็นครั้งที่1 ต่อจากนั้นผมเพิ่งมารู้ข่าวว่า เขาจะยกเลิกระบบการเรียนต่อเนื่องซึ่งผมก็งง แล้วผมจะทำไงดีอะ  และเพิ่งก็เพอ่งมารู้ตัวเองทีหลังว่าตัวเองเริ่มชอบฟิสิก ชีวะ จึงอยากถามพี่ๆทั้งสายวิทย์ สายช่างอุตสาหกรรม คือ
1. ถ้าผมจะเรียนในสายช่างอุตสาหกรรมจริงๆ โดยเรียนในสาขา ปวช อิเลกทรอนิกส์ ปวส อิเลกทรอนิก แล้วเข้าต่อเนื่องใน วทอ. อิเลกทรอนิกกำลัง จะเข้าได้ไหม
2. ใน วทอ. มีสายต่อเนื่องที่ยังมี วุฒิ วศบ อยู่ สาขาอะไรบ้าง แล้วอิเลกทรอนิกกำลัง มีวุฒิ วศบ ไหม
3.ถ้าคิดที่จะไม่เข้าในสายวิศวะแต่อยากลองสอบ แพทย์ กสพทแต่จะไม่ซิ่วไปต่อ ม.4 ดูโดยการซื้อหนังสือมาอ่านแล้วใช้วุฒิ ปวชและจะไปสอบ Gat Pat O-net  ในการสอบผมจะสอบได้ไหม  
4.ขอคำแนะนำในสายต่อเนื่องทีคับ

แสดงความคิดเห็น

>

9 ความคิดเห็น

เอ็ม 5 พ.ค. 56 เวลา 21:16 น. 1

สายอาชีพ&nbsp  ก็เรียน&nbsp  คณะวิศวกรรมศาสตร์&nbsp  ได้&nbsp  แต่ต้องขยันเพิ่ม&nbsp  เพราะพื้นฐาน&nbsp  สายสามัญ&nbsp  เราจะไม่แน่น&nbsp  เหมือน&nbsp &nbsp สายสามัญ&nbsp  สายวิทย์-คณิต&nbsp  จบ&nbsp  ปวช&nbsp  ปวส&nbsp  ก็สามารถเข้า&nbsp  มหาวิทยาลัย&nbsp  คณะวิศวกรรมศาสตร์&nbsp  ได้&nbsp  แต่ละ&nbsp  คณะ&nbsp  สาขา&nbsp  เน้นคนละด้าน&nbsp สายสามัญ&nbsp  สายวิทย์-คณิต&nbsp  เรียนแต่&nbsp  ทฤษฎี&nbsp  สายอาชีพ&nbsp  จะได้&nbsp  ปฏิบัติงานและฝึกงานจริง&nbsp  เรียนทั้งปฏิบัติ&nbsp  และ&nbsp  ทฤษฎี&nbsp  แต่ละ&nbsp  สาย&nbsp  ได้อย่างเสียอย่าง&nbsp  ทุกอย่าง&nbsp  ย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสีย

คณะวิศวกรรมศาสตร์
บุคลิกภาพของผู้เรียน
.ช่างคิด&nbsp  ชอบประดิษฐ์&nbsp  คิดค้นสิ่งต่าง&nbsp  ๆ
.สนใจเรียนรู้สิ่งใหม่&nbsp  ๆ&nbsp  โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีใหม่และนวัตกรรม
.ชอบคำนวณ&nbsp  การวิเคราะห์ทางฟิสิกส์&nbsp  และ&nbsp  คณิตศาสตร์
.มีลักษณะความเป็นผู้นำ
.ความสามารถวางแผน&nbsp  และแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
.ยึดมั่นในหลักเหตุและผล

สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า
&nbsp  สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าเป็นสาขาที่มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อ
กระบวนการภาคอุตสาหกรรม&nbsp  ด้านพลังงาน&nbsp  และความเป็นอยู่
ในชีวิตประจำวัน&nbsp  สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้ามุ่งเน้นในการ
ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้&nbsp  ความเชี่ยวชาญ&nbsp  เพียบพร้อมทั้งด้าน
ทฤษฎี&nbsp  ด้านระบบความคิด&nbsp  และด้านปฏิบัติ&nbsp  ตอบสนองต่อ
เทคโนโลยีสมัยใหม่&nbsp  ทั้งในด้านระบบไฟฟ้ากำลัง&nbsp  ระบบควบคุม
การวัด&nbsp  ระบบอิเล็กทรอนิกส์&nbsp  และการสื่อสารโทรคมนาคม
เป็นต้น&nbsp  นอกจากนี้ยังเสริมสร้างความรู้และประสบการณ์
ด้วยองค์ความรู้&nbsp  ในศาสตร์แขนงต่าง&nbsp  ๆ&nbsp  ที่ใกล้เคียง&nbsp  เพื่อให้ผู้เรียน
ได้สามารถเลือกศึกษาได้อย่างครบวงจร

โอกาสทางวิชาชีพ
วิศวกรไฟฟ้าคือผู้ที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เพื่อแก้ปัญหาทางวิศวกรรมไฟฟ้าอย่างสมเหตุสมผลทางเศรษฐศาสตร์ งานของวิศวกรไฟฟ้าจึงเกี่ยวข้องกับการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ และเชื่อมโยงกับการประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาทางวิศวกรรม นอกจากนี้งานของวิศวกรไฟฟ้ายังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการออกแบบ วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ รวมทั้งการทดสอบผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐาน งานของวิศวกรรมไฟฟ้ายังมีโอกาสเกี่ยวข้องกับโรงงานอุตสาหกรรมในการดูแลระบบไฟฟ้าและกระบวนการผลิต ซึ่งต้องใช้การวิเคราะห์ทั้งทางด้านวิศวกรรม การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม ประกอบการดำเนินงาน วิศวกรไฟฟ้ายังอาจทำงานที่เกี่ยวข้องกับการขายการตลาดสำหรับ อุปกรณ์ หรือ ระบบ ที่ต้องใช้ความรู้ทางวิศวกรรมไฟฟ้าในการให้คำปรึกษาทางเทคนิกการใช้งาน ติดตั้ง และการวางแผนของระบบ

ตัวอย่างงานของวิศวกรไฟฟ้า

วิศวกรออกแบบ-ติดตั้งระบบไฟฟ้า
วิศวกรวางแผน-ออกแบบระบบโครงข่ายโทรคมนาคม
วิศวกรโรงงาน
วิศวกรดูแลเครื่องจักรกลไฟฟ้า
วิศวกรระบบโทรคมนาคม
วิศวกรผู้จัดการอาคาร
วิศวกรระบบไฟฟ้ากำลัง
วิศวกรออกแบบแผ่นพิมพ์วงจร
วิศวกรด้านสมองกลฝังตัว
สร้างผลิตภัณฑ์
ที่ปรึกษาด้านพลังงาน
วิศวกรขายผลิตภัณฑ์ด้านวิศวกรรมไฟฟ้า
เป็นผู้ประกอบการ
ฯลฯ

ตัวอย่างสถานที่ทำงาน

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
การไฟฟ้านครหลวง
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเดิม)
บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
บริษัทเอกชนผู้ประกอบการที่ใช้บริการด้านการสื่อสาร เครือข่ายโทรคมนาคม
บริษัทผลิตไฟฟ้าเอกชน
บริษัทสำรวจและผลิต ผลิตภัณฑ์ด้านปิโตเลียม
บริษัทผู้ประกอบการด้านปูนซีเมนต์
บริษัทเอกชนที่รับงานด้านวิศวกรรมไฟฟ้าจากหน่วยงานของรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานของรัฐ
บริษัทเอกชนที่ผลิต จำหน่าย ผลิตภัณฑ์ทางวิศวกรรมไฟฟ้า
โรงงานอุตสาหกรรม
บริษัทออกแบบ-ติดตั้งระบบไฟฟ้า ระบบเครือข่ายโทรคมนาคม
ฯลฯ

โอกาสทางการศึกษา หรือ โอกาสในการทำงาน
.วิศวกรงานระบบในโรงงานและอาคาร&nbsp  ทั้งในฐานะผู้ออกแบบ
ควบคุมการติดตั้ง&nbsp  หรือ&nbsp  บริหารการใช้งาน&nbsp  ในระบบไฟฟ้า
ระบบปรับอากาศ&nbsp  สื่อสารโทรคมนาคม&nbsp  ระบบควบคุมอัตโนมัติ
รวมถึงระบบพลังงานและสิ่งแวดล้อม
.วิศวกรสนามในโครงการการก่อสร้างหรือผู้ออกแบบ
โครงสร้างอาคาร&nbsp  ระบบขนส่ง&nbsp  รวมถึงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
และสิ่งแวดล้อมของเมือง
.วิศวกรควบคุมออกแบบและบริหารการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม
หรือธุรกิจวิศวกรรมอื่น&nbsp  ๆ
.ผู้ออกแบบ&nbsp  หรือ&nbsp  บริหารควบคุมการใช้งาน&nbsp  เครื่องจักรอุปกรณ์&nbsp  เช่น
ยานยนต์&nbsp  เครื่องจักรการผลิต&nbsp  ระบบอาคารสถาน&nbsp  ฯลฯ
นอกจากการเป็นวิศวกรในสาขาต่าง&nbsp  ๆ&nbsp  ข้างต้นแล้ว&nbsp  พื้นฐานทางด้าน
วิศวกรรมยังสามารถใช้ในการประกอบวิชาชีพอื่น&nbsp  ๆ&nbsp  ได้เป็นอย่างดี
เช่น&nbsp  นักประดิษฐ์&nbsp  ผู้ประกอบการทางเทคโนโลยีและวิศวกรรม
รวมถึงตำแหน่งงานอื่น&nbsp  ๆ&nbsp  ทั้ง&nbsp  ภาครัฐและเอกชน

0
เอ็ม 5 พ.ค. 56 เวลา 21:21 น. 2

สายอาชีพ&nbsp  ก็เรียน&nbsp  คณะวิศวกรรมศาสตร์&nbsp  ได้&nbsp  แต่ต้องขยันเพิ่ม&nbsp  เพราะพื้นฐาน&nbsp  สายสามัญ&nbsp  เราจะไม่แน่น&nbsp  เหมือน&nbsp &nbsp สายสามัญ&nbsp  สายวิทย์-คณิต&nbsp  จบ&nbsp  ปวช&nbsp  ปวส&nbsp  ก็สามารถเข้า&nbsp  มหาวิทยาลัย&nbsp  คณะวิศวกรรมศาสตร์&nbsp  ได้&nbsp  แต่ละ&nbsp  คณะ&nbsp  สาขา&nbsp  เน้นคนละด้าน&nbsp สายสามัญ&nbsp  สายวิทย์-คณิต&nbsp  เรียนแต่&nbsp  ทฤษฎี&nbsp  สายอาชีพ&nbsp  จะได้&nbsp  ปฏิบัติงานและฝึกงานจริง&nbsp  เรียนทั้งปฏิบัติ&nbsp  และ&nbsp  ทฤษฎี&nbsp  แต่ละ&nbsp  สาย&nbsp  ได้อย่างเสียอย่าง&nbsp  ทุกอย่าง&nbsp  ย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสีย

ถามวิศวะ: วิศวกรรมไฟฟ้า จุฬาฯ
https://www.youtube.com/watch?v=YjJe1KCeAkU

คณะวิศวกรรมศาสตร์
บุคลิกภาพของผู้เรียน
.ช่างคิด&nbsp  ชอบประดิษฐ์&nbsp  คิดค้นสิ่งต่าง&nbsp  ๆ
.สนใจเรียนรู้สิ่งใหม่&nbsp  ๆ&nbsp  โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีใหม่และนวัตกรรม
.ชอบคำนวณ&nbsp  การวิเคราะห์ทางฟิสิกส์&nbsp  และ&nbsp  คณิตศาสตร์
.มีลักษณะความเป็นผู้นำ
.ความสามารถวางแผน&nbsp  และแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
.ยึดมั่นในหลักเหตุและผล

สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า
&nbsp  สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าเป็นสาขาที่มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อ
กระบวนการภาคอุตสาหกรรม&nbsp  ด้านพลังงาน&nbsp  และความเป็นอยู่
ในชีวิตประจำวัน&nbsp  สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้ามุ่งเน้นในการ
ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้&nbsp  ความเชี่ยวชาญ&nbsp  เพียบพร้อมทั้งด้าน
ทฤษฎี&nbsp  ด้านระบบความคิด&nbsp  และด้านปฏิบัติ&nbsp  ตอบสนองต่อ
เทคโนโลยีสมัยใหม่&nbsp  ทั้งในด้านระบบไฟฟ้ากำลัง&nbsp  ระบบควบคุม
การวัด&nbsp  ระบบอิเล็กทรอนิกส์&nbsp  และการสื่อสารโทรคมนาคม
เป็นต้น&nbsp  นอกจากนี้ยังเสริมสร้างความรู้และประสบการณ์
ด้วยองค์ความรู้&nbsp  ในศาสตร์แขนงต่าง&nbsp  ๆ&nbsp  ที่ใกล้เคียง&nbsp  เพื่อให้ผู้เรียน
ได้สามารถเลือกศึกษาได้อย่างครบวงจร

โอกาสทางวิชาชีพ
วิศวกรไฟฟ้าคือผู้ที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เพื่อแก้ปัญหาทางวิศวกรรมไฟฟ้าอย่างสมเหตุสมผลทางเศรษฐศาสตร์ งานของวิศวกรไฟฟ้าจึงเกี่ยวข้องกับการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ และเชื่อมโยงกับการประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาทางวิศวกรรม นอกจากนี้งานของวิศวกรไฟฟ้ายังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการออกแบบ วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ รวมทั้งการทดสอบผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐาน งานของวิศวกรรมไฟฟ้ายังมีโอกาสเกี่ยวข้องกับโรงงานอุตสาหกรรมในการดูแลระบบไฟฟ้าและกระบวนการผลิต ซึ่งต้องใช้การวิเคราะห์ทั้งทางด้านวิศวกรรม การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม ประกอบการดำเนินงาน วิศวกรไฟฟ้ายังอาจทำงานที่เกี่ยวข้องกับการขายการตลาดสำหรับ อุปกรณ์ หรือ ระบบ ที่ต้องใช้ความรู้ทางวิศวกรรมไฟฟ้าในการให้คำปรึกษาทางเทคนิกการใช้งาน ติดตั้ง และการวางแผนของระบบ

ตัวอย่างงานของวิศวกรไฟฟ้า

วิศวกรออกแบบ-ติดตั้งระบบไฟฟ้า
วิศวกรวางแผน-ออกแบบระบบโครงข่ายโทรคมนาคม
วิศวกรโรงงาน
วิศวกรดูแลเครื่องจักรกลไฟฟ้า
วิศวกรระบบโทรคมนาคม
วิศวกรผู้จัดการอาคาร
วิศวกรระบบไฟฟ้ากำลัง
วิศวกรออกแบบแผ่นพิมพ์วงจร
วิศวกรด้านสมองกลฝังตัว
สร้างผลิตภัณฑ์
ที่ปรึกษาด้านพลังงาน
วิศวกรขายผลิตภัณฑ์ด้านวิศวกรรมไฟฟ้า
เป็นผู้ประกอบการ
ฯลฯ

ตัวอย่างสถานที่ทำงาน

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
การไฟฟ้านครหลวง
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเดิม)
บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
บริษัทเอกชนผู้ประกอบการที่ใช้บริการด้านการสื่อสาร เครือข่ายโทรคมนาคม
บริษัทผลิตไฟฟ้าเอกชน
บริษัทสำรวจและผลิต ผลิตภัณฑ์ด้านปิโตเลียม
บริษัทผู้ประกอบการด้านปูนซีเมนต์
บริษัทเอกชนที่รับงานด้านวิศวกรรมไฟฟ้าจากหน่วยงานของรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานของรัฐ
บริษัทเอกชนที่ผลิต จำหน่าย ผลิตภัณฑ์ทางวิศวกรรมไฟฟ้า
โรงงานอุตสาหกรรม
บริษัทออกแบบ-ติดตั้งระบบไฟฟ้า ระบบเครือข่ายโทรคมนาคม
ฯลฯ

โอกาสทางการศึกษา หรือ โอกาสในการทำงาน
.วิศวกรงานระบบในโรงงานและอาคาร&nbsp  ทั้งในฐานะผู้ออกแบบ
ควบคุมการติดตั้ง&nbsp  หรือ&nbsp  บริหารการใช้งาน&nbsp  ในระบบไฟฟ้า
ระบบปรับอากาศ&nbsp  สื่อสารโทรคมนาคม&nbsp  ระบบควบคุมอัตโนมัติ
รวมถึงระบบพลังงานและสิ่งแวดล้อม
.วิศวกรสนามในโครงการการก่อสร้างหรือผู้ออกแบบ
โครงสร้างอาคาร&nbsp  ระบบขนส่ง&nbsp  รวมถึงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
และสิ่งแวดล้อมของเมือง
.วิศวกรควบคุมออกแบบและบริหารการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม
หรือธุรกิจวิศวกรรมอื่น&nbsp  ๆ
.ผู้ออกแบบ&nbsp  หรือ&nbsp  บริหารควบคุมการใช้งาน&nbsp  เครื่องจักรอุปกรณ์&nbsp  เช่น
ยานยนต์&nbsp  เครื่องจักรการผลิต&nbsp  ระบบอาคารสถาน&nbsp  ฯลฯ
นอกจากการเป็นวิศวกรในสาขาต่าง&nbsp  ๆ&nbsp  ข้างต้นแล้ว&nbsp  พื้นฐานทางด้าน
วิศวกรรมยังสามารถใช้ในการประกอบวิชาชีพอื่น&nbsp  ๆ&nbsp  ได้เป็นอย่างดี
เช่น&nbsp  นักประดิษฐ์&nbsp  ผู้ประกอบการทางเทคโนโลยีและวิศวกรรม
รวมถึงตำแหน่งงานอื่น&nbsp  ๆ&nbsp  ทั้ง&nbsp  ภาครัฐและเอกชน

0
วศบ 6 พ.ค. 56 เวลา 01:26 น. 3

ในฐานะที่ผมจบ ปวส ไฟฟ้า มานะครับ แล้วผมก็อยากจะเรียนวิศวะ มากๆเลยครับ เชื่อไหมครับว่าจบ ปวส มาเนี้ย ถ้าจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยของรัฐบาล แล้วได้ วศบ และมีใบ กว เนี้ย มีเปิดแค่ที่เดียวเท่านั้นครับ คือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี(คลองหก) ซึ่งเรียน 3 ปี กับ 2 ซัมเมอร์ครับปีที่ผมไปสอบมีคนสอบประมาณ 500 กว่าครับ รับแค่ 30 เองครับ ซึ่งผมก็ดวงดีด้วยครับ
แต่ถ้าเป็น วศบ แต่ไม่ใช่ไฟฟ้าแต่เป็นพวกเครื่องวัดก็มี พระนครเหนือกับบางมดเปิดอ่ะครับ เรียน 3 ปีเท่ากัน ก็มีแค่นั้นอ่ะครับหนทางเรียนต่อในกรณีจบ ปวส แล้วจะเป็น วิศวะ (ไม่นับครุศาสตร์นะ) ผมไม่ได้คุยนะครับซึ่งผมก็สอบติดหมดทั้ง 3 ที่ แล้วผมก็เลือก วศบ ไฟฟ้า คลองหก ครับ หนทางมันน้อยแล้วครับถ้าจบ ปวส ผมแนะนำว่าให้เรียน จบ ปวช ทำเกรดดีๆแล้วเข้ารอบโควต้าครับ หรือถ้าพลาดโควต้าก็ไปติวเข้าพระนครเหนือเลยครับหน้าพระนครเหนือมีที่ติวเข้าเยอะมากครับไม่อย่างนั้นจะสู้ ม ปลายไม่ได้ครับตอนสอบเข้า แต่ถ้าได้เรียนแล้ว ไม่แพ้ ม.ปลายแน่นอนครับ
ปล. อย่าไปเชื่อรัฐบาลมากครับว่าเรียนสายอาชีพแล้วดีอย่างงั้นดีอย่างงี้ เรียนแล้วมีงานทำ เหอะๆผมอยากหัวเราะครับ งานมันมีอยู่แล้วครับแต่เป็นงานหนักเงินน้อย โอกาศโตช้า รัฐบาลเริ่ม ปิดโอกาสเด็ก ปวส แล้วด้วยครับ อยากให้มีแรงงานเยอะๆ อย่างน้องนะครับถ้าเกรดเยอะๆขนาดนั้นอยากให้น้องเป็นวิศวะมากกว่าครับ อย่ามาเป็นช่างเลยครับมันลำบาก เป็นกำลังใจให้ครับผมเข้าใจครับตอนผมจะจบ ปวส ผมก็เครียดมากครับ แต่ด้วยที่ผม อ่านหนังสือเตรียมตัว และ ก็ดวงดี ด้วยครับจึงมีโอกาศเรียนต่อ ซึ่งถ้าผมดวงไม่ีดีพลาดมาโอกาสจะเป็นวิศวะก็วูบครับ เพราะทางเลือกมันน้อย

0
เด็กเหลือขอ 6 พ.ค. 56 เวลา 10:05 น. 4

ถ้าจะเรียนสายวัดคุมนหรือ สายอิเลก-ไฟฟ้า ใน ป.ตรีนี้ ช่างอิเลกเข้าได้ปะคับ
ถามจริงๆ วุฒิ อสบ. คอบ. สอบ กว ได้ปะคับ TT

0
วศบ 6 พ.ค. 56 เวลา 21:50 น. 5

http://www.coe.or.th/e_engineers/check_certificate.php
ลิ้งดูครับว่า มหาวิทยาลัยไหนคณะไหนมีสิทสอบ ใบ กว ครับ (ดูวันที่ด้วยนะครับ)

สายวัดคุมอิเล็กทรอนิกส์เรียนได้ครับ แต่ผมไม่ทราบนะครับว่ามหาลัยไหนรับสอบตรงบ้าง ของ ปวช อ่ะครับ แต่ที่ผม จบ ปวส ที่ พระจอมเกล้าธนบุรี(บางมด) เปิดนะครับ ชื่อสาขาว่า วิศวกรรมควบคุมอัตโนมัติและเครื่องมือวัด(สาขานี้ไม่มี กว ครับ เพราะอาจจะไม่สำคัญในการประกอบอาชีพ) ครับ แต่มันจะต่างกับของ ลาดกระบังนะครับ ลาดกระบัง จะเป็นไฟฟ้าวัดคุม สาขานี้มี กว ครับ

ตอบจริงๆเลยนะครับว่า อสบ คอบ ไม่มีสิทสอบใบ กว ทุกมหาวิทยาลัยแล้วครับในปัจจุบัน

สำหรับน้องนะครับ พี่แนะนำนะครับ แล้วแต่จะพิจารณา นะครับ จากประสบการณ์
หนทางก็คือ น้องตั้งใจเรียน เพื่อให้ได้เกรด เยอะๆ จะได้ มีสิทเข้าโควต้ามหาลัยวิทยาลัยต่างๆได้ครับโควต้าคู่แข่งมันน้อยกว่าเยอะครับแล้วน้องก็ไปหาพิเศษเรียนเพิ่มตอน ปวช 3 เอาครับแล้วพอเทอมสุดท้ายของ ปวช 3 น้องก็ไปติวเข้าพระนครเหนือครับหาที่ติวดีๆครับโอกาสติดก็เยอะเลยครับ
หรือไม่น้องก็เรียนๆไปก่อน แล้ว ปีหน้า ไปสอบเข้า เตรียมวิศวะ ของพระนครเหนือ ครับ (เอาวุติ ม.3 สมัค)
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp ถ้าสงสัยไรพอที่ผมจะช่วยได้ติดต่อมาที่ arthitwissawaa@gmail.com ครับ

0
สู้สู้ 6 พ.ค. 56 เวลา 23:06 น. 6

ความคิดเห็นที่สาม&nbsp คุณเห็นความเป็นจริงแล้ว&nbsp 555&nbsp เด็กเรียนสายอาชีพบอกได้เลยว่า&nbsp การโตในตำแหน่งหน้าที่&nbsp ยากส์ คำเดียวสั้นๆ&nbsp งานหนักเงินน้อย&nbsp อันนี้ถ้าเทียบกับวิศวตัวจริงค่ะ&nbsp ก็เขาต้องเป็นหัวหน้างานนี่จะให้เงินถูกได้อย่างไรถูกต้องแล้ว&nbsp แต่อย่าลืมว่าคนเรียนวิศวเรียนทฤษฎีหนักมากตั้งแต่ปีหนึ่งโดยเฉพาะ มหาลัยชั้นนำ ถ้าไม่แน่จริงก็รีไทม์ได้&nbsp  ครูแนะแนวอ่ะบางคนก็ไม่ได้รู้ลึกมาก&nbsp บางทีครูก็จะมองเหมือนคนรุ่นเก่าคือเรียนที่จบมาแล้วมีงานทำ&nbsp  แต่ไม่ได้มองไปไกลๆ&nbsp ถึงความก้าวหน้าในตำแหน่ง&nbsp สายช่าง&nbsp สายแพทย์&nbsp สายบัญชี&nbsp พวกนี้จะไม่มีทางขึ้นแซงหน้าเขาไปถ้าคุณไม่เรียนให้ตรงเป๊ะ&nbsp ขนาดที่เรียนกันตรงๆ ยังแข่งกันเรื่องสถาบันเลย&nbsp เหอะๆๆๆ&nbsp  ใครว่าไม่มี นั่นรู้ไม่จริงอ่ะดิ

0
วศบ 7 พ.ค. 56 เวลา 10:45 น. 7

ความ คิด เห็นที่ หก ถูกต้องครับผม ผมเป็นเจ้าของทั้งความคิดเห็นที่ ห้า และ สาม ครับ ผมรู้สึกว่าผมอยากเรียนวิศวะแล้วผมมาผิดทางเห็นน้องเค้าเหมือนผมก็อยากจะอธิบายให้ฟังครับ ว่าเดี๋ยวนี้มันเป็นยังไง แล้วมหาลัยชั้นนำที่ความเห็นที่ หก บอก เค้าเริ่มไม่รับสายอาชีพแล้วครับ ทำให้เด็กสายอาชีพมีโอกาศน้อยกว่าเด็ก ม ปลาย เยอะครับ ใน คณะ วิศวกรรมศาสตร์ ทั้งๆที่ เป็นวิชาช่าง ถนัดของตัวเองแท้ๆ ก็อย่างว่าละครับเดี๋ยวนี้วิศวะ มหาลัยดังๆ เค้าต้องเน้นทฤษฎี จึงรับ มปลาย มากกว่าครับ เพราะ สายอาชีพ สู้ไม่ได้อยู่แล้วครับ แต่เด็กสายอาชีพที่เก่ง คำนวณ ก็มีนะครับแต่น้อย แต่เรื่องวิทยาศาสตร์ ไม่ต้องพูดถึงครับ เพราะเรียนวิชานี้น้อยมาก แต่ผมเชื่อครับว่าเด็กสายอาชีพ ถ้า ผ่านวิชา พวก ฟิสิก เคมี ไปได้ ยังไง วิชา ช่าง เฉพาะ ก็ ไปได้สวยกว่าครับ

0
เด็กเหลือขอ 8 พ.ค. 56 เวลา 12:12 น. 8

อยากเรียนอิเลกทรอนิกกำลัง ของพระนครเหนือ ปวช- ปวส เข้าได้ไหม TT ตอนนี้พระนครเหนือยังรับสายอาชีพอยู่ไหมแล้วมีสาขาอะไรบ้างช่วยตอบที

0
วศบ 8 พ.ค. 56 เวลา 21:51 น. 9

ยังรับครับ ถ้าเอา ปวช ไปสมัค จะมีสาขาให้เลือกเยอะกว่าครับ แต่รับสาขาไหนเท่าไร คงต้องรอตอนเปิดรับอะครับผม เพราะแต่ละปีไม่เหมือนกัน

0