Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

พระบรมราโชวาท

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

“การรู้จักประมาณตน ได้แก่ การรู้จักและยอมรับว่าตนเองมีภูมิปัญญาและความสามารถด้านไหน เพียงใด

และควรจะทำงานด้านไหน อย่างไร การรู้จักประมาณตนนี้ จะทำให้คนเรารู้จักใช้ความรู้ความสามารถที่มีอยู่ได้ถูกต้อง

เหมาะสมกับงาน และได้ประโยชน์สูงสุดเต็มตามประสิทธิภาพ ทั้งยังทำให้รู้จักขวนขวายศึกษาหาความรู้

และเพิ่มพูนประสบการณ์อยู่เสมอ เพื่อปรับปรุงส่งเสริมศักยภาพที่มีอยู่ในตนเองให้ยิ่งสูงขึ้น”

พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๔๑

line_th

แสดงความคิดเห็น

15 ความคิดเห็น

กกร.กร.ทบ. 5 ก.ค. 56 เวลา 09:06 น. 1

พระราชดำรัส
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วันศุกร์ที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๐
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราโชวาท ความว่า
ข้าพเจ้ามีความยินดี ที่ได้มาทำพิธี มอบปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อีกวาระหนึ่ง ขอแสดงความชื่นชมกับบัณฑิตทุกคน ที่ได้รับเกียรติและความสำเร็จในการศึกษา
เมื่อวานนี้ ข้าพเจ้าได้กล่าวแก่บัณฑิตในที่ประชุมนี้ เป็นความว่า การปฏิบัติงานทั้งปวง นอกจากจะอาศัยความรู้ความสามารถของผู้ปฏิบัติ และระเบียบแบบแผนของงานที่กำหนดไว้แล้ว ยังต้องอาศัยศรัทธาความเชื่อมั่นในงานด้วย จึงจะช่วยให้งานที่ทำ ดำเนินไปอย่างราบรื่น และบรรลุผลที่สมบูรณ์ตามประสงค์
วันนี้ ใคร่จะกล่าวเพิ่มเติมแก่ท่าน ถึงศรัทธาที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ได้แก่ ศรัทธาความเชื่อมั่นในความดี ศรัทธาส่วนนี้จะส่งเสริมให้บุคคลเกิดความมุ่งมั่น ที่จะทำตัวทำงานให้สูงขึ้น ไม่ยอมให้ตกต่ำ ผู้เชื่อมั่นในความดี จะมีความรู้สึกผิดชอบ มีความข่มใจ ไม่ปล่อยตัวให้เป็นไปตามอำนาจอคติ และความเห็นแก่ประโยชน์เฉพาะตัว จะประพฤติปฏิบัติการใด ก็พิจารณากลั่นกรองอย่างรอบคอบจนเห็นชัดแล้วว่า การนั้นๆ เป็นสิ่งที่ดี ที่ถูกต้อง เป็นสุจริตธรรมและเป็นประโยชน์แท้ ทั้งแก่ตนเองและส่วนรวม การที่ทำจึงปราศจากโทษ ก่อให้เกิดประโยชน์สร้างสรรค์ เป็นความเจริญสวัสดีแต่อย่างเดียว ผลดีอีกประการหนึ่งของการปฏิบัติดี ก็คือเมื่อผลของการทำดีเป็นที่ประจักษ์ชัด คนที่ไม่เคยทำความดี เพราะไม่เคยเห็นผล ก็จะได้เห็น และหันมานิยมศรัทธาในความดี บุคคลเหล่านั้นย่อมจะรับเอาความคิดจิตใจ และการกระทำของผู้ปฏิบัติดีเป็นแบบอย่าง แล้วน้อมนำมาประพฤติปฏิบัติด้วยตนเอง บ้านเมืองของเรา ก็จะมีผู้ศรัทธาในความดี ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ สิ่งที่แต่ละคนปฏิบัติ ก็จะประกอบส่งเสริมกันขึ้น เป็นความเจริญมั่นคงโดยส่วนรวมของชาติในที่สุด
ขออวยพรให้บัณฑิตใหม่ทุกคน ประสบความสำเร็จในชีวิต มีความรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน และขอให้ทุกท่าน ที่มาประชุมพร้อมกันในพิธีนี้ มีความสุขสวัสดีจงทั่วกัน

0
originalkeng 5 ก.ค. 56 เวลา 13:57 น. 2

“ความคิดนั้นสำคัญมาก ถือได้ว่าเป็นแม่บทใหญ่ของคำพูดและการกระทำทั้งปวง กล่าวคือ ถ้าคนเราคิดดี คิดถูกต้อง

ทั้งตามหลักวิชาและคุณธรรม คำพูดและการกระทำก็เป็นไปในทางที่ดีที่เจริญ แต่ถ้าคิดไม่ดีไม่ถูกต้องคำพูด

และการกระทำก็อาจก่อความเสียหาย ทั้งแก่ตัวเองและส่วนรวมได้ ด้วยเหตุนี้ ก่อนที่บุคคลจะพูดจะทำสิ่งใด

จำเป็นต้องหยุดคิดเสียก่อนว่า กิจที่จะทำ คำที่จะพูด ผิดหรือถูก เป็นคุณประโยชน์หรือเป็นโทษเสียหาย

เป็นสิ่งที่ควรพูด ควรกระทำ หรือควรงดเว้น เมื่อคิดพิจารณาได้ดังนี้ ก็จะสามารถยับยั้งคำพูดที่สมควรหยุดยั้ง

การกระทำที่ไม่ถูกต้อง พูดและทำแต่สิ่งที่จะสัมฤทธิ์ผลเป็นคุณ เป็นประโยชน์ และเป็นความเจริญ”

พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๙ กรกฎาคม ๒๕๔๐

0
originalkeng 8 ก.ค. 56 เวลา 14:24 น. 3

“การปิดทองหลังพระนั้น เมื่อถึงคราวจำเป็นก็ต้องปิด ว่าที่จริงแล้วคนโดยมาก ไม่ค่อยชอบปิดทองหลังพระ

กันนัก เพราะนึกว่าไม่มีใครเห็น แต่ถ้าทุกคนพากันปิดทองแต่ข้างหน้า ไม่มีใครปิดทองหลังพระเลย พระจะเป็นพระที่งามบริบูรณ์ไม่ได้”

พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๐๖

0
originalkeng 11 ก.ค. 56 เวลา 11:37 น. 4

ความดี

การทำดีนั้นทำยากและเห็นผลช้า แต่ก็จำเป็นต้องทำ เพราะหาไม่ความชั่วซึ่งทำได้ง่าย จะเข้ามาแทนที่และจะพอกพูนขึ้นอย่างรวดเร็ซโดยไม่ทันรู้สึกตัว แต่ละคนจึงต้องตั้งใจและเพียรพยายามให้สุดกำลังในการสร้างเสริมและสะสมความดี

พระบรมราโชวาทพระราชทาน แก่ผู้สำเร็จการศึกษา

ที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ สวนอัมพร  14 สิงหาคม 2525

0
originalkeng 12 ก.ค. 56 เวลา 14:12 น. 5

ความรักชาติ - ความมั่นคง - ความสามัคคี
คนไทย รักษาชาติ รักษาแผ่นดิน เป็นปึกแผ่นมั่นคงมาได้ ด้วยสติปัญญาความสามารถ และด้วยคุณความดี อิสรภาพ เสรีภาพ ความร่มเย็นเป็นสุข ตลอดจนความเจริญ ทุกอย่างที่มีอยู่บัดนี้ เราทั้งหลายในปัจจุบัน จึงต้องถือเป็นหน้าที่รับผิดชอบอย่างสำคัญ ในอันที่จะรักษาคุณความดี พร้อมทั้งจิตใจที่เป็นไทยไว้ให้มั่นคงตลอดไป (พระราชดำรัส ในการเสด็จออกมหาสมาคม ในงานพระราชพิธี เฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธ.ค.2521

0
originalkeng 15 ก.ค. 56 เวลา 11:55 น. 6

ขอให้อำนาจศักดิ์สิทธิ์ จงดลบันดาลให้ในหลวงมีสุขภาพอนามัยให้แข็งแรงตลอดไป
ความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เท่านั้นที่จะทำให้ไทยสงบร่มเย็นได้
ด้วยตัวแทนของคนไทยทุกคนทุกชนชั้น ขอให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ
ทรงพระเจริญมีพระชนม์มายุยังยืนนานเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนไทยทุกหมู่เหล่า

0
originalkeng 7 ส.ค. 56 เวลา 09:11 น. 7

เห็นเหตุการร์บ้านเมืองในปัจจุบันแล้วเราชาวไทยควรที่รักกันมากๆๆเนอะ  ยึดเอาดวงใจชาวใทยเป็นศุนย์รวมจิตรใจ  พยายามอย่าตกเป็นเครื่องมือของนักการเมืองเนอะ รักกัลรวมกันสามัคคีกัน  รวมกันเป็นหนึ่ง ทำให้พ่อหลวงของไทยได้มีความสุขที่เห็นลุกๆๆรักกัน   มาร่วมทำความดีและความสามัคคีให้เกิดขึ้นในชาติไทยกันเถอะ  ขออานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวไทยเราเคารพบูชา จงอภิบาลรักษาพ่อหลวง ให้ปราศจากทุกข์ ปราศจากโรค ปราศจากภัย ให้มีพระวรกายที่แข็งแรงสมบูรณ์

0
originalkeng 13 ส.ค. 56 เวลา 14:37 น. 8

ศรีสง่าของแผ่นดินถิ่นธรรมะ ที่มีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงส่องธรรมนำหน้าวันฟ้ามัว ไทยถ้วนทั่วอบอุ่นจิตมีทิศธรรม
ทรงเลิศล้นตลอดพระชนมพรรษา เหนือฟ้ายังมีฟ้า สง่าล้ำ
ลึกยิ่งกว่ามหาสมุทร สุดสรรคำ เย็นกว่าน้ำ กว้างกว่าผืนพิภพใด
เป็นกษัตริย์ยอดกษัตริย์ ปัดเป่าทุกข์ เพียงเพื่อสุขมหาชน ภาระใหญ่
ขอเทิดทูนพระบารมีตลอดไป น้อมดวงใจถวายพระองค์ ทรงพระเจริญ

0
originalkeng 14 ส.ค. 56 เวลา 13:39 น. 9
ตลอด เวลาหกทศวรรษที่ผ่านมาของการครองราชย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจและเชื่อมความรัก สามัคคีของปวงขชนทั้งชาติให้สมานฉันท์เป็นหนึ่งเดียวกัน โดยมีพระราชปณิธานอันแน่วแน่ที่จะทรงเสียสละประโยชน์สุขส่วนพระองค์ เพื่อพสกนิกรชาวไทย สมดังที่ได้พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการเป็นพระราชสัตยาธิษฐานว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”
0
originalkeng 15 ส.ค. 56 เวลา 11:40 น. 10

“การจะพัฒนาทุกสิ่งทุกอย่างให้เจริญนั้นจะต้องสร้างและเสริมขึ้นจากพื้นฐาน เดิมที่มีอยู่ก่อนทั้งสิ้น ถ้าพื้นฐานไม่ดีหรือคลอนแคลนบกพร่องแล้ว ที่จะเพิ่มเติมเสริมต่อให้เจริญขึ้นไปอีกนั้น ยากนักที่จะทำได้ จึงควรจะเข้าใจให้แจ้งชัดว่า นอกจากจะมุ่งสร้างความเจริญแล้ว ยังต้องพยายามรักษาพื้นฐานให้มั่นคง ไม่บกพร่อง พร้อมๆกันได้” พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๒๓

0
originalkeng 20 ส.ค. 56 เวลา 13:57 น. 11

พระราชินีคู่พระบารมีในหลวงของปวงชนชาวไทย

วัน ที่ ๒๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๓ มีพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ณ วังสระปทุม สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงเป็นประธานพระราชทานน้ำพระพุทธมนต์และ เทพมนต์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ได้ ทรงจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย และ ในวันนั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ ทรงสถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เป็นสมเด็จพระราชินี

วัน ที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ เป็นวันพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรับเฉลิมพระบรมนามาภิไธยว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” และ ทรงสถาปนาเฉลิมพระยศสมเด็จพระราชินีเป็น “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี”

0
originalkeng 21 ส.ค. 56 เวลา 14:28 น. 12

พระราชินีคู่พระบารมีในหลวงของปวงชนชาวไทย

พุทธ ศักราช ๒๔๙๑ ขณะที่หม่อมเจ้านักขัตรมงคลและ ครอบครัวอยู่ในปารีส ได้รับเสด็จสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งโปรดเสด็จพระราชดำเนินไป ทอดพระเนตรโรงงานทำรถยนต์ในกรุงปารีสอยู่เสมอ จนเป็นที่คุ้นเคยต่อพระยุคลบาทและ ต้องพระราชอัธยาศัย ฉะนั้นเมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประสบอุปัทวเหตุทางรถยนต์ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ต้องประทับรักษาพระองค์ ในสถานพยาบาล จึง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ หม่อมหลวงบัวพาบุตรีทั้งสง คือหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ และ หม่อมราชวงศ์บุษบา เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาทเยี่ยมอาการเป็นประจำ จนพระอาการประชวรทุเลาลง เสด็จกลับพระตำหนักได้ สมเด็จพระราชชนนีได้รับสั่งขอให้ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์อยู่ศึกษาต่อที่เมืองโลซานน์ในโรงเรียนประจำ Riante Rive ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงในการสอนวิชาพิเศษแก่กุลสตรี คือ ภาษา ศิลปะ ดนตรี ประวัติวรรณคดี และ ประวัติศาสตร์

0
originalkeng 23 ส.ค. 56 เวลา 15:56 น. 13
โครงการหลวง  

                 พระองค์ ทรงเจาะจงดำเนินการพัฒนาและบำรุงรักษาต้นน้ำลำธารในบริเวณป่าเขาในภาคเหนือ เพื่อบรรเทาอุทกภัยในที่ลุ่มล่าง ด้วยเหตุผลที่พื้นที่เหล่านี้เป็นเขตแดนชาวไทยภูเขา จึงทรงมีโอกาสพัฒนาชาวเขาชาวดอยให้อยู่ดีกินดี ให้เลิกการปลูกฝิ่น เลิกการตัดไม้ทำลายป่า ทำไร่เลื่อยลอย และเลิกการค้าไม้เถื่อน ของเถื่อน อาวุธยุทโธปกรณ์นอกกฎหมาย ทรงพัฒนาช่วยเหลือให้ปลูกพืชหมุนเวียนที่มีคุณค่าสูง ขนส่งง่าย ปลูกข้าวไร่ และเลี้ยงสัตว์ไว้เพื่อบริโภค รวมคุณค่าผลผลิตแล้วให้ได้คุณค่าแทนการปลูกฝิ่น ทั้งๆที่งานของโครงการนี้กินเวลายาวนานกว่าจะเกิดผลได้ ต้องใช้เวลานานนับสิบปี การดำเนินงานจะยากลำบากสักเพียงใดมิได้ทรงท้อถอย การพัฒนาค่อยๆได้ผลดีขึ้นๆ ชาวเขาชาวดอยจึงมีความจงรักภักดี เรียกพระองค์ว่าพ่อหลวงและเรียกสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถว่าแม่หลวงโครงการของทั้งสองพระองค์จึงเรียกว่า โครงการหลวง 

0
originalkeng 27 ส.ค. 56 เวลา 13:49 น. 14

ความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์

ชาติ ไทยของเรามีการวิวัฒนาการมาตั้งแต่เริ่มรวมชาติรวมแผ่นเดิน ก่อร่างสร้างเมืองตั้งแต่ อดีต จนมาเป็นประเทศชาติทุกวันนี้ก็เพราะสถาบันพระมหากษัตริย์สถาบันพระมหา กษัตริย์ยังเป็นสถาบันที่อยู่ในหัวใจของประชาชน เป็นสถาบันที่เคารพ สักการะเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมของปวงชนชาวไทยทุกๆ คน ผู้ใดหรือใครจะมาล่วงเกินพระราชอำนาจไม่ได้ ในสมัยสุโขทัยสถาบันพระมหากษัตริย์เปรียบเสมือนพ่อของประชาชนฐานะของพระองค์ เป็นพ่อขุน มีความใกล้ชิดประชาชน พอเข้าสมัยกรุงศรีอยุธยาฐานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นสมมุติเทพหรือเป็นเทวดาโดยสมมุติและทรงมีพระราชอำนาจในการปกครองทรง เป็นองค์อธิปัตย์สูงสุดในการปกครองบ้านเมือง ทรงปกครองบ้านเมืองด้วยหลักธรรมะโดยมีทศพิธราชธรรม และธรรมะหลักสำคัญต่างๆ ในการปกครองจนทำให้ไพร่ฟ้าประชาราษฏ์อยู่เย็นเป็นสุข ทรงครองราชย์ป้องเมือง ทำนุบำรุงบ้านเมือง ศาสนา และสังคมมาจนถึงทุกวันนี้ แม้ว่าประเทศไทยจะมีรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตย พระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ก็มิทรงเสื่อมถอย แต่สถาบันพระมหากษัตริย์กลับเป็นที่เคารพสักการะจากประชาชนมากเช่นเดิมไม่มี เปลี่ยนแปลง
0
originalkeng 29 ส.ค. 56 เวลา 14:24 น. 15
การต้อนรับการมาเยือนของพระราชอาคันตุกะ

ในหลวง พระราชอาคันตุกะการ ต้อนรับการมาเยือนของประมุขและผู้นำประเทศต่างๆ ในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในโอกาสต่างๆ อย่างสมพระเกียรตินั้น นอกจากเป็นการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์อันยาวนานของประเทศอันล้ำค่าสู่สายตาต่างประเทศ ยังเป็นการสร้างความประทับใจ และการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอีกด้วย

พระ ราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ผ่านพ้นไป ได้มีการต้อนรับการเสด็จเยือนไทยของพระราชอาคันตุกะ ๒๕ ประเทศ การมาเยือนของพระราชอาคันตุกะยังส่งผลดีต่อภาพรวมของประเทศในหลายด้าน ทั้งในด้านการค้า การท่องเที่ยวและการลงทุน

นอก จากผลดีในด้านเศรษฐกิจแล้ว การมาเยือนของพระราชอาคันตุกะเป็นการแสดงให้เห็นว่า สถาบันกษัตริย์แต่ละประเทศต่างให้เกียรติกันและกัน และต้องการรักษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ส่งผลดีต่อการยกระดับความสัมพันธ์ทางการทูตในระดับต่างๆ

0