Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

วิทยาศาสตร์แท้ วิทยาศาสตร์เทียม

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
สองคำนี้ มีนิยามสำหรับท่านอย่างไร และใช้อะไรพิสูจน์ว่าอะไรแท้ อะไรเทียม

แสดงความคิดเห็น

>

6 ความคิดเห็น

sweetpeaz 9 ก.ค. 56 เวลา 20:12 น. 1
อธิบายยากแฮะ ก็ไม่ค่อยรู้เรื่องค่ะ แต่ในความคิดของเรา เราว่า วิทยาศาสตร์แท้ ก็อาจจะหมายถึงหลักความรู้ ( * ) ที่ผ่านการทดสอบ-ตรวจสอบมาโดยถูกต้องและได้รับการยอมรับ / เข้าใจโดยผู้คน ส่วนวิทยาศาสตร์เทียม ก็อาจจะหมายถึงทฤษฎีหรือหลักการสมมติฐานที่ยังไม่ได้ผ่านการพิสูจน์ตามหลักวิทยาศาสตร์จริง ? 

แต่ก็ไม่รู้สิคะ เพราะเราชอบถามตัวเองบ่อย ๆ เหมือนกันว่า ใครเป็นคนกำหนดและตัดสินความเป็นไปของโลก ? จะเป็นวิทยาศาสตร์แท้หรือเที่ยม มันก็เป็นอะไรที่มนุษย์เรากำหนดเองทั้งนั้น อะไรจริงไม่จริงบนโลก ไม่มีใครรู้หรอก แต่ถ้าคนส่วนใหญ่เชื่อ มันก็กลายเป็นความจริงได้ 

สรุปแล้ว วิทยาศาสตร์แท้กับเทียม จะว่ามันต่างกัน ก็ตรงที่ว่ามัน
ได้รับการยอมรับจากผู้คนมากน้อยแค่ไหนมั้งคะ // เอ่อ เผ่นดีกว่า เขียนวกไปวกมา งงเอง บาดนิ้วลึก เจ็บ อ๊ากกกก

* หมายเหตุ :
คำว่า Scienta จากคำว่าวิทยาศาสตร์ Science แปลว่า ความรู้ ค่ะ
0
lzanagi 9 ก.ค. 56 เวลา 20:26 น. 2

วิทยาศาตร์แท้คือ ความรู้หรือหลักการที่พิสูจน์ได้
ส่วนของเทียม

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1

ตามนั้นครับ

0
iSnow 9 ก.ค. 56 เวลา 20:51 น. 3

วิทยาศาสตร์เทียมมีเยอะค่ะ ผู้คนนิยมเชื่อซะด้วย


ของจริง ..กว่าจะค้นพบแต่ละเรื่องยากเย็นแสนเข็ญ แถมยังมั่นใจบ้างไม่มั่นใจบ้างว่าจริงหรือเปล่า

อย่างยา paracetamol ลดไข้ที่เรากินกันอยู่ นั่นแหละคือผลพวงของวิทยาศาสตร์ของจริง กินเยอะๆตับพัง


ของปลอม มักจะประกาศกร้าวเลยล่ะ ว่าของข้าจริง เจ๋ง ใช้ได้ผลดีแล้วหลายราย

อย่างพวก *ตื๊ด* *ตี๊ด* เซนเซอร์ พวกที่บอกว่าดี รักษานู่นรักษานี่ รักษามะเร็ง ช่วยให้ฉลาด ฯลฯ วิทยาศาสตร์เก๊ ซะเกือบหมด แอบอ้างง่ายๆ แต่คนเชื่อเต็มบ้านเต็มเมือง 

0
K.W.E. 9 ก.ค. 56 เวลา 21:16 น. 4

แตกต่างกันยังไง
ก็ให้นึกถึงเพลงสมัยเด็กที่ว่า 'ขึ้นต้นเป็นมะลิซ้อน พอแตกใบอ่อนเป็นมะลิลา'

pseudoscience นี่เป็นอะไรที่เห็นได้ง่ายในตัวเองนะครับ ถ้าคุณมีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และมองอะไรอย่างเป็นเหตุเป็นผล

วิทยาศาสตร์เทียมจะแสดงตัวเหมือนเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งเอาเข้าจริงมันก็วิทยาศาสตร์นั่นล่ะ แต่จากนั้นแล้วพอถึงช่วงขยายผลหรือความเป็นเหตุเป็นผลของมันแล้วมันจะออกไปทางความเชื่อมากกว่าจะพิสูจน์ด้วยข้อเท็จจริงหรืออิงผลวิจัยที่เชื่อถือได้ล่ะครับ

ในห้องหว้ากอนี่มีประเด็นสนุกแบบนี้มาเป็นระยะๆเลยทีเดียว
ตัวอย่างที่ดังๆสมัยก่อนก็เช่น พวกอุปกรณ์ประหยัดน้ำมัน เหรียญควอนตั้ม เครื่องกรองน้ำบรรลือโลกที่สรรพคุณสุดเหวี่ยง

อาหารเสริมหลายเจ้าก็เข้าข่ายครับ สรรพคุณดีเช่นนั้นเช่นนี้ แต่พอทดสอบออกมาก็ไม่ใช่เช่นนั้น บางอย่างบอกเติมสารอาหารแต่พอดู-ส่วนจริงก็น้อยมากๆจนแทบจะไม่ได้ประโยชน์อะไรจากมันเลย เก็บเงินส่วนนี้ไปซื้อผลไม้กินหรือผลสารสกัดจริงๆยังได้ผลเสียกว่า แถมไม่ต้องไปเสี่ยงกับการบริโภคน้ำตาลเกินจำเป็น...


อีกสักตัวอย่าง...
วกเข้าการเมืองเก่าๆ ไม่อิงสีอิงข้างสักนิดเพื่อให้เห็นภาพ

GT200 นี่ก็เป็นตัวอย่างที่ดี
ถ้าไม่แงะออกมาดูนี่เหมือนจะเป็นวิทยาศาสตร์ดีนะใช้การ์ดตรวจจับระเบิด แต่พอมีผู้เกี่ยวข้องท่านหนึ่งมาบอกว่า การนอนน้อยมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องนี้ ก็เป็นอันจบเห่เลยครับ

ต่อมาก็มีผู้เกี่ยวข้องอีกท่านพยายามจะดึงวิทยาศาสตร์มาเสริมน้ำหนัก โดยบอกต่อว่ามันได้ผลนะ แต่ได้ผลทางราวๆ 25% ก็ให้ใช้ต่อไปไปเพราะถูกน้อยยังดีกว่าไม่ถูก

นั่นก็ก็ยิ่งแล้วใหญ่ เพราะดีดหัวก้อยยังมีโอกาสสุ่มถูกมากกว่าเสียอีก ดีดเหรียญสุ่มนั่นยังมีลุ้นตั้ง 50% เลยเชียว

เป็นต้นครับ

วิทยาศาสตร์เทียมบางครั้งมันก็เหมือนทฤษฎีสมคบคิด โดยพยายามจับนั่นนี่ที่พออ้า่งได้มาเทียบเคียงกับเหตุผลของตัวเองนั่นล่ะ


แต่ส่วนใหญ่ที่ยังเห็นอยู่ก็เพราะมันเป็นไปในเชิงธุรกิจครับ แฉไปบางทีก็อันตรายต่อตัวผู้แฉเอง หรือบางทีผู้สนับสนุนแนวคิดนั้นก็ยังไม่พร้อมจะรับฟังข้อเท็จจริงในอีกมุมหนึ่ง เราจึงเห็นวิทยาศาสตร์เทียมกันอยู่ทั่วไปครับ

0
Mr.Saka 9 ก.ค. 56 เวลา 21:33 น. 5
เรื่องวิทยาศาสตร์มันพูดยาก วิทยาศาสตร์แท้ในวันนี้อีกร้อยปีข้างหน้ามันอาจเป็นแค่ทฤษฎีที่ผิดพลาดก็ได้
จะว่าไปผมชอบคณิตศาสตร์มากกว่าแฮะ ผ่านไปเป็นพันปีก็ยังเชื่อถือได้
0
PetShall 9 ก.ค. 56 เวลา 22:22 น. 6

           วิทยาศาสตร์คือ ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆในธรรมชาติทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต
           วิทยาศาสตร์แท้คือ ความรู้ที่มีกระบวนการ การตั้งทฤษฎี สมมติฐาน วางตัวแปร ทดลองซ้ำๆหาผลการทดลอง ประมวลผลและวิเคราะห์ผล สรุปผล เป็นความรู้ที่ได้จากการทดลองจริงๆ
           วิทยาศาสตร์เทียมคือ วิทยาศาสตร์ที่อ้างถึงหลักการ ความเชื่อ ปฏิบัติอย่างวิทยาศาสตร์  แต่ไม่ยึดแบบแผนของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แค่นำที่คาดว่าน่าจะเป็นมาใช้ ไร้การสนับสนุน
          ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นแท้หรือเทียมก็เป็นวิทยาศาสตร์เช่นกันจ้า

มาแก้ไขนิดหน่อย ต่อเรื่องวิทยาศาสตร์เทียม มีนเป็นเพียงความเชื่อว่าน่าจะเป็น ขาดฐานของความเป็นวิทยาศาสตร์จริงๆ พิสูจน์ไม่ค่อยได้ ซึ่งมีมากมาย ส่วนวิทยาศาสตร์แท้นั้นหาค่าได้จากการทดลองและพิสูจน์ได้

0